ตําแหน่งผู้บริหาร มีอะไรบ้าง

ผู้บริหาร ระดับ C มีบทบาทเชิงกลยุทธ์ภายในองค์กร โดยดำรงตำแหน่งระดับสูงและส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจทั่วทั้งบริษัท

โดยที่ C ย่อมาจาก “Chief” ดังนั้น ผู้บริหาร ระดับ C จะมีหน้าที่รับผิดชอบทั้งแผนกหรือหน่วยธุรกิจ เช่น การตลาด การเงิน และไอที

  • ตำแหน่งงานผู้บริหารระดับ C 
    • 1.CEO – Chief Executive Office 
    • 2.COO – Chief Operating Office 
    • 3.CFO – Chief Financial Officer 
    • 4.CTO – Chief Technology Officer 
    • 5.CMO – Chief Marketing Officer 
    • 6.CHRO – Chief Human Resources Officer 
  • ทักษะสำคัญสำหรับผู้บริหารระดับ C จำเป็นต้องมี 

ตำแหน่งงานผู้บริหารระดับ C 

1.CEO – Chief Executive Office 

CEO – Chief Executive Office หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นตำแหน่งสูงสุดในบริษัทที่ดูแลการดำเนินธุรกิจและการตัดสินใจทั้งหมด และมีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จขององค์กร

โดยที่ ผู้บริหาร ระดับ C อื่น ๆ ทั้งหมดจะขึ้นตรงต่อ CEO แต่ในบางกรณี ผู้ก่อตั้งหรือผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทก็ทำหน้าที่เป็น CEO เอง

2.COO – Chief Operating Office 

COO – Chief Operating Office หรือ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายปฏิบัติการ เปรียบเสมือนมือขวาของ CEO เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์กร

ตั้งแต่ระดับย่อยไปจนถึงระดับบริหาร หน้าที่หลัก ๆ คือ คอยแก้ปัญหาและลดแรงเสียดทานที่อาจจะเกิดขึ้นในการดำเนินการ

3.CFO – Chief Financial Officer 

CFO – Chief Financial Officer หรือ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการเงิน เป็นตำแหน่งที่จัดการด้านการเงินทั้งหมดของบริษัท มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำงบประมาณ

และการวิเคราะห์ความเสี่ยงในระยะยาว รวมทั้งดูแลการรายงานทางการเงินของบริษัทและสถานะทางการเงินโดยรวมอีกด้วย

4.CTO – Chief Technology Officer 

CTO – Chief Technology Officer หรือ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายเทคโนโลยี จะรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทเติบโต โดยมีการวิจัย, ปรับใช้ระบบใหม่, ดูแลความปลอดภัย, และตั้งค่าโครงสร้างพื้นฐาน

เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ บ่อยครั้งที่คำว่า Chief Information Officer (CIO) หรือ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายข้อมูล ถูกใช้สำหรับบทบาทเดียวกัน

เมื่อบริษัทมีทั้งตำแหน่ง CTO ที่รับผิดชอบในการสร้างผลิตภัณฑ์และคุณลักษณะใหม่ ๆ ในขณะที่ CIO จะมุ่งเน้นภายใน เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบไอทีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.CMO – Chief Marketing Officer 

CMO – Chief Marketing Officer หรือ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการตลาด เป็นตำแหน่งที่รับผิดชอบในการสร้างและใช้กลยุทธ์ทางการตลาด

ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและเป้าหมายของบริษัท กลยุทธ์เหล่านั้นอาจเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล, การโฆษณา, การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์, กิจกรรม และแคมเปญต่าง ๆ

6.CHRO – Chief Human Resources Officer 

CHRO – Chief Human Resources Officer หรือ ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายทรัพยากรบุคคล ดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับคนในองค์กร กำหนดวิธีที่บริษัทว่าจ้าง,

ส่งเสริม, ฝึกอบรม, และประเมินพนักงาน รวมทั้งการจัดการกลยุทธ์ระยะยาว เช่น การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง และการจัดหาผู้ที่มีความสามารถ

ทักษะสำคัญสำหรับผู้บริหารระดับ C จำเป็นต้องมี 

  • เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของตนเอง
  • มีความเป็นผู้นำ
  • มีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • คิดอย่างมีวิจารณญาณ
  • ตัดสินใจเด็ดขาด
  • จัดการความขัดแย้งได้ดี

Resource : https://resources.workable.com

Post Views: 1,773

ระดับตำแหน่งกับภาวะผู้นำในองค์การ

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปัจจัยทางด้านสถานการณ์นั้นย่อมมีความแตกต่างกันไป ในองค์การหนึ่ง ๆ ก็เช่นกันและเพื่อความกระจ่างในประเด็นนี้ก็จะขอผ่านองค์การออกเป็น 3 ส่วน มีผู้บริหาร 3 ระดับใหญ่ ๆ คือ

1. ผู้บริหารระดับสูง (Top management)

2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle management) อันได้แก่ผู้อำนวยการกอง, หัวหน้าฝ่าย

3. ผู้บริหารระดับล่าง (Supervisory Level) อันได้แก่ หัวหน้างาน

ในการพิจารณาว่าผู้บริหารในระดับใด จำเป็นต้องมีทักษะในด้านใด เพื่อให้ภาวะผู้นำมีประสิทธิภาพนั้น ก็จะพิจารณาจากระดับของผู้บริหารดังกล่าว ซึ่งทักษะของผู้บริหารที่จำเป็นต้องมีนั้นมี 3 ประเภทคือ

1. ทักษะทางด้านความคิด (Conceptual skill)

2. ทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human relations skill)

3. ทักษะทางด้านเทคนิค (Technical skill)

ผู้บริหารระดับสูง (Top management)

1. ผู้บริหารระดับสูงนั้นจะเกี่ยวข้องอยู่กับการจัดทำแผนแม่บทและการจัดรูป องค์การเพื่อการดำเนินงาน

2. บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งระดับนี้จะต้องอาศัยความช่วยเหลือในการอำนวยงาน และการควบคุมงานจากระดับรองลงมา

3. ผู้บริหารระดับนี้จำเป็นต้องมีทักษะทางด้านความคิดสูงกว่าระดับอื่น เพื่อใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์และภาพรวมของหน่วยงาน และเพื่อปรับปรุงองค์การให้สามารถดำรงคงอยู่และพัฒนา

ผู้บริหารระดับกลาง (Middle management)

1. บุคคลที่อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางนี้จะเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในลักษณะของจัดแจง (intermediary) ของผู้บริหารระดับสูงและระดับหัวหน้างาน

2. เป็นผู้นำนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงลงมาระดับล่าง และนำเอากรณีไม่ปกติจากระดับล่างขึ้นไปยังระดับสูง

3. พัฒนาระดับและกระบวนวิธีการปฏิบัติงาน นโยบายและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่จะทำให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. งานของผู้บริหารระดับนี้ไม่ได้อยู่ที่การวางแผนจัดองค์กร อำนวยงาน และควบคุมเท่านั้น แต่ยังต้องประสานงานกับผู้ร่วมงาน staff

5. ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักบริหารระดับนี้คือ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์

ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน
(Supervisory Management)

1. เป็นระดับเดียวที่อยู่ระหว่างนักบริหารด้านหนึ่งและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่ไม่มีอำนาจ ในการบริหารอีกด้านหนึ่ง

2. เป็นผู้ที่อยู่ภายใต้แรงกดดันค่อนข้างมากในการทำงานที่ได้รับมอบหมายจากระดับสูงให้บรรลุเป้าหมาย

3. เป็นผู้ที่ถูกลากระหว่าง 2 ฝ่ายไป 2 ทิศทางเสมอ ๆ

4. ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในลำดับขั้นของการบังคับบัญชา

5. เป็นสะพานเชื่อมระหว่างพนักงานปฏิบัติงานกับฝ่ายบริหาร

6. เป็นระดับที่ภาวะผู้นำต้องมี Technical skill สูงกว่าอีก 2 ระดับ