ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ฮีตเตอร์ท่อกลม หรือฮีทเตอร์ทิวโบล่า

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตัวอย่างท่อกลมยาว

ก. ฮีทเตอร์ทิวโบล่า (Tubular Heater)

ฮีตเตอร์ท่อกลม หรือฮีทเตอร์ทิวโบล่า (Tubular Heater) เส้นตรง สามารถนำไปดัดไปงอใช้เป็นฮีทเตอร์รูปตัว Uฮิตเตอร์หน้าแปลน ฮิตเตอร์ต้มน้ำ หรือฮีทเตอร์จุ่ม ฯลฯ ใช้ท่ออินคอลอยด์ (In Colloid Tube) สำหรับต้มน้ำกรด/ด่าง

ส่วนประกอบที่สำคัญของฮีทเตอร์ทิวโบล่า

  • ท่อโลหะ
  • ใช้ท่อสแตนเลส 304,316,430 สำหรับงานทั่วไปท่อสแตนเลสเกรดสูง SUS316, SUS430 ใช้งานที่ทนสารเคมี
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ฮีทเตอร์ทิวโบลาร์แบบต่างๆ
  • ท่อทองแดง  ท่ออลูมิเนี่ยม ฯลฯ  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมาตรฐาน 12 MM.   11MM.   9MM.
  • แม๊กนีเซี่ยมอ๊อกไซายน์ (MgO) มีคุณสมบัติเป้นตัวนำความร้อนที่ดีกว่า คือให้ความร้อนผ่านตัวของมันไปได้อย่างรวดเร็วนอกจากนี้ยังเป็นตัวต้านทานไฟฟ้าที่ดี คือ จะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หรือไหลผ่านได้แต่น้อยมาก (กระแสไฟฟ้ารั่ว) Leakage Current น้อยมาก
  • ลวดฮีทเตอร์ (Heater) ซึ่งทำจากโลหะผสมของนิกเกิ้ล,นิโครม (ลวดเกรดต่ำจะมีเหล็กผสมอยู่ด้วย ) หรือภาษาตลาด เรียกลวดนิโครมซึ่งมีส่วนผสมแตกต่างกัน

ส่วนผสม ของ นิเกิ้ล,โ ครเมี่ยม, เหล็ก แตกต่างกัน เช่น ลวด Nichrome Type A Nicr80 หรือลวดนิโครม80 มี นิเกิล Ni 80% และ โครเมี่ยม 20% ลวด Nichrome Type C Nicr60 หรือลวดนิโครม60 มี นิเกิล60 % และ โครเมี่ยม16% และ เหล็ก24% (ลวดนิโครมเป็นลวดที่มีความต้านทานสูง ต่างกับลวดสายไฟฟ้าหรือลวดทองแดงที่มีความต้านทานต่ำ) เมื่อมีกระแสไหลผ่านลวดนิโครมก็จะทำให้ลวดนิโครมร้อนขึ้นตามปริมาณกระแสไฟที่ผ่านเข้าไป

  • ลวด Nicr80 มีจุดหลอมเหลวที่ 1,400°C แต่ไม่ควรใช้ความร้อนเกิน  100 °C   เหมาะสำหรับพันเป็นคอยด์ฮีตเตอร์ที่วัตต์สูง
  • ลวด Nicr60 มีจุดหลอมเหลวที่ 1,350 °C ไม่ควรใช้ความร้อนเกิน 900°C( 1,652°F )

ท่อโลหะทำหน้าที่เป็นเปลือก (Sheath) ป้องกันการขูดขีดตัวฮีตเตอร์ผงแมกนีเซี่ยมอ๊อกไซด์ (MgO) และลวดฮีทเตอร์ที่อยู่ภายในท่อทำให้ยืดอายุการใช้งานของฮีทเตอร์แบบท่อ (Tubular Heater) เมื่อผลิตได้ฮีทเตอร์ท่อกลม หรือฮีตเตอร์ทิวโบลาร์แล้วสามารถนำไปดัดเป็นฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีทเตอร์ครีบ, ฮีทเตอร์ตระแกรง หรือนำฮีทเตอร์ขึ้นรูปแล้วไปหล่อทับด้วยอลูมิเนี่ยมร้อนเหลวเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น เตารีดไฟฟ้า ฮีทเตอร์ในตู้ไมโครเวฟแบบทำไอน้ำร้อน (ให้ความชื้นซาละเปาไม่ให้แห้งเกินไป) เป็นต้น

แมนีเซี่ยมออกไซด์ (MgO) มีหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้าอย่างดีและให้ความร้อนผ่านได้ดีเยี่ยม การเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีทำให้สามารถออกแบบให้ลวดฮีทเตอร์ที่ขดเป็นวงกลมรูปร่างแบบเดียวกับสปริงอยู่ใกล้กับผิวในของท่อเหล็กได้มากขึ้นโดยไม่เกิดการช๊อตกัน (ทำให้ลวดฮีทเตอร์ขาด) จึงทำให้ลวดฮีทเตอร์ท่อกลมมีขนาดโตขึ้น ทำให้ลวดฮีทเตอร์ไฟฟ้ามีความสามารถผลิตความร้อนได้

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ลวดฮีทเตอร์มีหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานไฟฟ้า (วัตต์) เป็นพลังานความร้อน โดย Watt = V 2/ R

  • V คือโวลท์ที่จ่ายให้ปลายขดลวดฮีทเตอร์ 2 ข้าง
  • R คือความต้านทานของลวดฮีทเตอร์

ข.ขั้นตอนการผลิตฮีทเตอร์ท่อกลม หรือฮีทเตอร์ทิวโบลาร์ (Tubular Heater)

ขั้นตอนการผลิตฮีทเตอร์ Tubular Heater โดยย่อมีดังนี้

  • คำนวนหาขนาดของลวดฮีทเตอร์กลมจากขนาดกำลังไฟฟ้า (วัตต์) จะได้ค่าความยาว และ ขนาดของลวดฮีตเตอร์ การคำนวนต้องทำหลายครั้งเพื่อตรวจสอบเช็คดูด้วยว่าค่าขนาดลวดนั้นสามารถใช้ลวดฮีทเตอร์ที่โตที่สุดเท่าไหร่เพราะยิ่งโตยิ่งทำให้ฮีทเตอร์ใช้งานได้นานกว่า

การคำนวนขนาดลวดอีตเตอร์ที่ดีที่สุดคือ การใช้คอมพิวเตอร์คำนวนเพราะคอมพิมเตอร์สามารถคำนวณได้เร็ว โดยการคำนวณทำหลายครั้งจได้ลวดที่โจที่สุด โดยฮีตเตอร์ไม่มีการช๊อตกัน หรือลวดขาดง่ายเมื่อนำไปใช้งาน

  • พันลวดฮีทเตอร์ของท่อกลมเป็นเกลียวเหมือนสปริงมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของคอยด์ฮีทเตอร์และระยะความห่างระหว่างลวดแต่ละวง (ระยะpitch) ได้อย่างเหมาะสม

ผู้ผลิตบางราย จะไม่ใช้เครื่องพันลวดมาตรฐานซึ่งไท้กระชากลวดจึงยึดออกตอนที่พันรวด แต่ใช้สว่านมือพันลวดรอบแกนของสว่านมือที่ต่อจากปลาย ซึ่งทำให้ลวดฮีทเตอร์มีอายุการใช้งานสั้นลง เพราะสว่านมือเป็นมอเตอร์ที่มีความเร็วรอบสูง และแรงบิดสูงยังผลให้ลวดฮีทเตอร์ที่พันอยู่รอบแกนที่เสียบอยู่ที่ปลายสว่านมือถูกแรงบิดอย่างรุนแรงและความเร็วรอบสูงมากทำให้ลวดยืดความโตของลวดลดลงกว่าค่าที่คำนวนและตัวลวดก็บอบช้ำจากการพันลวดฮีทเตอร์เป็นคอยด์

  • Facebook iconแชร์ Facebook
  • LINE iconแชร์ LINE

          อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนคือฮีตเตอร์ ซึ่ง ขดลวดความร้อนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด เปรียบเสมือนหัวใจของฮีตเตอร์ การเลือกใช้และออกแบบขดลวดความร้อนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจะมาพูดถึงการออกแบบและเลือกใช้ลวดความร้อนในบทความนี้

          ขดลวดความร้อน คือ ลวดที่มีความต้านทานทางไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดความร้อน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพลังงานจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนขึ้นในขดลวด ยิ่งความต้านทานของขดลวดน้อยลงยิ่งทำให้พลังงานความร้อนมากขึ้น พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นจะถ่ายเทออกไปยังโหลดที่ต้องการ

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภาพที่ 1 แสดงลวดความร้อนภายในแกนฮีตเตอร์

          ขดลวดความร้อน หรือบางครั้งเรียกว่า ลวดฮีตเตอร์ แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น ลวดนิโครม ลวดเหล็ก ซึ่งจะถูกพันขดอยู่ในแกนซึ่งอาจทำจากเซรามิกหรือวัสดุทนไฟ โดยมีขนาดและความยาวตามความต้องการกำลังไฟฟ้าที่ออกแบบไว้ ซึ่งบทความนี้จะอธิบายหลักการออกแบบตามหลักวิศวกรรมโดยละเอียดต่อไป

รายละเอียด ฮีตเตอร์สำหรับชุบโลหะ

ฮีตเตอร์

ฮีตเตอร์หลอดแก้ว

ฮีตเตอร์สแตนเลส

ฮีตเตอร์ไทเทเนียม

สารบัญเนื้อหา

  • ขั้นตอนการออกแบบขดลวดความร้อน
  • การเลือกชนิดลวดความร้อน
  • การเลือกขนาดลวดความร้อน
    • สมการที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณพลังงาน
    • สมการที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณรูปร่างขดสปริง
    • ตารางแสดงโหลดความร้อนบนพื้นผิว (Surface load)
    • ขั้นตอนการคำนวณเพื่อเลือกขนาดลวดฮีตเตอร์
  • ตัวอย่างการคำนวณขดลวดความร้อน
    • รายละเอียดสเปค Kanthal D
  • ตัวอย่างการคำนวณขดลวดความร้อน
  • สรุป

ขั้นตอนการออกแบบขดลวดความร้อน

          หน้าที่ของขดลวดความร้อนคือการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนซึ่งใช้ในงานหลากหลายประเภท กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลวดที่มีความต้านทานทำให้เกิดความร้อนขึ้น ยิ่งความต้านทานมากเท่าไหร่ความร้อนยิ่งเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งขนาดและความยาวมีผลโดยตรงกับความต้านทานของลวดความร้อน ความร้อนที่เกิดขึ้นจะเคลื่อนที่ไปสู่ที่ความร้อนน้อยกว่าผ่านการนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน ซึ่งเราสามารถออกแบบการถ่ายเทได้โดยลักษณะงานที่ใช้

          ในการออกแบบลวดความร้อนสำหรับทำฮีตเตอร์ เริ่มต้นจากต้องหาพลังงานความร้อนที่ต้องใช้ทั้งหมด รวมถึงระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน เช่น แรงดันไฟฟ้า 3เฟส 380โวลต์ / 1เฟส 220โวลต์ เนื่องจากใช้วิธีการต่อขดลวดที่แตกต่างกัน

          ตัวอย่าง เช่น ต้องการทำความร้อนโดยใช้กำลังไฟฟ้า 15kW โดยใช้ไฟฟ้าแรงดัน 380โวลต์ ซึ่งการออกแบบอาจเป็น ฮีตเตอร์ 5kW จำนวน 3 ตัว หรือ ฮีตเตอร์ 3kW จำนวน 5 ตัว (ดูตารางสเปคมาตรฐานของฮีตเตอร์)

          คำถามต่อไปคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ต้องใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไร ? หลักการง่ายๆคือ

” ฮีตเตอร์ 10kW ให้ความร้อนน้ำเปล่า 100 ลิตร จนมีอุณหภูมิ 100°C (จาก 25°C) ในเวลา 1 ชั่วโมง”

          ซึ่งเป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆที่สามารถใช้ได้จริง โดยใช้หลักการนี้ประยุกต์ให้เข้ากับงานของแต่ละที่ได้ โดยเทียบบรรยัดไตรยางค์ เช่น

ฮีตเตอร์ 5kW ให้ความร้อนน้ำเปล่า 100 ลิตร จนมีอุณหภูมิ 63.5°C (เพิ่มขึ้น 37.5°C) ในเวลา 1 ชั่วโมง

ฮีตเตอร์ 5kW ให้ความร้อนน้ำเปล่า 50 ลิตร จนมีอุณหภูมิ 100°C (เพิ่มขึ้น 75°C) ในเวลา 1 ชั่วโมง

ฮีตเตอร์ 5kW ให้ความร้อนน้ำเปล่า 100 ลิตร จนมีอุณหภูมิ 100°C (เพิ่มขึ้น 75°C) ในเวลา 2 ชั่วโมง

          เมื่อทราบว่า เรากำลังจะออกแบบฮีตเตอร์กำลังไฟฟ้าเท่าไร และต่อกับแรงดันไฟฟ้าเท่าไหร่แล้ว สิ่งที่ต้องทราบต่อไป คือ สิ่งที่มีผลกระทบต่อกำลังไฟฟ้าของลวดฮีตเตอร์ ซึ่งได้แก่ คือ ความต้านทานของขดลวด (Resistance of heater wire) มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) ซึ่งสิ่งที่มีผลโดยตรงกับความต้านทานของขดลวด คือ ชนิดวัสดุ ความยาวขดลวด และขนาดพื้นที่หน้าตัดของขดลวด ซึ่งจะกล่าวต่อไป

สรุปสิ่งที่ต้องทราบก่อนการออกแบบลวดฮีตเตอร์

  1. กำลังไฟฟ้าที่ใช้
  2. ระบบไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าที่ใช้
  3. ชนิดของขดลวด

หากท่านต้องการให้เราช่วยเหลือ

ยินดีให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

แอด [email protected] โทรศัพท์

การเลือกชนิดลวดความร้อน

วัสดุที่นิยมใช้สำหรับทำขดลวดความร้อนมีสองอย่าง ได้แก่

1. ลวดนิโครม ( Nickel-based coil,Nicr ) หรือบางทีเรียกว่า ลวดนิเกิล

          ลวดนิโครมเป็นขดลวดชนิด ออสเทนนิติกอัลลอยด์ ( Austenitic Alloy) ซึ่งประกอบด้วย นิเกิลประมาณ 20% และ โครมประมาณ 20% สามารถทนอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 1250 องศาเซลเซียส มีข้อดีคือ ต้านการเกิดออกซิเดชั่นได้ดี มีความเสถียร จุดหลอมเหลวสูง และ การยืดตัวน้อยเมื่อเกิดความร้อน

ดูรายละเอียดลวดนิโครมเพิ่มเติม ได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Nichrome

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภาพที่ 2 ลวดนิโครม Alloywire
https://www.alloywire.com/products/8020-ni-cr-nickel-chrome-resistance-wire/

2. ลวดเหล็กโครม ( Iron-based coil,FeCrAl )

          มีส่วนประกอบคือ เหล็ก โครเมี่ยม และ อลูมิเนียม เป็นขดลวดชนิด เฟอรริติกอัลลอยด์ ( Furitic Aloy) ซึ่งลวดชนิดนี้ทนอุณหภูมิได้สูงสุด 1400 องศาเซลเซียส รวมทั้งมีน้ำหนักและความหนาแน่นน้อยกว่าลวดนิโครม สามารถใช้งานแทนกันได้อย่างดีโดยเลือกได้จากจุดประสงค์การใช้งาน

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภาพที่ 3 ลวดเหล็กโครม Kantholwire
https://www.kanthal.com/en/products/materials-in-wire-and-strip-form/wire/

3. ลวดนิเกิลเหล็ก ( NiFe-based coil )

ใช้ในงานที่ต้องการอุณหภูมิไม่สูงมากประมาณไม่เกิน 600 องศาเซลเซียส มีค่าสัมประสิทธิความต้านทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงสูง ซึ่งหมายถึงความต้านทานของลวดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

ลวดนิโครม และ ลวดเหล็กโครม แบบไหนดีกว่ากัน

ลวดนิโครมมีข้อดีมากกว่าลวดเหล็กโครม ดังนี้

– ความแข็งแรงต่อการคืบสูงกว่า (higher hot and creep strength )
สามารถทนต่อแรงกระทำและต้านการคืบได้สูงกว่า ( ต่อต้านความเครียดที่ขึ้นอยู่กับเวลา ) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

– มีความเหนียวมากกว่าเมื่อผ่านการใช้งานเป็นเวลานาน
ลวดนิโครม ยังคงยืดหยุ่นเมื่อผ่านการใช้งานเป็นเวลานาน ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงรูปร่างหลังจากใช้แล้วได้

– การแผ่รังสีความร้อนมากกว่า ( Higher emissivity )
การแผ่รังสีความร้อนที่ดีกว่าทำให้ มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับโหลดที่เท่ากัน

– ต้านการผุกร่อนจากความชื้นได้ดีกว่า
ลวดนิโครมสามารถต่อต้านการผุกร่อนที่อุณหภูมิห้องได้ดีกว่า

ลวดเหล็กโครมมีข้อดีมากกว่าลวดนิโครม ดังนี้

– อุณหภูมิสูงสุดในการทำงานสูงกว่า ( Higher maximum temperature )
ซึ่งลวดเหล็กโครมสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิสูงสุดถึง 1400 องศาเซลเซียสในอากาศ

– โหลดต่อพื้นผิวสูงกว่า (Higher surface load)
อุณหภูมิทำงานสูงสุดและโหลดต่อพื้นผิวที่สูงกว่า ทำให้อายุการใช้งานยาวนานกว่า

– ความต้านทานสูงกว่า ( Higher resistivity )
ความต้านทานของลวดขชนิดนี้มากกว่า ทำให้สามารถเลือกใช้ขนาดลวดที่ใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน

– กำลังคลากสูงกว่า ( Higher yield strength )
ผลของกำลังที่สูงกว่าทำให้ พื้นที่หน้าตัดของลวดไม่เปลี่ยนแปลงมากเมื่อทำการม้วนขดลวด

– ความหนาแน่นและน้ำหนักต่ำกว่า ( Lower density )
เมื่อความหนาแน่นและน้ำหนักต่ำกว่า จึงใช้วัสดุน้อยกว่า

สรุปการเลือกชนิดลวดความร้อน

          ลวดความร้อนแต่ละชนิด มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป และมีราคาที่แตกต่างกันด้วย ไม่ว่าลวดนิโครม ลวดเหล็กโครม ล้วนเหมาะสมกับงานซึ่งแตกต่างกันออกไป เมื่อเลือกชนิดขดลวดและแบรนด์ได้แล้ว สิ่งที่ต้องใช้เพื่อออกแบบในขั้นตอนต่อไป คือ รายละเอียดสเปคของลวดชนิดที่เลือกจากผู้ผลิต เพื่อใช้ออกแบบและคำนวณต่อไป

หากท่านต้องการให้เราช่วยเหลือ

ยินดีให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

แอด [email protected] โทรศัพท์

การเลือกขนาดลวดความร้อน

          เมื่อเราเลือกชนิดของลวดความร้อนตามงบประมาณและลักษณะการใช้งานของเราได้แล้ว เราจะนำสเปคจากผู้ผลิตเพื่อมาคำนวณหาขนาดและความยาวที่เหมาะสมต่อไป

สมการที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณพลังงาน

P          กำลังไฟฟ้า (วัตต์ , W )

I          กระแสไฟฟ้า ( แอมแปร์ , A )

V         ความต่างศักย์ไฟฟ้า ( โวลต์ , V )

R(t)     ความต้านทานที่อุณหภูมิ t ( โอห์ม , Ω )

R(20)    ความต้านที่ที่อุณหภูมิห้อง 20 องศาเซลเซียส ( โอห์ม , Ω )

f          ค่าสัมประสิทธิ์ความต้านทานเมื่อเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

S          โหลดความร้อนพื้นผิว Surface load ( W/cm^2 )

A          พื้นที่ผิวของลวด (cm^2)

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

สมการที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณรูปร่างขดสปริง

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภาพที่ 4 แสดงขดลวดความร้อนที่ถูกม้วนเป็นคอยด์

d         เส้นผ่านศูนย์กลางของลวด ( มิลลิเมตร , mm )

D         เเส้นผ่านศูนย์กลางคอยด์ลวด ( มิลลิเมตร , mm )

L         ความยาวของลวดที่ใช้ ( มิลลิเมตร , mm )

x(c)     ความยาวของขดลวดสปริงปกติ( มิลลิเมตร , mm )

x(e)     ความยาวของขดลวดสปริงเมื่อยืด ( มิลลิเมตร , mm )

a         จำนวนเท่าของความยาวยืดคอยด์ ( มิลลิเมตร , mm )

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตารางแสดงโหลดความร้อนบนพื้นผิว (Surface load)

อุปกรณ์โหลดความร้อน (Surface load , W/cm^2)ฮีตเตอร์รัดท่อ4.0-5.5เครื่องปิ้งขนมปัง3.0-4.0Convector3.5-4.5ฮีตเตอร์พัดลม9.0-15.0เตาอบ8.0-12.0เตาย่าง15.0-20.0ฮีตเตอร์จุ่ม25.0-35.0กาต้มน้ำ35.0-50.0

ขั้นตอนการคำนวณเพื่อเลือกขนาดลวดฮีตเตอร์

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

กำหนดลักษณะของลวดฮีตเตอร์

          ออกแบบรูปร่างและลักษณะของลวดฮีตเตอร์รวมถึงลักษณะการพันลวดเพื่อหาช่วงร้อน (heat zone)

หาความต้องการพลังงานที่ต้องใช้

          กำหนดกำลังไฟฟ้าของฮีตเตอร์แต่ละตัวเพื่อกำหนดค่าพลังงาน (P) และระบบไฟฟ้า (V)

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

เลือกชนิดและแบรนด์ของขดลวดความร้อน

          เลือกชนิดของลวดที่ใช้ ได้แก่ ลวดนิโครม ลวดเหล็ก หรือ ชนิดอื่นๆ ตามความเหมาะสมกับงานและงบประมาณ เพื่อขอสเปคชีทจากผู้ผลิต

คำนวณหาความต้านทาน (Rt) และ (R20)

          นำค่า (P) และ (V) จาก ขั้นตอนที่ 2 แทนลงในสมการ (2) เพื่อหาความต้านทานของลวดฮีตเตอร์เพื่อหาค่า (Rt) จากนั้นหาความต้านทานที่อุณหภูมิทำงาน (R20) จากสมการ (3) โดยใช้ ค่า (f) จากสเปคชีทของผู้ผลิต

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

คำนวณหาความยาวของขดลวดความร้อนที่ใช้ (L)

          จากขั้นตอนที่ 1 นำความยาวช่วงร้อน (heat zone) กำหนดรูปแบบของขดลวด ซึ่งจะได้ค่าความยาวลวดสปริงเมื่อยืด (Xe)

          ใช้ค่า (Xe) แทนในสมการที่ (5) เพื่อหาค่า (Xc) และใช้ ค่า (Xc) แทนในสมการที่ (4) เพื่อหาค่า (L)

*เลือกใช้ค่าอัตราส่วน D:d และค่า a ที่แนะนำ

เลือกขนาดลวดจากค่า (R20) และ (L)

          เลือกขนาดลวดจากสเปคชีทของผู้ผลิตโดยใช้ค่า R/L เปรียบเทียบ

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตรวจสอบโหลดความร้อนพื้นผิว

ตรวจสอบ (S) จากสมการที่ 4 โดยใช้ค่า (A) ที่ได้จากตารางสเปคของผู้ผลิตลวด

-หากค่าที่ได้ไม่อยู่ในช่วงแนะนำตามตาราง Surface load ให้ปรับเปลี่ยนอัตราส่วน D:d , a

-หากปรับเปลี่ยนแล้วยังไม่ได้ จำเป็นต้องออกแบบขดลวดใหม่เพื่อเปลี่ยนค่า (Xe)

ตัวอย่างการคำนวณขดลวดความร้อน

          ในบทนี้เราจะแสดงตัวอย่างการออกแบบฮีตเตอร์และการเลือกใช้ขดลวดความร้อนทีละขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในงานของท่านเอง

1. กำหนดลักษณะลวดฮีตเตอร์ กำหนดให้ต้องการออกแบบอินฟราเรดฮีตเตอร์โดยใช้ขดลวดความร้อนแบบคอยด์สปริง ช่วงร้อน (heat zone) 500 mm ซึ่งมีค่าเท่ากับความยาวขดฮีตเตอร์สปริงที่ยืด (Xe)

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภาพที่ 5 คอยด์ลวดความร้อนอินฟราเรดฮีตเตอร์

2. หาความต้องการพลังงานที่ต้องใช้ มีกำลังไฟฟ้า 500W ใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส 220V

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภาพที่ 6 วงจรไฟฟ้า

3. เลือกชนิดและแบรนด์ของขดลวดความร้อน เลือกใช้ลวดเหล็กแทนลวดนิโครม Kanthal D

รายละเอียดสเปค Kanthal D

หน้า 1

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภาพที่ 7 สเปคลวดนิโครม Kanthal D หน้าที่ 1
https://www.kanthal.com/en/products/material-datasheets/wire/resistance-heating-wire-and-resistance-wire/kanthal-d/

หน้า 2

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ภาพที่ 8 สเปคลวดนิโครม Kanthal D หน้าที่ 2

4. คำนวณหาความต้านทาน (Rt) และ (R20)

P         2000 W    

V         220V

P         2000 W    

V         220V

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

f          1.07  ( จากรูปที่ 7 โดยให้อุณหภูมิทำงานอยู่ที่ 1000 C)

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

5. คำนวณหาความยาวของขดลวดความร้อนที่ใช้ (L)

x(e)     500mm (heat zone)

a          2     ( ค่า a ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับงานและประสบการณ์ผู้ออกแบบ )

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

D:d        5:1  ( ค่า D:d ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับงานและประสบการณ์ผู้ออกแบบ )

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

6. เลือกขนาดลวดจากค่า (R20) และ (L)

คำนวณ ค่า R20/L เพื่อนำไปเลือกขนาดลวดในตารางสเปคของภาพที่ 7 และ 8

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

จากภาพที่ 8 เลือกขดลวดความร้อนขนาด 0.45mm เนื่องจาก Resistance at 20C มีค่าใกล้เคียงมากที่สุด

7. ตรวจสอบโหลดความร้อนพื้นผิว

นำค่าจากภาพที่ 8 ของขดลวดความร้อนขนาด 0.45mm มาหาค่า L และ Surface area ที่ถูกต้องจากสเปคที่ให้

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ตรวจสอบ Surface load

ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ลวดนิโครม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

สรุปผลการออกแบบ

          จากตัวอย่างการคำนวณ จะสรุปผลการออกแบบได้ดังนี้

  • ออกแบบขดลวดความร้อน กำลัง 2000W สำหรับไฟฟ้า 220V ช่วงร้อน 500mm
  • ใช้ลวดฮีตเตอร์ Kanthal D ขนาด 0.45 mm พันขดสปริงโดยใช้ให้แกนสปริง (D) มีขนาด 5 เท่าของ เส้นผ่านศูนย์กลางของขดลวดที่ใช้ คือ 2.25 mm โดยใช้ความยาว (L) 2.66 m
  • สามารถปรับเปลี่ยนการคำนวณ โดยเปลี่ยน ค่า a , d หรือ เปลี่ยนแบรนด์และรุ่นของลวดฮีตเตอร์

การคำนวณนี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ซึ่งใช้เป็นแนวความคิดสำหรับออกแบบขดลวดความร้อนได้ โดยความคงทนหรือความเหมาะสมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของลวดนิโครมหรือลวดเหล็กที่ใช้ ขนาดลวด รวมถึงคุณภาพในการประกอบ ซึ่งต้องใช้ความรู้และประสบการณ์โดยเฉพาะ รวมถึงการนำค่าที่ได้จากการออกแบบไปทดลองและเก็บข้อมูลเพื่อการออกแบบให้มีความเหมาะสมที่สุด

ตัวอย่างการคำนวณขดลวดความร้อน

     โดยพื้นฐานทั่วไปคนมักเข้าใจว่าหลักกการทำงานของฮีตเตอร์นั้น ลวดฮีตเตอร์ที่ดีต้องมีความต้านทานสูง จึงจะให้ความร้อนได้ดี แต่จริงๆแล้วสิ่งที่เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนคือกระแสไฟฟ้าในขดลวด การทำให้กระแสไฟฟ้าไหลในขดลวดจำนวนมากมีความความสำคัญมากกว่าการทำให้ขดลวดมีความต้านทานมาก ซึ่งขัดกับสัญชาติญานแต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์

               ลองจินตนาการว่า ถ้าหากต้องการทำลวดฮีตเตอร์ขึ้นมาหนึ่งชิ้น สมมติว่าเราจะทำให้ความต้านทานมากที่สุดเท่าที่มากได้จนเกือบเป็นฉนวนหรือเอาฉนวนมาทำลวดฮีตเตอร์ซะเลยจะเกิดสิ่งใดขึ้น ตามกฎของโอห์ม ความต่างศักย์ มีค่าเท่ากับผลคูณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลและความต้านทาน ( V=IR ) เมื่อกลับสมการเพื่อดูกระแส คือ ( I = V/R ) แปลว่า กระแสไฟฟ้า ( I ) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์เมื่อความต่างต้านทานมีค่ามากๆ หรือแปลภาษาบ้านๆว่า เมื่อเราทำให้ความต้านทานมาก กระแสจะไม่ไหล ! ไม่มีความร้อนเกิดขึ้น !

               กลับกัน ถ้าเราทำให้ความต้านทานต่ำมากๆล่ะ สมมติเอาสายไฟเส้นใหญ่ๆมาทำลวดฮีตเตอร์ โดยมีความต้านทานเข้าใกล้ศูนย์ กระแสไฟฟ้าจะไหลดีมาก ไหลเหมือนรถไฟที่วิ่งเร็วจนหยุดไม่ได้ แต่ไม่มีความร้อนเกิดขึ้น

               สิ่งที่เราต้องการคือ ความสมดุลระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต้านทาน นั่นคือ มีความต้านทานเพียงพอ แต่ไม่ลดกระแสไหลผ่าน ลวดนิเกิลจึงเป็นตัวเลือกที่ดี ซึ่งลวดนิเกิลมีความต้านทานมากกว่าลวดทองแดงประมาณ 80-100 เท่าที่ขนาดเดียวกัน จึงเหมาะสมที่จะใช้ทำลวดฮีตเตอร์ ทั้งที่เป็นตัวต้านทานระดับกลางๆที่ไม่เป็นฉนวนไฟฟ้ามากเกินไป

               ถ้าดูสมการทางคณิตศาตร์

เราจะเห็นจากสมการว่า กำลังไฟฟ้า แปรผันตรงกัน ความต้านทาน และ แปรผันตรงกับ กระแสไฟฟ้ายกกำลังสอง

               การเพิ่มกระแสไฟฟ้าจะให้ผลต่อกำลังไฟฟ้าเป็นทวีคูณ จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม กระแสไฟฟ้ามีความสำคัญกว่าความต้านทาน

สรุป

หลักกการทำงานของฮีตเตอร์ คือ การจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่วัสดุที่มีความต้านทาน ทำให้เกิดความร้อนขึ้น โดย กระแสไฟฟ้ามีผลมากกว่าความต้านทานไฟฟ้า