วิธีการทางภูมิศาสตร์ มีอะไรบ้าง

          เนื่องจากเครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีหลายชนิด แต่ละชนิดมิข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกเครื่องมือทางภูมิศาสตร์เพื่อการรวบรวม วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ ทางกายภาพ ลังคมและวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกาใต้ สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

          1) ใช้เครื่องมือที่เหมาะกับลักษณะของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่แสดงหรือบรรจุ อยู่ในเครื่องมือภูมิศาสตร์แต่ละชนิดจะมีลักษณะต่างกัน อย่างแผนที่เล่มจะให้ข้อมูลที่เป็นภาพรวม ของพื้นที่หรือข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อย เช่น สภาพภูมิลักษณ์ ภูมิอากาศ ขอบเขตของทวีป หรือถ้าเป็นข้อมูลเศรษฐกิจด้านการเพาะปลูก จะแสดงทั้งชนิด ปริมาณ และการกระจายของแหล่ง ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ตามบริเวณใดบริเวณหนึ่งของ ประเทศหรือทวีป ถ้าต้องการทราบรายละเอียด ก็ควรใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่เป็นตารางแสดง ปริมาณผลผลิต สถิติจากเว็บไซต์หรือจาก หนังสือ The World Almanac ประกอบ

          2) ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ คุณภาพในที่นี้มิได้หมายถึงเป็นเครื่องมือที่มี เทคโนโลยีระดับสูง หากแต่เป็นเครื่องมือที่ สามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น แผนที่แสดงแหล่งท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่า มีแหล่งท่องเที่ยวอะไรและ ที่ใดบ้าง ใช้เส้นทางอย่างไร ดังนั้น ขนาด มาตราส่วน ทิศทาง ระยะทางจึงเป็นเพียงข้อมูล สังเขปเท่านั้น การนำแผนที่มาใช้อ้างอิงหาข้อมูลสภาพภูมิลักษณ์ของพื้นที่ ควรใช้แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า หรือพื้นที่ป่าแอมะซอนที่ได้รับความเสียจากไฟป่า ควรดูภาพจากดาวเทียมประกอบด้วย เป็นต้น

          3) ใช้เครื่องมือทีทันสมัย เครื่องมือภูมิศาสตร์แต่ละชนิดล้วนมีข้อจำกัดเรื่อง ความทันสมัยของข้อมูลต่างกัน ดังนั้น จึงควรพิจารณาช่วงเวลาที่มีการจัดทำเครื่องมือนั้น เพราะถ้าละเลย จะทำให้ไต้รับข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน การนำมาวิเคราะห์อาจผิดพลาดได้ เซ่น ถ้าต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ใช้ภาพจากดาวเทียมจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากกว่าดูจากลูกโลก หรือต้องการทราบสถิติข้อมูล บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวล่าสุดวันต่อวัน พร้อมระดับความรุนแรง ควรสืบค้นจากเว็บไซต์ ขององค์การสำรวจทางธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังตรวจจับ แผ่นดินไหวทั่วโลกสามารถระบุพิกัดและความรุนแรงได้ทันที จึงดีกว่าข้อมูลจากแหล่งอื่น เป็นต้น

          4) ตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือ  ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากเครื่องมือ

ทางภูมิศาสตร์ ก่อนนำไปใช้ควรตรวจสอบจากหลาย ๆ แห่ง แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน รวมทั้ง พิจารณาถึงความน่าจะเป็นไปไต้ของข้อมูลนั้นๆ ด้วย ไม่ควรนำไปใช้ทันที โดยเฉพาะข้อมูลจาก เว็บไซต์ซึ่งมีทั้งที่จัดทำจากหน่วยงาน องค์กรที่น่าเชื่อถือ แต่บางครั้งทำมาจากบุคคลแต่ละคน ที่อาจมีการคัดลอกทำสำเนาซ้ำ ๆ เผยแพร่กันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ พบว่าบ่อยครั้งมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับความเป็นจริง

          5) ใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์หลากหลายผสมกัน เนื่องจากเครื่องมือภูมิศาสตร์ แต่ละชนิดมีข้อดี ข้อจำกัดในการให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไป เพื่อลดข้อจำกัดดังกล่าว ในการใช้ เครื่องมือภูมิศาสตร์จึงควรใช้เครื่องมือหลายอย่างผสมผสานกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการตรวจสอบ ข้อมูลไปในตัว ทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว การได้มีโอกาสสัมผัสหรือใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่ หลากหลาย จะได้รับรู้ถึงคุณสมบัติของเครื่องมือภูมิศาสตร์แต่ละชนิด อันจะเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เห็นแนวทางที่จะนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ไปนำเสนอใหม่ผ่านทาง เครื่องมือภูมิศาสตร์ชนิดต่างๆ

อ้างอิง

กระมล ทองธรรมชาติและคณะ.สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มัธยมศึกษาปีที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 7 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์ .

วิธีการทางภูมิศาสตร์ มีอะไรบ้าง

ภูมิศาสตร์      เป็นเรื่องราวการบรรยายหรือพรรณาเกี่ยวกับโลก ในปี ค.ศ. 1950

คณะกรรมการอภิธานศัพท์ภูมิศาสตร์ของอังกฤษ ได้ให้ความหมายภูมิศาสตร์ว่า

เป็นศาสตร์ที่บรรยายเกี่ยวกับเปลือกโลก ในแง่ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์

ของพื้นที่ต่าง ๆ พจนานุกรมอเมริกันได้กล่าวว่า

ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับความแตกต่างของพื้นผิวโลกในแง่ของ

ลักษณะเด่น การกำหนดและความสัมพันธ์ระหว่างสารประกอบของโลก

พจนานุกรมอังกฤษ-ไทยได้ให้ความหมาย ภูมิศาสตร์ ไว้ว่า

เป็นศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

ภูมิศาสตร์จึงเป็นศาสตร์มีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมิติสัมพันธ์

แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. ภูมิศาสตร์กายภาพ

2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
1. ภูมิศาสตร์กายภาพ  (Physical Geography)

เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์และความสัมพันธ์ของมัน เนื้อหาของวิชาจึงคาบเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพหลายวิชาที่สำคัญ ได้แก่ วิชา อุตุนิยมวิทยา อากาศวิทยา สมุทรศาสตร์ ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา นิเวศน์วิทยาของพืช และธรณีสัณฐานวิทยา แต่วิชาภูมิศาสตร์กายภาพมิได้เป็นเพียงการนำเอาเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพสาขาต่าง ๆ มารวมกันเท่านั้น แต่ได้นำเอาเนื้อหาเหล่านี้มาผสมผสานกันในแง่ที่เป็นสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์กายภาพเน้นความสัมพันธ์ทางพื้นที่ นั่นคือ เน้นการกระจายบนพื้นผิวโลกหรือที่เรียกว่า รูปแบบทางภูมิศาสตร์ (geographic pattern) ของสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากปฏิกิริยาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของธรรมชาติในบริเวณต่างๆ บนพื้นผิวโลก การศึกษารูปแบบทางภูมิศาสตร์ของสภาพแวดล้อมนี้ จะเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นแก่นของระบบสภาพแวดล้อมของโลก โครงสร้างและระบบกลไกการทำงานอันเป็นพื้นฐานของธรรมชาติมักถูกลืม ในยุคที่มนุษย์ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมอย่างหนักเช่นในปัจจุบัน ความเข้าใจโครงสร้างของสภาพแวดล้อมอย่างกว้างๆ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกลไกการทำงานของขบวนการต่างๆในสภาพแวดล้อมจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ

2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค

ภูมิศาสตร์ภูมิภาค (Regional Geography) คือ การเข้าถึงระบบเทศสัมพันธ์ (Spatial interaction)ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ในการอธิบายผิวโลกที่มีมนุษย์อาศัยนั้น นักภูมิศาสตร์ใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นขนาดต่างๆ กันตามเกณฑ์และวัตถุประสงค์ เกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่นั้นมีหลายอย่าง โดยทั่วไปต้องรวมเอาปัจจัยทางด้านกายภาพและวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน นักภูมิศาสตร์นิยมแบ่งภูมิภาคออกตามระบบอากาศ เช่น ภูมิภาคเขตร้อนชื้น ภูมิภาคเขตอบอุ่น และภูมิภาคเขตทะเลทราย เป็นต้น หรือแบ่งภูมิภาคตามกลุ่มวัฒนธรรม คือ ยึดเอาเนื้อที่ของประเทศต่างๆ เป็นเกณฑ์ เพราะสะดวกในเรื่องข้อมูลภายในพื้นที่นั้น ในปัจจุบันได้มีการแบ่งภูมิภาคออกตามบทบาทหน้าที่เด่นของพื้นที่นั้น เช่น ภูมิภาคของเมืองหรือเขตที่เมืองมีอิทธิพลต่อบริเวณรอบนอกตลอดจนเขตบริการต่าง ๆ อันจัดเป็นภูมิภาคขนาดเล็กแต่ก็มีประสิทธิภาพในการจัดพื้นที่ (Hartshorne, 1959) ได้แก่ ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม

องค์ประกอบของภูมิศาสตร์กายภาพแบ่งเป็น 3 ประการคือ

1. ลักษณะภูมิประเทศ
2. ลักษณะภูมิอากาศ
3. ทรัพยากรธรรมชาติ
1. ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ  หมายถึง   ลักษณะของแผ่นดินที่อาจมีลักษณะสูงๆ
ต่ำๆ เป็นภูเขาที่ราบ ที่ราบสูง  แม่น้ำ หนอง บึง ซึ่งลักษณะภูมิประเทศแต่ละแบบ
ต่างมีความสำคัญต่อชีวิต  ความเป็นอยู่ของประชากรที่อาศัยในภูมิประเทศนั้น
ก่อให้เกิดอาชีพสำคัญต่างๆ  กันเช่น   บริเวณที่ราบลุ่มหรือ    ที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ
มักมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น   มีอาชีพทำการประมง    และทำการเพาะปลูก
เป็นอาชีพหลัก ส่วนบริเวณที่สูงหรือแถบเทือกเขา  มักมีประชากรเบาบางประกอบ
อาชีพต่างๆกัน  เช่นทำป่าไม้ทำเหมืองแร่  หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ตามแต่ทรัพยากร
ในบริเวณนั้นๆ  จะอำนวยจากแผนที่แสดง   ลักษณะภูมิประเทศ   ของประเทศไทย
เราสามารถ  แบ่งลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทยได้เป็น  6 เขต คือ เขตภูเขา
และที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เขตที่ราบ
ภาคกลาง    เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออก   เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่ง
คาบสมุทรภาคใต้     และเขตภูเขาภาคตะวันตก   ลงสุ่แม่น้ำสาละวิน   เขตภูเขา
และที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ
2.ลักษณะภูมิอากาศ
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศของทวีปแอฟริกา คือ ความใกล้ ไกลทะเล มี กระแสน้ำอุ่นและเย็นเลียบรายฝั่ง อิทธิพลของลมประจำฤดูที่พัดผ่านตำแหน่งที่ตั้งของทวีปซึ่งตั้งอยู่ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ รวมทั้งมีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านเกือบตอนกลางของทวีป
3. ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่จำเป็นแก่มนุษย์ ซึ่งได้มีการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆมากมาย การที่มีการนำทรัพยากรไปใช้มากทำให้เกิดปัญหาตามมา การใช้ทรัพยากรอย่างผิดวิธี และการใช้อย่างสิ้นเปลือง อาจทำให้ทรัพยากรที่มีคุณค่าลดน้อยลงไปอย่างรวดเร็ว เราจึงควรีรู้จัก ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึง วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

มีการแบ่งทรัพยากรธรรมชาติ ออกเป็นหมวดหมู่ คือ

1. ดิน
2. น้ำ
3. ป่าไม้
4. แร่ธาตุ

และยังมีทรัพยากรประเภทที่ช่วยสร้างความสวยงามให้ธรรมชาติอีกก็คือ ทรัพยากรเพื่อการนันทนาการ



:: ชุด 1::

  1. ข้อใดคือการจำแนกประเภทของเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ตามหน้าที่การใช้งานที่ถูกต้อง
    1. รวบรวมข้อมูล ให้ข้อมูล
    2. ให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
    3. วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล
    4. สังเคราะห์ข้อมูล รวบรวมข้อมูล
  2. บุคคลในข้อใดน่าจะเป็นผู้ใช้แผนที่ได้อย่างชำนาญที่สุด
    1. โป้งมีความรู้เรื่องแผนที่เป็นอย่างดี
    2. กลางรวบรวมแผนที่เฉพาะเรื่องไว้อย่างหลากหลาย
    3. นางสอบได้คะแนนสูงสุดในเรื่องแผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
    4. ก้อยใช้แผนที่ในการดำเนินชีวิตและการศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้อยู่เสมอ
  3.  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้นิยมใช้รูปถ่ายทางอากาศแนวดิ่งมาจัดทำแผนที่คืออะไร
    1. ความชัดเจน
    2. ความสวยงาม
    3. มาตราส่วนคงที่
    4. สีและรูปร่างต่างๆ
  4. การสำรวจข้อมูลของภูมิสารสนเทศศาสตร์ชนิดใดแตกต่างจากข้ออื่น
    1. ภาพจากดาวเทียม
    2. การรับรู้จากระยะไกล
    3. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
    4. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก
  5. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
    1. ข้อมูลเป็นเชิงตัวเลขและการเปลี่ยนแปลงทางสถิติ
    2. วิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลเพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น
    3. บุคลากรเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสายตาและการคำนวณทางสถิติ
    4. ส่วนเครื่อง คือ เครื่องรับระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกและภาพจากดาวเทียม
  6. ข้อมูลที่ใช้ในการพยากรณ์อากาศของพื้นที่หนึ่งๆ มาจากหลักการทำงานของดาวเทียมในข้อใด
    1. ดาวเทียมคงที่
    2. ดาวเทียมพลังงานธรรมชาติ
    3. ดาวเทียมพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
    4. ดาวเทียมโคจรรอบโลกในแนวเหนือ-ใต้
  7. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกเกิดจากกิจการด้านใด
    1. การทหาร
    2. การสำรวจทิศทาง
    3. การป้องกันภัยพิบัติ
    4. การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
  8. ระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่เท่ากันของพื้นที่ในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นในวันใด
    1. วันวสันตวิษุวัต วันศารทวิษุวัต
    2. วันศารทวิษุวัต วันครีษมายัน
    3. วันเหมายัน วันวสันตวิษุวัต
    4. วันครีษมายัน วันเหมายัน
  9. ถ้านักเรียนต้องการชมปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนควรเดินทางไปยังประเทศใด ณ ช่วงเดือนใด
    1. ประเทศอาร์เจตินา เดือนมิถุนายน
    2. ประเทศแคนาดา เดือนมิถุนายน
    3. ประเทศชิลี เดือนกรกฎาคม
    4. ประเทศจีน เดือนกรกฎาคม
  10. การเกิดแผ่นดินไหวสอดคล้องกับบริเวณที่เป็นแนวรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกอย่างไร
    1. จุดศูนย์กลางมีแรงสั่นไหวมาก
    2. การเคลื่อนตัวในรูปแบบต่างๆ
    3. หินหนืดที่พุขึ้นกลายเป็นเทือกเขา
    4. ความสั่นไหวก่อให้เกิดระลอกคลื่น
  11. วัฏจักรทางอุทกวิทยาเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยใดเป็นสำคัญ
    1. การกลั่น
    2. ความชื้น
    3. ความร้อน
    4. การโน้มถ่วง
  12. ข้อใดกล่าวถึงแหล่งที่มาของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นที่ไหลเวียนในมหาสมุทรของโลกได้ถูกต้อง
    1. เขตศูนย์สูตร เขตขั้วโลก
    2. เขตเทือกเขา เขตศูนย์สูตร
    3. เขตขั้วโลก เขตที่ราบลุ่มน้ำขนาดใหญ่
    4. เขตที่ราบลุ่มน้ำขนาดใหญ่ เขตเทือกเขา
  13. ลักษณะภูมิประเทศในข้อใดเหมาะสมต่อการเป็นเมืองท่าขนส่งสินค้าทางทะเลมากที่สุด
    1. ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
    2. ที่ราบรอบทะเลสาบรูปแอก
    3. พื้นที่ชายฝั่งที่คลื่นลมสงบ
    4. ชายฝั่งของฟีออร์ด
  14. หากนักเรียนต้องการศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการทำสวนผลไม้เมืองร้อน นักเรียนควรไปยังภาคใด
    1. ภาคเหนือ
    2. ภาคกลาง
    3. ภาคตะวันตก
    4. ภาคตะวันออก
  15. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของลักษณะทางภูมิศาสตร์กับลักษณะทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    1. มีความแห้งแล้ง ไม่สามารถปลูกไม้ผลได้
    2. มีอากาศค่อนข้างเย็นทางตอนเหนือ จึงมีการปลูกพืชเศรษฐกิจเมืองหนาว
    3. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีค่อนข้างมาก แต่ดินส่วนใหญ่ไม่ค่อยอุ้มน้ำ การเพาะปลูกพืชจึงแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
    4. อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้มีฝนตกชุกในช่วงปลายปี สามารถเพาะปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำมากได้ผลผลิตดี
  16. การศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟที่มีพลังในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรดำเนินการในประเทศใดบ้าง
    1. อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์
    2. กัมพูชา อินโดนีเซีย
    3. ฟิลิปปินส์ ไทย
    4. ไทย กัมพูชา
  17. การปะทุระเบิดของภูเขาไฟก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศของอุทกภาคได้อย่างไร
    1. เถ้าถ่านที่ปกคลุมท้องฟ้าทำให้แสงแดดและความร้อนไม่สามารถส่องลงมาถึงผิวน้ำได้
    2. หินหนืดที่ไหลลงสู่ทะเลส่งผลให้ลักษณะชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง
    3. แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดคลื่นใหญ่ซึ่งมีผลต่อแนวปะการัง
    4. แก๊สและควันที่พวยพุ่งจากการปะทุระเบิดทำให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์
  18. การป้องกันและแก้ไขพื้นที่จากอุทกภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการใด
    1. การปลูกหญ้าแฝกริมตลิ่งเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำ
    2. การกำหนดพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำหรือแก้มลิง
    3. การขุดลอกคูคลองทุกสาย เพื่อให้ระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
    4. การช่วยกันสร้างพนังกั้นน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำออกจากพื้นที่ของตน
  19. สาเหตุสำคัญของการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบันคืออะไร
    1. ภาวะโลกร้อน
    2. ปรากฏการณ์เรือนกระจก
    3. การเกิดพายุหมุนเขตร้อน
    4. ปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน
  20. เพราะเหตุใดเมื่อพายุสงบแล้วจึงควรรอเวลาอีกอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดจากพายุ
    1. มักมีลมแรงและฝนตกหนักอีกเมื่อศูนย์กลางพายุพัดผ่าน
    2. วางแผนการเดินทางเพื่อความปลอดภัยจากซากปรักหักพัง
    3. ความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
    4. ระดับน้ำลดลงและความเร็วลมคงที่สามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัย


เฉลย

1.1 2.4 3.3 4.2 5.2 6.1 7.1 8.1 9.2 10.2

11.3 12.1 13.3 14.4 15.3 16.1 17.2 18.4 19.1 20.1


เครดิต :http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-4-2061.html

https://sites.google.com/site/monthakan6732/phumisastr-hmay-thung-xari

http://www.thaigoodview.com/node/18545