สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีกี่ประเภท

สรุปบทที่3

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีกี่ประเภท

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ Business Environment แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

1. สภาพแวดล้อมภายนอก External ENVIRONMENT (ปัจจัยควบคุมไม่ได้)

          หมายถึง ปัจจัยภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค

          - เทคโนโลยี

          - ลูกค้า

          - ปัจจัยการผลิต

          - คนกลาง

          - สาธารณชน

          - การเมืองกฎหมาย

          - สภาพเศรษฐกิจ

          - สังคม

2. สภาพแวดล้อมภายใน Internal ENVIRONMENT (ปัจจัยควบคุมได้)

          หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

          - การตลาด

          - องค์การ

          - การเงิน

          - การผลิต

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment)

          คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

          1. ตลาด หรือลูกค้า (Market)  

          2. ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)

          3. คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)

          4. สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics) 

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)

          คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ

          1. ด้านการเมืองและกฎหมาย

          2. เศรษฐกิจ

          3. สังคม

          4. เทคโนโลยี

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีกี่ประเภท

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ SWOT

S (Strengths) จุดแข็ง

ปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากร

W (Weaknesses) จุดอ่อน

ปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด

O (Opportunities) โอกาส

ปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจ

T (Threats) อุปสรรค

ปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีกี่ประเภท

กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy)

การใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรุก

กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy)

การใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็น จุดแข็งและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงป้องกัน

กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)

การขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาสมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงแก้ไข

กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy)

การขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและข้อจำกัดมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในเชิงรับ




การวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS

ดาวน์โหลดกรณีศึกษา Ibery จาก BCOM-ONLINE อ่านแล้ววิเคราะห์ SWOT ANALYSIS

E-environment

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีกี่ประเภท

สภาวะแวดล้อมทางสังคม Social Factor

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมประกอบไปด้วย ครอบครัว ชุมชน ไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละสังคมก็จะมีทัศนคติทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรม ที่ แตกต่างกันออกไป

สภาวะแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย Political and Legal Factor

ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ

สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ(Economic)

เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยากร ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ

ปัจจัยที่จะต้อง นำมาศึกษาหลายปัจจัย เช่น

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)

          หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศนั้นๆ

          GDP เป็นดัชนีชี้วัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้

สิ่งที่ไม่นับรวมใน GDP

          -  ไม่นับสินค้าก่อนสินค้าขั้นสุดท้าย (intermediate goods) เพราะจะทำให้เกิดการนับซ้ำ

          - ไม่นับการซื้อขายสินค้ามือสอง เพราะไม่ได้เป็นการเพิ่มผลผลิตปัจจุบัน แต่นับค่าคอมมิชชั่นจากการขาย เพราะเป็นการให้บริการในช่วงเวลาปัจจุบัน

          - ไม่นับรายการทางการเงินและการโอนเงิน เช่น การซื้อขายหุ้น น้าโอนเงินให้หลาน เพราะไม่เป็นการผลิต

ข้อจำกัดของ GDP

          - ไม่นับการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในตลาด เช่น ในอดีตทำกับข้าวทานเองในบ้าน จึงไม่ถูกนับรวม แต่ปัจจุบันเนื่องจากไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไปทำให้ต้องทานข้าวนอกบ้าน จึงถูกนับรวม ซึ่งทำให้การเปรียบเทียบ GDP ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันให้มีความหมายลดลง

          - ไม่รวมผลผลิตที่ไม่ถูกรายงาน (underground economy) เช่น เป็นการค้าขายที่เป็นเงินสดโดยไม่มีการแจ้งให้ทางการรับทราบ เช่น บ๋อยรับทิปเป็นเงินสด คนงานทำงานโดยรับเงินสดเพื่อเลี่ยงภาษี

          - ไม่รวมการพักผ่อนและต้นทุนมนุษย์ GDP สนใจแต่ผลผลิต ไม่ใส่ใจว่าคนทำงานหนักหรือนานขนาดไหนในการสร้างผลผลิต

          - ไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพสินค้าและการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

          - ไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการผลิต บริโภค และการกระทำด้านลบของคนและธรรมชาติ

ค่าเงินบาท

การแข็งค่าของค่าเงินบาทจะมีกลุ่มธุรกิจประเภทที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์ โดยสาเหตุที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย เช่น การอ่อนค่าของเงินสกุลต่างประเทศ การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในประเทศไทย หรือการเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย

อัตราการว่างงาน

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานขึ้นในทุกประเทศ

ภาวะราคาน้ำมัน

ความผันผวนของราคาน้ำมันที่ผ่านมาเป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีใครสามารถกำหนดราคาน้ำมันล่วงหน้าได้

ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย

เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอัตราดอกเบี้ยจะขยับตัวสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการผลิตของกิจการ หรืออุตสาหกรรมต่างๆ สูงขึ้นตามไปด้วย

สภาวะแวดล้อมทางเทคโนโลยี Technological Factor

ปัจจุบันเป็นยุคความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ