หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม. ธ

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ แสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ความรู้ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในการทำงานร่วมกับศาสตร์แขนงอื่น อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และมีความคิดวิเคราะห์

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. มีความรู้และสามารถแสวงหาความรู้ในสาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาได้ด้วยตนเอง
2. สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกับบุคคลในสังคมได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณและมีทักษะความพร้อมด้านสังคมที่จำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในอนาคต
3. มีทักษะและมีความสามารถเด่นทางด้านการวิจัย การวางแผนและการฝึกอบรม และการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล

จุดเด่นของหลักสูตร

คณาจารย์ที่สอนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนและมีผลงานการวิจัยเป็นจำนวนมาก สามารถถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิชาการให้นักศึกษานำไปใช้ได้เป็นอย่างดี สาขาวิชาฯ และคณาจารย์มีความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ กับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์, มหาวิทยาลัย Kobe, Hokkaido, Ryukyus, Nagoya Gakuin, และ Nanzan ประเทศญี่ปุ่น, มหาวิทยาลัย Yunnan ประเทศจีน, มหาวิทยาลัย La Trobe และ Monash ประเทศออสเตรเลีย, มหาวิทยาลัย Wageningen และRadboud University Nijmegen ประเทศเนเธอร์แลนด์, มหาวิทยา Bath ประเทศอังกฤษ, มหาวิทยาลัย Hamburg ประเทศเยอรมนี, มหาวิทยาลัย Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัย Royal Roads ประเทศแคนาดา, มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ประเทศลาว, และมหาวิทยาลัย Social Sciences and Humanities ณ กรุงฮานอย และโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายนักศึกษาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

หลักสูตรนี้ได้ออกแบบไว้เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาเป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถทำงานทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ โดยมีงานที่หลากหลาย อาทิเช่น ครูสอนวิชาสังคมศึกษา งานด้านวิชาการ การวิจัย การฝึกอบรม การวางแผนและการประเมินผล ผู้สื่อข่าว การผลิตสื่อหรือสารคดี เป็นต้น

ตัวอย่างองค์กรที่นักศึกษาไปปฏิบัติสหกิจศึกษาในภาคการศึกษาปลาย ปีสุดท้ายของหลักสูตร

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สถาบันพระปกเกล้า, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ, สถานีโทรทัศน์ Thai PBS, สำนักวิจัยเอแบคโพลล์, กรมสอบสวนคดีพิเศษ, บริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัทซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน), สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, มูลนิธิกระจกเงา, สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สำนักราชเลขาธิการ, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, บริษัทขอนแก่นบริวเวอรี่ จำกัด, บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) สาขาขอนแก่น, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพและหลบหนีเข้าเมือง กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น, สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), บริษัทอินทัช รีเสริช แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด, กลุ่มงานอาเซียน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

บัณฑิตของสาขาวิชาฯ ทำงานในองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เช่น เจ้าหน้าที่ CSR บริษัท Shaiyo-AA Group ประจำอยู่ที่โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานสะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น, นักวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 3 ฝ่ายจุลชีววิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, นักวิชาการแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน, นักทรัพยากรบุคคล กรมส่งเสริมสหกรณ์, นักวิชาการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน, เลขานุการประจำคณะนิเทศศาสตร์ และสำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ขอนแก่น), พนักงานคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดขอนแก่น, นักสังคมสงเคราะห์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, นักสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาล มะเร็งอุดรธานี, ฝ่ายบุคคล โรงงานน้ำตาล จ.หนองบัวลำภู, Admin HR & Logistics บริษัท OPS Oilfield Services (Thailand) Co., Ltd., ครีเอทีฟ บริษัท ทโมนไทย จำกัด, เจ้าหน้าที่อำนวยบริการ ธนาคารกรุงเทพ, นักวิชาการด้านเศรษฐกิจ-สังคม บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ดูแลโครงการถนน Logistic ของกรมทางหลวงชนบท, เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลประจำศูนย์กระจายสินค้าบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), นักวิชาการศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, นักวิจัย บริษัทอินทัช รีเสิรช แอนด์ คอนซัลแทนซี่, นักจัดการงานทั่วไป สำนักงานก่อสร้าง 6 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน, นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์การบริหารหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน), เจ้าหน้าที่บริหารงานประชุม

 โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต

  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
  • หมวดวิชาเฉพาะ
  • หมวดวิชาเลือกเสรี

33           หน่วยกิต

                                  -  วิชาบังคับ

                                  -  วิชาเลือก

96           หน่วยกิต

54           หน่วยกิต

42           หน่วยกิต

 

  6           หน่วยกิต 

วิชาเฉพาะ (บังคับ)

วิชาที่เปิดสอน เช่น สังคมวิทยาขั้นแนะนำ จิตวิทยาสังคม มานุษยวิทยาวัฒนธรรมขั้นแนะนำ ทฤษฎีสังคมวิทยา การจัดระเบียบทางสังคมและการควบคุมทางสังคม แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยา ชาติพันธุ์วิทยา ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาขั้นแนะนำ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม วัฒนธรรมศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคนิคการจัดการข้อมูลวิจัย การวางแผนและการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์

วิชาเฉพาะ (เลือก) เลือกเรียนวิชาจากหมวดวิชาต่าง ๆ ดังนี้

หมวดวิชาสังคมวิทยาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เช่น สังคมวิทยาชนบท สังคมวิทยาเมือง ปัญหาสังคม สังคมวิทยาการพัฒนา สังคมวิทยาการเมือง องค์กรระหว่างประเทศกับการพัฒนา สังคมวิทยาว่าด้วยเพศวิถี สังคมแห่งการเรียนรู้ การวางแผนและการจัดการโครงการ

หมวดวิชามานุษยวิทยา ได้แก่ มานุษยวิทยาประยุกต์ มานุษยวิทยาศิลปะ มานุษยวิทยาเรือนร่าง มานุษยวิทยาสื่อ หมวดวิชาประชากร ได้แก่ การย้ายถิ่นและการทำให้เป็นเมือง ประชากรไทยกับคุณภาพชีวิต ประชากรศาสตร์เชิงเปรียบเทียบ แรงงานกับสังคม

หมวดวิชาการวิจัยสังคม ได้แก่ สถิติพื้นฐานสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ การสำรวจมติมหาชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

หมวดวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาร่วมสมัย เช่น ชายแดนศึกษา การสื่อสารกับการพัฒนาระหว่างประเทศ ลุ่มน้ำโขงศึกษา ผู้หญิงกับการพัฒนากับภาคเศรษฐกิจไม่เป็นทางการ โลกาภิวัตน์กับสังคมโลก

หมวดวิชาอาชญาวิทยาและฑัณฑวิทยา ได้แก่ อาชญาวิทยา อาชญากรรมระหว่างประเทศ หมวดวิชาสหกิจศึกษา ได้แก่ สหกิจศึกษาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (ในภาคการศึกษาปลาย ปีสุดท้ายของหลักสูตร นักศึกษาจะมีโอกาสปฏิบัติสหกิจศึกษาในหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ)