การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องใด *

"KIN" ได้จัดอบรมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้แก่นักบริบาลและผู้ช่วยนักกายภาพทุก 6 เดือน เพราะการเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีมีความสำคัญมากกับผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่น้อยลง และลดเหตุอันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติการทุกคนจึงควรมีความรู้ และทักษะในเรื่องของการยกและเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี เหมาะสมกับสภาวะผู้เจ็บป่วยแต่ละราย และปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติที่เกิดขึ้นได้

ความหมายของการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งอย่างถูกต้องและปลอดภัย
ซึ่งผู้เคลื่อนย้ายต้องมีความรู้ ความสามารถ และขั้นตอนในการเคลื่อนย้ายตัว

หลักการและเหตุผล

  การเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธีมีความสำคัญมากกับผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่น้อยลง และลดเหตุอันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังได้  ดังนั้นผู้ปฏิบัติการทุกคนจึงควรมีความรู้ และทักษะในเรื่องของการยกและเคลื่อนย้ายที่ถูกวิธี เหมาะสมกับสภาวะผู้เจ็บป่วยแต่ละราย และปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติที่เกิดขึ้นได้ เช่น การบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง เข่า กล้ามเนื้อมัดต่างๆ  และสิ่งสำคัญที่ควรระวังไม่ให้เกิดขึ้นคือ อุบัติเหตุซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด หรือไม่ได้ระมัดระวังมาก่อน อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ จึงต้องมีความระมัดระวังและความปลอดภัยให้มากที่สุด โดยเฉพาะเวลาที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ดังนั้น PTA NA ต้องมีความรอบคอบ ความระมัดระวังให้มากที่สุดกับผู้ป่วย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
3.เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายตัวผู้รับบริการภายในศูนย์ฯ

ประเภทของการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

1. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในท่านอน
2. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในท่านั่ง
3. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในท่ายืนและเดิน

ดูข้อมูลเพิ่มเติม

สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN

KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องใด *
โทร 095-884-2233 , 091-803-3071 , 02-020-1171
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องใด *
 แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id

ปฎิเสธไม่ได้ว่า การดูแลผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

นับวันยิ่งเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น

ใครที่อยู่ในวัยที่ต้องดูแลคุณพ่อคุณแม่วัยเกษียน และต้องเดินทางพาพวกท่านไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล จะเข้าใจดีว่าการอุ้มผู้สูงวัยขึ้นลงจากรถ หรือเข้าออกจากรถเข็น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ 

ไหนจะความทุลักทุเลในการเคลื่อนย้ายคนไข้ขึ้นลงจากรถ 

ไหนจะความกังวลกลัวท่านพลัดตกจากการอุ้ม

ไหนจะความปวดหลังที่เกิดขึ้นจากการอุ้ม และถ้าอุ้มไม่ดี ก็อาจทำให้คนที่ถูกอุ้มบาดเจ็บได้ 

ทุกท่านคงจะเคยคิดอยู่ในใจว่า จะดีกว่าไหมนะ ถ้ามีอุปกรณ์ที่ช่วยให้การอุ้มเป็นเรื่องง่ายๆและปลอดภัย

วันนี้ Goodnite จึงอยากมาแบ่งปัน 6 อุปกรณ์ดีดีที่ช่วยทำให้การดูแลคนไข้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ต้องอุ้ม 

1.รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 

รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  คือรถเข็นอเนกประสงค์ที่ออกแบบมาให้สามารถเปิดข้างได้ ทำให้ผู้ดูแลสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปรถเข็นง่ายๆโดยไม่ต้องอุ้ม เพียงแค่สอดที่นั่งเข้าไปใต้ก้นของผู้ป่วย ก็สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปนั่งบนรถเข็นได้ รถเข็นตัวนี้สามารถใช้งานเป็นรถเข็นนั่งถ่าย รถเข็นอาบน้ำ หรือรถเข็นนั่งเล่นในบ้านได้ จึงเหมาะมากสำหรับบ้านที่มีผู้ดูแลเพียงคนเดียว 

รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะเหมาะกับผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง และยังสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลโดย

ผู้ป่วยควรจะสามารถนั่งได้เอง และสามารถยกก้นได้ด้วยตัวเอง เพราะตอนที่ผู้ดูแลสอดที่นั่งเข้าไปใต้กัน หากผู้ป่วยยกก้นไม่ได้เลน ที่นั่งจะติดก้นผู้ป่วย ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากใช้งานผู้ป่วยประเภทนี้แนะนำว่าควรผู้ดูแลเพิ่มอย่างน้อย 1-2  คน เพื่อช่วยประคองเวลาเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

 
เหมาะสำหรับผู้ป่วยแบบไหน

ผู้ป่วยที่พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง , ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง,ผู้ป่วยอัมพาต 

เหมาะสำหรับกรณีไหน

2.  ผ้ายกตัวผู้ป่วย, เบาะยกตัวผู้ป่วย 

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องใด *

วิธีต่อมาเหมาะสำหรับคนไข้ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง(Partially Dependent) คนไข้ที่ผู้ดูแลสามารถประคองให้อยู่ในท่านั่งได้ และสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้ (Cooperative) 

เหมาะสำหรับกรณีไหน

เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปรถเข็น , จากรถเข็นขึ้นลงรถ

เหมาะสำหรับผู้ป่วยแบบไหน

ผู้ป่วยที่พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง , ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง,ผู้ป่วยอัมพาต

การใช้งาน

  จากเตียงไปรถเข็น 

1.จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหันข้าง และ ม้วนผ้ายกตัวครึ่งหนึ่งสอดเข้าไปใต้ผู้ป่วย

2.พลิกตัวผู้ป่วยไปอีกข้าง พร้อมทั้งคลี่อีกครึ่งซีกที่เหลือ

3. จัดท่าให้ผู้ป่วย หันไปด้านหน้า ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ป่วยนั่งอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางผ้ายกตัวยก และกระชับกับผ้า ก่อนที่จะยกผู้ป่วยขึ้น 

 จากรถเข็นขึ้นรถ 

1.จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งในตำแหน่งกึ่งกลาง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผ้ายกตัวผู้ป่วยกระชับกับตัวผู้ป่วย ก่อนจะทำการยกตัวผู้ป่วยขึ้น

2.ยกตัวผู้ป่วยขึ้น โดยจัดตำแหน่งให้ผู้ป่วยหันไปด้านหน้า

3.หมุนผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่งบนรถที่เหมาะสม

** คำแนะนำ เวลายกผู้ป่วยขึ้นรถ ควรยกผู้ป่วยให้นั่งอยู่เบาะรถด้านหน้า ข้างคนขับ และก่อนก่อนยกทุกครั้งควรเลื่อนเบาะรถไปข้างหลังให้สุด จะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการเคลื่อนย้ายและเคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้น 

3.  Pivot Disc แป้นหมุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องใด *

(Source : https://perfecthomecare.net/patient-transfer-techniques/pivot-transfer/) 

วิธีที่สามใช้ Pivot Disc หรือแผ่นหมุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย วิธีนี้เหมาะสำหรับคนไข้ที่ยังพอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง (Partially Dependent)และสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้ (Cooperative)

เหมาะสำหรับกรณีไหน

เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปเก้าอี้  , เก้าอี้ไปเก้าอี้ หรือจากรถเข็นขึ้นรถ

การใช้งาน

 
วางแผ่นเคลื่อนย้าย (Pivot Disc ) ไว้บนพื้น และใช้เป็นตัวหมุนในการเปลี่ยนตำแหน่งคนไข้ 90 องศา

ตำแหน่งเท้าของคนไข้ควรอยู่ในจุดศูนย์กลางของแผ่น ไม่อยู่นอกแผ่น และเมื่อต้องการที่จะเคลื่อนย้ายให้คนไข้ทิ้งน้ำหนักลงบนแผ่น และใช้แผ่นเป็นจุดหมุนเพื่อเคลื่อนย้าย (Reposition) สามารถใช้เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนย้ายคนไข้

คำแนะนำ เราสามารถใช้ Pivot Disc ร่วมกับ เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วยได้สำหรับคนไข้บางรายที่ต้องการให้คนช่วยพยุง โดยผู้ดูแลสามารถใช้เข็มขัดพยุงตัว ช่วยพยุงตัวคนไข้จากตำแหน่งนั่ง มาตำแหน่งยืน และใช้ Pivot Disc เป็นตัวเปลี่ยนตัำแหน่ง (Reposition) คนไข้ 

วิธีนี้จะไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก , ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

 4. Resident Lifting ( เครื่องยกผู้ป่วย) 

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องใด *

วิธีที่สี่ใช้เครื่องยกผู้ป่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปรถเข็น วิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย( Totally Dependant)  เช่นผู้ป่วยติดเตียงผู้ป่วยอัมพาต

เหมาะสำหรับกรณีไหน

เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปรถเข็น

 5. บอร์ดเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Lateral Transfer in Sitting Position) 

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องใด *

วิธีที่ห้า เหมาะสำหรับคนไข้ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ (Partially Dependent) มีความสมดุลที่ดีเวลานั่ง และสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้ (Cooperative) 

การใช้งาน

ใช้บอร์ดเป็นตัวหลักในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (Sliding)  จากพื้นผิวหนึ่งไปยังอีกพื้นผิวหนี่ง เช่นจากเตียงไปรถเข็น หรือจากรถเข็นไปที่นั่งรถ ในบอร์ดบางรุ่นจะเหมือแผ่นรองหมุน เพิ่มขึ้นมาด้วยซึ่งจะช่วยในการเคลื่อนย้ายได้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น

เหมาะสำหรับกรณีไหน

เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปรถเข็น , จากรถเข็นขึ้นลงรถ , เคลื่อนย้ายไปห้องน้ำ

วิธีนี้จะไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก , ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

 6. เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย (Transfer Gait Belt) 

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องใด *

วิธีสุดท้ายการใช้เข็มขัดพยังตัวผู้ป่วยช่วยพยุงผู้ป่วย จะเหมาะสมสำหรับคนไข้ที่พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง (Partially Dependent) พอทรงตัวได้  และสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้ (Cooperative)

ไม่เป็นอัมพาตหรือคนไข้ติดเตียง  วิธีนี้จะไม่เหมาะกับคนไข้ที่พึ่งผ่านการผ่าตัดหลังหรือผ่าตัดช่องท้องมา 

การใช้งาน

เวลาใช้งานอุปกรณ์ จะใช้ผู้ดูแลประมาณ 1-2 คน เราจะไม่ออกแรงกระทำยกผู้ป่วยขึ้นมาตรงๆ แต่จะออกแรงดึงเพื่อเป็นตัวช่วยในการพยุงผู้ป่วยขึ้นมา เช่น เคลื่อนย้ายคนไข้จากตำแหน่งในท่านั่ง เป็นท่ายืน หรือเคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปยังรถเข็น

เหมาะสำหรับกรณีไหน

เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปเก้าอี้  , เก้าอี้ไปเก้าอี้หรือจากรถเข็นขึ้นรถ

วิธีนี้จะไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก , ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้