เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร



เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอระดับหลักนิติธรรมของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีคะแนนจากการสำรวจสูงเป็นอันดับ ๒ ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสะท้อนถึงจุดแข็งและประเด็นปัญหาของประเทศ เพื่อการพัฒนาสู่การเป็นประเทศที่ยึดถือหลักนิติธรรมอย่างสมบูรณ์


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ด้วยเหตุที่หลักนิติธรรมให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงเป็นหลักการที่สัมพันธ์กับหลักสิทธิมนุษยชนและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันเป็นหลักที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล หลักนิติธรรมจึงเป็นแนวคิดที่มีการถือปฏิบัติในหลายประเทศเพื่อสร้างสังคมที่มีความเสมอภาคและเป็นธรรม  อย่างไรก็ดี เพื่อสะท้อนถึงระดับหลักนิติธรรมของแต่ละประเทศโครงการความยุติธรรมโลก (World Justice Project: WJP) จึงได้จัดทำดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมประจำปี (Rule of Law Index) โดยประเมินการปฏิบัติตามหลักนิติธรรมของ ๑๒๘ ประเทศทั่วโลกภายใต้ตัวชี้วัด ๘ ด้าน ๔๔ องค์ประกอบย่อย เพื่อแสดงภาพรวมของหลักนิติธรรมในแต่ละประเทศในเชิงปริมาณ โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับการสำรวจ ๘ ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา และกัมพูชา โดยบทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอระดับหลักนิติธรรมของประเทศกัมพูชา


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ด้วยเหตุที่หลักนิติธรรมให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงเป็นหลักการที่สัมพันธ์กับหลักสิทธิมนุษยชนและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันเป็นหลักที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล หลักนิติธรรมจึงเป็นแนวคิดที่มีการถือปฏิบัติในหลายประเทศเพื่อสร้างสังคมที่มีความเสมอภาคและเป็นธรรม  อย่างไรก็ดี เพื่อสะท้อนถึงระดับหลักนิติธรรมของแต่ละประเทศโครงการความยุติธรรมโลก (World Justice Project: WJP) จึงได้จัดทำดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมประจำปี (Rule of Law Index) โดยประเมินการปฏิบัติตามหลักนิติธรรมของ ๑๒๘ ประเทศทั่วโลกภายใต้ตัวชี้วัด ๘ ด้าน ๔๔ องค์ประกอบย่อย เพื่อแสดงภาพรวมของหลักนิติธรรมในแต่ละประเทศในเชิงปริมาณ โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับการสำรวจ ๘ ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เมียนมา และกัมพูชา บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอระดับหลักนิติธรรมของประเทศสิงคโปร์ตามดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรม เนื่องจากเป็นประเทศที่มีคะแนนรวมสูงสุดในประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดแข็งและปัญหาที่ท้าทายของสิงคโปร์ 


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เวียดนามมีจำนวนผู้ติดเชื้อ ๒๖๘ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต และไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มตลอดหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อของเวียดนามลดลงเป็นลำดับที่ห้าเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียน รัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายควบคุมโรค รวมทั้งได้ใช้หลักการกระจายอำนาจ ให้อำนาจคณะกรรมการประชาชนจังหวัด (Provincial People’s Committee) จัดทำมาตรการในระดับท้องถิ่นเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย และระเบียบต่าง ๆ ที่บัญญัติโดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่า  ขณะนี้ COVID – ๑๙ เป็นโรคระบาดกลุ่ม A  ที่มีระดับความรุนแรงสูงสุดตามกฎหมายควบคุมโรคของเวียดนาม การควบคุมการแพร่ระบาดของเวียดนามเป็นไปตามกฎหมายควบคุมโรค และหากมีการฝ่าฝืนมาตรการของทางราชการ จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่มีบทลงโทษที่เข้มงวด มาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแพร่ระบาด COVID – ๑๙ ของเวียดนามมีประเด็นน่าสนใจหลายประการ 
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ >>  มาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID – ๑๙ ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาวุธปืนทุกประเทศ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดและความเข้มงวดของการควบคุม สำหรับสิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยอมรับว่ามีกฎหมายควบคุมอาวุธปืนเข้มงวดที่สุดในโลก จากข้อมูลจากองค์กรระหว่างประเทสด้านการวางแผนและนโยบายป้องกันการบาดเจ็บ พบว่า ในปี ค.ศ. ๒๐๑๗ จำนวนการครอบครองปืนโดยพลเรือนทั้งในรูปแบบที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายในสิงคโปร์มีเพียง ๒๐,๐๐๐ กระบอก โดยคิดเป็นอัตราร้อยละ ๐.๓ ของประชากรทั้งหมดในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีอัตราการครอบครองอาวุธปืนที่ต่ำที่สุด  นอกจากนี้ จากการายงานดัชนีสันติภาพโลก (Global Peace Index) ซึ่งจัดทำโดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (Institute for Economics and Peace) พบว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีสันติภาพและความสงบสุขเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอันดับเจ็ดจากประเทศที่ได้รับการประเมินทั้งสิ้น ๑๖๓ ประเทศทั่วโลก โดยมีคะแนนรวม ๑.๓๔๗ ซึ่งเป็นการประเมินจากปัจจัยที่ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง ประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยมีปัจจัยเกี่ยวกับการเข้าถึงอาวุธปืนขนาดเล็กเป็นตัวชี้วัดสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม ในด้านดังกล่าวสิงคโปร์ถูกจัดอยู่ในอันดับที่สองของโลกมีคะแนน ๑.๒๓๓ โดยมีสถิติการก่อคดีอาชญากรรม จำนวนนักโทษในเรือนจำและยอดผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรมอยู่ในระดับต่ำ  ในการนี้จึงเป็นที่น่าสนใจศึกษาเกี่ยวกับมาตรการที่ประเทศสิงคโปร์ใช้ในการควบคุมการมี การใช้ และการพกพาอาวุธปืน บทความฉบับนี้จึงมุ่งนำเสนอถึงสาระสำคัญของกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนของประเทศสิงคโปร์ เพื่อเป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศอื่นต่อไป


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาวุธปืนทุกประเทศ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดและความเข้มงวดของการควบคุม โดยไทยและฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีกฎหมายอนุญาตให้ประชาชนพลเรือนสามารถขออนุญาตครอบครองและพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จึงทำให้ทั้งสองประเทศมีจำนวนประชาชนผู้ถือครองปืนมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยฟิลิปปินส์มีการครอบครองปืนทั้งในรูปแบบที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายกว่า ๒.๖ – ๓.๙ ล้านกระบอก คิดเป็นอัตราร้อยละ ๒.๔ – ๓.๗ ของประชากรฟิลิปปินส์ทั้งหมด และในขณะเดียวกัน เมืองดาเนาบนเกาะเซบูของฟิลิปปินส์ยังเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตปืนที่ทำการส่งออกในระดับโลกอีกด้วย  นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้รับการประเมินจากสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ (Institute for Economics and Peace) ว่าเป็นประเทศที่มีสันติภาพและความสงบสุขต่ำ โดยถูกจัดอยู่ในอันดับ ๑๓๔ จาก ๑๖๓ ประเทศทั่วโลก มีคะแนนรวมทั้งสิ้น ๒.๕๑๖ ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับการเข้าถึงอาวุธปืนขนาดเล็กเป็นตัวชี้วัดสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางสังคม ในด้านดังกล่าวประเทศฟิลิปปินส์ถูกจัดอยู่ในอันดับ ๑๓๕ ของโลก มีคะแนน ๓.๐๖๔ โดยมีสถิติการก่อคดีอาชญากรรม จำนวนนักโทษในเรือนจำและยอดผู้เสียชีวิตจากอาชญากรรมอยู่ในระดับสูง ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนในประเทศเป็นประเด็นที่ถูกนำมาพิจารณาประกอบ ในการนี้ จึงเป็นที่น่าสนใจศึกษาเกี่ยวกับมาตรการที่ฟิลิปปินส์ใช้ในการจัดการและควบคุมการมี การใช้ และการพกพาอาวุธปืน บทความฉบับนี้จึงมุ่งนำเสนอถึงสาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนและเครื่องกระสุน (Comprehensive Firearms and Ammunition Regulation Act) ของประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อศึกษาถึงขอบเขตของการควบคุมอาวุธปืนในฟิลิปปินส์


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญกับสหรัฐอเมริกาในด้านความมั่นคง มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่เหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๑ ซึ่งทำให้สหรัฐฯ มีบทบาททางการทหารในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้น โดยมองว่าเอเชียตะวันออกเฉียงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการเผยแพร่แนวคิดการป้องกันและปราบปรามขบวนการก่อการร้าย  นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเป็นภูมิภาคที่สำคัญในทางเศรษฐกิจสำหรับสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตและเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีเติบโตอย่างรวดเร็ว สหรัฐฯ จึงได้มุ่งกระชับความสัมพันธ์ผ่านการดำเนินนโยบายต่างประเทศในเชิงรุกมาโดยตลอดโดยเป็นการดำเนินความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีกับประเทศในภูมิภาคทั้งในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนส่งผลกระทบในวงกว้าง ไม่จำกัดพื้นที่ ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปีถูกเรียกเป็นฤดูไฟป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออก จะมีไฟป่าจุดเล็ก ๆ เกิดขึ้นจำนวนมากในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่อาเซียนได้จัดทำ Roadmap กำหนดแนวทางแก้ปัญหา โดยมีวิสัยทัศน์ อาเซียนปลอดหมอกควัน ในปี 2563 หรือ “Transboundary Haze-Free ASEAN by 2020” เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่: มลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอาเซียน


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก  (ASEAN Regional Forum: ARF) เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาอาเซียน (Dialogue Partners) อีก ๒๖ ประเทศ การจัดประชุม ARFมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับการหารือระหว่างประเทศสมาชิกในประเด็นทางการเมืองและความมั่นคงที่มีความสนใจและความกังวลร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคผ่านมาตรการสำคัญ ๓ ลำดับ ได้แก่ ๑) การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ๒) การทูตเชิงป้องกัน และ ๓) การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีประเทศที่เป็นประธานอาเซียนในปีนั้นเป็นประธาน ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ประเทศไทยในฐานะของประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๔ จึงได้จัดประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ครั้งที่ ๒๖ ขึ้น เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศจากประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่สองในภูมิภาคอาเซียนถัดจากประเทศไทยที่ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการ (Public Information Disclosure Act) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับในปี พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดประเภทของข้อมูลข่าวสารทางราชการ ระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐต้องประกาศหรือเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบ และให้สิทธิประชาชนสามารถยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารทางราชการได้ โดยหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามคำขอภายในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องเปิดเผย ซึ่งหากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ขอข้อมูลและหน่วยงานของรัฐ กฎหมายได้กำหนดให้มีคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารทางราชการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย วินิจฉัยข้อพิพาทดังกล่าว
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทางราชการ (Public Information Disclosure) ของประเทศอินโดนีเซีย


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

การศึกษากฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน (Land Excavation and Landfill Law) ของสหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia) เป็นอีกประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ เนื่องจากสหพันธรัฐมาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของอาเซียน รวมทั้งยังเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศไทยตลอดมา แม้ระบบกฎหมายและรูปแบบการปกครองของมาเลเซียและไทยจะมีความแตกต่างกัน สิ่งหนึ่งที่ทั้งสองประเทศเหมือนกันคือ การมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหา “ความต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดิน (Demand for Land Use)” ที่เพิ่มมากขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) อันสะท้อนออกมาผ่านทางบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการขุดดินและถมดิน
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ การขุดดินและถมดินของตามกฎหมายสหพันธรัฐมาเลเซีย


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

การดำเนินความสัมพันธ์ของอินเดียกับอาเซียนมีรากฐานสำคัญมาจากนโยบายต่างประเทศที่กำหนดโดยผู้นำของอินเดียในแต่ละสมัย ซึ่งในช่วงทศวรรษ ๑๙๙๐ อินเดียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีพีวี นาราสิมฮา ราว (P.V. Narasimha Rao) พัฒนาความสัมพันธ์กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านนโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) โดยมุ่งกระชับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง การเมือง และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งการใช้นโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นจากการเข้าเป็นคู่เจรจาเฉพาะด้านกับอาเซียนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และพัฒนาสถานะเรื่อยมาจนเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของอาเซียนอันแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ของอาเซียนและอินเดียในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา  อย่างไรก็ดี ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศ ตลอดจนความผันผวนทางเศรษฐกิจจึงสร้างแรงผลักดันใหม่ให้อินเดียทบทวนการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่ออาเซียนและภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกจึงเป็นที่มาของการประกาศใช้นโยบายปฏิบัติการตะวันออก (Act East Policy) ในสมัยของนายกรัฐมนตรีนเรนทระ ทาโมทรทาส โมที (Narendra Damodardas Modi) ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือกับอาเซียนและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการใช้นโยบายปฏิบัติการตะวันออกเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของอาเซียนและอินเดียในทศวรรษปัจจุบัน


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียอยู่ท่ามกลางพลวัตของโลกและเป็นศูนย์กลางของการเติบโตทางเศรษฐกิจในทศวรรษนี้จึงเป็นผลให้ประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical) และภูมิยุทธศาสตร์ (geostrategic) มาโดยตลอด โดยที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้นำมาซึ่งโอกาสและความท้าทาย กล่าวคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการสร้างความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาค  อย่างไรก็ตาม อำนาจทางเศรษฐกิจและกองกำลังทหารในภูมิภาคก็ทำให้เกิดความไม่ไว้ใจระหว่างกัน รวมถึงพฤติกรรมของตัวแสดงในภูมิภาคที่ได้สะท้อนออกมาในรูปแบบของเกมผลรวมเป็นศูนย์ (zero – sum game)


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ทั้งสองฝ่ายไม่เพียงแต่จะพึ่งพากันในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่อาเซียนหรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีความสำคัญต่อเกาหลีใต้ในมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สถานการณ์การเมืองภายในของเกาหลีที่อยู่ในภาวะของการเปลี่ยนผ่านผู้นำประเทศ ปัญหาคาบสมุทรเกาหลี และปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจของเกาหลีใต้กับจีนที่มีความตึงเครียด ตลอดจนปัจจัยจากบริบทภายนอก โดยเฉพาะการแข่งขันทางอำนาจระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน จึงส่งผลให้เกาหลีใต้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศภายใต้การนำของประธานาธิบดีมุน แจ อิน (Moon Jae-in) ซึ่งได้ประกาศใช้นโยบายหรือยุทธศาสตร์สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ชื่อ นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy) อันเป็นนโยบายที่สำคัญกับเกาหลีใต้และอาเซียนทั้งในเชิงการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอนัยสำคัญของการใช้นโยบายดังกล่าว เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายในมิติของการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอสาระสำคัญของกฎหมายป้องกันและจัดการข้อมูลเท็จในสื่อออนไลน์ (The Protection from Online Falsehoods and Manipulation) เพื่อเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมสื่อและการนำเสนอข้อมูลของประเทศในอาเซียนต่อไป

ปรับปรุงเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

บทความนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการประชุมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ การจำกัดขยะ และการจัดวางผังเมือง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ เครือรัฐออสเตรเลีย ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของเครือรัฐออสเตรเลีย แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ และการกำจัดขยะ แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดวางผังเมือง แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ รวมถึงหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม 
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่ การประชุมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ การจำกัดขยะ ณ เครือรัฐออสเตรเลีย


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ท่ามกลางวิธีการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ได้ปรากฏว่าสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้มีมาตรการทางกฎหมายในการป้องปรามไม่ให้บุคคลทาการฆ่าตัวตาย ด้วยการกาหนดให้การพยายามฆ่าตัวตาย เป็นความผิดอาญาตามมาตรา ๓๐๙ แห่งประมวลกฎหมายอาญาสิงคโปร์  กรณีดังกล่าวจึงมีข้อพิจารณาที่สาคัญว่า ฐานความผิดดังกล่าวนั้นจะสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ และมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด


เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ทางรัฐสภาฟิลิปปินส์ได้มีแนวคิดในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดความรับผิดทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน โดยมีการเสนอร่างกฎหมายที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการยุติธรรม ประจำสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกำหนดให้ลดอายุของผู้รับผิดทางอาญาจากปัจจุบันอยู่ที่ ๑๕ ปี ลงมาอยู่ที่ ๙ ปี ตามคำเสนอภายใต้นโยบายการปราบปรามยาเสพติดของประธานาธิบดี Rodrigo Duterte   ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวนั้นมีเหตุเบื้องหลังมาจากว่า ผู้ค้ายาเสพติดได้มีการฉวยประโยชน์จากกฎหมายปัจจุบันด้วยการใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการเคลื่อนย้ายยาเสพติด เพราะ ตามหลักกฎหมายอาญาของประเทศฟิลิปปินส์นั้นได้กำหนดให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีไม่ต้องรับผิดทางอาญา ตามมาตรา ๑๒(๓) แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาฟิลิปปินส์ กรณีดังกล่าวจึงมีประเด็นปัญหาในเรื่องความขัดแย้งกับหลักสากล
 


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

จากการศึกษาพบว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้เคยมีการนำมาตรการทางอาญารูปแบบพิเศษพิเศษมาใช้บังคับกับกรณีปัญหาดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ด้วยการกำหนดความผิดอาญาฐาน “อาชญากรรมทำลายล้างระบบนิเวศ (the crime of ecocide)” เอาไว้ในระบบกฎหมายของตนเองเมื่อครั้งอดีต ซึ่งได้มีการระวางโทษในระดับสูงทัดเทียมกับความผิดอาญาระหว่างประเทศ ๔ ฐานร้ายแรงตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงจะได้ทำการอธิบายและนำเสนอ ประวัติความเป็นมา อาชญากรรมทำลายล้างระบบนิเวศของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และจะได้ทำการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนต่อไป


อาเซียนกับการจัดการปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ อ่านต่อ...


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ ก็ได้มีคำตัดสินเป็นครั้งแรกว่า รัฐบาลเขมรแดงก่ออาชญากรรมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวจามและชาวเขมรเชื้อสายเวียดนาม โดยมีนายนวน เจีย  ผู้นำอันดับสองของเขมรแดง  รองจากพลพต และเขียว สัมพัน ซึ่งเคยเป็นประมุขของรัฐ และเป็นอดีตผู้นำอาวุโสที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ เข้ารับฟังการพิจารณาคดีขององค์คณะชำระคดีวิสามัญแห่งตุลาการกัมพูชา หรือที่รู้จักกันว่าศาลคดีเขมรแดง ซึ่งตั้งขึ้นโดยความตกลงระหว่างรัฐบาลกัมพูชากับองค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยศาลก็ได้มีคำพิพากษาจำคุกจำเลยทั้งสองตลอดชีวิต


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ความผิดฐานอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติเป็นความผิดอาญาที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศตามธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งแม้ศาลอาญาภายในของรัฐจะไม่สามารถดำเนินคดีได้ด้วยเหตุแห่งความคุ้มกันของรัฐก็ตาม แต่ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นก็หาได้ถูกจำกัดอำนาจการดำเนินคดีด้วยเหตุเช่นว่านี้ไม่ หากแต่สามารถทะลุทะลวงความคุ้มกันของรัฐและดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ด้วยข้อบัญญัติที่กำหนดไว้เป็นพิเศษเพื่อดำเนินคดีกับอาชญากรรมระหว่างประเทศร้ายแรง  ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงจะได้ทำการอธิบายถึงหลักความคุ้มกันของรัฐ หลักไร้ความคุ้มกันของศาลอาญาระหว่างประเทศ และหลักความรับผิดของผู้บังคับบัญชา แล้วจึงได้ทำการวิเคราะห์กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินคดีกับนางออง ซาน ซูจี ตามกรณีศึกษาต่อไป


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนนับเป็นอีกเรื่องที่ประเทศในประชาคมอาเซียนต่างก็ให้ความสำคัญ สะท้อนผ่านปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Declaration; AHRD) ที่ถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของความร่วมมือในด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน โดยกล่าวถึงการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศสมาชิกจะได้นำไปเป็นต้นแบบสำหรับการกำหนดแผนงานและนโยบายเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนภายในประเทศได้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ได้ปรากฏว่าประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละรัฐส่วนใหญ่ได้มีการกำหนดความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทไว้ในระบบกฎหมายภายในของตน ซึ่งถูกนำไปใช้ในการปราบปราม และจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนถึงความไม่พอใจต่อสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในประเทศภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ต่าง ๆ ซึ่งถูกปิดกั้นอย่างรุนแรงโดยรัฐและองค์กรเอกชน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเด็นปัญหาความขัดแย้งกันระหว่าง “สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด (freedom of expression)” และ “สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง (right to reputation)” อันเป็นสิทธิที่ล้วนแต่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามปฏิญญา AHRD ทั้งสิ้น กรณีดังกล่าวจึงมีประเด็นพิจารณาถึงความเหมาะสมของการกำหนดความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทในระบบกฎหมายของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งหลาย ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายถึงสภาพปัญหาอันเกิดจากการกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทในประเทศสมาชิกอาเซียน แนวคิดและทฤษฎีการกำหนดความผิดอาญา จากนั้นจึงจะได้วิเคราะห์ความเหมาะสมในการกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อไป


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

                    ตามรายงานของ Global Climate Risk Index พบว่า สี่ในสิบของประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนเป็นกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ประเทศเมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม  นอกจากนี้ จากการศึกษาของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) พบว่า อุณหภูมิและระดับน้ำทะเลในภูมิภาคมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งทำให้ประเทศชายฝั่งโดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนามได้รับผลกระทบจะเห็นได้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคจะต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ซึ่งจะส่งผลต่อมิติเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสังคมวัฒนธรรมของภูมิภาค ประเด็นดังกล่าวได้กลายเป็นความกังวลหลักของประชาคมอาเซียน จึงนำมาซึ่งการสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐเพื่อจัดการแก้ไขผ่านสถาบันต่าง ๆ ของอาเซียน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์ต่อไป


เหตุการณ์ล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศเมียนมาร์ที่เกิดขึ้นนั้นได้ต้องด้วยบทบัญญัติความผิดฐานอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ อ่านต่อ...


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

          บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาพรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในอาเซียน รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน เพื่อประโยชน์ในการศึกษาเปรียบเทียบและพัฒนากฎหมายด้านดังกล่าวต่อไป


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

บทความฉบับนี้ผู้เขียนจึงจะได้ทบทวนถึงหลักการส่งผู้ร้ายข้ามแดน อ่านต่อ...


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

นับตั้งแต่ที่ปัญหาการก่อการร้ายคุกคามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรุนแรงขึ้น อาเซียนได้สร้างกลไกเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าวในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งยังปรากฏความต้องการที่จะสร้างความร่วมมือเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภายหลังจากที่เกิดเหตุลอบวางระเบิดวันที่ ๑๒ ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๒ อันเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบและความเสียหายต่อภูมิภาคเป็นอย่างมาก การกำหนดให้ประเด็นการก่อการร้ายเป็นวาระสำคัญในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีอาเซียนเวทีต่าง ๆ ทั้งนี้ ผลจากความร่วมมือดังกล่าวนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการตระหนักในภัยก่อการร้ายผ่านคำแถลงการณ์ของบรรดาผู้นำในเวทีการประชุมการพบปะระหว่างผู้นำยังสะท้อนให้เห็นความพยายามในการสร้างกระบวนการรับรู้และความเข้าใจระหว่างกันในเรื่องของปัญหาการก่อการร้าย ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ยังนำมาซึ่งการสร้างบรรทัดฐานอันเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งเห็นได้จากข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมที่เกี่ยวข้องกับแนวทางในการป้องกันและปราบปรามปัญหาการก่อการร้ายร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข่าวกรองความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อการร้าย มาตรการยับยั้งการไหลเวียนของเงินทุน มาตรการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันในประเด็นทางสังคมและศาสนา เป็นต้น


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

การก่อการร้าย เป็นภัยคุกคามความมั่นคงในรูปแบบใหม่ (Non – Traditional Security) ที่มีความรุนแรงและสร้างความเสียหายต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งยังเป็นปัญหาที่ท้าทายความสามารถของประเทศทั้งหลายในการจัดการแก้ไข เนื่องจากเป็นภัยคุกคามความมั่นคงแห่งชาติและการดำรงอยู่ของรัฐ ลักษณะของการก่อการร้ายในยุคโลกาภิวัตน์ได้ก้าวข้ามข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ ทำให้การใช้ความรุนแรงของกลุ่มผู้ก่อการร้ายไม่ได้คำนึงถึงขอบเขตหรือพื้นที่เขตแดนของรัฐอีกต่อไป ด้วยปรากฎการณ์ดังกล่าวนี้จึงทำให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายอยู่ในสถานะของตัวแสดงข้ามชาติ (Transnational Actors) ซึ่งมีบทบาทและเพิ่มจำนวนขึ้นได้โดยง่าย อีกทั้งกระบวนการและแนวคิดของการก่อการร้ายนั้นยังมีความซับซ้อนที่สามารถครอบคลุมได้ในทุกมิติของสังคม สิ่งดังกล่าวได้กลายเป็นปัจจัยที่ยกระดับให้ปัญหาการก่อการร้ายเป็นปัญหาข้ามพรมแดนที่มีความร้ายแรงและเป็นการยากที่แต่ละประเทศจะรับมือได้อย่างลำพัง


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

                การปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ เป็นนโยบาย American First ซึ่งเป็นการลดความเป็นเสรีนิยมและเพิ่มความเป็นชาตินิยมให้มากขึ้นนั้นได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับอาเซียนในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายนัยสำคัญของการดำเนินนโยบาย American First ของสหรัฐฯ ต่ออาเซียน โดยจะแสดงให้เห็นถึงบทบาทของสหรัฐฯ ในยุคของโอบามาที่ดำเนินนโยบายแบบ Pivot to Asia และการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของทรัมป์ภายใต้นโยบาย American First โดยศึกษากรณีปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้อันเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

กฎหมายเป็นข้อกำหนดหรือข้อบังคับของสังคมที่ตราขึ้นเพื่อบังคับให้สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตาม ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายย่อมต้องถูกลงโทษ กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในเรื่องต่าง ๆ การมีกฎหมายมากขึ้นเท่าใด จึงเป็นสิ่งที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลมากขึ้นเท่านั้น   


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ปัจจุบันมีอาชญากรรมในลักษณะใหม่ที่เรียกว่า “อาชญากรรมไซเบอร์”  ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๓๑ ผู้นำอาเซียนได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยมุ่งเน้นไปที่การป้องกันสังคมของภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการริเริ่มวิธีการในระดับภูมิภาคที่มั่นคงและมีประสิทธิภาพ โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งดังกล่าว ผู้นำอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศได้รับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ (ASEAN Declaration to Prevent and Combat Cybercrime) โดยบทความฉบับนี้จะกล่าวถึงสาระสำคัญของปฏิญญาฯ พันธกรณี กฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องและบทวิเคราะห์ของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. .... อีกด้วย


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

                    การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่มีมานานกว่าสี่ทศวรรษ ในลักษณะที่ครอบคลุมและเป็นนามธรรม ตลอดระยะเวลา ๗ ปี ตามแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ค.ศ.๒๐๐๙-๒๐๑๕ (The ASEAN Political – Security Community : APSC (๒๐๐๙-๒๐๑๕)) อันมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนและประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถอยู่ร่วมกันในภูมิภาคและในโลกได้อย่างสันติ ภายใต้ความยุติธรรม เป็นประชาธิปไตย และมีความปรองดองกัน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค โดยยึดหลักความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติและคำนึงถึงการดำเนินความสัมพันธ์กับภาคีนอกภูมิภาคด้วยนั้น ได้ส่งผลให้ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนมีความลึกซึ้งและครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการตอบสนองความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่รากฐานของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนภายในช่วง ค.ศ.๒๐๑๖ – ๒๐๒๕
 


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ นายโดนัลด์  ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาได้ประกาศถอนตัวออกจากความตกลงปารีสที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) การตัดสินใจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะทำให้อาเซียนเปลี่ยนจุดมุ่งหมาย  การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบเศรษฐกิจแนวใหม่เพื่อรองรับกับพันธกรณีตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) หรือไม่ 


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ในการแถลงข่าวเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา นาย Rodrigo  Duterte แถลงว่าตุรกีและมองโกเลียอยากจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

แม้ว่าคาบสมุทรเกาหลีจะถูกแบ่งออกเป็นสองฝากโดยไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะสามารถกลับมารวมตัวกันได้หรือไม่ แต่ประเด็นที่น่ากังวลใจในระดับสากลคือการดื้อดึงที่จะทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ภายใต้การนำของ Kim Jong Un นี้ ซึ่งได้ลุกลามกลายเป็นความตึงเครียดที่แต่ละภูมิภาคไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลย


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

การประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 30 จะจัดขึ้นภายในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็น
วาระเดียวกันกับการครอบรอบ 50 ปีอาเซียน และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่อาเซียนต้องเผชิญหน้ากับปัญหา
ที่น่ากังวลใจอย่างประเด็นข้อพิพาททะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นการแสดงสัญญาณด้านลบทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์
และทางทะเล  อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี และความลำบากใจ
ในการเลือกข้าง ส่งผลให้ประเด็นนี้ซาลงไปบ้างในระยะที่ผ่านมา


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

นายดูเตอร์เตได้ชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา เมื่อเขาได้เข้ามาบริหารประเทศทางตำรวจได้รายงานว่ามีการปราบปรามยาเสพติดอย่างรุนแรงทำให้ประชาชนหลายพันรายเสียชีวิตโดยอ้างว่าเป็นการป้องกันตัวของเจ้าหน้าที่ และอีกหลายพันชีวิตที่เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โดยผู้เสียชีวิตอายุน้อยที่สุดคือ ด.ญ. ดานิก้า เมย์ การ์เซีย วัย ๕ ปี ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่รัฐวิสามัญฆาตกรรมด้วยการยิงศีรษะ


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

กระทรวงกลาโหมมีบทบาทอยู่ภายใต้เสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC) ซึ่งกระทรวงกลาโหมมีกลไกที่เป็นรูปธรรมที่เรียกว่าการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting: ADMM) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus: ADMM-Plus) ซึ่งที่ผ่านมา การแข่งขันด้านนโยบายจัดระเบียบของจีนและสหรัฐฯในเอเชียตะวันออกได้ทวีความตึงเครียดระหว่างภูมิภาค 


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

          ด้วยความที่ประเทศสมาชิกอาเซียนหลายประเทศต่างดูเหมือนจะประสบภาวะเศรษฐกิจติดหล่มและยังหาทางออกไม่ได้ อีกทั้งปัญหาที่สมาชิกกำลังประสบอยู่ไม่ว่าจะเป็นการคอรัปชั่น ความรุนแรง และข้อพิพาททางทะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์กับประเทศจีน จึงอาจพูดได้ว่าสถานการณ์ของอาเซียนในอดีตนั้นเคยสดใสกว่านี้มาก
         


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ในปี ๒๕๖๐ อาเซียนจะมีอายุครบ ๕๐ ปีถือเป็นปีสำคัญอย่างยิ่งในแง่การเมืองโลกจากท่ามกลางกระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์และการกลับมาของกระแสชาตินิยมซึ่งเป็นแนวคิดตรงข้ามกับการรวมตัวเป็นกลุ่มเป็นประชาคม ฟิลิปปินส์และประเทศสมาชิกอาเซียนมีภาระกิจสำคัญที่จะไม่ทำให้การรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมต้องสั่นคลอน นอกจากนี้ ปัญหาทะเลจีนใต้ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาในระหว่างการหารือ ณ กรุงเวียงจัน สปป.ลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประเทศญี่ปุ่น โทโมมิ อินาดะ ได้เผยถึงแนวคิดการป้องกันอาเซียนรูปแบบใหม่ภายใต้ความร่วมมือของอาเซียนและญี่ปุ่น
       


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

มะนิลา – ฟิลิปปินส์และจีนได้ข้อยุติอันเป็นที่น่าพอใจ จากกรณีมีข้อพิพาทเหนือทะเลจีนใต้ระหว่างกัน โดยจีนยินยอมให้ชาวประมงฟิลิปปินส์เข้าไปในอาณาเขตหมู่เกาะพิพาททะเลจีนใต้และสามารถจับสัตว์น้ำได้ตามปรกติ หลังจากที่เกาะดังกล่าวถูกยึดโดยประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา
 


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ASEAN Law Association Legal Forum เป็นครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์และในการประชุมดังกล่าวได้มีมติเห็นชอบ “ธรรมนูญ ALA”


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

พรรครีพลับบลิกันตั้งขึ้นภายใต้การนำ
ของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น เมื่อพ.ศ. ๒๓๙๗ เป็นการแยกตัวของนักการเมือง
ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบทาสออกมาจากพรรควิก (Whig Party) การเลือกตั้งประธานาธิบดี
ในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ พรรครีพลับบลิกันภายใต้การนำของอับราฮัม ลินคอล์น ได้รับชัยชนะท่วมท้น
ในมลรัฐทางภาคเหนือและได้เป็นประธานาธิบดี เป็นเหตุให้รัฐทางใต้ซึ่งไม่พอใจนโยบายเลิกทาส
ของลินคอล์นจึงแยกตัวออกไป นำไปสู่สงครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War)
เมื่อสงครามสิ้นสุดลงฝ่ายเหนือได้รับชัยชนะ ทำให้พรรครีพลับบลิกันซึ่งชูนโยบายเลิกทาส
ประสบความสำเร็จและมีชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณเจ็ดสิบปี
ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๐๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๖ (ยกเว้นในสมัยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน)
และได้ครองเสียงข้างมากทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามาเกือบจะโดยตลอด


เป้าหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นอย่างไร

ปัจจุบันขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ทางน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้ก้าวล้ำขีดจำกัดเดิมไปมาก ซึ่งเป็นการสร้างความกังวลต่อการสะสมอาวุธและส่งผลให้เป็นการจุดชนวนข้อพิพาทระหว่างนานาประเทศ ไม่ว่าจะโดยพิธีทางการทูต การข่มขู่ รวมไปถึงการแสดงอำนาจในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์โลกแล้วเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการสะสมอาวุธและการรวบรวมกำลังพลทางทหารนั้นได้ผ่อนคลายลงมากตั้งแต่ปลายยุคสงครามเย็น  ดังนั้น   เมื่อหลายประเทศได้เริ่มทำการสะสมอาวุธอีกครั้งโดยมิได้นัดหมายจึงนำไปสู่การศึกษาถึงประเด็นปัญหาของการสู้รบที่อาจเกิดขึ้น โดยทุกฝ่ายต่างก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสะสมอาวุธของทุกประเทศนั้นจะเป็นเพียงการสะสมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่คนในชาติ มากกว่าที่จะเป็นการสะสมเพื่อนำมาใช้งานจริง โดยนักวิชาการส่วนใหญ่ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่าการสะสมยุทโธปกรณ์นั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายอิทธิพลทางทะเลของจีน และขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ส่งผลให้มีความจำเป็นในการปกป้องอธิปไตย และผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออุปสงค์ของกองทัพมีมากขึ้น ตลาดผู้ค้าอาวุธในภูมิภาคจึงมีการตื่นตัวและเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม



© 2017 Office of the Council of State.