การกําหนดความเหมาะสมของเนื้อหา ภาพ และเสียงขึ้นอยู่กับอะไร

นางสาลิตา   ศรีแสงอ่อน
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

เนื้อหาโดยสรุป

การนำเสนอเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังโดยการพูดประกอบสื่อในระยะเวลาสั้น ๆ องค์ประกอบของการนำเสนอประกอบด้วย ผู้นำเสนอ (Presenter) เนื้อหา (Content) ผู้ฟัง (Audlence) ผู้นำเสนอจะต้องมีบุคลิกภาพ ความเชื่อมั่น ประสบการณ์ การเตรียมตัว ความรู้ ความสามารถ สไตล์การนำเสนอ  เนื้อหาการสำเสนอ จะต้องประกอบด้วย วัตถุประสงค์ รูปแบบ ขั้นตอน ความยากง่าย ความน่าสนใจ สื่อประกอบ โสตทัศนูปกรณ์ ผู้ฟัง (Audlence) จะต้องมีความสนใจ ความรู้ ความเข้าใจ ความเกี่ยวข้อง ทัศนคติ การยอมรับ การเรียนรู้

การนำเสนอที่ดี จะต้องเรียนรู้จากข้อเท็จจริง เรียนรู้จากจำนวนตัวเลข เรียนรู้จากรูปภาพและวีดีโอ เรียนรู้จากคำอธิบาย เรียนรู้จากการแสดงการสาธิต เรียนรู้จากตัวอย่างหรือแบบจำลอง เรียนรู้จากการอภิปรายซักถาม เรียนรู้จากการวิเคราะห์ด้วยตนเอง

ขั้นตอนแบบรายงานข้อมูล (Information Format) ประกอบด้วย

1. กำหนดหัวข้อการนำเสนอ 2. กล่าวความเป็นมา 3. เนื้อหาที่จะนำเสนอ (Outline) 4. นำเสนอข้อมูล  5. ลำดับเหตุการณ์  6.  ยกตัวอย่างประกอบ  7.  สร้างความเข้าใจแบบง่าย ๆ  8. ใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบ 9. สรุปสาระสำคัญ

สื่อประกอบการนำเสนอ ได้แก่ แผ่นใส สไลด์ วีดีโอเทป ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์คู่มือ-เอกสารประกอบ โปสเตอร์ แผ่นพับ หุ่นจำลอง ตัวอย่างของจริง

โสตทัศนูปกรณ์ ประกอบด้วย โปรเจคเตอร์ (PROJECTOR) เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายวีดีโอเทป  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ & LCD Projector   กระดานขาว (WHITE BOARD) ฟลิปชาร์ท (FLIP CHART)  เครื่องเสียง

ข้อแนะนำในการใช้ Power Point Presentation

ไม่ควรใช้จำนวน Slide มากเกินไป ระมัดระวังการใช้ Animation ให้เหมาะสม   ใช้ภาพประกอบหรือ Clip Arts สร้างความน่าสนใจ  ไม่ใส่เนื้อหาแน่นเกินไป ซ่อนบาง Slide ไว้ เพื่อใช้ประกอบเมื่อจำเป็น Slide Show ให้เต็มจอ กด “B” ทำ

ขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอ

  1. กำหนดวัตถุประสงค์
  2. วิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์
  3. กำหนดรูปแบบ (FORMAT)
  4. รวบรวมข้อมูลและหลักฐานอ้างอิง
  5. วางโครงการนำเสนอ
  6. เรียบเรียงเนื้อหา
  7. จัดทำสื่อประกอบการนำเสนอ
  8. เตรียมบท (SCRIPTS)
  9. ตรวจสอบโสตทัศนูปกรณ์
  10. ซักซ้อมให้จอมืด หรือ “W” ทำให้จอสว่าง

ขั้นตอนการนำเสนอ

  1. ปรากฏตัวบนเวที
  2. ตรวจสอบความเรียบร้อย
  3. ทักทายและเกริ่นนำ
  4. นำเสนอ
  5. เปิดโอกาสให้ซักถาม
  6. สรุปและจบการนำเสนอ

การเริ่มต้นนำเสนอทางธุรกิจมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสม

  1. เริ่มต้นโดยเกริ่นนำถึงผลประโยชน์ (Benefits Approach)
  2. เริ่มต้นโดยการพูดถึงปัญหาและทางแก้(Problems & Solutions)
  3. เริ่มต้นโดยกระตุ้นความอยากรู้ (Curiosity Stimulating)
  4. เริ่มต้นโดยกล่าวถึงข้อมูลสำคัญ (Information Giving)
  5. เริ่มต้นโดยการสาธิตที่น่าสนใจ (Dramatic Demonstration)

เนื้อหาการนำเสนอที่น่าสนใจ  จะต้อง เห็นภาพ (Visualization) น่าสนใจ  ใกล้ตัว  เป็นไปได้  แปลกใหม่ มองเห็นประโยชน์   สร้างอารมณ์ร่วม   มีหลักฐาน ตัวอย่าง   ข้อมูลชัดเจน

การจบการนำเสนอ (Closing for Business Presentation)

  1. สรุปเนื้อหาสำคัญ
  2. เน้นยํ้าประโยชน์ที่จะได้รับ
  3. กระตุ้นการตัดสินใจ
  4. สร้างความมั่นใจในการแก้ปัญหา
  5. กล่าวถึงขั้นต่อไป (Next Steps)

ประเภทคำถาม

คำถามที่พบส่วนมากมีดังนี้  สงสัยไม่เข้าใจ  เพิ่มเติมรายละเอียด  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ไม่เห็นด้วย  คำถามเสนอความเห็น  ลองภูมิปัญญา  จ้องจับผิด  ต้องการมีส่วนร่วม  ถามนำ สร้างแนวร่วม  ถามแบบสนุก ๆ

เทคนิคการตอบคำถาม

เทคนิคในการตอถาม จะต้องแสดงความสนใจคำถาม  ชมผู้ถามตามความเหมาะสม  ทวนคำถามยํ้าประเด็น ตอบคำถามให้ตรงประเด็น  ตอบคำถามกับทุกคน  ควบคุมอารมณ์และระมัดระวังการใช้คำพูด  หากเป็นคำถามตอบยากและท้าทายให้หาแนวร่วม  ควบคุมสถานการณ์และเวลา

ประโยชน์ที่ได้รับ

ได้รับความรู้ในเกี่ยวกับรูปแบบ เทคนิค วิธีการนำเสนอ การเตรียมความพร้อมในการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้นำเสนอจะต้องมีทักษะและความเชื่อมั่นในการพูดการนำเสนอ โดยมีการวิเคราะห์และกำหนดประเด็นให้สอดคล้องความสนใจของผู้ฟัง ประกอบด้วย เตรียมตัวและเตรียมการให้พร้อม กำหนดรูปแบบ (Format) ที่เหมาะสม  ใช้หลักฐานอ้างอิง (Evidence) ที่มีนํ้าหนัก จัดทำสื่อประกอบการนำเสนออย่างเหมาะสม นำเสนออย่างมีรูปแบบขั้นตอน ตอบคำถามหรือข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน

การนำเสนอที่ดีควรทำอย่างไร?

การนำเสนอเป็นหนึ่งในทักษะที่ทุกคนจะต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นแก่ตน เพราะเป็นทางนำมาซึ่งความสำเร็จในการนำผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ เสนอเพื่อให้มีการรับรอง หรือ อนุมัติ นับว่าเป็นสิงสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต

การกําหนดความเหมาะสมของเนื้อหา ภาพ และเสียงขึ้นอยู่กับอะไร

ลักษณะการนำเสนอที่ดี

                        นอกจากการเลือกรูปแบบของการนำเสนอ  ให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว  จะต้องคำนึงถึงลักษณะของการนำเสนอ  ที่จะช่วยให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอด้วย  โดยทั่วไปลักษณะของการนำเสนอที่ดี  ควรมีดังต่อไปนี้

1.  มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน  กล่าวคือ  มีความต้องการที่แน่ชัดว่า  เสนอเพื่ออะไร  โดยไม่ต้องให้ผู้รับรับการนำเสนอต้องถามว่าต้องการให้พิจารณาอะไร

2.  มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม  กล่าวคือ  มีความกระทัดรัดได้ใจความ  เรียงลำดับไม่สนใช้ภาษาเข้าใจง่าย  ใช้ตาราง  แผนภูมิ  แผนภาพ  ช่วยให้พิจารณาข้อมูลได้สะดวก

3.  เนื้อหาสาระดี  กล่าวคือ  มีความน่าเชื่อถือ  เที่ยงตรง  ถูกต้อง  สมบูรณ์ครบถ้วน ตรงตามความต้องการ  มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันสมัย  และมีเนื้อหาเพียงพอแก่การพิจารณา

4.  มี ข้อเสนอที่ดี  กล่าวคือ  มีข้อเสนอที่สมเหตูสมผล  มีข้อพิจารณาเปรียบเทียบ ทางเลือกที่เห็นได้ชัด  เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน             

                       คุณสมบัติของผู้นำเสนอ

                        ในการนำเสนอด้วยวาจา  คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ  ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ  เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ  ความไว้วางใจ  เชื่อถือ  และการยอมรับได้มาก  เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ

                       ผู้นำเสนอที่ประสพความสำเร็จส่วนใหญ่  จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1.       มีบุคลิกดี

2.       มีความรู้อย่างถ่องแท้

3.       มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ

4.       มีความเชื่อมั่นในตนเอง

5.       มีภาพลักษณ์ที่ดี

6.       มีน้ำเสียงชัดเจน

7.       มีจิตวิทยาโน้นน้าวใจ

8.       มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์

9.       มีความช่างสังเกต

   10.     มีไหวพริบปฏิภาณในการคำถามดี

           การสร้างงานนำเสนอที่ดีต้องมีแบบแผน ต้องเตรียมการ ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เริ่มต้นจากจุดประสงค์ในการนำเสนอ ว่าจะนำเสนอเรื่องอะไร ใครเป็นผู้รับฟัง มีกลุ่มเป้าหมายกี่ท่าน ใช้อุปกรณ์ใดในการนำเสนอ ฯลฯ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ต้องมีระบบตรวจสอบการรับฟังว่าผู้ฟังมีความเข้าใจถูกต้องตรงกับที่เราเสนอ เพียงใด
          ขั้นตอนการสร้างงานนำเสนอไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่าหากเราจัดเตรียมงานเสนออย่างรัดกุม โดยอยู่ในกรอบแบบแผนที่วางไว้ งานนำเสนอจะออกมาดีแน่นอน
          ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการเตรียมงานนำเสนออย่างคร่าวๆซึ่งผู้อ่านสามารถนำไปใช้ เป็นแนวทางตามความเหมาะสม

การกําหนดความเหมาะสมของเนื้อหา ภาพ และเสียงขึ้นอยู่กับอะไร

                    เตรียมข้อมูล การเตรียมตัวสำหรับงานนำเสนอ ต้องมีข้อมูลทั้งในส่วนของผู้บรรยายและผู้ฟังบรรยาย เรียกว่าต้องรู้เขารู้เรา หากทำเช่นนี้รบกี่ครั้งก็ชนะ ด้านหนึ่งคือต้องหาข้อมูลที่ดีที่สุดเพื่อใช้นำเสนอ เริ่มจากต้องทราบว่าการนำเสนอในครั้งนี้มีจุดประสงค์อะไร ต้องการให้ผู้ฟังทราบอะไรบ้าง ใครเป็นผู้ที่เหมาะสมในการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ และอีกด้านหนึ่งก็เป็นส่วนสำคัญคือ ต้องทราบว่าผู้ฟังเป็นใคร มีวุฒิภาวะ การศึกษาระดับใด มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่จะนำเสนอบ้าง หรือมีความสนในสิ่งนี้หรือไม่
                    เมื่อทราบวัตถุประสงค์อย่างคร่าวๆแล้ว ต่อไปก็ให้รวบรวมข้อมูลที่เรามีอยู่มาทำการวิเคราะห์ว่าข้อมูลใดที่ควรนำมา ใส่ไว้ในสไลด์บ้าง มีข้อมูลใดที่เป็นส่วนสำคัญและยังขาดอยู่ ก็ให้หามาให้ครบถ้วน

                    จัดทำงานนำเสนอ เมื่อมีข้อมูลจนครบถ้วน ก็ให้นำข้อมูลต่างๆมาสร้างเป็นงานนำเสนอ เริ่มจากการจัดเตรียมหัวข้อหลักๆให้เหมาะสม ให้เป็นไปตามจุดประสงค์ที่วางเอาไว้คือ ต้องทราบว่าในสไลด์แต่ละแผ่นมีวัตถุประสงค์อะไร ควรมีข้อข้อความใดบ้าง เมื่อครบถ้วนแล้ว จึงค่อยตกแต่งแต่ละสไลด์ให้สวยงาม การตกแต่งอาจใส่รูปภาพ ใส่กราฟ ตัวการ์ตูน ใส่เสียง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ
                    เมื่อเราสร้างงานนำเสนอเสร็จแล้ว ก็ให้จัดพิมพ์เอกสารลงกระดาษ เพื่อเตรียมไว้แจกผู้เข้ารับฟังการบรรยาย แนะนำว่าควรจัดทำเผื่อไว้สัก 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะเอกสารที่เหลือดีกว่าไม่มีพอแจกผู้ฟัง

                    ซักซ้อมก่อนนำเสนอจริง เมื่อได้สร้างงานนำเสนอพร้อมกับพิมพ์เอกสารเตรียมไว้แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ การซักซ้อมการบรรยาย ผู้อ่านสามารถตรวจสอบท่าทางตัวเองได้ในกระจกบานใหญ่ๆ สังเกตน้ำเสียงและท่าทาง เพื่อป้องกันการประหม่าขณะอยู่ท่ามกลางสายตาประชาชนจำนวนมาก จุดประสงค์ของการซ้อมก่อนการนำเสนอจริงมีดังนี้คือ
                    ซ้อมเพื่อให้เข้าใจข้อมูลอย่างถ่องแท้ ในขณะที่ผู้อ่านทดลองบรรยายแต่ละหัวข้อสไลด์ จะทราบโดยทันทีว่าหัวข้อใดควรเน้นพิเศษ หัวข้อใดควรข้ามไป ข้อดีอีกประการหนึ่งของการซ้อมการบรรยายคือ ผู้บรรยายจะรู้ด้วยตนเองว่าอธิบายจุดใดได้ไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากตัวผู้บรรยายเองไม่เข้าใจหัวข้อนี้ หรือข้อมูลที่ได้มายังไม่กระจ่างเพียงพอ
                    ซ้อมเพื่อลำดับการนำเสนอที่ถูกต้องขณะทดลองบรรยาย หากพบว่าหัวข้อใดที่มีลำดับไม่ถูกต้อง ก็สามารถกลับไปแก้ไขได้ทันที
                    ซ้อมเพื่อให้เกิดความมั่นใจการทดลองซ้อมจริงๆหน้ากระจก วิธีการเน้นเสียง กิริยาท่าทาง หากเราซ้อมไปเรื่อยๆ จะเกิดความชำนาญและความมั่นใจ ช่วยให้ภาพโดยรวมของการนำเสนอจริงเป็นไปอย่างราบรื่น
                    ซ้อมเพื่อหากำหนดเวลาที่แน่นอน การจับเวลาการซ้อมบรรยาย จะได้ทราบว่าควรเน้นหัวข้อใดบ้าง casino online polska หรือควรใช้เวลากับเรื่องใดเป็นพิเศษ ถ้าพบว่าใช้ช่วงเวลาใดไม่เหมาะสมเราจะได้หาทางป้องกันและแก้ไขได้ทันที

                    นำเสนอจริง ขณะนำเสนอจริง ผู้บรรยายควรเป็นส่วนเดียวกับผู้ฟัง กล่าวคือควรทำให้บรรยากาศการบรรยายเป็นกันเอง เมื่อเป็นกันเองแล้วเรื่องต่างๆ ก็จะง่าย ผู้บรรยายก็ไม่เกร็ง ผู้ฟังรู้สึกสบาย งานนำเสนอก็จะราบรื่นไปด้วยดี
                    ขณะนำเสนอ PowerPoint มีทางเลือกในการเปลี่ยนสไลด์ได้หลายทาง คุณอาจใช้เมาส์คลิก หรือใช้คีย์ นอกจากนี้ยังสามารถวาดเส้นบางส่วนบนสไลด์ในขณะทำการบรรยาย
                    คุณสมบัติอย่างหนึ่งใน PowerPoint ที่อำนวยความสะดวกในการบรรยาย ได้แก่ การเลือกแสดงบางสไลด์ที่ต้องการ ผู้บรรยายสามารถกำหนดให้แสดงบางกลุ่มสไลด์ หรือกระโดดไปยังสไลด์ในแผ่นใดๆก็ได้ รวมทั้งสามารถอ้างอิงกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น อินเตอร์เน็ต
                    การพูด การสื่อความหมาย การโน้มน้าวจิตใจให้คนต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างฐานะความรู้ ฯลฯ ให้มีเจตคติที่ดีและเข้าใจในสิ่งที่เราอยากนำเสนอจำเป็นต้องมีวิธีการนำเสนอ ที่ดี ประทับใจ และโดดเด่นเหนือคู่แข่ง ซึ่งคนเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร พ่อค้า พนักงานขาย วิทยากร หรือบุคคลต่างๆ จะต้องฝึกทักษะและพัฒนาฝีมือในการนำเสนอความคิดหรือสินค้าของตนตั้งแต่ระดับ ง่ายๆ จนกระทั่งถึงวิธีการนำเสนอแบบมืออาชีพ “ท่านจะได้รับผลตอบแทนตามมาอย่างคุ้มค่า หากท่านจะมีความตั้งใจจริงที่จะสื่อสารให้คนจำนวนหนึ่งเข้าใจท่านได้อย่าง แท้จริงเท่านั้น”
                    Alan Loy McGinnis Bringing Out the Best in People, Augsburg Publishing House, Minneapolis, 1985, p 167
                    คำจำกัดความที่ไพเราะและเหมาะสมของ “การนำเสนอ” ก็คือ “การให้” ชนิดหนึ่งนั่นเอง ซึ่งก็หมายความว่าผู้นำเสนอจะให้ในสิ่งที่ “ผู้รับ” (ผู้ฟัง) อยากได้นั่นเอง ท่านเคยสังเกตไหมว่าเวลาท่านให้ของที่ถูกใจแก่ผู้รับเขามีกริยา “การตอบสนอง” อย่างไร ? ฉันใดก็ฉันนั้นกริยาอาการอย่างนั้นท่านก็จะพึงได้รับถ้าหากท่านนำเสนอได้ อย่าง “มืออาชีพ” และ “การตอบสนอง” จากผู้ฟังนี่เองคือข้อแตกต่างประการที่สองระหว่าง “การกล่าวคำปราศรัย” และ “การนำเสนอ”


10 สุดยอดเทคนิคการนำเสนอ

การกําหนดความเหมาะสมของเนื้อหา ภาพ และเสียงขึ้นอยู่กับอะไร
จากการที่ได้นำบทความเรื่อง การนำเสนอ ช่วยหรือฉุด มาให้อ่านกัน หลายท่านก็สอบถามกันมาว่า "รู้แล้วว่ามันไม่ดี แต่ถ้าจะทำให้ดีๆ ทำอย่างไร?" คราวนี้ก็เลยขอนำ 10 สุดยอดเทคนิคการนำเสนอที่น่าจะเป็นหนทางช่วยเหลือให้ทุกท่านได้สร้างงานนำ เสนอต่อที่ประชุม สัมมนา อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผู้ฟังติดตา ตรึงใจ ประทับใจไปอีกนาน ไม่ใช่ขึ้นไปบนเวทีเพื่อให้ถูกเชือด (เฉือนในใจ) ผู้ฟังเงียบสนิท (เพราะหลับกันถ้วนหน้า) มีวิธีการอย่างไร...?

ขอเสนอด้วยปัญหาที่พบเห็นกันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นในงานประชุม สัมมนาในระดับโรงเรียนหรือระดับชาติ และเสริมเพิ่มด้วยเทคนิคที่ควรจะนำไปแก้ไขให้เกิดประโยชน์ ลองติดตามดูว่าคุณเคยสัมผัสประสบการณ์เหล่านี้ ตอนที่นั่งดูการนำเสนองานหรือไม่? เริ่มจากข้อผิดพลาดเบาๆ ไปสู่ข้อผิดพลาดที่ทำให้หน้าแตกมากที่สุดกันเลย...

10) เลือกใช้สีสันฉูดฉาดแบบลูกกวาด

คุณผู้สร้างงานนำเสนอคงชอบแบบนี้แน่ (ถึงได้ทำออกมาไง?) แต่ไม่ใช่ในมุมมองของผู้ชมที่นั่งอยู่ตรงหน้า ควรหลีกเลี่ยงการจับคู่สีที่แปลกประหลาด อย่างเช่น จับคู่สีส้มกับสีฟ้า สีเขียวกับสีแดง เอาง่ายๆ สีตรงข้ามในวงล้อของสีที่เราเรียนศิลปะนั่นแหละ

เคล็ดลับข้อที่ 10

ความเข้มสีที่เหมาะสมกับพื้นหลังเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้อ่านข้อความของคุณได้ง่าย

  • ข้อความสีเข้มบนพื้นสีอ่อน เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เลือกใช้สีโทนสีเบจหรือสีพื้นหลังแบบอ่อน ซึ่งช่วยให้สายตารับภาพได้ดีกว่าการใช้สีขาวล้วน การใช้พื้นหลังสีเข้มก็เหมาะกับการใช้สีตัวอักษรที่อ่อนเช่นกัน
  • การเลือกใช้พื้นหลังแบบมีลวดลายทำให้อ่านข้อความได้ยาก
  • เลือกโทนสีให้สอดคล้องกัน

9) ซูม ซูม - ใส่แอนิเมชั่นสุดหวือหวา

คุณอาจมองว่า การเลือกใช้ภาพแอนิเมชั่นและเอฟเฟคเลียงนี่มันสุดเจ๋งจริงๆ และคุณก็ใช้ในงานนำเสนอของคุณมากกว่า 85% โดยหวังว่าจะประทับใจผู้ชมงานด้วยความสามารถพิเศษแบบนี้ แต่บางทีมันก็มีข้อยกเว้น เพราะผู้ชมงานของคุณอาจจะไม่รู้ว่าต้องมองไปที่จุดไหนในงานนำเสนอของคุณ และท้ายที่สุดก็ลืมไปว่าคุณกำลังเสนออะไรอยู่ด้วยซ้ำไป

เคล็ดลับข้อที่ 9

ภาพเคลื่อนไหวแอนิเมชั่นและเอฟเฟคเสียง ถ้าใช้ให้ดีก็มีประโยชน์ ช่วยดึงดูดความสนใจได้สุดๆ แต่อย่าใช้มันเพื่อทำให้ผู้ชมของคุณสมาธิหลุดไปจากเนื้อหาซะก่อน เพราะใช้ของดีๆ เหล่านี้มากเกินไป ออกแบบงานนำเสนอของคุณด้วยแนวความคิดที่ว่า “น้อยแต่มาก Less is more” อย่าปล่อยให้ผู้ชมงานของคุณสับสนด้วยการใช้แอนิเมชั่นแบบมากเกินขนาด

8) มีเท่าไหร่ใส่เข้าไปให้หมด...!!!

การไปเที่ยวพักร้อนของคุณช่างสุดวิเศษ คุณเลยถ่ายภาพสวยๆ มาอวดเพื่อนๆ กว่า 500 ภาพ กลับมาทำเป็นอัลบั้มสวยงาม หวังว่าเพื่อนๆ คุณจะประทับใจกับทริปของคุณแน่นอน แต่หลังจากผ่านไป 100 สไลด์แรก คงมีเสียงกรนจากเพื่อนของคุณดังขึ้นมาแน่ๆ

เคล็ดลับข้อที่ 8

ทำให้มั่นใจว่าผู้ชมงานของคุณโฟกัสอยู่ที่งานของคุณด้วยการจำกัดจำนวน สไลด์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ประมาณ 10-12 ไสลด์ (ที่สุดเจ๋ง) ก็เพียงพอแล้ว

7) แม่แบบงานนำเสนอดีเยี่ยม เมื่อใช้อย่างถูกต้อง

ถ้าคุณเคยได้ยินว่าสีฟ้าเป็นสีที่ดีสำหรับแม่แบบงานนำเสนอ บังเอิญเจอแม่แบบงานนำเสนอแสนสวยในอินเตอร์เนตที่เป็นรูปวิวชายหาด น้ำคือสีฟ้าใช่ไหม? โชคร้ายจังเลย ที่งานนำเสนอของคุณกลายเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ชั้นเยี่ยมที่ถูกนำไปแสดงใน งานประชุมช่างไม้แทน

เคล็ดลับข้อที่ 7

เลือกแม่แบบ (Template) งานนำเสนอซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มผู้ชม สะอาดและแบบที่ตรงไปตรงมาเหมาะมากสำหรับการนำเสนองานเชิงธุรกิจ สำหรับกลุ่มเด็กๆ ก็เหมาะกับงานนำเสนอที่เป็นสีสันฉูดฉาดและมีรูปร่างที่หลากหลาย

6) เลือกฟอนต์แบบห่วยๆ

นอกจากจะตัวเล็กแล้ว ยังไปเลือกฟอนต์แบบลายมือ เล่นหางซะหยดย้อย คงยอดเยี่ยมแน่ๆ ถ้าผู้ฟังของคุณนั่งห่างจากจอภาพแค่ 18 นิ้ว แต่เพราะนั่นคุณลืมนึกถึงสุภาพสตรีที่นั่งห่างออกไปหลังห้องกว่า 20 เมตร ซึ่งอ่านฟอนต์แบบนี้ไม่ออกเลย

เคล็ดลับข้อที่ 6

จำไว้ว่าควรเลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายอย่าง Arial หรือ Times New Roman สำหรับภาษาอังกฤษ และเลือกฟอนต์อย่าง EucrosiaUPC, FreesiaUPC หรือ LilyUPC หลีกเลี่ยงการใช้ฟอนต์แบบลายมือซึ่งยากที่จะอ่านออกบนจอภาพ และไม่ควรใช้ฟอนต์ประกอบกันในสไลด์เกิน 2 แบบ โดยแบบแรกใช้กับหัวเรื่อง (Title) ส่วนอีกแบบใช้กับข้อความเนื้อเรื่อง และขนาดไม่ควรเล็กกว่า 30 pt เพื่อให้ผู้ชมงานที่นั่งด้านหลังมองเห็นได้ด้วยเช่นกัน

5) รูปภาพและกราฟใช้เพื่อเน้นจุดสำคัญเท่านั้น

คุณอาจเดาว่า เดี๋ยวไม่มีใครสังเกตว่าคุณไม่ได้ทำงานวิจัยเพียงพอในประเด็นที่นำเสนอ ถ้าคุณไม่ได้ใส่รูปภาพกับกราฟที่แสนซับซ้อนลงไปเยอะๆ เพื่อโชว์เพา(เวอร์)

เคล็ดลับข้อที่ 5

เวลาคือเงิน เป็นความจริงในโลกปัจจุบัน ไม่มีใครต้องการมานั่งเสียเวลาฟังการนำเสนอที่ไม่มีแก่นสารอะไร ใช้ภาพ แผนภาพและแผนภูมิเพื่อเน้นย้ำเฉพาะจุดสำคัญของการนำเสนอเท่านั้น ซึ่งช่วยสร้างจังหวะพักที่ดีให้กับการนำเสนอและสื่อที่ใช้นอกเหนือจากตัว อักษร และเมื่อใช้อย่างถูกที่ ถูกเวลา ยังช่วยยกระดับการนำเสนอด้วยการพูดของคุณให้น่าสนใจขึ้นอีก

4) ผู้ฟังมาเพื่อดูคุณ ไม่ใช่ดูสไลด์

หนึ่งในกลุ่มผู้ฟังพูดว่า มองไม่เห็นสไลด์ที่กำลังนำเสนอ คุณก็บอกผู้ฟังว่าคุณจะอ่านสไลด์ให้ฟัง และก็ดันทำอย่างนั้นไปตลอดการนำเสนอสลับกับการเงยหน้าขึ้นมองสไลด์ แต่ละสไลด์เต็มไปด้วยข้อความที่คุณจะพูดทั้งนั้น แล้วผู้ฟังจะมีคุณไว้ทำไม?

เคล็ดลับข้อที่ 4

สร้างเนื้อหาให้ง่าย ด้วยการใส่หัวข้อย่อย (Bullet) หน้าข้อความสำหรับข้อความสำคัญ จัดให้ข้อความสำคัญที่สุดอยู่ด้านบนของสไลด์เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านในแถวถัด มา มุ่งไปที่หัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง และไม่ควรใช้หัวข้อย่อยเกินกว่า 4 ข้อต่อหนึ่งสไลด์ และที่สำคัญพูดกับผู้ฟังไม่ใช่พูด (บ่น) กับจอภาพ

3) T.M.I. ข้อมูลมากเกินไป

คุณรู้เรื่องราวมากมายเกี่ยวกับหัวข้อที่คุณจะนำเสนอ จึงใส่ข้อมูลมากเกินขนาด (T.M.I. = Too Much Information) จนพูดกระโดดสลับไปสลับมาอย่างเร็วเพื่อบอกเล่าสิ่งที่คุณรู้ทั้งหมด จนผู้ฟังแทบจะฟังไม่ทัน

เคล็ดลับข้อที่ 3

จงใช้เทคนิค K.I.S.S. (Keep It Silly Simple) หรือ “ทำมันให้ง่ายเข้าไว้” เมื่อออกแบบการนำเสนอของคุณ ยึดอยู่กับประเด็นเพียงสามหรืออย่างมากสี่ประเด็น เกี่ยวกับหัวข้อนั้นและอธิบายขยายความ ผู้ฟังน่าจะจับประเด็นได้มากกว่า

2) อุปกรณ์ไม่ทำงาน

ผู้ฟังนั่งประจำที่ คุณพร้อมที่จะนำเสนอ และทายสิว่าเกิดอะไรขึ้น? โปรเจคเตอร์ไม่ทำงาน และคุณก็ไม่ได้ตรวจสอบมันก่อน ตายละวา...!!!

เคล็ดลับข้อที่ 2

ตรวจอุปกรณ์และเครื่องมือทุกอย่าง และอย่าลืมซักซ้อมการนำเสนอของคุณ โดยการใช้โปรเจคเตอร์มาเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนการเริ่มนำเสนอจริง ถ้าเป็นไปได้ ตรวจสอบแสงสว่างและไฟในห้องนำเสนอก่อนถึงเวลา และทำให้มั่นใจว่าคุณรู้วิธีทำให้ไฟสลัว หากห้องนั้นสว่างเกินไป

และข้อผิดพลาดอันดับหนึ่งของผู้นำเสนอที่มักทำผิดคือ...

1) คุณไม่รู้ว่าคุณพูดเรื่องอะไร?

คุณจำเนื้อหาหรือสิ่งที่คุณจะพูดได้ เพราะมันอยู่บนจอแล้ว แต่มีใครบางคนยกมือถามคุณ ความตกใจสับสนเริ่มย่างกรายเข้ามา คุณไม่ได้เตรียมตัวเพื่อตอบคำถามนี้ และสิ่งที่คุณรู้ทั้งหมดคือสิ่งที่อยู่บนสไลด์เท่านั้น (ว้าว...!!)

เคล็ดลับข้อที่ 1

ไม่มีสิ่งใดจะลดความน่าเชื่อถือของคุณได้มากเท่ากับการเป็นผู้นำเสนอที่ ไม่รู้รายละเอียดในสิ่งที่คุณต้องพูดอีกแล้ว  การรู้จักเรื่องของคุณอย่างดี ทำให้คุณสามารถนำเสนอผลงานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมแบบอิเล็กโทร นิกส์อย่าง PowerPoint ก็ได้ ใช้เฉพาะคำและประเด็นสำคัญเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และเตรียมพร้อมสำหรับคำถามและคำตอบด้วย

บทส่งท้าย

การเป็นผู้นำเสนอที่ดีนั้นจำเป็นต้องสามารถดึงดูดผู้ฟังได้ และรู้เรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่จะพูดได้เป็นอย่างดี พยายามทำให้การนำเสนอสั้นกระชับและประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็น ใช้อุปกรณ์เสริมอิเล็กทรอนิกส์อย่าง PowerPoint เพื่อเสริมจุดสำคัญของการนำเสนอ ไม่ใช่เป็นสิ่งค้ำยันการนำเสนอ จำไว้ว่า สไลด์โชว์ไม่ใช่การนำเสนอ คุณต่างหากคือการนำเสนอ


< ย้อนกลับ