สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเรียนเกี่ยวกับอะไร

ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (IR) โดยพื้นฐานจะเรียนเกี่ยวกับศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ผ่านการศึกษาความซับซ้อนและโครงสร้างในระบบระหว่างประเทศ โดยที่ ปี 1-2 จะเรียนวิชาทั่วไปที่เป็นพื้นฐานเหมือนกันทุกสาขา และจะเริ่มเข้าภาคในช่วง ปี 2 โดยจะเริ่มจาก Intro to IR ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายเซค (ตอนเรียน) ซึ่งแต่ละเซคอาจารย์จะสอนเนื้อหาต่างกัน เช่น ในกระแสหลัก อาจารย์จะสอนเกี่ยวกับ IR ตามแบบตะวันตก เน้นทฤษฎี ประวัติศาสตร์ แนวคิดต่าง ๆ ขณะที่ กระแสรองอาจารย์จะสอนไปในเชิงของ Critical theory เป็นการตั้งคำถามในสิ่งที่กระแสหลักบอก เน้นวิพากษ์ตั้งแต่ ทุนนิยม เสรีนิยมใหม่ ระบบรัฐปิตาธิปไตย เป็นต้น 

โดยรวมวิชาเรียนในภาคจะเน้นไปในเชิงของภูมิภาคศึกษา เช่น อเมริกา ยุโรป เอเชียใต้ ยุโรปตะวันออก ซึ่งจะมีวิชาบังคับภาคได้แก่ การเมืองระหว่างประเทศในช่วงศตวรรษที่ 19 และ 20, เอเชียตะวันออกในการเมืองโลก เป็นต้น นอกจากนี้ หากใครสนใจอยากศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับภูมิภาคไหนก็สามารถลงเลือกลงสัมมนาหรือนโยบายใดก็ได้ในภาควิชา โดยการเรียนสัมมนามีไว้เป็นทางเลือกให้แก่นิสิตที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม โดยรูปแบบการเรียนจะเป็นการสนทนาถึงความเป็นไปของภูมิภาคนั้น ๆ ที่เราต้องการจะศึกษา จะเป็นการหาข้อมูลหรืออ่านบทความมาก่อนเข้าคลาสเรียนและมาถกกันภายในชั่วโมงสอน ซึ่งสัมมนาที่เปิดสอนในภาควิชา อาทิ สัมมนาการต่างประเทศจีน สัมมนาการต่างประเทศของสหภาพยุโรปและรัสเซีย และนอกจากวิชาด้านภูมิภาคศึกษาแล้ว ก็ยังมีรายวิชาอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเช่นกัน เช่น องค์การระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ เศรษฐกิจการเมืองโลก ความมั่นคงในการเมืองโลก เป็นต้น

นอกจากนี้ ภาค IR ยังขึ้นชื่อเรื่องการเขียน “เปเปอร์” ซึ่งจะเริ่มเขียนตั้งแต่ ปี 1-4 ภาควิชานี้ไม่มีโปรเจคจบหรือการทำวิทยานิพนธ์ใด ๆ โดยอาจารย์จะเริ่มปูพื้นฐานในการเขียนเปเปอร์ให้ตั้งแต่ ปี 1 ดังนั้น หากใครไม่เคยมีประสบการณ์ในการเขียนเปเปอร์ หรือไม่รู้วิธีการอ้างอิง ก็ไม่ต้องกังวลไป เนื่องจากอาจารย์จะคอยช่วยสอนวิธีเขียนและแนะนำการเขียนอ้างอิงให้เราหลังจากเข้ามาในคณะรัฐศาสตร์

*หมายเหตุ: การเปิดสอนรายวิชาต่าง ๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ในบางภาคการศึกษา วิชา Intro to IR เปิดสอนแต่ตอนเรียนกระแสรอง เป็นต้น

แนวทางการประกอบอาชีพ

เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นศาสตร์ที่กว้าง ทำให้ผู้ที่จบการศึกษาในศาสตร์นี้สามารถประกอบอาชีพใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับรัฐ สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยสามารถประกอบอาชีพในตำแหน่งต่าง ๆ ในองค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน องค์การระหว่างประเทศ และองค์การไม่แสวงหาผลกำไร 

สำหรับอาชีพที่ตรงสายงาน สามารถประกอบอาชีพ เช่น นักการทูต นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ในองค์การระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถเข้ารับราชการที่เกี่ยวกับการบริหารรัฐกิจ เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน หรือเจ้าหน้าที่ด้านปกครองอื่น ๆ อาทิ หน่วยงานจำพวก กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากใครไม่อยากรับราชการก็สามารถสมัครเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนได้เช่นกัน แต่ตำแหน่งงานในสายงานด้านรัฐวิสาหกิจอาจมีความคล้ายคลึงกับตำแหน่งงานในราชการอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ร่วมบริหารกันกับภาครัฐและเอกชน ในส่วนของเอกชน ตำแหน่งงานที่เปิดรับค่อนข้างกว้าง เช่น เจ้าหน้าที่ HR นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์ระบบ ไกด์นำเที่ยว พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เลขาฯ เป็นต้น 

แนะนำรายวิชาในภาคความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  1. การเมืองระหว่างประเทศในศตวรรษที่ 19 และ 20 (International Politics in the 19th and 20th Centuries)

: ศึกษาลักษณะของระบบระหว่างประเทศในแต่ละยุคสมัยที่มีความแตกต่างกัน นับตั้งแต่การสิ้นสุดสงครามนโปเลียน การกำเนิดขึ้นของสภาเวียนนา สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจถึงพัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงของระบบระหว่างประเทศ และปัจจัยที่มีผลต่อการเมืองระหว่างประเทศ ในศตวรรษที่ 19 และ 20 

  1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเมืองโลก (Southeast Asia in World Politics)

: ศึกษาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจถึงบริบท ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อประเทศในภูมิภาค เช่น ภูมิรัฐศาสตร์ การสร้างชาติ ระบบการปกครองที่แตกต่างกัน บทบาทของกองทัพ บทบาทของศาสนา และการเข้ามามีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

  1. ทฤษฎีการเมืองกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Political Theory and International Relations)

: ศึกษาทฤษฎีการเมืองสำนักต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงสมัยใหม่ เช่น ปรัชญาการเมืองกรีกโบราณ สัจนิยม เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม สาธารณรัฐนิยม มาร์กซิสม์ เฟมินิสม์ ทฤษฎีชีวอำนาจ เป็นต้น โดยในแต่ละสัปดาห์ นิสิตจะได้รับมอบหมายให้อ่านงานต้นฉบับของนักคิดต่าง ๆ พร้อมกับการเรียนในลักษณะ Lecture-based ผสมกับการเปิดให้นิสิตได้อภิปราย ถกเถียงในชั้นเรียน 

  1. การเมืองโลกผ่านสื่อภาพยนตร์ (Global Politics through Films)

: ศึกษาประเด็นการเมืองโลกผ่านภาพยนตร์ โดยผู้เรียนจะได้ใช้ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งกระแสหลักและกระแสรองในการวิเคราะห์ว่าภาพยนตร์ต่าง ๆ ที่ได้รับชมในชั้นเรียนนั้นสะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองหรือค่านิยมแบบใด และภาพยนตร์มีบทบาทอย่างไรในการสร้างความเข้าใจและการรับรู้ในประเด็นการเมืองต่าง ๆ โดยจะมี Theme ภาพยนตร์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาคการศึกษา การเรียนวิชานี้ประกอบไปด้วยการดูภาพยนตร์ การฟังบรรยายจากผู้สอน และถกเถียงอภิปรายในชั้นเรียน 

  1. เพศสภาพกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Gender and International Relations)

: ศึกษาแนวคิดด้านเพศสภาพ ประเด็นเพศสภาพกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผ่านปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่งอิทธิพล หรือครอบงำการสร้างความเข้าใจในประเด็นปัญหาด้านเพศสภาพ เช่น ชนชั้น จักรวรรดินิยม สิทธิมนุษยชน การค้าประเวณี โลกาภิวัตน์ กองทัพ ทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศ เป็นต้น ในการเรียนแต่ละสัปดาห์ จะเป็นการอ่านงานเขียนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง การฟังบรรยายจากผู้สอน และถกเถียงอภิปรายในชั้นเรียน 

สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทํางานอะไร

นักการฑูต.
ทำงานองค์กรสหประชาชาติหรือองค์กรระหว่างประเทศ.
ทำงานรับราชการ.
ทำงานบริษัทเอกชนเกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ.
นักการเมือง.
นักพัฒนาสังคม หรือเกี่ยวกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร.

เรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่ออะไร

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ ในปัจจุบันนี้นักวิชาการได้ให้ความสำคัญของการศึกษาแขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพราะเป็นที่ยอมรับกันว่ารัฐจะสามารถธำรงความเป็นรัฐอย่างมีเกียรติในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้นั้น จำเป็นต้องใช้ศิลปะในการชักจูงใจให้รัฐอื่น ๆ ปฏิบัติการหรืองดเว้น ...

คณะรัฐศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

การศึกษาในสาขานี้ มุ่งทำความเข้าใจกับปรากฎการณ์ทางการเมืองและสังคมที่แวดล้อมตัวเราอยู่ โดยจะเรียนเกี่ยวกับปรัชญาและความคิดทางการเมืองต่าง ๆ เช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้งและปัญหาทางการเมือง และสังคมที่สำคัญ ๆ เช่น ธุรกิจกับการเมือง ทหารกับการเมือง การเมืองของผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ฯลฯ

วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประกอบไปด้วยวิชาหลักๆ กี่สาขา

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะเป็นวิชาการเริ่มต้นในช่วงก่อนมหา สงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) และมีวิวัฒนาการโดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วง โดยการ พิจารณาประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ 1) การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์การทูต 2) การพิจารณาเชิง เหตุการณ์ปัจจุบัน 3) กฎหมายระหว่างประเทศ และ 4) การเมืองระหว่างประเทศ

สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทํางานอะไร เรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่ออะไร คณะรัฐศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประกอบไปด้วยวิชาหลักๆ กี่สาขา สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีที่ไหนบ้าง รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีที่ไหนบ้าง รัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จบมาทํางานอะไร คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ค่าเทอม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรียนยากไหม คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ใช้คะแนนอะไรบ้าง คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สอบอะไรบ้าง