ประจําเดือนหายไป1วันแล้วมาอีก

หากคุณผู้หญิงมีประจำเดือนมากเกินกว่า1ครั้งอาจเป็นเพราะเกิดจากความตึงเครียดสะสมหรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนซึ่งนำมาก่อให้เกิดโรคร้ายได้ในอนาคต

ปกติรอบเดือนของคุณผู้หญิงมักมาแค่เดือนละ 1 ครั้ง แต่จู่ๆ ก็ดันมีเลือดคล้าย ประจำเดือน ไหลออกมาอีกเป็นครั้งที่ 2 จนทำให้เราสับสนในการนับวันตกไข่ หรือวันที่รอบเดือนจะมาในครั้งถัดไป สาวๆ บางคนแอบวิตกกังวลเล็กน้อย เพราะกลัวโรคร้ายแรงจะถามหา วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาคุณผู้หญิงทั้งหลายมาคลายข้อสงสัยกัน

ประจำเดือน มาถี่ๆ เกิดจากสาเหตุอะไร?

วงจรของรอบเดือนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นเรื่องปกติที่มักพบในเด็กสาววัยรุ่นส่วนใหญ่ สำหรับบางคนประจำเดือนอาจมาช้า หรือเร็วต่างจากรอบเดือนเดิม แต่บางคนประจำเดือนก็ดันมามากถึง 2 ครั้งต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • ฮอร์โมนของวัยแรกรุ่นที่ยังไม่สมดุลคงที่
  • มีความตึงเครียดปะปนในขณะถึงวันตกไข่
  • ภาวะไข่ไม่ตก (lack of ovulation)
  • ไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism)
  • การใช้ยาที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด
  • น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว
  • ภาวะร่างกายที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน

สีของประจำเดือนในรอบที่สองนั้นอาจแตกต่างจากรอบแรก มักปรากฏให้เห็นลักษณะสีแดงเข้ม น้ำตาล หรือชมพูอ่อนๆ และมีจำนวนปริมาณของเลือดลดน้อยลงกว่าเดิม เพื่อป้องกันการเปรอะเปื้อนควรพกผ้าอนามัยติดตัวไว้ เมื่อเริ่มมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย

อาการแทรกซ้อนเมื่อ ประจำเดือน คุณกำลังมารอบที่ 2 ปวด เมื่อยล้าทั้งลำตัว หรือบริเวณหลัง อาการปวดหัว อ่อนเพลียง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง เวียนหัว คลื่นไส้ อัตราการเต้นของหัวใจถี่ จังหวะการหายใจแรง ประจำเดือน มาสองรอบเป็นสัญญาณเตือนของโรคอะไรได้บ้าง


ระวังสุขภาพของคุณให้ดีหากประจำเดือนมาบ่อยในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว อาจทำให้คุณเป็นโรคร้ายแรงได้ เช่น

โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ

เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ที่อาจเข้าสู่ช่องคลอดของคุณแพร่กระจายไปยังมดลูก และอวัยวะเพศที่ทำให้เกิดอาการแท้งบุตร รวมถึงมีอาการตกขาว เจ็บปวดในอุ้งเชิงกรานพร้อมทั้งมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ร่วมด้วย

เนื้องอกในมดลูก

เกิดจากการเจริญเติบโตผิดที่ และยึดติดกับผนังของมดลูก ซึ่งมีตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเมล็ดพืชจนถึงขนาดใหญ่เท่าลูกส้มโอ เนื้องอกนี้มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงเช่น อาการปวดท้อง เลือดออกในปริมาณมาก ควรเข้ารับการปรึกษาผ่าตัดเอาออกโดยแพทย์ให้เร็วที่สุดหากเป็นได้

โรคมะเร็งปากมดลูก

เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ในเซลล์ส่วนล่างของมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก สามารถสังเกตอาการแรกเริ่มได้ง่ายๆ คือ ประจำเดือนเริ่มไหลน้อย ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ รวมถึงมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานระหว่างมีเพศสัมพันธ์

ไม่อยากเลือดไหลสองรอบ ควรรีบรักษาด้วยวิธีนี้

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ และพื้นฐานปริมาณ รวมถึงจำนวนครั้ง ของเลือดที่ไหล หากการวินิจฉัยพบว่าเป็นเพียงแค่โลหิตจาง อาจเสริมด้วยการรับประทานธาตุเหล็กเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ : แพทย์อาจจำหน่ายยาชนิดรับประทาน หรือวิธีการรักษาด้านอื่นๆ ตามแต่เหมาะสม

สำหรับผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคซีสต์ : อาจได้รับการผ่าตัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (MRI) โดยแพทย์เฉพาะทางที่ชำนาญแล้วเท่านั้น

การหยุดเจริญเติบโตของเนื้องอก : โดยใช้ฮอร์โมนกลุ่มโกนาโดโทรฟิน (Gonadotropin) เข้ารักษาโดยทำให้คุณเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนชั่วคราว และยับยั้งการเจริญเติบโตทำให้เนื้องอกมีขนาดที่เริ่มเล็กลง ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้การรักษานี้ร่วมกับการผ่าตัด

รอบเดือนของสาว ๆ ส่วนใหญ่จะมาแค่เดือนละครั้ง แต่จู่ ๆ ก็มีเลือดคล้ายประจำเดือนไหลออกมาอีกครั้ง ลักษณะเหมือนเป็นประจำเดือน 2 ครั้งต่อเดือนผิดปกติหรือไม่ การที่ประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือน ถือเป็นความผิดปกติของร่างกาย ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

1.ฮอร์โมนไม่คงที่

สำหรับวัยรุ่นที่เพิ่งจะเป็นประจำเดือนในช่วงแรก ๆ ร่างกายอาจยังผลิตฮอร์โมนและรังไข่ยังมีการตกไข่ที่ไม่เต็มที่ ดังนั้นก็อาจทำให้ประจำเดือนมา 2ครั้งต่อเดือน หรือมีภาวะประจำเดือนผิดปกติได้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป 1-2 ปี ฮอร์โมนและการตกไข่จะเริ่มคงที่ อาการประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือน หรืออาการประจำเดือนมาไม่ปกติก็น่าจะหายไป หากยังคงเป็นประจำเดือน 2 รอบต่อเดือน หรือยังคงมีอาการประจำเดือนผิดปกติในช่วงปีที่ 4-5 ตั้งแต่เป็นประจำเดือนครั้งแรก ก็ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป

2.ระยะรอบเดือนสั้น

ปกติแล้วผู้หญิงจะมีระยะรอบเดือนประมาณ 21-35 วัน หรือ 28 วันโดยเฉลี่ย แต่ในบางคนอาจมีระยะรอบเดือนสั้นกว่านั้น คือ 14-15 วัน ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่รอบเดือนจะมา 2 ครั้ง ใน 1 เดือน ซึ่งถ้ารอบเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือนโดยไม่มีอาการผิดปกติอะไร เช่น ปวดท้องหนักมาก ประจำเดือนมามาก(เปลี่ยนผ้าอนามัยเกิน 5 แผ่นต่อวัน) ก็ถือว่าไม่ผิดปกติ

ประจําเดือนหายไป1วันแล้วมาอีก

3.ไข่ไม่ตก

ภาวะไข่ไม่ตกจะส่งผลให้ร่างกายไม่สร้างฮอร์โมนเพศมาเปลี่ยนผนังเยื่อบุมดลูก ทำให้เยื่อบุมดลูกลอกออกมาเป็นประจำเดือนได้ไม่หมดในครั้งเดียวเลือดประจำเดือนซึ่งมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวก็จะไหลออกมา 2 ครั้งใน 1 เดือนได้ โดยจะห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งช่วงที่เยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวจะมีเลือดออกมาเล็กน้อย ประมาณ 1-2 วัน แต่ไม่ถือว่าผิดปกติ สาเหตุที่ไข่ไม่ตกอาจจะมาจากภาวะเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอหรือภาวะอ้วนเกินไป ผอมเกินไป ออกกำลังกายหนักมากเกินไป ก็เป็นปัจจัยทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติจนส่งผลให้ไข่ไม่ตกนั่นเอง

ประจําเดือนหายไป1วันแล้วมาอีก

4.วัยทอง

ไม่ใช่แค่ช่วงวัยรุ่นเท่านั้นที่ฮอร์โมนยังไม่คงที่ แต่ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนก็มีภาวะฮอร์โมนแกว่ง ๆ เหมือนกัน โดยจะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศถูกผลิตน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมีประจำเดือนได้ โดยอาจทำให้ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมามาก หรือประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือนก็ได้

5.ยาเม็ดคุมกำเนิด

สำหรับคนที่กินยาคุมกำเนิดแผงแรก อาจมีอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือบางคนอาจมีภาวะฮอร์โมนไม่คงที่ จนทำให้เป็นประจำเดือน 2 ครั้งต่อเดือนได้ หรือคนที่กินยาคุมฉุกเฉินก็อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าอาการเลือดออกผิดปกติของเราอันตรายไหม

ประจําเดือนหายไป1วันแล้วมาอีก

6.ความผิดปกติภายในของผู้หญิง

การที่มีเลือดออกผิดปกติ อย่างเป็นประจำเดือน 2 ครั้งต่อเดือน อาจเกิดจากเยื่อบุมดลูกผิดปกติ ปากมดลูกอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ ภาวะท้องนอกมดลูกแท้งบุตร เนื้องอก หรือมะเร็งก็เป็นได้ โดยสาว ๆ ควรจะสังเกตอาการเลือดออกผิดปกติของตัวเองให้ดี หากเลือดที่ออกมาจากช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นมากมีอาการเจ็บที่ปากมดลูกร่วมด้วย เป็นประจำเดือนนานเกิน 7 วัน หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เคสดังที่กล่าวมาควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโดยเร็วที่สุด

ประจําเดือนหายไป1วันแล้วมาอีก

อย่างไรก็ตาม หากสาว ๆ คนไหนมีประจำเดือนผิดปกติ ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา จะได้ความสบายใจ สุขภาพร่างกายแข็งแรง

ข้อมูลจากรายการรั้วรอบครอบครัว โดยรศ.ร.อ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ ร.น. facebook/PPATBANGKOK