รูปแบบข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

                จะเห็นได้ว่า 2 ใน 4 เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรม แบบที่3 และ4 เป็นการเรียนรู้เพื่อการมีจริยธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในการพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ เพื่อสร้างลักษณะนิสัยทางจริยธรรมเพื่อความเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม คือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้

    ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลหรือองค์กรให้ความสนใจศึกษา ยังไม่ผ่านกระบวนการประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ฉะนั้นข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ จึงหมายถึง ข้อมูลดิบ (Raw Data)ที่นำเข้าสู่ระบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลดิบที่ได้ผ่านการประมวลผล ในหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์มาแล้ว ได้แก่ ผ่านการคำนวณ การจัดเรียง การเปรียบเทียบ การแบ่งกลุ่มเป็นต้น ผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เรียกว่า สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล ในขั้นตอนนี้อาจจะเป็นข้อมูลดิบสำหรับกระบวนการอื่น ๆ อีกก็ได้ คอมพิวเตอร์สามารถรับข้อมูลได้หลายรูปแบบ นำเข้าสู่ระบบการประมวลผล เพื่อให้ได้
ผลลัพธ์หรือสารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการขององค์กร รูปแบบของข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบการประมวลผล ของคอมพิวเตอร์มีดังนี้คือ

1.ตัวเลข (Numeric)
2.ตัวอักษรและข้อความ (Character and Text)
3.ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว (Image and Animation)
4.เสียง (Audio)

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจให้ตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ ซึ่งสารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย

รูปแบบข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ

1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน เป็นต้น

2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่น ๆ

รูปแบบข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

การทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวม และตรวจสอบข้อมูล การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน โดยใช้วิธีการดังต่อไปนี้

การดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคนเกี่ยวข้องกับข้อมูลอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นผู้ให้ข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนกรอกรายละเอียดส่วนตัวลงในเอกสารเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษ และทางโรงเรียนได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปพิจารณาคัดเลือกผู้สมัคร โดยอาจมีการแบ่งกลุ่มตามเพศและอายุ จะเห็นได้ว่านักเรียนเป็นผู้ให้ข้อมูล หน่วยทะเบียนเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ได้ และคณะกรรมการพิจารณาเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อตัดสินใจ

ข้อมูล (Data)

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงลักษณะ สถานะหรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้สื่อสาร แปลความหมาย และประมวลผล ซึ่งอาจทำด้วยคนหรือคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างลักษณะของข้อมูล เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ อีเมล์ สี สัญลักษณ์ รูปทรง อุณหภูมิ ตัวโน๊ต และเสียง ตัวอย่างข้อมูลที่เก็บในรูปแบบต่างๆ

รูปแบบข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

รูปแบบข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

สารสนเทศ (information)

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลได้เป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้อง ทันต่อสถานการณ์ที่สนใจ มีความน่าเชื่อถือ มีความหมาย มีคุณค่า และเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้ เช่น เมื่อต้องการนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนการขาย สารสนเทศที่ต้องการควรเป็นรายงานสรุปยอดการขายแต่ละเดือนในปีที่ผ่านมาที่เพียงพอแก่การตัดสินใจ ตัวอย่างการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใชในการตัดสินใจ

ตัวอย่างสารสนเทศที่เกิดจากการประมวลผล

รูปแบบข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

รูปแบบข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

รูปแบบข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

การประมวลผลสารสนเทศ (information processing)

การประมวลผลสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการต่างๆกับข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย และมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานมากยิ่งขึ้น เช่น การรวบรวมข้อมูล การคำนวณ การค้นคืน การแสดงผล การสำเนาข้อมูล

1.1.1 ชนิดของข้อมูลแบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูลที่แบ่งตามแหล่งที่มา มี 2 ชนิด คือ

1) ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data)

ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลขั้นต้นที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลนักเรียนที่ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม การสำรวจ การสัมภาษณ์ การวัด การสังเกต การทดลอง ข้อมูลสินค้าที่ได้จากการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด ข้อมูลบัตรเอทีเอ็มที่ได้จากเครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก ข้อมูลที่ได้จะมีความถูกต้อง ทันสมัย และเป็นปัจจุบันมากกว่าข้อมูลทุติยภูมิ

2) ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)

ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว โดยมีผู้หนึ่งผู้ใด หรือหน่วยงานได้ทำการเก็บรวบรวมหรือเรียบเรียงไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้เลย เช่น ข้อมูลสำมะโนประชากร สามารถอ้างอิงได้จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากกรมชลประทาน ข้อมูลทางสถิติต่างๆ ที่มีการบันทึกไว้แล้ว ข้อมูลจากรายงานการวิจัย และบันทึกการนิเทศ

การที่จะตัดสินใจว่าข้อมูลไหนเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือข้อมูลทุติยภูมินั้น มีหลักการสังเกต คือ ถ้าเป็นข้อมูลปฐมภูมิจะต้องเป็นข้อมูลที่ผู้เขียนหรือผู้ประเมินผลได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ลงมือสำรวจศึกษาค้นคว้าหรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเริ่มแรกด้วยตนเอง มิได้คัดลอกมาจากผู้อื่น แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่ได้คัดลอกมาจากบุคคลอื่น แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ ถือว่าเป็นข้อมูลทุติยภูมิ

ลักษณะของข้อมูลที่ดี ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. มีความถูกต้องและแม่นยำ
  2. มีความเป็นปัจจุบันและทันสมัยอยู่เสมอ
  3. มีความกระชับ ชัดเจน และสมบูรณ์ครบถ้วน
  4. สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้
  5. ปราศจากความลำเอียงหรืออคติ

1.1.2 ชนิดของข้อมูลแบ่งตามรูปแบบการแทนข้อมูล

ข้อมูลมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ตามลักษณะและแหล่งกำเนิดของข้อมูล เพื่อให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูล จำเป็นต้องมีการแทนข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ข้อมูลแบ่งตามรูปแบบการแทนข้อมูลได้เป็น 2 ชนิด คือ

1) ข้อมูลชนิดจำนวน (numeric data)

หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำไปคำนวณได้ ข้อมูลชนิดนี้มี 2 รูปแบบ คือ

  • จำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137, -46
  • ทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12.0 หรือเป็นจำนวนที่มีทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763

ทศนิยมนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ

  • แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 9.0, 17.63, 119.3267, -17.34
  • รูปแบบที่ใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
    123.0×104หมายถึง123000.013.76×10-30.01376-17640.0×102-176400.0-17640.0×10-2-17.64

ตัวอย่างข้อมูลชนิดจำนวน เช่น อายุของนักเรียน น้ำหนัก ส่วนสูง และคะแนนเฉลี่ย

2) ข้อมูลชนิดอักขระ (character data)

หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใดๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE, 171101, &76

สารสนเทศ มีรูปแบบอะไรบ้าง

2) รูปแบบสารสนเทศ คือ ลักษณะภายนอกของสารสนเทศ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ สื่อตีพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ / สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยแต่ละประเภทสามารถจ าแนก ได้ดังต่อไปนี้ (จุดหมาย อารมณ์สวะ, 2551 และ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ, 2558)

สื่อสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

สื่อสารสนเทศ คือ วัสดุที่ใช้บันทึกสารสนเทศต่าง ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร จุลสาร กฤตภาค แผ่นพับ แผ่นปลิว วัสดุย่อส่วน วีดิทัศน์ แถบเสียง ซีดีรอม รวมทั้งสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสารสนเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดใน ปัจจุบันคือ อินเทอร์เน็ต (internet)

ระบบสารสนเทศมีกี่ด้าน

การจ าแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภท ย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System) ระบบ สารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Report Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อ สนับสนุนการตัดสินใจ

ข้อมูลสารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะของสารสนเทศที่มีคุณภาพนั้น ต้องมีคุณสมบัติที่ เหมาะสม ได้แก่ ชัดเจน เชื่อถือได้ มีความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ มีความถูกต้องแม่นยำ มีความ สมบูรณ์ครบถ้วน ตรงตามความต้องการ เรียกใช้ง่าย มีความยืดหยุ่น และต้องตรวจสอบได้