ภัยคุกคามจากการโจมตีของซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย (Malicious Code) มีอะไรบ้าง

  "  ภัยคุกคาม  "  ( Threat )

 

ภัยคุกคาม  คือ  วัสถุสิ่งของตัวบุคคลหรือสิ่งอื่นใดที่เป็นตัวแทนของการทำอันตรายต่อทรัพย์สินภัยคุกคามมีหลายกลุุ่ม  เช่น
• ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นโดยเจตนา
• ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนา เช่น ภัยคุกคามจากธรรมชาติ หรือจากผู้ใช่ในองค์กรเอง
• ภัยคุกคามที่สามารถทําลายช่องโหว่ สร้างความเสียหายแก่ระบบได้

          "  ประเภทของภัยคุกคาม  "

 

1.  ความผิดพลาดที่เกิดจากตัวบุคคล
• เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากพนักงานหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงสารสนเทศขององค์กรได้1
• อาจเกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากไม่มีประสบการณ์หรือขาดการฝึกอบรม หรือคาดเดา เป็นต้น
• ป้องกันภัยคุกคามโดยการให้ความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ การฝึกอบรมอย่างสม่ํ่าเสมอ
• มีมาตรการควบคุม
 2.  ภัยร้ายต่อทรัพย์สินทางปัญญา
• ทรัพย์สินสินทางปัญญา (Intellectual Property) คือ ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยบุคคลหรือองค์กรใดๆ หากต้องการนําทรัพธ์สินทางปัญญาของผู้อื่นไปใช้ อาจต้องเสียค่าใช้จ่าย และจะต้องระบุแหล่งที่มาของทรัพยสินดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน
• ในทางกฎหมาย การให้สิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา มี 4ประเภท คือ
–  ลิขสิทธิ์ (copyrights)
–  ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
–  เครื่องหมายการค้า (Trade Marks)
–  สิทธิบัตร (Patents)

    การละเมิดความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มากที่สุด  คือ

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

 (Software Piracy)

3. การจารกรรมหรือการรุกล้ํา
• การจารกรรม (Espionage) เป็นการที่กระทําซึ่งใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์หรือตัวบุคคลในการจารกรรมสารสนเทศที่เป็นความลับ
• ผู้จารกรรมจะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้ถึงซึ่งสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ และรวมรวมสารสนเทศนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
• การรุกล้ํา (Trespass) คือ การกระทําที่ทําให้ผู้อื่นสามารถเข้าสู้ระบบเพื่อรวมรวมสารสนเทศที่ต้องการโดยไม่ได้รับอนุญาต
• การควบคุม สามารถทําได้โดย การจํากัดสิทธิ์และพิสูจน์ตัวตนของผู้เข้าสู่ระบบทุกครั้งว่าเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาติจริง
4. การกรรโชกสารสนเทศ
• การที่มีผู้ขโมยข้อมูลหรือสารสนเทศที่เป็นความลับจากคอมพิวเตอร์ แล้วต้องการเงินเป็นค่าตอบแทน เพื่อแลกกับการคืนสารสนเทศนั้น หรือแลกกับการไม่เปิดเผยสารสนเทศดังกล่าว เรียกว่า Blackmail
5. การทําลายหรือทําให้เสียหาย
• เป็นการทําลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ภาพลักษณ์ธุรกิจ และทรัพย์สินขององค์กร ซึ่งอาจเกิดจากผู้อื่นที่ไม่หวังดีหรือแม้กระทั่งจากพนักงานขององค์เอง การทําลาย เช่น การขีดเขียนทําลายหน้าเว็บไซต์
6. การลักขโมย
• การถือเอาของผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย
• เช่น อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งแบบธรรมดาและแบบอิเล็คทรอนิค แล้วยังรวมถึง สารสนเทศขององค์กร และทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ
7. ซอฟต์แวร์โจมตี
• เรียกว่า การโจมตีโดยซอฟต์แวร์เกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลออกแบบซอฟต์แวร์ให้ทําหน้าที่โจมตีระบบ เรียกว่า Malicious Code หรือ Malicious Software หรือ Malware
• มัลแวร์ (Malware) ถูกออกแบบเพื่อสร้างความเสียหาย ทําลาย หรือระงับการให้บริการของระบบเป้าหมาย มีหลายชนิด เช่น virus worm, Zombie, Trojan Horse, Logic Bomb, Back door เป็นต้น
8. ภัยธรรมชาติ
• ภัยธรรมชาติต่างๆ สามารถสร้างความเสียหายให้กับสารสนเทศขององค์กรได้ หากไม่มีการป้องกันหรือวางแผนรับมือกับภัยธรรมชาติ อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรได้อย่างมหาศาล
• สามารถป้องกันหรือจํากัดความเสียหาย โดยการวางแผนรับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติ
• Contingency Plan ประกอบด้วย
 1. ข้อปฏิบัติในการฟื้นฟูจากภัยพิบัติ
 2. การดําเนินงานอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์คัขัน
 3. การรับมือกับเหตุการไม่คาดคิด

"  ช่องโหว่  "  Vulnerabilities

ช่องโหว่ คือ ความอ่อนแอ่ของระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบเครือข่ายที่เปrดโอกาสให้สิ่งที่เป็นภัยคุกคามสามารถเข้าถึงสารสนเทศในระบบได้ซึ่งจะนําไปสู่ความเสียหายแก่สารสนเทศ หรือแม้แต้การทํางานของระบบ

 1. การจัดการบัญชีรายชื่อผู้ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ (User Account Management Process)
   ทุกองค์กรจําเป็นต้องมีการจัดทําบัญชีรายชื่อผู้ใช้ User Account เพื่อทําการล็อกอินเข้าสู่ระบบซึ่งต้องมี User  Name  ,  Password รวมถึงการควบคุมการเข้าถึง (Access  Control  )  และการให้สิทธิ์ (Authorization) เป็นต้น
2. ระบบปฏิบัติการไม่ได้รับการซ่อมเสริมอย่างสม่ำเสมอ
     หากองค์กรละเลยติดตามข่าวสารจากบริษัทผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ หรือ แอลพลิเคชั่นและไม่ทําการ Download  Patch มาซ่อมแซมระบบอย่างเป็นระยะอาจทําให้ระบบปฏิบัติการมีช่องโหว่และข้อผิดพลาดสะสมเรื่อยไปจนกลายเป็นจุดอ่อนที่เสี่ยงต่อการบุกรุกโจมตีได้มากที่สุด โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการแบบเครื่อข่าย
3. ไม่มีการอัพเดทไวรัสอย่างสม่ำเสมอ
     การอัพเดทไวรัสเป็นการเพิ่มข้อมูลรายละเอียดคุณลักษณะของไวรัสชนิดใหม่ๆ ในฐานข้อมูลของโปรแกรม ซึ่งจะช่วยให้โปรแกรมสามารถตรวจจับไวรัสชนิดใหม่ได้แต่หากไม่การอัพเดทจะส่งผลให้โปรแกรมไม่รู้จักไวรัสชนิดใหม่ระบบจะเสี่ยงต่อการติดไวรัสมากขึ้น
4. การปรับแต่งค่าคุณสมบัติ ระบบผิดพลาด
     การที่ผู้ดูแลระบบต้องปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆ ของระบบด้วยตนเอง Manually จะเสี่ยงต่อการกําหนดค่าผิดพลาดได้สูงกว่าระบบทําการกําหนดให้เองอัตโนมัติ

"  การโจมตี  "  (  Attack  ) 

  การโจมตี คือ การกระทําบางอย่างที่อาศัยความได้เปรียบจากช่องโหว่ของระบบ เพื่อเข้าควบคุมการทํางานของระบบ เพื่อให้ระบบเกิดความเสียหาย หรือเพื่อโจรกรรมสารสนเทศ

รูปแบบของการโจมตี

1. Malicious Code หรือ Malware
–  โค๊ดมุ่งร้ายหรือเป็นอันตราย อันได้แก่ Virus, Worm, Trojan Horse ยังรวมถึง Web scripts
• รูปแบบการโจมตีของ Malicious Code
1. สแกนหมายเลข IP Address เพื่อหาหมายเลขช่องโหว่ แล้วทําการติดตั้ง โปรแกรม Back door เพื่่อเปิดช่องทางลับให้กับแฮกเกอร์
2. ท่องเว็บไซต์ระบบที่มี Malicious ฝังตัวอยู่ จะสร้างเว็บเพจชนิดต่างๆ เมื่อผู้ใช้เข้าไปเยี่ยมชมเว็บเพจที่มีอันตรายดังกล่าว ก็จะได้รับ Malicious Code ไปได้
3. Virus โดยการคัดลอกตัวเองไปอยู่กับโปรแกรม ที่ผู้ใช้รันโปรแกรม นั้นๆ
4. Email โดยการส่งอีเมล์ที่มี Malicious Code ซี่งทันทีที่เปิดอ่าน Malicious Code ก็จะทํางานทันที
2. Hoaxes  – การปล่อยข่าวหลอกลวง เช่น ปล่อยข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ทางเมล์ยังได้แนบโปรแกรมไวรัสไปด้วย เป็นต้น
3. Back door หรือ Trap Door
–  เส้นทางลับที่จะช่วยผู้โจมตีหรือผู้บุกรุกเข้าสู่ระบบได้โดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ
4. Password Cracking
–  การบุกรุกเขWาไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ใดๆ โดยใช้วิธีการเจาะรหัสผ่าน เริ่มต้นด้วยการคัดลอกไฟล์ SAM (Security Account Manager) แล้วทําการถอดรหัส ด้วยอัลกอริทึ่มถอดรหัสชนิดต่างๆ จนกว่าจะได้รหัสผ่านที่ถูกต้อง
5. Brute Force Attack
–  เป็นการพยายามคาดเดารหัสผ่าน โดยการนําคีย์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดมาจัดหมู่ Combination
–  การคาดเดารหัสผ่านนี้จะเป็นการคํานวณซ้ําหลายๆรอบ เพื่อให้ได้กลุ่มรหัสผ่านที่ถูกต้อง
–  จึงมีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเพื่อช่วยให้การคํานวณรวดเร็วขึ้น


 6. Denial Of Service
–  การปฏิเสธการให้บริการของระบบ เป็นการโจมตีโดยใช้วิธีส่งข้อมูลจํานวนมากไปยังเป้าหมาย ทําให้แบรนด์วิดธ์เต็มจนไม่สามารถให้บริการได้

คลิปวีดีโอ  "  เรื่องไวรัสคอมพิวเตอร์  "

 
       ความรู้ที่ได้รับจาก  ใบงานที่  1

                                                 

   Malware  (  มัลแวร์  )
   Malware (มัลแวร์)ย่อมาจาก Malicious Software  หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย โดยจะเข้ามาบุกรุกเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โดยที่เราไม่รู้ตัวและสร้างความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายนั้นๆเช่น Virus, Worm, Trojan, Adware, Spyware

                                                        Virus  (  ไวรัส  )
   ไวรัส  เป็นโปรแกรมที่สามารถติดต่อจากอีกไฟล์หนึ่งไปยังอีกไฟล์หนึ่งภายในระบบเดียวกัน หรือจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่นโดยการแนบตัวเองไปกับ โปรแกรมอื่น จะมีการแพร่กระจายไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้โดยต้องการตัวกลางในการติดต่อ

วิธีป้องกัน Virus (ไวรัส)
-  ควรติดตั้งซอฟแวร์ ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ และสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด เพราะจะทําให้สามารถดักจับ และจัดการกับไวรัสตัวใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

-  อัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส (Anti Virus) อย่างสม่ําเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรอัพเดททุกครั้งที่ออนไลน์
เพราะจะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน
-  อย่าตั้งค่าให้โปรแกรมอีเมลเปิดไฟล์ที่แนบมาโดยอัตโนมัติ ควรจะต้องตรวจสอบก่อนดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์ขึ้นมา
-  สแกนไฟล์แนบของอีเมลทุกฉบับ หรือแม้แต่อีเมลจากคนรู้จัก
-  อย่าดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจได้ไวรัสแถมมาด้วย แต่หากต้องการดาวน์โหลดจริงๆ ก็สแกนหาไวรัสจากไฟล์นั้นก่อนเปิดใช้งาน
-  ควรสแกนแฟลชไดรฟ์ก่อนใช้งานทุกครั้ง เพราะแฟลชไดรฟ์เป็นพาหะในการนําข้อมูลจากพีซีเครื่องหนึ่งมาใส่ในอีกเครื่อง

ภัยคุกคามจากการโจมตีของซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย (Malicious Code) มีอะไรบ้าง

 

เวิร์ม  เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับโปรแกรมไวรัส สามารถแพร่กระจายตัวของมันเองได้โดยอัตโนมัติและไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่นในการแพร่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ผ่านทางเครือข่าย ลักษณะการแพร่กระจายคล้ายตัวหนอนที่เจาะไชไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ แพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตัวเองออกเป็นหลายๆ โปรแกรม และส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป
เวิร์มบางประเภทสามารถแพร่กระจายตัวเองโดยที่ไม่ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากผู้ใช้เลย หรือบางตัวก็อาจแพร่กระจายเมื่อผู้ใช้รันโปรแกรมบางโปรแกรม เวิร์มยังสามารถทําลายระบบได้อีกด้วย
เวิร์มสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Outlook Express หรือ Microsoft Outlook เช่น เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์และแนบโปรแกรมติดมาด้วย ในส่วนของ Attach file ผู้ใช้สามารถคลิ๊กดูได้ทันที การคลิ๊กเท่ากับเป็นการเรียกโปรแกรมที่ส่งมาให้ทํางานถ้าสิ่งที่คลิ๊กเป็นเวิร์ม เวิร์มก็จะเริ่มทํางานทันที โดยจะคัดลอกตัวเองและส่งจดหมายเป็นอีเมล์ไปให้ผู้อื่นอีก

วิธีป้องกัน Worm

-  การติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัส แบบ Real time หมายถึงตรวจสอบอีเมล์ทุกครั้งที่เข้ามา ตรวจสอบ
เว็บไซต์ที่มีการแวะเวียนเข้าไปแบบอัตโนมัติ เป็นต้น

-ควรหลีกเลี่ยงการเปิดเมล์ที่เราไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจ


Trojan  Horse  (  ม้าโทรจัน  )

ภัยคุกคามจากการโจมตีของซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย (Malicious Code) มีอะไรบ้าง

  

ม้าโทรจัน  เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆโดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนําไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์ หรือระบบเครือข่ายอีกที
ม้าโทรจัน แตกต่าง จากไวรัสที่การทํางาน  “ไวรัส” ทํางานโดย ทําลายคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง  แต่ “ม้าโทรจัน” ไม่ทําอะไรกับคอมพิวเตอร์

การป้อง/กําจัด Trojan Horse

-  ใช้ Firewall เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากแฮคเกอร์
 -  ใช้ซอฟต์แวร์สําหรับการตรวจจับและทําลายโทรจัน เช่น The Cleaner 3.1 ,Trojan Remover,Anti-
Trojan 5 เป็นต้น

 Adware  ( แอดแวร์ )

ภัยคุกคามจากการโจมตีของซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย (Malicious Code) มีอะไรบ้าง


แอดแวร์  เป็นศัพท์ เทคนิคมาจากคําว่า Advertising Supported Software แปลเป็นไทยได้ว่า
"โปรแกรม สนับสนุนโฆษณา"
โดยทางบริษัทต่างๆ จะพยายามโฆษณาสินค้าของตนเอง เพื่อที่จะได้ขายสินค้านั้นๆ เช่น ถ้าเราลองไปดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีตามเว็บต่างๆ เราก็จะเห็นโฆษณาสินค้าปรากฏขึ้นมาบ่อยๆ ถ้าเราอยากให้โฆษณานั้นหายไป ก็ต้องจ่ายตังค์ค่าลิขสิทธิ์เพื่อไม่ให้มีโฆษณาขึ้นมากวนใจอีกต่อไป

Spyware  ( สปายแวร์ )

ภัยคุกคามจากการโจมตีของซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย (Malicious Code) มีอะไรบ้าง

  

สปายแวร์ คือ โปรแกรมสายลับ โดยจะดึงข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของเรา ส่งไปยังบริษัทแม่ ถึงแม้ว่าทางบริษัทจะมีนโยบายเกี่ยวกับสิทธิของบุคคล แต่ความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งไปให้บริษัทแม่อย่างต่อเนื่อง เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวกับเวลาที่เราใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไหนที่เราเข้าไปดูบ่อยๆ เป็นต้น
รูปแบบของการเผยแพร่ก็แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่มักเผยแพร่ผ่านหน้าเว็บไซต์ที่เราเข้าไปดูไปชม และเมื่อผู้ใช้งานเข้าไปในเว็บนั้นๆ ก็จะปรากฏ Pop up ชวนให้เราคลิก ด้วยความมือไวไม่ทันระวังพวกเราก็คลิก OK , Yes , Accept ฯลฯ โดยที่ไม่ได้อ่าน Spyware จึงถูกโหลดมายังเครื่องของเราโดยทันที
อาการของเครื่่องที่ติด Spyware

-  อาจมีป้ายโฆษณาเล็กๆ ปรากฏขึ้นมา หรือที่เรียกว่า pop-up
-  เก็บข้อมูลการเข้าเว็บไซต์ต่างๆ และเว็บที่เราชื่นชอบส่งไปยังผู้ที่ต้องการ
-  เว็บเริ่มต้นในการทํางานถูกเปลี่ยนไป
-  มีโปรแกรมใหม่ๆ ถูกติดตั้งขึ้นมาโดยที่ไม่ได้มีการติดตั้ง
-  ค้นหาข้อมูลใน Search Engine จะมีความแตกต่างออกไปจากเดิม

วิธีป้องกัน Spyware
-  ระวังเรื่องการ download โปรแกรมจากเว็บไซต์ต่าง
-  ระวังอีเมล์ที่ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการแจกโปรแกรมฟรี เกี่ยวกับกําจัด spyware
-  ระหว่างการใช้งานอินเทอร์เน็ต ถ้ามีหน้าต่างบอกให้คลิกปุม Yes ระวังสักนิด อ่านรายละเอียดให้ดี อาจมี
spyware แฝงอยุ่ แนะนําให้คลิก No ไว้ก่อน จะปลอดภัยกว่า
-  มีหน้าต่าง pop-up ขึ้นมา ให้กดปุ่มปิดแทนการคลิกปุ่มใดๆ และโดยเฉพาะบริเวณป้ายโฆษณา นั่นอาจหมายถึงคุณกําลังยืนยันให้มีการติดตั้ง spyware แล้ว
-  ตรวจสอบด้วยโปรแกรมกําจัด spyware อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง สําหรับองค์กร แนะนําให้ตรวจสอบทุกวัน โดยเฉพาะเวลาพักทานข้าว ซึ่งถือได้ว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมมากที่สุด

ภัยคุกคามจากการโจมตีของซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย (Malicious Code) มีอะไรบ้าง