ได้อะไรจากการฝึกงาน ภาษาอังกฤษ

ได้อะไรจากการฝึกงาน ภาษาอังกฤษ
Business situation, job interview concept.

เพื่อนๆ จบใหม่ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ชีวิตวัยทำงานเต็มตัว หรือเพื่อนๆ ที่อยากทำงานในบริษัท Global ที่จะต้องสัมภาษณ์งานเป็นภาษาอังกฤษ จะทำยังไงเวลาแนะนำตัวเองต่อผู้สัมภาษณ์ให้ดูน่าสนใจและดูดีในสายตาของผู้สัมภาษณ์ วันนี้เรามีเทคนิคเล็กๆ มาฝากกัน

เริ่มต้นที่ ถ้าผู้สัมภาษณ์เปิดคำถามว่า…
Could you please roughly introduce yourself a bit? หรือ Could you please introduce yourself?
สองประโยคนี้มีความแตกต่างกันคือตรงประโยคแรกจะเห็นได้ว่าอีกฝ่ายใช้คำว่า Roughly และ a bit ซึ่งทำให้คำตอบที่เราควรตอบนั้น เป็นสั้นๆ กว้างๆ เพราะอีกฝ่ายเพียงอยากรู้อย่างอื่นมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากประโยคที่สองที่นายจ้างอยากรู้แบบละเอียดมากกว่า

GREETINGS
การทักทาย ขอบคุณสำหรับโอกาส
และบอกชื่อตัวเอง

อันนี้เราจะเพิ่มลูกเล่นเพื่อให้การสัมภาษณ์เป็นไปแบบสบาย ๆ มากขึ้น ทำให้ผู้สัมภาษณ์อยากถามเราเพิ่มเติมและเป็นการหาความสนใจร่วมที่จะทำให้เรารู้จักกันมากขึ้น

  • Good morning! – สวัสดี ตอนเช้า
  • First of all, thank you so much for having me today. – อย่างแรก
    ขอบคุณที่ให้โอกาสในการนัดสัมภาษณ์
  • My name is …. – ฉันชื่อ …
  • I’m from Phuket, the beautiful part of Thailand. – ฉันมาจากจังหวัดภูเก็ต
    ซึ่งเป็นส่วนที่สวยงามของประเทศไทย
  • In my spare time, I enjoy learning new things and improve myself such as coding and reading –
    เวลาว่างฉันชอบ ฉันชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาตัวเอง เช่นการ เขียนโค้ดหรือการอ่าน (ตรงนี้ให้อีกฝ่ายจะเห็นว่าเราชอบพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเช่นเดียวกับจะพัฒนาองค์กร)

EDUCATION, INTERNSHIP AND EXPERIENCES IN UNIVERSITY
ประวัติการศึกษา & ประสบการณ์ในรั้วมหาวิทยาลัย

  • I graduated from Kasetsart University, majoring in business administration. – ฉันจบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เอกการบริหาร
  • After finish graduation , I joined work and travel program where I participated to work abroad and gained a lots of experience which I strongly believe that valuable in work – หลังจากเรียนจบฉันได้เข้าร่วม Work&Travel โปรแกรม ซึ่งฉันได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานต่างประเทศและได้รับประสบการณ์มากมาย ซึ่งฉันมั่นใจว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

ถ้าอยากบอกว่าเราเคยฝึกงานที่ไหน ลองประโยคนี้ได้เลย
I was an intern at …
I did an internship at …

PROFESSIONAL EXPERIENCES
ประสบการณ์การฝึกงาน & ประวัติการทำงาน

  • I am currently working as an Interpreter … – ปัจจุบัน ฉันทำงานเป็นล่าม …
  • I enjoy my responsibilities, including helping my student achieve their goals in learning English. – ฉันสนุกกับงานที่ฉันได้รับ รวมทั้งการบริการลูกค้าในด้านภาษาด้วย

หรือใช้ประโยคว่า I’m responsible for + กริยา ing ก็ได้

จริง ๆ แล้ววิธีการตอบ ไม่มีอะไรที่ตายตัว เราสามารถปรับเปลี่ยนและแทรกความเป็นตัวเราเข้าไปได้


ติดตามบทความและรับข่าวสารดี ๆ เกี่ยวกับภาษาอังกฤษได้ที่นี่ แล้วพบกันในส่วนถัดไปเกี่ยวกับการสัมภาษณ์งานกันนะ

อ่านต่อ “มาแชร์ประสบการณ์ Resignation หรือการลาออกในภาษาอังกฤษ “

อ่านต่อ “10 คำถามยอดฮิตที่คุณต้องเจอแน่นอนในการสัมภาษณ์งาน”

กำลังฝึกภาษาอังกฤษอยู่ไหม?

รับฟรี eBook คำศัพท์ TOEIC 1,099 คำ ที่พบบ่อย
ส่งตรงเข้ามือถือทันทีเลย 
เพียงกรอกรับด้านล่าง 

(สุ่ม 50 คน/วัน แจก!!! Email บทเรียนภาษาอังกฤษทุกวัน 1 ปี)

ได้อะไรจากการฝึกงาน ภาษาอังกฤษ

ผมก็เป็นหนึ่งคนที่ผ่านการฝึกงานมาหลายบริษัทแล้ว มีหลายงานที่ผมทำแล้วรู้สึกว่าดีมากๆอยากทำต่อ แต่ก็มีอีกหลายงานเหมือนกันที่รู้สึกว่าเริ่มมาไม่กี่วันก็อยากออกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการฝึกงานที่เราชอบหรือไม่ชอบ หากมองกลับไปแล้ว ประสบการณ์ทุกอย่างก็คือครูที่ดี  

ในบทความนี้ผมอยากจะมาแบ่งปัน 7 ประโยชน์ของการฝึกงานที่รับรองว่าจะสามารถทำให้น้องๆหลายคนมีอนาคตที่ดีกว่าเดิมแน่ๆ 

#1 ทำความเข้าใจระบบในการทำงาน

ไม่ว่าจะเป็นในโลกของการศึกษาหรือการทำงานจริง ทุกอย่างมีระบบเป็นของตัวเองหมดครับ ซึ่งจริงๆแล้วระบบเหล่านี้ก็อาจจะดูไม่ได้มีเหตุผลมากในสายตาเรา แต่ในฐานะคนหนึ่งคนที่จะต้องเข้าไปเป็นส่วนร่วมของระบบนั้นๆ เราก็ควรทำความเข้าใจว่าระบบเหล่านี้ทำงานอย่างไรบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะไม่เคยคิดมาก่อนว่างานออกแบบกราฟฟิก ต้องเป็นกระบวนการที่พูดคุยผ่านพนักงานหลายคน ไม่ว่าจะเป็น Project Manager หรือผู้จัดการฝ่ายการตลาด กว่างานจะได้รับการอนุมัติก็อาจจะถูกแก้ไปหลายสิบถึงหลายรอบก็ได้ 

#2 เรียนรู้ทักษะที่สามารถเอาไปใช้ได้จริง

ทักษะหลายๆอย่างในการทำงานเราไม่สามารถเรียนในโรงเรียนได้ครับ ส่วนมากเป็นทักษะที่มาจากการที่มีคนสอนหรือว่าต้องเรียนรู้จากประสบการณ์จริงๆเท่านั้น

ตัวอย่างที่ตรงไปตรงมาที่สุดก็คือพวกวิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ ที่อาจจะไม่ได้ถูกสอนในมหาลัย แต่พอจบไปแล้วต้องใช้ในที่ทำงานบ่อยมาก ยกตัวอย่างเช่นพวกโปรแกรมอย่าง Microsoft Powerpoint หรือสำหรับคนที่ทำงานเฉพาะสาย ก็อาจจะต้องเจอโปรแกรมเฉพาะทางอย่างโปรแกรมบัญชี โปรแกรมฝ่ายขาย 

นอกจากนั้นแล้วก็ยังรวมถึงทักษะอย่างอื่นอีกมากมาย เช่น Soft Skill ในการเจรจาต่อรอง หรือ ทำงานกับคนหลายๆฝ่าย และ Hard Skill อยากการคำนวณต่างๆ ที่ถึงแม้เราอาจจะเคยเรียนมาบ้างแล้ว แต่ไม่เคยเอามาใช้จริงก็เลยไม่เห็นภาพว่ามีประโยชน์อย่างไร

ซึ่งบอกตามตรงครับ บริษัทหลายบริษัทเลิกจ้างพนักงานเฉพาะรู้จักทักษะเหล่านี้เท่านั้นด้วยซ้ำ พอยิ่งเรามีทักษะเยอะก็ยิ่งแปลว่าเราทำงานได้เร็ว ทำงานได้เก่ง

#3 เก็บประสบการณ์ไปเพิ่มใน Resume

ต้องยอมรับว่าหลายๆบริษัทไม่อยากรับเด็กจบใหม่มาทำงาน มีสถิติทางด้านการว่าจ้างหลายอย่างบอกไว้ว่าพนักงานบริษัทในยุคสมัยนี้เปลี่ยนงานบ่อย ในเชิงสถิติแปลว่าพนักงานเหล่านี้อาจจะไม่คุ้มในการฝึกสอนมากเท่าไรนัก (แต่ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองแล้วก็ระบบของแต่ละบริษัทอีกทีนึงด้วยนะ)

ผมเคยสอนพนักงานใหม่หลายคนครับ ใช้เวลาสอนให้เขาใช้โปรแกรมเป็น ให้เขาเรียนรู้ระบบงาน 2-3 เดือน กว่าจะรู้เรื่องน้องก็เข้ามาบอกแล้วว่า ‘พี่ผมได้งานใหม่แล้วนะ’ นอกจากทำให้เสียกำลังใจแล้วยังเสียเวลาในการทำงานอีกด้วยครับ 

แต่บริษัทส่วนมากจะไม่ค่อยคิดมากเวลารับเด็กฝึกงาน ทำให้เราสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการฝึกงานได้ดี (บริษัทหลายที่เปิดโอกาสให้มากกว่า เพราะไม่ได้คาดหวังว่าจะมาอยู่นานอยู่แล้ว) แล้วหลังจากนั้นเราค่อยเอาทักษะเหล่านี้ไปลงใน resume เพื่อสมัครงานอื่นต่อ

#4 สร้าง Connection สำหรับงานในอนาคต

คนไทยหลายคนอาจจะไม่ชอบคำว่า ‘เส้นสาย’ เพราะคำว่าคนมี ‘เส้นสาย’ ถูกสังคมมองว่าเป็นคนที่ ’ไม่เก่ง’ หรือ ‘ไม่มีทักษะ’ เพียงพอ

แต่จริงๆแล้วเส้นสายหรือ Connection ไม่ได้เกี่ยวกับทักษะของคุณเลยครับ หลายๆคนที่ผมรู้จักเก่งมากๆ แล้วก็มี Connection ที่ดีมากๆด้วย ซึ่งก็เป็นการเปิดโอกาสให้เขาสามารถทำอะไรได้อีกหลายอย่าง เช่นการหา Partner ทางธุรกิจใหม่ๆ การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่คนอื่นเค้าถึงไม่ได้ หรือแม้แต่การเข้าถึงโอกาสสมัครงานที่มีอนาคตไกล

ซึ่ง Connection จริงๆแล้วไม่ได้จำเป็นต้องมาจากการที่พ่อเราเป็นนักการเมือง หรือเรามีนามสกุลเดียวกันกับเจ้าสัว Connection ส่วนมากมาจากการที่เรามีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของเพื่อนหรือคนในที่ทำงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลตอบแทนเราอย่างยิ่งในอีก 5 ปีถึง 10 ปีให้หลัง (สามารถดู คู่มือการสร้าง Connection ให้ตัวเองที่นี่)

#5 ทำให้รู้จักตัวเองว่าชอบ ไม่ชอบอะไร

หลายๆคนฝึกงานแล้วอาจจะค้นพบว่างานนี้ไม่เหมาะกับเราเลย แต่สำหรับผมความรู้สึกแบบนี้ก็มีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจในอนาคตในระดับหนึ่ง

บางคนเรียนบัญชีมา แต่พอได้ทำงานในบริษัทบัญชีจริงๆก็ค้นพบตัวเองว่า ‘ไม่ได้ชอบทำบัญชี’ ซึ่งพอเรารู้อย่างนี้แล้ว อย่างน้อยที่สุดเราก็สามารถตัดสินใจทำอย่างอื่นได้ง่ายมากขึ้น เราอาจจะทดสอบลองขายของออนไลน์ดูก็ได้ หรืออาจจะย้ายสายงานไปทำเราคิดว่าเราชอบและอยากทำมานานแล้วก็ได้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะเจองานที่ไม่ชอบ เราก็ควรถามตัวเองเสมอว่าเราไม่ชอบสิ่งนี้เพราะอะไรกันแน่ บางคนอาจจะไม่ได้ไม่ชอบงาน แต่ไม่ชอบสังคมที่ทำงาน ไม่ชอบการเดินทางไปทำงาน หรือไม่ชอบอุตสาหกรรมที่เราทำงานอยู่ก็ได้ (ทำบัญชีของบริษัทน้ำมัน ก็เป็นคนละความรู้สึกกับการทำบัญชีของบริษัทขายของออนไลน์)

#6 รู้จักวัฒนธรรมองค์กรรูปแบบต่างๆ

วัฒนธรรมองค์กรหมายถึงวิธีการทำงานต่างๆ วิธีการคิดต่างๆ ที่บริษัทหรือองค์กรที่เราทำงานอยู่ใช้กันเป็นประจำ ซึ่งจริงๆแต่ละองค์กรหรือแม้แต่ละแผนก ก็มีวัฒนธรรมในการทำงานไม่เหมือนกันนะครับ (ฝ่ายบริการลูกค้า กับฝ่ายการเงิน อาจจะไม่ได้ใช้วิธีการทำงานเหมือนกันก็ได้ถึงแม้ว่าจะเป็นองค์กรเดียวกัน)

หากในข้อที่ 5 เรารู้แล้วว่าเราชอบหรือไม่ชอบอะไร ในข้อนี้เราก็จะสามารถแยกกลุ่มออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น ว่าสิ่งที่เราไม่ชอบนั้นถูกจำกัดด้วยชนิดขององค์กรหรือเปล่า ด้วยวิธีการทำงานของแต่ละแผนกหรือเปล่า 

บางทีเราอาจจะแค่โชคไม่ดีได้ทำงานในแผนกที่เราไม่ชอบก็ได้ครับ ก่อนที่เราจะรีบตัดสินอะไรผมอยากให้ทุกคนมองภาพรวมให้กว้างมากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้การฝึกงานก็จะทำให้เราเห็นภาพรวมง่ายๆ

สำหรับคนที่อยากศึกษาเพิ่มเติม ผมแนะนำให้อ่านบทความเรื่องวัฒนธรรมองค์กรของผมด้วยนะครับ จะทำให้เราเห็นภาพรวมได้กว้างมากขึ้นว่าวัฒนธรรมองค์กรในรูปแบบต่างๆมีอะไรบ้าง แล้วแบบไหนที่น่าจะเหมาะกับเรากันแน่

#7 การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์

หัวข้อนี้ผมทำมาเป็นพิเศษ เพราะผมเชื่อว่าประสบการณ์ของการฝึกงานแต่ละคนนั้นคงไม่ได้เหมือนกันสักทีเดียว หลายๆปัญหาที่ทุกคนเจอมา ผมก็อาจจะไม่เคยเจอก็ได้

อย่างไรก็ตามหนึ่งในคำถามที่ผมอยากจะให้ทุกคนตอบได้ก่อนเสมอก็คือ ‘ถ้าเราไม่ได้ฝึกงานแล้ว เราจะเอาเวลาไปทำอะไร’ 

หากคุณมีคำตอบที่ดีกว่าหรือเป็นประโยชน์ต่อตัวเองมากกว่าการไปฝึกงาน ผมก็คิดว่าคุณอาจจะไม่จำเป็นต้องไปฝึกงานก็ได้ แต่ในกรณีตรงกันข้าม หากเรากำลังรอสมัครงานบางอย่างอยู่ หรือว่ามีเวลาว่างตอนหยุดปิดเทอม (แล้วเราไม่ได้เอาเวลานี้ไปทำอะไรให้เกิดประโยชน์) เราก็สามารถเอาเวลาเหล่านี้ไปใช้ฝึกงานแทนก็น่าจะดี 

สุดท้ายนี้เกี่ยวกับประโยชน์ของการฝึกงาน

ผมขอย้ำอีกครั้งว่าการฝึกงานนั้นมีประโยชน์หลายอย่างมาก อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่คุณฝึกงานด้วย ชนิดขององค์กร วัฒนธรรมของแต่ละแผนก หรือแม้แต่เนื้อหางานของคุณ

สุดท้ายแล้วเราก็ไม่สามารถฟันธงได้ว่าสิ่งที่เราเลือกที่จะทำหรือไม่ทำนั้นจะมีประโยชน์ต่อชีวิตเราจริงหรือเปล่าในระยะยาว แต่หนึ่งสิ่งที่ผมใช้เสมอในการตัดสินใจอะไรหลายๆอย่างในชีวิตก็คือ ‘หากเราไม่ทำสิ่งนี้แล้ว เราจะมีตัวเลือกอื่นที่ดีกว่าหรือเปล่า และเราจะเสียใจภายหลังหรือเปล่า’

ผมคิดว่าประโยชน์ที่ดีที่สุดของการฝึกงานก็คือ ‘การฝึกงานมีระยะเวลาที่จำกัด’ ถึงแม้ว่าเราจะได้งานที่เราไม่ชอบ แต่สุดท้ายแล้วมันก็มีวันจบ ซึ่งเราก็สามารถเอาประสบการณ์หรือความรู้ที่ได้จากการฝึกงานนี้ ไปต่อยอดทำอะไรอื่นๆในชีวิตได้อีกมากมาย ไม่ว่าประสบการณ์จะดีหรือไม่ดีก็ตาม