หนังสือราชกิจจานุเบกษาสำคัญอย่างไร

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงเป็นพระมหา กษัตริย์พระองค์แรกในระบอบประชาธิปไตย หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงระบบ การปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ จนถึงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ ทรงสละราชสมบัติ และรัฐบาลไทย โดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์สืบราช สันตติวงศ์ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และ โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติ ตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกอบด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่น อนุวัตน์จาตุรนต์ เป็นประธาน พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพย์อาภา และเจ้าพระยายมราช ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๑ หน้า ๑๓๓๒ วันที่ ๗ มีนาคม ๒๔๗๗

หนังสือราชกิจจานุเบกษาในสมัยนี้ได้ออกต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ สืบเนื่องกันมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเสนอข่าวสารทางราชการเป็น ส่วนใหญ่ เนื้อหาที่นำเสนอแยกได้ ๒ ประเภท คือ เรื่องทั่วๆ ไป เช่น ข่าว ในพระราชสำนัก พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยสังเขป ประกาศต่างๆ ของจังหวัด ของกระทรวง ของสภาผู้แทนราษฎรและกรมต่างๆ และเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ประกาศ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวงต่างๆ ประกาศกระทรวงต่างๆ เป็นต้น

ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๙ หน้า ๑๖๖ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕) มีข้อสังเกต ๒ ประการ คือ ประการแรก ไม่ได้ใช้ตราพระบรมราชโองการ แต่ใช้ตราครุฑแทน และแทน ที่ชื่อรัฐธรรมนูญ เช่น ฉบับต่อๆ มา ใช้ว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการ ปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว..." ประการที่สอง ไม่มีมาตราใดระบุว่า การประกาศใช้กฎหมายให้มีผลบังคับนับจากวัน หรือถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๙ หน้า ๑๖๖ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕) มีข้อสังเกต ๒ ประการ คือ ประการแรก ไม่ได้ใช้ตราพระบรมราชโองการ แต่ใช้ตราครุฑแทน และแทน ที่ชื่อรัฐธรรมนูญ เช่น ฉบับต่อๆ มา ใช้ว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการ ปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว..." ประการที่สอง ไม่มีมาตราใดระบุว่า การประกาศใช้กฎหมายให้มีผลบังคับนับจากวัน หรือถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับต่อมายังคงใช้ตราครุฑกำกับ แต่เริ่มใช้ชื่อ รัฐธรรมนูญว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕" และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาไว้ในมาตรา ๓๘ ว่า

"เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ร่างพระราชบัญญัติขึ้นสำเร็จแล้ว ให้ นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ท่านให้ใช้ เป็นกฎหมายไว้"

ต่อมาได้มี "รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประกาศ พุทธศักราช ๒๔๘๒" ตราไว้เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๘๒ มีกำหนดไว้ใน

"มาตรา ๒ ให้ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป"

อนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้ระบุบทบาทของราชกิจจานุเบกษาไว้อย่างเด่นชัดว่า

"มาตรา ๒๐ ร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐสภาได้ทำขึ้นเสร็จแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับ เป็นกฎหมายได้"

นับแต่บัดนั้นมา ร่างพระราชบัญญัติที่นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะมีผลบังคับก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติอยู่ถึงปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ดี ก็มีข้อสังเกตว่า ในระยะต้นๆ ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น กฎหมายจะมีผลบังคับในวันที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา แต่มาใน ระยะหลังๆ กำหนดวันมีผลบังคับตั้งแต่ "วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษา" เป็นต้นไป


��á�˹��ѹ�ռźѧ�Ѻ���ա�á�˹������ٻẺ  ��

�.  ����ռ���ѧ�Ѻ�Ѻ������ѹ��С�� ��� ������ӹҨŧ���㹻�С��

�ѹ�˹���ռ���ѧ�Ѻ�ѹ���

�.  ����ռ���ѧ�Ѻ�Ѻ���ѹ��С����Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ�� ��� ����ͻ�С��

��Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ���ѹ� ���ռ���ѧ�Ѻ�ѹ���

�. ����ռ���ѧ�Ѻ�Ѻ�Ѵ�ҡ�ѹ��С����Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ�� ��� �������

��С����Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ���ѹ� ������ռźѧ�Ѻ�Ѵ�ҡ�ѹ��С��

��Ҫ�Ԩ�ҹ����

�. ����ռ���ѧ�Ѻ����;鹡�˹� ��  �ѹ ���� ��� �Ѻ�ҡ�ѹ

��С����Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ�� �����Ѻ�ҡ�ѹ��С����Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ��

��ա �� �ѹ ���� ��� �ѹ ��觡�á�˹�Ẻ�����������˹��§ҹ

����繼�黯ԺѵԵ�����������ͼ��١�ѧ�Ѻ���Ѻ����Ѻ��Һ���������

��ǡ�͹�����顮����

�ҡ ������ҹ�Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ�� �ѹ��� �� ����Ҥ� �.�.����

     ����Ѻ㹪�鹹���Ҿ�Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ�ҷ����觾�����͡�ҡ���䫵��Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ�����������˹ѧ����Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ�ҷ���ӹѡ�ŢҸԡ�ä���Ѱ����ըѴ������ԡ�����ЪҪ� ���ѧ������ҧ�ԧ����ѡ�ҹ������������ͺ�ѧ����Ǣ�ҧ�� ��觼������Ǣ�ͧ����ö��Ǩ�ͺ�����١��ͧ�ç�ѹ��ҡ���䫵��� ���㹡óշ���ͧ��ä�����͹ ������ö�Ң��Ѻ��ԡ���Ѻ�ͧ�����١��ͧ�ͧ�Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ������������ѡ�ҹ�Ҫ������ҧ����ó�ҡ������ҹ�Ҫ�Ԩ�ҹ�ມ����ء�ѹ������Ҫ�����ҧ�ԧ�׹�ѹ�ء�����������ŵ�ҧ �  ������Ըա�����Ƿ���ͻ�Ժѵԡѹ�ҵ����ʹյ���֧�Ѩ�غѹ

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ถือว่าเป็นประกาศของทางการที่มีบทบาท และอยู่ในความสนใจของผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก บ่อยครั้ง ประกาศสำคัญที่มีผลในทางกฎหมาย และเรื่องที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยก็จะถูกประกาศผ่านเอกสารฉบับนี้ อย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตลอดจนข้อกฎหมายสำคัญๆ แต่จริงๆ แล้วรายละเอียดของประกาศทางการยังมีอะไรให้ค้นหาอีกมาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สรุปเรื่องราวเกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษาที่น่าสนใจ และใกล้ตัวเรา ดังนี้

ราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือลงประกาศใช้กฎหมายและข่าวสำคัญต่างๆ ของชาติบ้านเมือง เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่อประกาศข่าวสารป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ตามพระราชปรารภ ที่ปรากฏตามประกาศเรื่องออกหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับแรก เมื่อ วันจันทร์ เดือนห้า ขึ้นค่ำ 1  ปีมะเมีย จุลศักราช 1219 หรือ ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 ความว่า

“ถ้าเหตุแลการในราชการแผ่นดินประการใดๆ เกิดขึ้น พระบาท สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลเสนาบดีพร้อมกันบังคับไปอย่างไร บางทีก็จะเล่า ความนั้นใส่มาในราชกิจจานุเบกษานี้บ้าง เพื่อจะได้รู้ทั่วกัน มิให้เล่าลือผิดๆ ไปต่างๆ ขาดๆ เกินๆ เป็นเหตุให้เสียราชการและเสียพระเกียรติยศแผ่นดินได้”

หนังสือราชกิจจานุเบกษาสำคัญอย่างไร

หนังสือราชกิจจานุเบกษา นั้น เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า หนังสือเป็นที่เพ่งดู ราชกิจ เป็นรูปพระมหามงกุฎ แลฉัตรกระหนาบสองข้างดวงใหญ่ ตีในเส้นดำ กับตัวหนังสือนำหน้าเป็นตัวอักษรตัวใหญ่ว่า ราชกิจจานุเบกษา อยู่เบื้องบน ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกรีคอเดอ ของหมอบลัดเลย์ เป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน

ถือเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด ซึ่งมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมี สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์ และเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์

  • ราชกิจจานุเบกษามีกี่ประเภท

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องใน ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ได้กำหนดให้ราชกิจจานุเบกษาแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยประเภท ข และ ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อไปจากเดิม ดังนี้

1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา เป็นการประกาศเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นกฎ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่ง ของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด และเรื่องสำคัญที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษา ของศาลปกครองอันถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ

หนังสือราชกิจจานุเบกษาสำคัญอย่างไร

2. ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร หมายกำหนดการ และข่าวในพระราชสำนัก เป็นการประกาศเกี่ยวกับสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชการ หรือยศ รายชื่อผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือถูกถอดยศ และรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราต่างประเทศ หมายกำหนดการพระราชพิธี ต่าง ๆ และข่าวในพระราชสำนัก

3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลง และการเพิกถอนทางทะเบียน

4. ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค

  • การบอกรับสมาชิกราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา มีการเปิดรับสมัครสมาชิก โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน ของทุกปี โดยแยกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ การสมัครเป็นสมาชิกบอกรับราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกานั้นจะต้องติดต่อที่กลุ่มงานราชกิจจุนเบกษา สำนักนิติธรรม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขณะที่ การสมัครเป็นสมาชิกบอกรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาประเภท ข ค และ งจะอยู่ในความรับผิดชอบของ กลุ่มงานพิมพ์บริการ สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา โดยมี หลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้

  • การบอกรับต้องบอกรับเต็มปี (มกราคม - ธันวาคม) หรือครึ่งปี (มกราคม - มิถุนายน หรือ กรกฎาคม - ธันวาคม) จะรับคาบปี หรือคาบครึ่งปีไม่ได้
  • การบอกรับหรือซื้อปลีกต้องชำระเงินล่วงหน้า
  • หนังสือราชกิจจานุเบกษาตอนใด ถ้าไม่ได้รับให้แจ้งขอภายใน กำหนด 2 เดือน เกินกำหนดจะไม่รับพิจารณา

โดยในปัจจุบัน เราสามารถเข้าไปสืบค้น ราชกิจจานุเบกษาได้ที่ เว็บไซต์ของราชกิจจานุเบกษา หรือ คลิกที่นี่ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง 

หนังสือราชกิจจานุเบกษาสำคัญอย่างไร

  • สาระสำคัญเกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษา

นับตั้งแต่มีการออกประกาศราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันนั้น เนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเล่มดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การบอกข้อราชการและ ข่าวต่างๆ ประเภทหนึ่ง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ แจ้งความ ประกาศ พระราชบัญญัติ และกฎหมายต่างๆ โดยมีลักษณะสำคัญด้านประวัติศาสตร์ไทยในแง่ของการ เป็นบทบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งใน และนอกราชสำนัก การเมืองการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ไปจนถึงเรื่องของวิวัฒนการการทางภาษา และการพิมพ์

ยิ่งไปกว่านั้น ราชกิจจานุเบกษายังใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการ ตุลาการ และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงกับหน่วยราชการ เพราะมีการพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตำนานจดหมายเหตุและพงศาวดารของ ประเทศไทยในสมัยก่อนแล้ว ราชกิจจานุเบกษาก็จัดอยู่ในหนังสือประเภท เดียวกัน แต่ให้ข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่า

หนังสือราชกิจจานุเบกษามีความสําคัญอย่างไร

ตอบ ราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

หนังสือราชกิจจานุเบกษา(Royal Thai Government Garzette)มีความสำคัญอย่างไร

ราชกิจจานุเบกษานับเป็นหนังสือที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของทางราชการ ซึ่งใช้สำหรับการประกาศกฎหมาย ข่าวสารสำคัญของบ้านเมือง และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลย้อนหลัง ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงให้กับผู้ที่กำลังศึกษาทางด้านคณะนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์

ราชกิจจานุเบกษา คืออะไร เริ่มใช้เมื่อใด มีประโยชน์อย่างไร

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2401 ทำหน้าที่ผลิตข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน และพระราชทานชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” แปล ...

ราชกิจจานุเบกษา มีอะไรบ้าง

มี ๔ ประเภท ได้แก่ ฉบับกฤษฎีกา หรือประเภท ก ได้แก่ พระราชบัญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือ พระราชกำหนด ฉบับทะเบียนฐานันดร หรือประเภท ข ได้แก่ ข่าวพระราชสำนัก การพระราช