เทือกเขาหิมาลัยอยู่ในประเทศใด

เทือกเขาหิมาลัยกำลังเปราะบาง โลกร้อนและการพัฒนา กำลังเร่งให้ภัยพิบัติรุนแรงขึ้น

3 Min

503 Views

17 Feb 2021

Select Paragraph To Read

  • “โลกร้อน” เร่งให้ธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น

  • การพัฒนาบนความเปราะบางของธรรมชาติ

ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยถล่มลงมาทลายเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ส่งผลให้เกิดมวลน้ำและโคลนมหาศาลไหลทะลักลงเข้าท่วมพื้นที่ชุมชนในรัฐอุตตราขัณฑ์ทางตอนเหนือของอินเดีย

ทางการอินเดียเปิดเผยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 26 ราย และสูญหายอีกอย่างน้อย 200 ราย (ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ) กองกำลังกู้ภัยได้เข้าช่วยเหลือและอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมไปอยู่ในที่ปลอดภัย ส่วนคนงานของโรงไฟฟ้าที่ติดค้างอยู่ในอุโมงค์ของเขื่อนได้รับการช่วยเหลือออกมาแล้วบางส่วน

ขณะที่ทีมผู้เชี่ยวชาญกำลังเร่งหาสาเหตุที่ทำให้ธารน้ำแข็งแตกจนเกิดโศกนาฏกรรม

เทือกเขาหิมาลัยอยู่ในประเทศใด

ทางการอินเดียกำลังเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ | New York Post

“โลกร้อน” เร่งให้ธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น

แม้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่มีนักวิทยาศาสตร์และสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยโยงเรื่องนี้เข้ากับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีความเป็นได้จากผลกระทบในทางตรงและทางอ้อม

ก่อนวันสึนามิจากฟ้าถล่ม – นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าธารน้ำแข็ง 2 ใน 3 บนเทือกเขาหิมาลัยทั้งหมดอาจละลายลงภายในปี 2100 ถ้าหากมนุษยชาติไม่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา

ที่น่าเศร้าไปกว่านั้น แม้เราจะพยายามทำทุกอย่างจนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามเป้า แต่ผลพวงจากการกระทำในอดีต ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยบนเทือกเขาหิมาลัย “ร้อนขึ้น” กว่าเดิมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างน้อยๆ ธารน้ำแข็งจะหายไปประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่แน่นอน

เทือกเขาหิมาลัยอยู่ในประเทศใด

ปริมาณธารน้ำแข็งที่ลดลง | WWF

บนเทือกเขาหิมาลัยที่มีความสลับซับซ้อน เมื่อธารน้ำแข็งละลาย น้ำจะไหลไปรวมตามแอ่งต่างๆ จนเกิดเป็นทะเลสาบ โดยมีตะกอนดินและน้ำแข็งบนเขาทำหน้าที่เสมือนเขื่อนช่วยเก็บกักน้ำไว้ในรูปแบบเขื่อนธรรมชาติ

เมื่อน้ำเต็มทะเลสาบเมื่อไหร่ นั่นอาจหมายถึงสึนามิจากฟ้าที่จะไหลบ่าลงมาท่วมพื้นที่ด้านล่าง หรือในกรณีที่เลวร้าย หากตะกอนที่กั้นทะเลสาบไว้ทลายลงมาก็ยิ่งอาจทำให้ความรุนแรงของน้ำมีมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันมีรายงานว่า ปริมาณน้ำในทะเลสาบบนเทือกเขาหลายแห่งกำลังปริ่มจวนเจียนล้น ขณะที่การเฝ้าระวังก็ทำให้ค่อนข้างยากเพราะมีปัจจัยเรื่องภูมิประเทศเป็นข้อจำกัด

การรองรับปริมาณน้ำที่มากขึ้น จากการละลายที่ไวขึ้น ยังทำให้ชั้นแผ่นหินและธารน้ำเกิดความไม่เสถียร เสี่ยงพังทลายได้ง่าย หากมีแรงกระตุ้นจากสิ่งอื่นๆ ประกอบ เช่น อุณหภูมิ อันเป็นวาระซ่อนเร้นที่มีความอันตรายอย่างน่าเป็นห่วง

การพัฒนาบนความเปราะบางของธรรมชาติ

ขณะเดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นนำมาซึ่งกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความเหมาะสมของการสร้างเขื่อนต่างๆ ตลอดแนวเทือกเขาหิมาลัย เพราะเป็นพื้นที่เปราะบางและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ก็ยิ่งเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศรุนแรงยิ่งขึ้น

ฝ่ายนักอนุรักษ์ นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการ ทักท้วงโครงการสร้างเขื่อนตามหุบเขาหิมาลัยอยู่เสมอ แต่รัฐบาลมักเพิกเฉยต่อและเดินหน้าก่อสร้างอย่างไม่แยแสคำเตือน

เทือกเขาหิมาลัยอยู่ในประเทศใด

ความเสียหายของเขื่อนหลังหิมะถล่ม | Independent

เฉพาะในรัฐอุตตราขัณฑ์ มีโครงการเขื่อนขนาดใหญ่ 152 โครงการ และมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลันมากถึง 58 โครงการทั้งตามแม่น้ำและลำน้ำสาขา

โครงการสร้างเขื่อนของอินเดีย บางส่วนมีไว้เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้จากความกังวลต่อประมาณน้ำแข็งที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มต่อการขาดแคลนในอนาคต ขณะที่บางแห่งสร้างเพื่อผลิตพลังงาน ส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมและแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ รวมทั้งเป็นทางเลือกของพลังงานสะอาดที่สำคัญของประเทศ

แต่ในทางตรงกันข้าม ยิ่งสร้างเขื่อนมากเท่าไหร่ กลับเป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพอากาศบนเทือกเขา และยิ่งเร่งเวลาให้ปริมาณน้ำลดน้อยลงเร็วขึ้น

หรือในทางตรง การสั่นสะเทือนจากการขุดเจาะต่างๆ มีผลโดยตรงต่อการพังทลายของธารน้ำแข็ง ซึ่งเคยมีบทเรียนมาแล้วในปี 2009 เมื่อคนงานสร้างเขื่อนพลาดไปเจาะโดนธารน้ำแข็ง ทำให้น้ำที่เพียงพอสำหรับ 2-3 ล้านคนตลอดทั้งปี สูญหายไปอย่างรวดเร็วในเดือนเดียว และทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในปีต่อๆ มา

นับจากนี้ นอกจากหาคำตอบที่ถูกต้องว่าทำไมแผ่นน้ำแข็งถึงทลายลงมา ยังมีเรื่องที่เราต้องหันกลับมาทบทวนถึงผลกระทบที่ตามมาจากการพัฒนากันอีกรอบ ก่อนที่ความเสียหายครั้งใหม่และใหญ่กว่าเดิมจะเกิดขึ้นในอนาคต

อ้างอิง:

  • Reuters. Himalayan glacier breaks in India, around 125 missing in floods. http://reut.rs/3p9hnxL
  • The Third Pole. Himalayan hydro developers wilfully ignore climate risks. http://bit.ly/36XSIGg
  • Phys. Himalayan glacier disaster highlights climate change risks http://bit.ly/3jzPdLo

ประเทศใดอยู่ในเขตเทือกเขาหิมาลัย

เทือกเขาหิมาลัยคือหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมที่นักเดินทางและนักผจญภัยทั่วโลกใฝ่ฝันที่จะไปเยือน หิมาลัยพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ คือ ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล เป็นที่ตั้งของยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกอย่าง ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งเป็นหมุดหมายที่นักปีนเขาอยากจะพิชิต แต่ไม่ใช่แค่เอเวอร์เรสต์เท่านั้นที่ดึงดูดผู้คน ...

เทือกเขาหิมาลัยเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ภูเขาเกิดขึ้นได้อย่างไร ? การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก เช่น ภูเขาหิมาลัยในประเทศอินเดียเกิดจากการชนกันของแผ่นออสเตรเลียกับแผ่นยูเรเชีย การยกตัวของพื้นทวีปเนื่องจากแรงดันของหินหนืดใต้ผิวโลก กระบวนการนี้ต้องใช้เวลานานมาก ภูเขาที่เกิดด้วยวิธีนี้จะเป็นเทือกเขาแนวยาว เช่น การเกิดเทือกเขาทางภาคเหนือและภาคใต้ของไทย

หิมาลัย กับ เอเวอร์เรส ที่เดียวกันไหม

เอเวอเรสต์ เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในแนวเทือกเขาหิมาลัย อยู่ระหว่างเขตแดนของประเทศเนปาลและเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเส้นทางที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว คือ เส้นทางจากทางฝั่งเมือง Lukla ของประเทศเนปาล โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า "ครมาตา" หมายถึงมารดาแห่งท้องสมุทร ส่วนชาวทิเบตเรียกว่า "โชโม ...

ยอดเขาเอเวอเรสต์อยู่ในประเทศใด

เอเวอเรสต์ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนจีนและเนปาล และนักปีนเขาปีนขึ้นมาได้จากทั้งสองฝั่ง ซึ่งการวัดอย่างเป็นทางการของจีนก่อนหน้านี้อยู่ที่ 8,844.43 เมตร ต่ำกว่าการวัดของเนปาล