หลักฐานทางประวัติศาสตร์สากลสมัยกลางมีอะไรบ้าง

ประวัติศาสตร์สากลสมัยกลาง

        เริ่มตั้งแต่อาณาจักรโรมันล่มสลายในปี ค.ศ.476  ศตวรรษที่ 5-15  เนื่องจากการรุกรานของอนารยชนเผ่าติวตัน  อำนาจทางการเมืองกระจัดกระจาย  ความวุ่น
วายทางการเมืองทำให้ผู้คนหันมายึดศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และให้ความหวังกับคนในสังคมว่าจะได้ไปเสวยสุขกับพระเจ้าบนสวรรค์หรือมุ่งหวังชีวิต
ที่ดีกว่าในโลกหน้า  

        คริสต์ศตวรรษที่ 14  ยุโรปมีความตื่นตัวทางด้านการพานิชย์  และแสวงหาดินแดนในโลกอันนำมาซึ่งลัทธิการล่าอาณานิคม  ส่วนในทางวิทยาศาสตร์และการ
ประดิษฐ์  มีการค้นพบระบบสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัส  

การค้นพบกระบวนการพิมพ์หนังสือของกูเตนเบอร์กและฟุสท์

        ลักษณะสังคม  เป็นสังคมในลัทธิฟิวดัล  ซึ่งคนในสังคมมีความสัมพันธ์ในฐานะเจ้าของที่ดินและทาสติดที่ดิน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
        1. พระ  เป็นผู้มีบทบาทมาก  เพราะเป็นศูนย์ของความเชื่อ  ความศรัทธาในศาสนาของประชาชน  พระสันตปาปาที่กรุงโรมมีอำนาจสูงสุด  พระที่มีฐานะรองลง
มาก็จะทำหน้าที่ต่างๆ  ตามขอบเขตการปกครอง เช่น สั่งสอนประชาชน เก็บภาษีอากร ฯลฯ
        2. ชนชั้นปกครอง  ได้แก่  กษัตริย์  ขุนนาง  และอัศวิน  ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน  มีชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย
        3. สามัญชน  ได้แก่  ชาวนาและทาสติดที่ดิน  ที่ต้องทำงานหนักหาเลี้ยงชีพภายใต้อำนาจสิทธิ์ขาดและการคุ้มครองจากเจ้าของที่ดิน  ไม่ค่อยมีการปรับปรุงที่ดินเพื่อการเกษตร  ผลผลิตไม่พอเพียงกับความต้องการของชุมชน

วรรณกรรม
        สมัยกลางช่วงต้น   จะเน้นวรรณกรรมศาสนาหรือวรรณกรรมสะท้อนภาพสังคมฟิวดัล  เช่น  The City Of God 
        สมัยกลางช่วงปลาย     เน้นวรรณกรรมทางโลกมากขึ้น  เช่น  The Divine Comedy

การศึกษา   เน้นด้านเทววิทยาและขยายการศึกษาไปสู่การจัดตั้งมหาวิทยาลัย

อิทธิพลศิลปะมุสลิม
        - จิตรกรรม  ได้แก่  งานเขียนลวดลายเรขาคณิต  ลวดลายดอกไม้
        - หัตถกรรม  ได้แก่  เครื่องปั้นดินเผา  เครื่องโลหะ  เครื่องทองเหลือง
        - วรรณกรรม  ได้แก่  นิทานอาหรับราตรี  รุไบยาดของโอมาร์ คัยยัม



เหตุการณ์สำคัญในสมัยกลางถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20

ประวัติศาสตร์ยุโรปยุคกลาง (The Middle Ages) เริ่มต้นตั้งแต่การล่มสลายของ จักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ. 476 จนถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ ชนชาติเยอรมันเผ่าต่างๆ ได้รุกรานและอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในยุโรปตะวันตก ซึ่งชนเผ่าเยอรมัน เหล่านี้ได้ตั้งอาณาจักรของตนปกครองดินแดนส่วนต่างๆ การที่ชนเผ่าเยอรมันได้เข้ามายึดครอง ดินแดนของจักรวรรดิโรมันนั้น ได้ทำให้บ้านเมืองและสิ่งก่อสร้างรวมทั้งระบบการปกครองและ วิทยาการที่เคยเจริญรุ่งเรืองเสื่อมโทรมลงไปอย่างมาก นักประวัติศาสตร์จึงเรียกประวัติศาสตร์ ยุคนี้ว่า ยุคมืด (The Dark Ages) ในยุคมืดนี้ได้มีเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์หลาย เหตุการณ์ที่มีผลต่อสังคมมนุษย์มาจนถึงปัจจุบัน


ดยเฉพาะ ทำให้ ไม่สามารถถ่ายทอดจินตนาการอย่างเสรีได้ ผลงานส่วนใหญ่จึงขาดชีวิตชีวา แต่ศิลปกรรมในสมัย ฟื้นฟูศิลปวิทยานิยมงานศิลปะของกรีก-โรมันที่เป็นธรรมชาติ จึงให้ความสนใจความสวยงามใน สรีระของมนุษย์ มิติของภาพ สี และแสงในงานประติมากรรมและจิตรกรรมให้สมจริง สมดุล และกลมกลืนสอดคล้องมากขึ้น ศิลปินที่สำคัญ เช่น

- ไมเคิลแอนเจโล บูโอนาร์โรตี (Michelangelo Buonarroti : ค.ศ. 1475-1564) เป็นศิลปินที่มีผลงานทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานประติมากรรมที่ สำคัญและมีชื่อเสียง คือ รูปสลักเดวิด (David) เป็นชายหนุ่มเปลือยกาย และปิเอตา (Pieta) เป็นรูปสลักพระมารดากำลังประคองพระเยซูในอ้อมพระกร ส่วน ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง คือ จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้บน เพดานและฝาผนังของโบสถ์ซีสติน (Sistine Chapel) ในมหาวิ หารเซนต์ปีเตอร์ ที่กรุงโรม ที่มีลักษณะงดงามมาก



รูปสลักเดวิดประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของ ไมเคิลแอนเจโล บูโอนาร์โรตี

- เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci : ค.ศ. 1452-1519) เป็นศิลปินที่มี ผลงานเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ภาพเขียนที่มีชื่อเสียง คือ ภาพอาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) ซึ่งเป็นภาพพระเยซูกับสาวกนั่งที่โต๊ะอาหารก่อนที่พระเยซูจะถูกนำไปตรึงไม้กางเขน และภาพโมนาลิซ่า (Monalisa) เป็นภาพหญิงสาวที่มีรอยยิ้มปริศนากับบรรยากาศของธรรมชาติ

- ราฟาเอล (Raphael : ค.ศ. 1483-1520) เป็นจิตรกรที่วาดภาพเหมือนจริง ภาพที่มี ชื่อเสียง คือ ภาพพระมารดาและพระบุตร พร้อมด้วยนักบุญจอห์น (Madonna and Child with St. John)

                             

ภาพวาด โมนาลิซ่า งานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง              ภาพวาด พระมารดาและพระบุตร พร้อมนักบุญ

ของเลโอนาร์โด ดา วินชี                                                   จอห์น งานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงของราฟาแอล

3. ด้านวิทยาการความเจริญอื่นๆ ได้แก่

- ด้านดาราศาสตร์ เป็นสาขาวิชาที่ชาวยุโรปสนใจกันมากในช่วงเวลานี้ นัก ดาราศาสตร์ที่สำคัญ คือ คอเปอร์นิคัส (ค.ศ. 1473-1543) ได้เสนอทฤษฎีที่ขัดแย้งกับคำสอนของ คริสต์ศาสนา โดยระบุว่าโลกไม่ได้แบนและไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่เป็นบริวารที่โคจร รอบดวงอาทิตย์

- ด้านการพิมพ์ ในช่วงสมัยนี้ได้มีการคิดค้นการพิมพ์ที่ใช้วิธีการเรียงตัวอักษรได้ สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยโยฮัน กูเตนเบิร์ก ( Johannes Gutenburg : ค.ศ. 1400-1468) ชาว เมืองไมนซ์ (Mainz) ในเยอรมนี ทำให้ราคาหนังสือถูกลงและเผยแพร่ไปได้อย่างกว้างขวาง

ผลของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศิลปกรรมและวิทยาการต่างๆ ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้นส่งผล ให้คนยุโรปมีลักษณะ ดังนี้

1. ความสนใจในโลกปัจจุบัน ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ชาวยุโรปยังคงนับถือศรัทธาใน พระเจ้า แต่จากการได้รับอิทธิพลจากแนวคิดแบบมนุษยนิยม ทำให้ชาวยุโรปมีแนวคิดในการ ดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันให้ดีและสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อความสุขและความมั่นคงให้แก่ตน ทั้งหมดนี้ สะท้อนในงานศิลปกรรมต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อนสนองความพึงพอใจของตนเอง เช่น สร้างบ้าน เรือนอย่างวิจิตรสวยงาม การมีรูปปั้นประดับอาคารบ้านเรือน การวาดภาพเหมือนของมนุษย์ เป็นต้น

2. ความต้องการแสวงหาความรู้ การที่มนุษย์ต้องการหาความรู้และความสะดวกสบาย ให้แก่ชีวิต ทำให้ต้องมีการคิดสร้างสรรค์ผลงานและวิทยาการต่างๆ ดังนั้นมนุษย์ในสมัยฟื้นฟู ศิลปวิทยาการ จึงมีการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การคิคค้น การทดลอง การพิพากษ์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล เป็นผลให้วิทยาการด้านต่างๆ พัฒนามากขึ้น สภาพสังคมของมนุษย์ในสมัย นี้คือการตื่นตัวในการค้นหาความจริงของโลก ทำให้มนุษย์ต้องการแสวงหาความรู้และสำรวจดิน แดนต่างๆ อันนำไปสู่การปฏิรูปศาสนา การสำรวจทางทะเล และการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ใน เวลาต่อมา

การสำรวจทางทะล

การสำรวจทางทะเลของยุโรปเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ. 1450-1750 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้ เคียงกับยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป และต่างก็มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์ยุโรปในยุค ใหม่ กล่าวได้ว่า การฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นพื้นฐานสำคัญทำให้เกิดการสำรวจทางทะเล ซึ่งเป็น ผลให้ยุโรปเผยแพร่วัฒนธรรมของตนไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้ในเวลาต่อมา

สาเหตุของการสำรวจทางทะเล

สาเหตุของการสำรวจทางทะเล มีดังนี้

1. การมีวิทยาการที่ก้าวหน้า ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ชาวยุโรปได้เริ่มหันมาสนใจ ศึกษาสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว และผลจากการติดต่อกับโลกตะวันออกในสมัยสงครามครูเสด รวมทั้ง การขยายตัวของเมืองในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ชาวยุโรปได้สัมผัสกับอารยธรรมความเจริญ ของโลกตะวันออกหลายอย่าง โดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ ทำให้ ปัญญาชนเริ่มตรวจสอบความรู้ของตนและค้นหาคำตอบให้กับตนเองเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ซึ่งผลักดันให้ชาวยุโรปหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นระหว่างโลกตะวันออกกับโลก ตะวันตก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของโตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และ นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดินแดนริมฝั่งทะเลคาบสมุทร ไอบีเรีย จนถึงดินแดนฝั่งทะเลตอนเหนือของทวีปแอฟริกา รวมทั้งดินแดนทางด้านตะวันออกที่ เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ถึงอินเดียและจีน นอกจากนี้ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรง และขนาดของเรือให้แข็งแรงทนทานต่อสภาพลมฟ้าอากาศ สามารถที่จะเดินทางไกลได้ดีขึ้น ทำให้ชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกอย่างกว้างขวาง

 



แผนที่โลกของปโตเลมี มีส่วนสำคัญให้ชาวยุโรปออกสำรวจทางทะเล

2. แรงผลักดันทางด้านการค้า เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมดใน ค.ศ. 1453 ทำให้การค้าทางบกระหว่างโลก ตะวันออกกับโลกตะวันตกหยุดชะงัก แต่สินค้าต่างๆ จากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศยาต่างๆ ยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตก ซึ่งหนทางเดียวที่พ่อค้าจะติดต่อค้าขายได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทางทะเล ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสำรวจเส้นทางทางทะเล เพื่อหาเส้นทางติดต่อกับ ดินแดนต่างๆ ทางตะวันออก

3. แรงผลักดันทางด้านศาสนา เนื่องจากความคิดของผู้นำชาติต่างๆ ในขณะนั้นเห็น ว่าการเผยแผ่คริสต์ศาสนาเป็นกุศลอย่างมาก รวมทั้งต้องการแข่งขันกับชาวมุสลิมที่เข้ามาขยาย อิทธิพลอยู่ในขณะนั้น จึงสนับสนุนให้มีการค้นหาดินแดนใหม่ๆ และเผยแผ่คริสต์ศาสนาไป พร้อมกันด้วย

4. อิทธิพลของแนวคิดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ แนวความคิดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา การ ทำให้ชาวยุโรปมุ่งหวังที่จะสร้างชื่อเสียงเกียรติยศและความต้องการที่จะเสี่ยงโชคเพื่อชีวิต ที่ดีกว่า ผลักดันให้ชาวยุโรปเกิดความกล้าหาญที่จะเผชิญกับสิ่งต่างๆ รวมทั้งความกระตือรือร้น ที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ และรักการผจญภัย เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปกล้าเสี่ยงภัยเดิน ทางสำรวจมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ไพศาล

 

บทบาทของชาติต่างๆ ในการสำรวจทางทะเล

โปรตุเกส

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เจ้าชายเฮนรี นาวิกราช (Henry the Navigator) พระอนุชาของพระเจ้าจอห์นที่ 1 (John I) แห่งโปรตุเกส ได้จัดตั้งโรงเรียนราชนาวีเพื่อเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้เกี่ยวกับการเดินทางทะเล การใช้ เครื่องมือและเทคนิคการสร้างเรือ ซึ่งส่งผลให้ชาว โปรตุเกสสามารถค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทาง ตะวันออก ได้แก่

- บาร์โธโลมิว ไดแอส (Bartholomeu Dias) สามารถเดินเรือเลียบชายฝั่งทวีปแอฟริกาผ่านแหลม กู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) ได้สำเร็จใน ค.ศ. 1488

             บาร์โธโลมิว ไดแอส

- วัสโก ดา กามา (Vasco da Gama) แล่นเรือตาม เส้นทางสำรวจของไดแอสจนถึงทวีปเอเชีย และสามารถขึ้นฝั่ง ที่เมืองกาลิกัต (Calicut) ของอินเดียได้เมื่อ ค.ศ. 1498 ต่อมา ชาวโปรตุเกสสามารถควบคุมเมืองต่างๆ ทางชายฝั่งตะวันออก ของทวีปแอฟริกาและอินเดียทางชายฝั่งตะวันตก สามารถยึด เมืองกัว (Goa) ในมหาสมุทรอินเดียได้

           วัสโก ดา กามา

สเปน

ค.ศ. 1492 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ชาวเมืองเจนัว (ประเทศอิตาลี) ซึ่งมีความเชื่อว่าโลกกลม ได้รับ การสนับสนุนจากกษัตริย์สเปนให้เดินทางข้าม มหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อสำรวจเส้นทางเดินเรือ ไปประเทศจีน แต่เขาได้พบหมู่เกาะเวสต์อินดีสซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของทวีปอเมริกาใต้โดยบังเอิญใน ค.ศ. 1492 ซึ่งทำให้สเปนได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ ในอเมริกาใต้ที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่เงินและทองคำ ในเวลาต่อมา

คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นช่วงการแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสและสเปนเพื่อ หาเส้นทางไปหมู่เกาะอีสต์อินดีส (East Indies) ซึ่งเป็นแหล่งเครื่องเทศและพริกไทย ใน ค.ศ. 1494 สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 (Alexander VI) ได้ให้สเปนและโปรตุเกสทำสนธิสัญญา ทอร์เดซียัส (Treaty of Tordesillas) กำหนดเส้นสมมติแบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน โดยสเปนมีสิทธิ สำรวจและยึดครองดินแดนทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 51 ส่วนโปรตุเกสได้สิทธิทาง ด้านตะวันออกและนำไปสู่การสร้างจักรวรรดิทางทะเลของโปรตุเกสในเอเชีย

ในคริตส์ศตวรรษที่ 16 โปรตุเกสได้ขยายอำนาจมาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้า ยึดครองมะละกา ทำให้บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ โปรตุเกส

ค.ศ. 1519 เฟอร์ดินันด์ แมกเจลลัน (Ferdinand Magellan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส โดยความสนับสนุนจากกษัตริย์สเปน ได้เดินทางไปทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกผ่านช่องแคบที่ภายหลังตั้งชื่อว่าแมกเจลลันทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก มายังทวีปเอเชีย เขาถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายเมื่อพยายามเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เกาะฟิลิปปินส์ แต่ ลูกเรือของเขาสามารถเดินทางกลับสเปนทางมหาสมุทรอินเดียได้สำเร็จใน ค.ศ. 1522 นับเป็นเรือ ลำแรกที่แล่นรอบโลกได้สำเร็จ

ในยุคนี้โปรตุเกสและสเปนกลายเป็นชาติที่มีอำนาจ มีความมั่งคั่ง ทำให้หลายชาติทำการ สำรวจเส้นทางเดินเรือ การแข่งขันอำนาจทางทะเลระหว่างโปรตุเกสกับสเปนยุติลงเมื่อโปรตุเกส ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสเปนในช่วง ค.ศ. 1580-1640

ฮอลันดา

เดิมฮอลันดาเคยอยู่ใต้การปกครองของสเปน และทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้า เครื่องเทศ จนกระทั่ง ค.ศ. 1581 ได้แยกตัวเป็นอิสระจากสเปน ทำให้สเปนประกาศปิดท่าเรือ ลิสบอนส่งผลให้ฮอลันดาไม่สามารถซื้อเครื่องเทศได้อีก ฮอลันดาจึงต้องหาเส้นทางทางทะเลเพื่อ ซื้อเครื่องเทศโดยตรง ในที่สุดกองทัพเรือของฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจทางทะเลใน ค.ศ. 1598 และได้จัดตั้งสถานีการค้าในเกาะชวา และจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา เพื่อ ควบคุมการค้าเครื่องเทศ

ใน ค.ศ. 1605 เรือดุฟเกน (Duyfken) ของฮอลันดา ที่เป็นเรือค้นหาเกาะทองคำที่เชื่อว่า อยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเกาะชวา ได้ค้นพบทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก และเรียก ทวีปนี้ว่า นิวฮอลแลนด์ (New Holland) แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้ครอบครองและ เรียกทวีปนี้ว่า ออสเตรเลีย ซึ่งมาจาก Australis ในภาษากรีก แปลว่า ดินแดนทางซีกโลกใต้

อังกฤษ

ใน ค.ศ. 1588 กองทัพเรือของอังกฤษทำสงครามชนะกองทัพเรืออาร์มาดา (Armada) ของสเปนที่มีชื่อเสียงได้ ทำให้อังกฤษขยายอิทธิพลสู่ดินแดนตะวันออก สามารถสลายอำนาจทาง ทะเลของโปรตุเกสและเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดีย และเป็นคู่แข่งทางการค้ากับฮอลันดา ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีเพียงอังกฤษ ฮอลันดา และฝรั่งเศส แข่งขันกันมีอำนาจทางทะเลและ แสวงหาอาณานิคม ทั้งนี้ได้มีการทำสงครามกันหลายครั้ง ในที่สุดฮอลันดายังคงมีอำนาจแถบ มะละกาและควบคุมการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะเครื่องเทศต่อไป จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษกลับเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพกลางทะเลเหนือกว่าทุกชาติ โดยได้อาณานิคมในอินเดีย อเมริกาเหนือ และทวีปออสเตรเลียทั้งทวีป

ผลการสำรวจทางทะเล

ผลการสำรวจทางทะเล มีดังนี้

1. อารยธรรมยุโรปเผยแพร่ไปสู่ดินแดนอื่นๆ ที่ชาวยุโรปเดินทางไปถึง โดยชาวยุโรป ได้สร้างเมืองและความเจริญต่างๆ เพื่อให้ตนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามแบบที่คุ้นเคย จึงเกิดการ แพร่กระจายวัฒนธรรมตามแบบตะวันตก เช่น ภาษา การแต่งกาย อาหาร ระบบการปกครอง ศิลปกรรม เช่น การก่อสร้างถนน สะพาน สถานที่ราชการ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น

2. ยุโรปได้รับอารยธรรมจากดินแดนอื่นๆ เช่น วิทยาการของชาวตะวันออก เช่น การ เดินเรือ ศิลปะจีนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติ อารยธรรมของอิสลาม เช่น คณิตศาสตร์ การ ดื่มชาแบบจีน กาแฟจากตุรกี ยาสูบจากหมู่เกาะเวสต์อินดีส น้ำตาลจากบราซิล และมันฝรั่งจาก อเมริกาใต้ ได้มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวยุโรป

3. เกิดการแพร่กระจายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ชาวยุโรปได้นำพันธุ์พืชจากถิ่นกำเนิด ไปยังภูมิภาคอื่นๆ เช่น นำกาแฟจากดินแดนตะวันออกกลางมาปลูกที่เกาะชวา ต่อมาได้แพร่ขยาย ไปปลูกยังอเมริกาใต้ ต้นยางพาราจากบราซิลมาปลูกที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย ต่อมาได้ขยายมาปลูก ทางภาคใต้ของไทย มันฝรั่งและข้าวโพดจากทวีปอเมริกามาปลูกในยุโรป ปลูกข้าวโอ๊ตและ ข้าวโพดในทวีปแอฟริกา หัวผักกาดหวานจากทวีปอเมริกามาปลูกที่จีน และนำสัตว์ต่างๆ ไปยัง ทวีปอื่น เช่น แกะ ไปแพร่พันธุ์ที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และนำลา ล่อ วัว แพะ มาเลี้ยงใน อเมริกา เป็นต้น

4. เกิดการระบาดของโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งมาพร้อมๆ กับเรือของชาวยุโรป โรคระบาดที่ สำคัญ เช่น โรคหัดและฝีดาษในอเมริกาเหนือ ไข้เหลืองและไข้มาลาเรียที่มีมากในแอฟริกามา ระบาดในอเมริกากลางและใต้ เป็นต้น

5. ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปในดินแดนต่างๆ ที่ชาวยุโรปเข้าไปติดต่อค้าขาย หรือ ดินแดนที่ยุโรปได้เข้ายึดครองจัดตั้งเป็นอาณานิคม ในบางแห่งใช้แบบสันติวิธี โดยบาทหลวงจะทำ หน้าที่สั่งสอนให้การศึกษากับชาวพื้นเมืองและช่วย เหลือด้านมนุษยธรรม ในบางแห่งใช้วิธีการรุนแรงบีบ บังคับคนพื้นเมืองในบริเวณอเมริกากลางและ อเมริกาใต้ ให้มาเข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนา ทำให้ ศาสนาคริสต์เจริญอย่างมั่นคงในดินแดนทวีปอเมริกา และดินแดนต่างๆ

6. การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของยุโรป การขยายตัวทางการค้าทำให้ สมาคมอาชีพ (guild) ที่มีมาตั้งแต่สมัยกลางล่มสลายลง การค้นพบดินแดนใหม่ส่งผลให้การค้า ขยายตัวอย่างรวดเร็ว นำไปสู่การปฏิวัติทางการค้า ประเทศต่างๆ ในตะวันตกต่างใช้นโยบาย แข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นหลัก บรรดาพ่อค้าและนายทุนรวมตัวกันจัดตั้งบริษัทโดยมีกษัตริย์ให้ การสนับสนุนทำการค้าในนามของประเทศ เช่น บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ บริษัท อินเดียตะวันออกของฮอลันดา เป็นต้น ซึ่งทำให้บรรดาพ่อค้าและนายทุนมีฐานะมั่นคงและกลาย เป็นบุคคลชั้นนำทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมในเวลาต่อมา

การปฏิรูปศาสนา

การปฏิรูปศาสนา (Religious Reformation) เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีสาเหตุ สำคัญมาจากความเสื่อมความนิยมในผู้นำทางศาสนาและการเกิดแนวคิดใหม่เกี่ยวกับศาสนา เนื่องจากมีการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและแปลออกเป็นภาษาต่างๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ทำให้คริสต์ศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจใหม่ การปฏิรูปศาสนาจึงเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ โดยมีผู้นำการปฏิรูปหลายคนและใช้ชื่อแตกต่างกัน

การปฏิรูปคริสต์ศาสนา หมายถึง ขบวนการในยุโรปตะวันตกที่ปัจเจกชนและสถาบันต่างๆ แสดงความเห็นคัดค้านการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักในคัมภีร์ไบเบิล การปฏิรูปเป็นไปอย่าง ต่อเนื่อง จนในที่สุดคริสต์ศาสนาในยุโรปได้แตกแยกเป็น 2 นิกาย คือโรมันคาทอลิกและ โปรเตสแตนต์

สาเหตุการปฏิรูปศาสนา

สาเหตุการปฏิรูปศาสนา มีดังนี้

1. ประชาชนไม่พอใจสันตะปาปาที่กรุงโรม พระและบาทหลวงที่มีความเป็นอยู่อย่าง ฟุ่มเฟือย หรูหรา ทั้งยังเรียกเก็บภาษีบำรุงศาสนาสูงขึ้น เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในคริสตจักรใน กรุงโรม รวมทั้งการซื้อขายตำแหน่งของพวกบาทหลวงและความเสื่อมเสียในจริยวัตรของ สันตะปาปาที่ครองอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16

2. เจ้าผู้ครองแคว้นต่างๆ ในยุโรปต้องการเป็นอิสระจากคริสตจักรที่มีสันตะปาปาเป็น ผู้ปกครอง และจากจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากสันตะปาปาเข้าไปยุ่งเกี่ยว และใช้อำนาจทางการเมือง

3. การศึกษาในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทำให้ชาวยุโรปเห็นว่ามนุษย์สามารถทำความ เข้าใจคัมภีร์ไบเบิลได้ด้วยตนเองมากกว่าที่จะผ่านพิธีกรรมของศาสนจักร

4. สันตะปาปาจูเลียสที่ 2 (Julius II) และสันตะปาปาลีโอที่ 1 ต้องการหาเงินในการ ก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม จึงส่งคณะสมณทูตมาขาย “ใบไถ่บาป” ในดินแดน เยอรมนี เนื่องจากเป็นแนวคิดของชาวคริสต์ว่า พระเป็นเจ้าส่งพระเยซูคริสต์มาช่วยมนุษย์ให้พ้น จากบาป เรียกว่า การไถ่บาป (redemption) ด้วยการเสียสละพระชนม์ชีพ การไถ่บาปจะเป็นการ เปิดทางให้มนุษย์ได้รับการอภัยโทษ และกลับมามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ได้ อย่างถูกต้อง

การเริ่มต้นปฏิรูปศาสนา

การปฏิรูปศาสนาเริ่มต้นในดินแดนเยอรมนีใน ค.ศ. 1517 เมื่อมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther : ค.ศ. 1483-1546) นักบวชชาวเยอรมันและเป็นผู้สอนเทววิทยาสายคัมภีร์ (Biblical Theology) แห่งมหาวิทยาลัยวิทเทนบูร์ก (Wittenburg) ใน เยอรมนี ได้เขียนญัตติ 95 ข้อ (Ninety-Five Theses) คัดค้าน การขายใบไถ่บาปติดไว้หน้ามหาวิหารแห่งเมืองวิทเทนบูร์ก ญัตติ ของเขาได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในเยอรมนี แต่ผู้นำ ของคริสตจักรได้ลงโทษเขา โดยประกาศให้เขาเป็นบุคคลนอก ศาสนา (การบัพพาชนียกรรม : excommunication) แต่เจ้าชาย เฟรเดอริก (Friederick the Wise) ผู้ครองแคว้นแซกโซนีได้ให้ ความอุปถัมภ์เขาไว้ และให้เขาแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษา เยอรมัน ทำให้ความรู้ด้านศาสนาแพร่หลายไปทั่ว นอกจากนี้เขา ได้ก่อตั้งนิกายลูเธอร์ (Lutheranism) ซึ่งได้แพร่ขยายไปทั่วเยอรมนีและสแกนดิเนเวีย

ในสวิตเซอร์แลนด์ได้เกิดการปฏิรูปศาสนาเช่นกัน โดยเริ่มจากอุลริค ชวิงลี (Ulrich Zwingli : ค.ศ. 1484-1531) ชาวเยอรมัน ไฮริช บูลลิงเจอร์ (Heinrich Bullinger) และจอห์น คาลวิน หรือกัลแวง (John Calvin : ค.ศ. 1509-1564) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งลัทธิคาลวินส์ (นิกายกัลแวง : Calvinism) ที่แพร่หลายในสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และสกอตแลนด์

ในอังกฤษ พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงขัดแย้งกับสันตะปาปา เรื่องการหย่าขาดกับพระมเหสี องค์เดิมของพระองค์ คือ พระนางแคเธอรีนแห่งอารากอน (Catherine of Aragon) เพื่ออภิเษก สมรสใหม่ พระองค์จึงให้อังกฤษแยกตัวทางศาสนาออกจากศาสนจักรที่กรุงโรม โดยแต่งตั้ง สังฆราชแห่งแคนเทอร์บิวรี (Archbishop of Canterbury) ขึ้นใหม่ ต่อมาใน ค.ศ. 1563 กษัตริย์ อังกฤษ (สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบทที่ 1) ทรงประกาศตั้งนิกายอังกฤษหรือนิกายแองกลิคัน (Anglican Church) โดยกษัตริย์อังกฤษเป็นประมุขของศาสนา นิกายนี้มีลักษณะเด่นคือ การ ยอมรับและรักษาพิธีกรรมต่างๆ ของนิกายโรมันคาทอลิก แต่ไม่ยอมรับนับถือสันตะปาปาที่กรุงโรม

ในฝรั่งเศส ลัทธิคาลวินได้แพร่หลายในฝรั่งเศสในกลุ่มที่เรียกว่า พวกอูเกอโนต์ (Huguenot) ซึ่งถูกรัฐบาลปราบปรามอย่างหนักในคริสต์ศตวรรษที่ 16

การปฏิรูปได้แพร่ขยายจากเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ ฮอลแลนด์ และกลุ่มสแกน- ดิเนเวีย ไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป และมีการต่อต้านทุกแห่ง การต่อต้านอย่างรุนแรงเกิดขึ้นใน ฝรั่งเศสและสเปน จนกลายเป็นสงครามศาสนา

นิกายทางศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้ คือ นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) ซึ่งหมายถึงผู้คัดค้าน ซึ่งต่อมาได้แยกเป็นนิกายต่างๆ มากมาย เช่น นิกาย ลูเธอร์แรน นิกายรีฟอร์ม นิกายเพรสไบทีเรียน นิกายแองกลิคัน เป็นต้น

การปฏิรูปศาสนาของคริสตจักร

เมื่อมีการปฏิรูปศาสนาในดินแดนต่างๆ นักบวชและชาวคริสต์บางคนได้รวมตัวกันต่อต้าน และปฏิรูปตนเอง รวมทั้งชักชวนให้คริสต์ศาสนิกชนอื่นๆ ทำตาม บางท่านมีผู้เลื่อมใสและยกย่อง ให้เป็นนักบุญ เช่น บริจิตต์แห่งสวีเดน (Brigitt of Sweden) ฟรังซีสแห่งปาโอลา (Francis of Paola) ในอิตาลี และพวกปัญญาชนพยายามศึกษาเรื่องศาสนาและเผยแพร่สู่ประชาชน ซึ่งการ ปฏิรูปดังกล่าวเป็นการปฏิรูปจากคริสต์ศาสนิกชนเบื้องล่าง แต่เมื่อการปฏิรูปศาสนาลุกลามไป อย่างรวดเร็ว คริสตจักรจึงได้หาทางยับยั้ง ดังนี้

1. การประชุมสังคายนาแห่งเทรนต์ (Council of Trent) ในระหว่าง ค.ศ. 1545-1547 และ ค.ศ. 1562-1563 เพื่อกำหนดระเบียบวินัยภายในคริสตจักร ยกเลิกการขายใบไถ่บาป และ ให้ใช้ภาษาพื้นเมืองในการสอนศาสนา

2. การปรับปรุงระเบียบวินัยของนักบวชและตั้งคณะนักบวชเพื่อการปฏิรูป เช่น คณะเยซูอิต ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1534 เพื่อจัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนาและเผยแผ่ศาสนาไปยังประเทศ ต่างๆ

การปฏิรูปศาสนาของคริสตจักรทำให้เกิดมิชชันนารีจำนวนมาก เพื่อเผยแผ่คำสอนของ โรมันคาทอลิกไปทั่วโลก

ผลของการปฏิรูปการศาสนา

ผลของการปฏิรูปการศาสนา มีดังนี้

1. คริสตศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ โรมันคาทอลิก มีศูนย์กลางที่กรุงโรม มี สันตะปาปาเป็นประมุข และนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งแยกเป็นนิกายต่างๆ ได้แก่ นิกายลูเธอร์แรน นิกายคาลวิน นิกายแองกลิคัน เป็นต้น (ส่วนนิกายออร์ทอดอกซ์ แยกตัวไม่ขึ้นกับสันตะปาปา ใน ค.ศ. 1045 โดยมีสังฆราช ที่เรียกว่า patriarch เป็นประมุข ซึ่งแพร่หลายในกรีซ รัสเซีย เซอร์เบีย โรมาเนีย บัลแกเรีย) ทำให้ความเป็นเอกภาพทางศาสนาสิ้นสุดลง

2. เกิดการกระตุ้นให้ศึกษาหลักธรรมทางคริสต์ศาสนามากยิ่งขึ้นในหมู่สามัญชน มีการ เผยแผ่คริสต์ศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ

3. เกิดกระแสชาตินิยมในประเทศต่างๆ เนื่องจากนิกายโปรเตสแตนต์ส่งเสริมวัฒนธรรม ท้องถิ่น และส่งเสริมให้อำนาจแก่ผู้ปกครองในท้องถิ่นเป็นตัวแทนของพระเจ้าในการปกครอง ประเทศ

4. เกิดสงครามศาสนาในยุโรปหลายครั้ง ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเหนือคริสตจักร ในที่สุด

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการปฏิวัติ ทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นผลมาจากความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ การแสวงหาความรู้ใหม่ด้วย การสังเกต ทดลอง และการใช้เหตุผล ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศิลปินที่สำคัญต่างๆ ต่างใช้หลัก วิชากายวิภาคศาสตร์ เช่น กล้ามเนื้อและโครงสร้างของมนุษย์มาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ทั้ง งานจิตรกรรมและประติมากรรมที่เน้นสัดส่วนและความงดงามของสรีระของมนุษย์อย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องการเดินเรือทำให้มนุษย์ในยุโรปสมัยกลางคิดประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับการ เดินทาง เช่น เลนส์สำหรับกล้องส่องทางไกลและกล้องดูดาว พัฒนาเทคนิคการต่อเรือ เป็นต้น

จากยุคโบราณถึงยุคกลาง การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญาเป็นวิชาแขนงเดียวกัน นอกจากนี้คริสต์ศาสนายังมีอิทธิพลครอบงำความรู้ด้านต่างๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงมีการแยกวิชาปรัชญาออกจากวิทยาศาสตร์ ซึ่งในระยะแรกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ ส่วนปรัชญา เป็นเรื่องการศึกษาความคิด วิธีการศึกษาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ซึ่ง แต่เดิมเป็นความเชื่อตามศาสนาและเชื่อตามนักปราชญ์โบราณ ในยุคนี้ปัญญาชนได้ใช้วิธีสังเกต คิดประดิษฐ์อุปกรณ์มาช่วยในการสังเกต และใช้การทดลองอย่างมีเหตุผล ทำให้วิทยาศาสตร์ ก้าวหน้ามากขึ้น ช่วยให้การศึกษาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ มีความลึกซึ้งมากกว่าเดิม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความรู้ด้านอื่นๆ พัฒนาขึ้นด้วย

นักวิทยาศาสตร์และผลงาน

นักวิทยาศาสตร์และผลงานในช่วงนี้ ได้แก่

1.นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolus Copernicus : ค.ศ. 1473-1543) ชาวโปแลนด์ เสนอทฤษฎีว่าดวงอาทิตย์เป็น ศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดาวเคราะห์รวมทั้งโลกหมุนรอบ ดวงอาทิตย์ ทฤษฎีของเขาล้มล้างความเชื่อของคนในสมัย โบราณและสมัยกลางที่ยึดถือข้อสมมติฐานของอริสโตเติล (Aristotle) และงานเขียนของโตเลมี (Ptolemy) ที่อธิบายว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

2. กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei : .. 1564- 1642) ชาวอิตาลีได้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ เพื่อสังเกตการโคจรรอบ ดวงดาว ทำให้นักดาราศาสตร์ได้รับความรู้เกี่ยวกับจักรวาลและการ เคลื่อนที่ในระบบสุริยจักรวาลตามทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส ทฤษฎีของ กาลิเลโอขัดแย้งกับคริสต์ศาสนา ทำให้ถูกลงโทษจากคริสตจักร

                       

นิโคลัส โคเปอร์นิคัส                                              กาลิเลโอ กาลิเลอิ

3. เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon : .. 1561-1626) ชาวอังกฤษได้วางรากฐานการศึกษางานด้าน วิทยาศาสตร์ จนในที่สุดทำให้มีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสมาคม ที่ เรียกว่า The Royal Society of London for the Promotion of Natural Knowledge ขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์

4. เรอเน เดส์การ์ส (Rene Descartes : .. 1596- 1650) ชาวฝรั่งเศสได้เสนอหลักการใช้เหตุผล และการศึกษาค้นคว้า วิจัยในการแสวงหาความรู้และการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ว่า สามารถนำมาพิสูจน์และตรวจสอบข้อเท็จจริงได้

5. เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton : .. 1642- 1727) ชาวอังกฤษค้นพบกฎแรงดึงดูด (Law of Universal Attraction) และกฎแห่งความโน้มถ่วง (Law of Gravity) ซึ่งเป็นผลให้นัก วิทยาศาสตร์อธิบายการโคจรของโลกและดาวเคราะห์ต่างๆ ที่หมุนรอบ ดวงอาทิตย์ได้

                        

เซอร์ ฟรานซิส เบคอน                                            เรอเน เดส์การ์ส



เซอร์ ไอแซก นิวตัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

สาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

1. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เป็นผลให้ชาวยุโรปสนใจใฝ่หาความรู้และกระตือรือร้นที่จะ หาความรู้ใหม่ๆ นอกจากนี้ระบบการพิมพ์ก็ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ประชาชนสนใจที่จะศึกษามากขึ้น

2. การสำรวจทางทะเลและการค้นพบดินแดนใหม่ๆ ทำให้ชาวยุโรปพบเห็นสิ่งใหม่ๆ พืชพันธุ์ใหม่ คนต่างเชื้อชาติต่างวัฒนธรรม ทำให้เกิดอยากเรียนรู้เสาะหาข้อเท็จจริงใหม่ๆ ยิ่งขึ้น

ผลของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

ผลของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

1.ทำให้เกิดความรู้ใหม่แตกแยกออกไปหลายสาขา ทั้งคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ พฤกษศาสตร์ และการแพทย์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น การประดิษฐ์นาฬิกา การคำนวณการยิงปืนใหญ่ มีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสถานทาง วิทยาศาสตร์ที่อังกฤษใน ค.ศ. 1662

2. มีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อของชาวยุโรป ทำให้ชาวยุโรปเชื่อมั่นตนเอง และเชื่อมั่นในอนาคตว่าจะสามารถนำความสำเร็จมาสู่ชีวิตได้ ทำให้เกิดความปรารถนาที่จะเรียนรู้ และประดิษฐ์สิ่งต่างๆ

3. นำไปสู่การปฏิวัติทางภูมิปัญญา (Intellectual Revolution) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อีกด้วย ซึ่งหมายถึงยุคที่ชาวยุโรปกล้าใช้เหตุผลแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ตลอดจนเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เกิดนักปรัชญา ทางการเมืองที่สำคัญ เช่น วอล์แตร์ (Voltaire) และมองเตสกิเออร์ (Montesquicu) ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญทำให้ตะวันตกเข้าสู่ความเจริญในยุคใหม่ คริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงได้รับสมญาว่าเป็น ยุคแห่งความรู้แจ้งหรือยุคภูมิธรรม (The Age of Enlightenment) อันเป็นความคิดพื้นฐานของ การปกครองระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงใน วิธีการผลิตและระบบการผลิต จากเดิมระบบการผลิตมักทำกันภายในครอบคัว พ่อค้ามักเป็น นายทุนซื้อวัตถุดิบแล้วแจกจ่ายให้แต่ละครอบครัวรับมาทำ แล้วพ่อค้าจะรับผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จ แล้วไปขาย คนงานก็จะได้ค่าจ้างเป็นการตอบแทน การผลิตสินค้าเดิมใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ รวมทั้งพลังงานจากธรรมชาติ เครื่องมือแบบง่ายๆ มาเป็นการใช้เครื่องจักรกลแทน เริ่มจากแบบ ง่ายๆ จนถึงแบบซับซ้อนที่มีกำลังผลิตสูง จนเกิดเป็นการผลิตในระบบโรงงาน (factory system) การผลิตภายในครอบครัวก็ค่อยๆ หมดไป และผู้คนจำนวนมากตามชนบทต้องอพยพเข้ามาทำงาน เป็นกรรมกรในโรงงาน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดในประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้แพร่ ขยายไปยังประเทศตะวันตกอื่นๆ ทั่วโลก การปฏิวัติอุตสาหกรรมนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มีผล กระทบต่อการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของมนุษยชาติทั่วโลก

อังกฤษ : ผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นที่อังกฤษเพราะอังกฤษมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทาง อุตสาหกรรมครบถ้วน คือ มีทุน วัตถุดิบ แรงงาน และตลาดการค้า

อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) โดยนำความรู้ทาง วิทยาศาสตร์มาปรับปรุงการเกษตรให้พัฒนาขึ้น โดยในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษนำระบบล้อม เขตที่ดิน (enclosure system) มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นผลให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่สามารถรวบรวมที่ดินของตนเป็นผืนใหญ่ และสร้างรั้วล้อมที่ดินของตนเพื่อ ป้องกันความเสียหายของพืชผลจากการทำลายของคนและสัตว์ นอกจากนี้ยังนำวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต การปรับปรุงวิธีการทำนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การปฏิวัติเกษตรกรรมนำไปสู่ การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การเกษตรกรรมในอังกฤษได้ผลดีขึ้น ทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองขึ้น ประเทศมีความ มั่งคั่งขึ้นใน ค.ศ. 1694 รัฐบาลจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England) เพื่อเป็น แหล่งระดมทุนของรัฐ ทรัพยากรมนุษย์ของอังกฤษก็มีความพร้อมสนับสนุนการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะชาวอังกฤษไม่เคร่งครัดต่อการแบ่งแยกชนชั้น เช่น สังคมอื่นๆ ในยุโรป ทั้งยังให้การ ยอมรับชนทุกชั้นที่สามารถสร้างฐานะเป็นปึกแผ่น ดังนั้นขุนนางอังกฤษจึงไม่รังเกียจที่จะทำการค้า เช่นเดียวกับคนชั้นกลางที่พยายามยกสถานภาพทางเศรษฐกิจให้เท่าเทียมขุนนาง นอกจากนี้รัฐยังส่งเสริมให้การค้าขยายตัว เช่น มีการออกพระราชบัญญัติสร้างถนน ท่าจอดเรือ และขุดคูคลอง ต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางการค้า มีการยกเลิกการเก็บภาษีผ่านด่าน และมีนโยบายการค้าแบบเสรี ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้มีการขยายตัวของตลาดการค้าภายในอย่าง กว้างขวาง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อังกฤษเป็นประเทศผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรม เนื่องจากในระหว่าง คริสต์ศตวรรษที่ 17-18 อังกฤษมีอาณานิคมที่อยู่โพ้นทะเลที่เป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดทั้งใน ทวีปเอเชียและอเมริกา จนในที่สุดการค้าได้กลายเป็นนโยบายหลักของประเทศ เรือรบของอังกฤษ ทำหน้าที่รักษาเส้นทางทางการค้าทางทะเล และให้ความคุ้มครองแก่เรือพาณิชย์ที่เดินทางไปค้าขายทั่วโลก สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้ชาวอังกฤษคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรมาใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรกใน ระหว่าง ค.ศ 1760-1840 เป็นระยะที่มีการประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยในการผลิตและการปรับปรุง โรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1861- 1865 เป็นการปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จของอุตสาหกรรมเหล็ก และเครื่องจักรไอน้ำ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะแรก คือ การประดิษฐ์เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการ ทอผ้า เช่น ใน ค.ศ. 1733 จอห์น เคย์ (John Kay) แห่งเมืองแลงคาเชียร์ (Lancashire) ได้ประดิษฐ์กี่กระตุก (flying shuttle) ซึ่งช่วยให้ช่างทอผ้าสามารถผลิตผ้าได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า ค.ศ. 1764 เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves) สามารถผลิตเครื่องปั่นด้าย (Spinning Jenny) ได้สำเร็จ ต่อมา ค.ศ. 1769 ริชาร์ด อาร์กไรต์ (Richard Arkwright) ได้ปรับปรุง เครื่องปั่นด้ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และพัฒนาเป็นเครื่องจักรกลที่ใช้พลังน้ำหมุนแทนพลังคนเรียกว่า Water Frame ทำให้เกิดโรงงาน ทอผ้าตามริมฝั่งแม่น้ำทั่วประเทศ มีการ ขยายตัวทำไร่ฝ้ายในอเมริกา ต่อมาวิตนีย์ (Eli Whitney) สามารถประดิษฐ์เครื่อง แยกเมล็ดฝ้ายออกจากใย (Cotton Gin) ได้เมื่อ ค.ศ. 1793 การพัฒนาอุตสาห- กรรมการทอผ้าของอังกฤษเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19



เครื่องปั่นด้าย (Spinning Jenny) ที่สามารถปั่นได้พร้อมกันได้ทีละหลายเส้น

การประดิษฐ์ที่พัฒนาควบคู่กับการทอผ้า คือ การประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยเจมส์ วัตต์ (James Watt) ชาวสกอต ประดิษฐ์ได้ใน ค.ศ. 1769 โดยใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลแทนพลังงาน น้ำ ซึ่งส่งผลให้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหมืองแร่และการทอผ้า ต่างใช้เครื่องจักรไอน้ำ เป็นพลังขับเคลื่อนเครื่องจักรกลทั้งสิ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก เมื่อมีการพัฒนาเครื่องจักร กลไอน้ำ ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กขยายปริมาณการผลิตได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อเฮนรี คอร์ต (Henry Cort) ชาวอังกฤษคิดค้นวิธีการ หลอมเหล็กให้มีคุณภาพดีขึ้น ก็ส่งผลให้มีการปรับปรุงคุณภาพของปืนใหญ่ ตลอดจนยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้มี ประสิทธิภาพขึ้น



เครื่องจักรไอน้ำซึ่งประดิษฐ์

โดย เจมส์ วัตต์

ต่อมาใน ค.ศ. 1807 ชาวอังกฤษได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมจำหน่ายเครื่องจักร ณ เมืองลีจ (Liege) ประเทศเบลเยียม ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในเบลเยียม แต่อย่างไรก็ตาม ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษยังครองความเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยใน ค.ศ. 1851 อังกฤษได้จัดแสดงนิทรรศการครั้งใหญ่ (Great Exhibition) แสดงความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเหล็กของอังกฤษ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 เป็นการปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นผลมาจาก ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเหล็กและเครื่องจักรไอน้ำ โดยใน ค.ศ. 1804 ริชาร์ด เทรวีทิก(Richard Trevitick) นำพลังงานไอน้ำมาขับเคลื่อนรถบรรทุก รถจักรไอน้ำจึงมีบทบาทสำคัญใน อุตสาหกรรมขนส่ง ที่มีชื่อเสียงมาก คือ หัวรถจักรไอน้ำ ชื่อ ร็อกเกต (Rocket) ของจอร์จ สตี- เฟนสัน (George Stephenson) ทำให้มีการเปิดบริการรถจักรไอน้ำบรรทุกสินค้าเป็นครั้งแรก ต่อ มามีการดัดแปลงมารับส่งผู้โดยสาร ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเข้าสู่ยุคการใช้รถไฟ ซึ่งเป็นผลทำให้ ความเจริญขยายตัวจากเขตเมืองไปสู่ชนบท เปลี่ยนชนบทให้กลายเป็นเมือง นอกจากนี้รถไฟยัง เป็นพาหนะสำคัญในการลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ และเป็นสิ่งกระตุ้นให้ยุโรป สนใจกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19



หัวรถจักรไอน้ำถูกดัดแปลงเข้ามาใช้งานในการขนส่ง

เช่น รถไฟ ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2

ฝรั่งเศสภายหลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1789 (French Revolution : ค.ศ. 1789) ได้หันมา สนใจปฏิวัติอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา และก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งกับอังกฤษ

ส่วนการคมนาคมทางน้ำ ใน ค.ศ. 1807 โรเบิร์ต ฟุลตัน (Robert Fulton) ชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จในการนำพลังไอน้ำมาใช้กับเรือเพื่อรับส่งผู้โดยสาร ต่อมา ค.ศ. 1840แซม มวล คูนาร์ด (Semuel Cunard) เปิดเดินเรือกลไฟแล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ภายใน 14 วัน และมีการปรับปรุงเรือกลไฟให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทางด้านรถยนต์มีการนำพลังไอน้ำมาใช้กับรถสามล้อ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มี การประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน จนถึง ค.ศ. 1857 คาร์ล เบนซ์ (Karl Benz) และ กอตต์ลีบ เดมเลอร์ (Gottlieb Daimler) สามารถนำเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินมาใช้กับรถยนต์ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์เจริญก้าวหน้าขึ้น

ในยุคนี้ยังได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบลูกกลิ้งขึ้นใช้ใน ค.ศ. 1812 ทำให้การพิมพ์ พัฒนาได้ปริมาณมากขึ้นและเร็วทันเหตุการณ์ หนังสือพิมพ์จึงแพร่หลาย การเผยแพร่ความรู้และ ข่าวสารก็แพร่หลายในวงกว้างขึ้น นอกจากนี้ยังมีการริเริ่มระบบไปรษณีย์ในอังกฤษ ใน ค.ศ. 1840 ทำให้การสื่อสารสะดวกรวดเร็วขึ้น ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แซมมวล มอร์ส (Semuel Morse) ประดิษฐ์โทรเลขได้สำเร็จเป็นคนแรก ใน ค.ศ. 1837 อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) ประดิษฐ์โทรศัพท์ได้สำเร็จใน ค.ศ. 1876 และใน ค.ศ. 1901 ก็มีการ ประดิษฐ์วิทยุโทรเลขได้และส่งโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้สำเร็จ ธอมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ชาวอเมริกันประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า เครื่องเล่นจานเสียง และ กล้องถ่ายภาพยนตร์ได้

ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีดังนี้

1. ประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะความ ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และทางด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้า ขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสมบูรณ์ของอาหาร ระบบ สาธารณสุขและการดูแลสุขภาพอนามัย การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอพยพจากชนบทมาหางานทำใน เมืองจนเกิดปัญหาความแออัดของประชากรในเขตเมือง

2. การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและสถาปัตยกรรม พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีการก่อสร้าง ทำให้อาคารแข็งแรงขึ้น การออกแบบ ก่อสร้างหอไอเฟล (Eiffel Tower) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1889 ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการก่อสร้างที่ ทันสมัยของโลก

3. เกิดปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย เช่น ชุมชนแออัด การแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัญหาอาชญากรรม การใช้ แรงงานเด็ก การเอารัดเอาเปรียบกัน ทำให้เกิดแนวคิดของ ลัทธิสังคมนิยม (Socialism) ของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ที่เรียกร้องให้กรรมกรรวมพลังกันเพื่อก่อการปฏิวัติโค่นล้มระบบ ทุนนิยม ทำให้ลัทธิสังคมนิยมมีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้น

4. เกิดลัทธิเสรีนิยม (liberalism) ซึ่งเป็นพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยและ แนวคิดนี้แพร่หลายกว้างขวางขึ้น ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ค.ศ. 1776 แอดัม สมิธ (Adam Smith) ได้พิมพ์งานเขียนชื่อ The Wealth of Nations เพื่อเสนอแนวคิดว่าความมั่งคั่งของ ประเทศจะเกิดจากระบบการค้าแบบเสรี (laissez faire)

กล่าวได้ว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการแบ่งค่ายระหว่างลัทธิทุนนิยมกับลัทธิ สังคมนิยมอย่างเป็นรูปธรรม ต่อมาใน ค.ศ. 1889 ได้มีการประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันเมย์เดย์หรือวันแรงงานสากล (May Day) นอกจากนี้ยังทำให้เกิดวรรณกรรมแนวสัจนิยม (Realism) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่พยายามเสนอเรื่องความเป็นจริงเบื้องหลัง ความสำเร็จ ของระบบสังคมอุตสาหกรรม ที่ชนชั้นกรรมกรมีชีวิตที่ยากไร้และถูกเอารัดเอาเปรียบ

5.การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมได้ขยายไปทั่วภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเมือง และทำให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้มี “วัฒนธรรมร่วม” ตามตะวันตกไปด้วย

 

 

การปฏิวัติทางภูมิปัญญา

การปฏิวัติทางภูมิปัญญาเป็นผลสืบเนื่องจากการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ซึ่งกระตุ้นให้ ชาวยุโรปสนใจศึกษาหาความรู้และค้นหาความจริง ทำให้ยุโรปพ้นจากยุคมืด มีโอกาสแสวงหา ความรู้วิทยาการแขนงใหม่ที่มีอิสรภาพ และเสรีภาพมากขึ้น ส่งผลให้ชาวยุโรปมีความคิดก้าวหน้า ทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง เกิดนักคิด นักปรัชญาขึ้นมากมาย ซึ่งอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17-18

บุคคลสำคัญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำในการปฏิวัติทางภูมิปัญญา ได้แก่

1. พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย (Frederick the Great : .. 1740-1786) ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของ กษัตริย์ทรงภูมิธรรม (Enlightened Despotism) ด้วยทรงใช้สติปัญญา และเหตุผลในการปกครอง ส่งเสริมการอุตสาหกรรมและการค้าเพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ทรงใช้หลักขันติธรรมทางศาสนา (religious toleration) ให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา และเปิดโอกาสให้ปัญญาชนสามารถแสดง ความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง

2. ธอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes : .. 1586-1679) เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Leviathan ซึ่ง แสดงแนวคิดทางการเมืองว่า สังคมการเมืองที่อยู่อย่างสันติสุขต้อง มอบอำนาจให้ผู้ปกครองทำหน้าที่ปกครองประชาชน ทั้งนี้ประชาชนมีสิทธิเลือกการปกครองที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่

3. จอห์น ล็อค (John Locke : .. 1632-1704) เป็นนัก ปรัชญาชาวอังกฤษ เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง Two Treatises of Government ซึ่งเสนอแนวคิดว่ารัฐบาลต้องจัดตั้งโดยความยินยอมของ ประชาชนและต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของประชาชน

4. บารอน เดอ มองเตสกิเออ (Baron de Montesquieu : .. 1689-1755) เป็นขุนนางชาวฝรั่งเศสซึ่งต่อมาเป็นราชบัณฑิตของ ราชบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส เขาได้เขียนหนังสือเรื่อง The Spirit of Laws ซึ่งเสนอว่ากฎหมายที่รัฐบาลบัญญัติขึ้นต้องสอดคล้องกับสังคมนั้น(วัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคม) เขาชื่นชม ระบอบการปกครองของอังกฤษที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และแบ่ง อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ออกจากกัน

5. วอลแตร์ (Voltaire : .. 1694-1778) นักปรัชญาชาว ฝรั่งเศส ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Philosophical Letters หรือLetters on the English ซึ่งได้โจมตีสถาบันและกฎระเบียบต่างๆ ของฝรั่งเศส และเรียกร้องให้มีการปฏิรูป ในหนังสือเรื่อง Elements of the Philosophy of Nation, Essay on Universal History และ เรื่อง The Age of Louis XIV เขาเสนอให้ใช้เหตุผลและสติปัญญา แก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง

6. ชอง-ชาคส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau : .. 1712-1778) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส หนังสือที่สำคัญคือเรื่อง สัญญาประชาคม (The Social Contract) ซึ่งถือว่าเป็นการ วางรากฐานแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน เพราะ มนุษย์เป็นอิสระ ควรจัดตั้งรูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนร่วม ทำ “เจตจำนงร่วม” (General Will) หรือสัญญาประชาคมขึ้นเป็น อำนาจสูงสุด รัฐบาลจึงควรเกิดจากความเห็นร่วมกันของประชาชน