หน่วยจัดเก็บข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง

หน่วยวัดขนาดข้อมูลของคอมพิวเตอร์

หน่วยจัดเก็บข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง
การวัดขนาดข้อมูล

                   คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป

การวัดขนาดหน่วยความจำ นิยมใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้เท่ากับตัวอักษร 1 ตัว โดยที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้หน่วยความจำที่ใหญ่มาก เพื่อให้สะดวกจึงต้องคิดหน่วยที่ใหญ่ขึ้นไปอีกมาเรียก นั่นคือ หน่วย KB เท่ากับ 1024 ไบต์ และ MB ซึ่งเท่ากับค่าประมาณ หนึ่งล้านไบต์ ดังนี้

1 Byte (ไบต์) =  1 ตัวอักษร
1 KB (กิโลไบต์) =  1024 ตัวอักษร
1 MB (เมกกะไบต์) =  1024 KB
1 GB (กิกะไบต์) =  1024 MB

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีหน่วยความจำนั้นเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ๆที่ออกมา 

Data Measurement Size
Bit Single Binary Digit (1 or 0)
Byte 8 bits
Kilobyte (KB) 1,024 Bytes
Megabyte (MB) 1,024 Kilobytes
Gigabyte (GB) 1,024 Megabytes
Terabyte (TB) 1,024 Gigabytes
Petabyte (PB) 1,024 Terabytes
Exabyte (EB) 1,024 Petabytes


ดังนั้น หน่วยที่เล็กที่สุดของระบบคอมพิวเตอร์คือ บิต(bit) และหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบข้อมูลคือ ไบต์(Byte) ในปัจจุบันอุปกรณ์บันทึกข้อมูลและหน่วยความจำต่างๆจะใช้หน่วยความจุเป็น KB, MB, GB , และTB เท่านั้น สำหรับหน่วย PB, EB, ZB, และYB ยังไม่มีอุปกรณ์หรือหน่วยความจำใดสามารถทำความจุได้มากขนาดนั้นจึงยังไม่มีการใช้ในปัจจุบันครับ

 ก่อนจบทิ้งท้าย สำหรับโปรแกรมช่วยแปลงหน่วย คลิกลองใช้ได้เลย

หน่วยจัดเก็บข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภาพประกอบได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/

เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ

1) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

รอม (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป

แรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที

2) หน่วยความจำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำภายนอก (External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่

- ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย

- ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น ี

- ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ซีดีเพลง (Audio CD) วีซีดี (Video CD - VCD) ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R) ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW) และ ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD) ี

3) รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์ฟมีตั้งแต่ 8 , 16 , 32 , 64 , 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive

4) ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของซิปดิสก์จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์

5) Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกขัอมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์

6) เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์

7) การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

หน่วยจัดเก็บข้อมูล มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก.
HDD และ SSD ภายนอก ... .
อุปกรณ์หน่วยความจำแฟลช ... .
สื่อจัดเก็บข้อมูลด้วยแสง ... .
ฟลอปปีดิสก์ ... .
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหลัก: หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memory: RAM) ... .
พื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำรอง: ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) และโซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD) ... .
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ... .
โซลิดสเทตไดรฟ์ (SSD).

หน่วยจัดเก็บข้อมูลใดที่สามารถ ลบ แก้ไข เพิ่มข้อมูลได้

หน่วยความจำแบบเฟลช (Flash memory) เป็นหน่วยความจำประเภท รอมที่เรียกว่า อีอีพร็อม (Electrically Erasable Programnable Read Only Memory : EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่นำข้อดีของรอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูล ได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามต้องการและเก็บข้อมูลได้ แม้ไม่ได้ ...

หน่วยจัดเก็บข้อมูลใดที่มีมากที่สุด

เพตะไบต์ (Petabyte) จัดว่าเป็นระดับของข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งในความเป็นจริงแล้วภาพถ่ายที่มีจำนวนมากกว่า 10 พันล้านภาพที่มีอยู่บน Facebook นั้น เทียบเท่ากับปริมาณข้อมูลที่มีมากถึง 1.5 เพตาไบต์ นอกจากนี้มันยังจะต้องใช้เครื่องบันทึกวิดีโอความละเอียดสูงที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ตลอดระยะเวลาสามปีครึ่งในการเติมฮาร์ดไดร์ฟ ...

อุปกรณ์ในข้อใดเก็บข้อมูลเป็นแทรค

อุปกรณ์ในข้อใดเก็บข้อมูลเป็นแทรค (Track) ฮาร์ดดิสก์