อะไรคือปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้สื่อโฆษณา

2.สื่อโฆษณากับการบริโภค

 ในโลกของการสื่อสารพบว่า สื่อโฆษณา เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของคนในสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพราะการจูงใจให้ผู้บริโภค

 2.1 ความหมายและประเทของสื่อโฆษณา

 สื่อโฆษณา หมายถึงเครื่องมือทางการตลาดที่ผู้ประกอบธุรกิจใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์

ประเภท สื่อโฆษณา

1.การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

2.การโฆษณาผ่านหนังสื่อพิมพ์

3.โฆษณาโดยป้ายประกาศ

4.โฆษณาโดยใช้จดหมายตรง

5.โฆษณาโดยใช้สมุดโทรศัพท์

6.จัดแสดงสินค้า

2.2.อิทธิพลของสื่อโฆษณา

การโฆษณามีวัตถุประสงค์เพื่อ ขายสินค้าหรือบริการให้มากที่สุด คุณภาพที่กำหนด  ดังนั้นไม่ควรหลงเชื่อกับคำโฆษณาโดยง่าย  ควรวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลจากสื่อโฆษณาสินค้าให้รอบคอบเสียก่อนที่จะตัดสินใจซื้อทุกครั้ง  สื่อโฆษณาจึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคหรือใช้บริการของผู้บริโภคเป็นอย่างมากเพราะจากผลการวิจัยหรือผลการสำรวจข้อมูลในเรื่อองดังกล่าวในหลายๆสถาบันได้ข้อมูลที่ตรงกันว่า “ อิทธิพลของสื่อโฆษณามีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทุกๆกลุ่มคน  ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการศึกษา อาชีพและรายได้  โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อสินค้าของเพศหญิงซึ่งมีมากกว่าเพศชาย ”

สื่อโฆษณามีอิทธิพลต่อผู้บริโภคสำคัญ  ดังนี้

1.สร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของสินค้าและบริการที่ต้องให้ผู้บริโภคต้องการทราบ  เพราะเมื่อสื่อโฆษณาใดให้ข้อมูลของสินค้าได้ตรงกับความสนใจของผู้บริโภคที่มีอยู่แล้วย่อมให้เกิดแรงจูงใจการซื้อสินค้าง่าย

2.สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการอยากทดลองใช้  เช่น  การโฆษณาโดยใช้กลยุทธ์การลดแลก แจก หรือแถม  จากที่ผู้บริโภคไม่เคยทดลองใช้  เพราะสินค้าดังกล่าวนั้นมีราคาถูกหรือเป็นของแถมที่ได้มาฟรี

3.สร้างความภูมิใจในสินค้าและบริการ  โฆษณาของผู้ผลิตมักนำบุคคลสำคัญและเป็นที่ยอมรับในสังคมมาเป็นแบบในโฆษณา เช่น นักแสดง นักร้อง เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความภาคภูมิใจ เมื่อได้ใช้สินค้าและบริการชนิดเดียวกับที่บุคคลสำคัญใช้

4.สร้างความตอกย้ำความทรงจำของผู้บริโภค  ทำให้เกิดการซื้อสินค้าซ้ำอีกครั้ง  ซึ่งการโฆษณาบ่อยๆครั้งทำให้ผู้บริโภคที่เคยใช้สินค้าของตนเองแล้วได้กลับมาซื้อสินค้านั้นอีกรอบ

5.สร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจที่จะซื้อสินค้าและบริการ  โดยโฆษณาจะชี้แจงให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจว่า เมื่อใช้สินค้าและบริการแล้วจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลดี  เกิดความสวยงามเกิดความสะดวกสบาย  หรือแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคได้อย่างไร

2.3 หลักการพิจารณาสื่อโฆษณาเพื่อการเลือกบริโภค

            เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการรับข้อมูลจากสื่อโฆษณาที่ถูกต้อง  ควรยึดหลักพิจารณาข้อความโฆษณาสินค้าและบริการทุกประเภท  ว่าต้องมีลักษณะสอดคล้องและเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา พ.ศ. 2552 มาตรา 22 ดังนี้ คือ  การโฆษณาจะต้องไม่มีข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมโดยส่วนรวม  ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็ฯข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด  สภาพคุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ  ตลอดจนการส่งมอบ  การจัดหา  หรือการใช้สินค้าหรือบริการ

              ข้อความโฆษณาต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมดาต่อผู้บริโภค  หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคมโดยส่วนรวม ได้แก่

                                                                                                                                                                                                                         ข้อความเท็จ/เกินจริง                                           ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

        โฆษณาที่ไม่เป็นธรรม

ข้อความที่ผิดกฎ กระทรวงเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ

ข้อความที่ทำให้เกิดการแตกแยก

ข้อความสนับสนุนให้กระทำผิดกฎหมาย/ศีลธรรม/วัฒนธรรม

การวิเคาระห์และประเมินสื่อโฆษณาเพื่อการบริโภค

ตัวอย่างมีดังต่อไปนี้

1.เครื่องนอน...ผ่านการรับรองจากสถาบันวิจัยประเทศฝรั่งเศสว่า กำจัดไรฝุ่นได้ผล 100%

ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ มีความปลอดภัยทั้งไร้ฝุ่น

2.ครีมทาหน้า สูตรดับเบิ้ลไวท์เทนนิ่ง มีส่วนประกอบของไวท์เทนนิ่ง 2 เท่า ช่วยทำให้ผิวหน้าขาวเปล่งประกายความงามใช้แล้วจะติดใจ 

                                                                                                                                                                                                            ศีลธรรม/วัฒนธรรม

    1.ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความเป็นจริง

    2.ข้อความที่ก่อให้เกิดความข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะกระทำโดยใข้ หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริง หรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม

    3.ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฏหมาย หรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความ้สื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ

    4.ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยก  หรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน

    5.ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุข้อความให้ครบถ้วน หากฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย