ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบหน้าที่และการบำรุงรักษาของเครื่องยนต์เล็ก


วิดีโอข้อมูลชิ้นส่วนของเครื่องยนต์


ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

อ้างอิงรูป : http://www.khicec.ac.th

              โดยปกติแล้วเครื่องยนต์ไม่ว่าจะเป็นชนิดเบนซินหรือดีเซล จะมีชิ้นส่วนประกอบคล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่เครื่องยนต์เบนซินจะจุดระเบิดด้วยหัวเทียน และเครื่องยนต์ดีเซนจะจุดระเบิดด้วยการอัดอากาศให้มีอุณหภูมิและความดันที่สูง และฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาปะทะทำให้เกิดการระเบิด นอกจากนั้นส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องยนต์เล็กโดยปกติจะเหมือนกันกับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ เพียงแต่ขนาดเล็กกว่า เบากว่า แต่ส่วนประกอบสำคัญหลัก ๆ นั้น แทบไม่แตกต่างกัน ซึ่งต่อไปนี้จะแนะนำชิ้นส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องยนต์เล็ก ตำแหน่งการทำงานในเครื่องยนต์ และรวมถึงหน้าที่การทำงานดังต่อไปนี้


1.1) ฝาสูบ (Chlinder Head)

คือ ชิ้นส่วนที่อยู่ตำแหน่งบนสุดของเครื่องยนต์ ซึ่งทำหน้าที่ปิดส่วนบนของเครื่องยนต์ อีกทั้งยังเป็นที่ติดตั้งของชิ้นส่วนอย่างอื่นที่สำคัญ


อ้างอิงรูป : http://www.rungkijparts.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ฝาสูบ (Chlinder Head)


การดูแล “ฝาสูบ”

เราจะต้องหมั่นตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ตรวจสอบฝาหม้อน้ำว่ารั่วหรือไม่ตรวจว่ามีลมอัดออกมาจากรอยต่อของฝาสูบหรือไม่ มีน้ำหยดไหลออกจากเครื่องมากหรือไม่หรือน้ำในหม้อน้ำลดระดับมากผิดปกติ ที่สำคัญ อย่ารอให้ไฟความร้อนเตือน เพราะบางครั้งฝาสูบอาจจะโก่งพร้อมกับระบบเตือนความร้อนอาจเพราะอายุและการทำงานของเครื่องยนต์

1.2) เสื้อสูบ (Chlinder Block)

คือ ชิ้นส่วนที่อยู่ตำแหน่งตอนกลางของเครื่องยนต์ โดยจะทำหน้าที่ห่อหุ้มกลไกภายในเครื่องยนต์เปรียบเสมือนห้องทำงาน ที่มีชิ้นส่วนประกอบอื่น ๆ มากมาย เช่น กระบอกสูบ เพลงข้อเหวี่ยง เป็นต้น


อ้างอิงรูป : http://www.ftiebusiness.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

เสื้อสูบ (Chlinder Block)


การดูแล “เสื้อสูบ”

เสื้อสูบนั้น ผลิตจากวัสดุที่แข็งแรงทนทาน โดยเฉพาะเสื้อสูบที่ทำจากเหล็กจะมีความทนทานมาก เช่นนั้นเป็นไปได้ยากที่จะเกิดความเสียหาย เว้นแต่จะมีสาเหตุเกิดจากชิ้นส่วนอื่น ๆ ดังนั้นเราควรหมั่นตรวจสอบระบบน้ำมันหล่อเย็นและระบบอื่นด้วย

1.3) กระบอกสูบ (Chlinder)

คือ กระบอกเปรียบเสมือนห้องทำงานของลูกสูบ “การเคลื่อนที่” โดยกระบอกสูบจะเป็นส่วนที่ได้รับน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศ ซึ่งเชื่อเพลิงและอากาศจะเกิดการระเบิด ทั้งนี้ แรงระเบิดจะทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ในกระบอกสูบ กระบอกสูบมักจะไม่เกิดความเสียหาย ยกเว้นแต่ชิ้นส่วนภายใน เช่น ลูกสูบ ก้านสูบ เป็นต้น ทำให้กระบอกสูบชำรุดเสียหายได้


อ้างอิงรูป : http://www.thai.alibaba.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง
ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

กระบอกสูบ (Chlinder)


การดูแล “กระบอกสูบ”

คงไม่มีการบำรุงรักษาสำหรับกระบอกสูบ แต่ควรตรวจและหมั่นดูน้ำมันหล่อลื่นอย่าให้ขาดหรือเกินมากเกินไป และระวังความเสียหายที่เกิดขึ้นจากชิ้นส่วนอื่น เช่น ลูกสูบ เป็นต้น

1.4) ลูกสูบ (Piston)

คือ ชิ้นส่วนสำคัญที่เคลื่อนที่ภายในกระบอกสูบ ทำหน้าที่สร้างแรงอัดต่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศ ให้มีความดันและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการจุดระเบิดและเผาไหม้ ซึ่งลูกสูบเป็นตัวสร้างกำลังและส่งต่อออกมาภายในกระบอกสูบ โดยอาศัยก้านสูบในการถ่ายเทพลังงานไปยังเพลาข้อเหวี่ยง


อ้างอิงรูป : http://www.gasthai.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ลูกสูบ (Piston)


การดูแล “ลูกสูบ”

จะต้องหมั่นต้องตรวจสอบระบบหล่อเย็นว่ามีน้ำหยดออกจากระบบหรือไม่ หรือปะเก็นมีรอยรั่วหรือไม่ และใช้น้ำมันหล่อลื่นถูกต้องตามคู่มือหรือไม่

1.5) แหวนลูกสูบ (Piston Ring)

        แหวงลูกสูบจะแบังออกเป็น 2 ชนิด คือ แหวงน้ำมัน และแหวงอัด

             1.5.1) แหวงอัด

                     จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ความดันอากาศรั่วซึมออกจากกระบอกสูบ หรือห้องเผาไหม้ ทั้งนี้ถ้าไม่มีแหวงอัดอากาศจะทำให้ ไอดี รั่วไหลออกผ่านช่องว่างระหว่างลูกสูบกับผนังกระบอกสูบ

อ้างอิงรูป : http://www.webike.net

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

แหวงอัด 


             1.5.2) แหวงน้ำมัน

                    ทำหน้าที่กวาดน้ำมันหล่อลื่อที่ไหลตามผนังกระบอกสูบลงมา ไม่ให้ไหลไปยังห้องเผาไหม้ เพราะหากน้ำมันหล่อลื่อถูกดันขึ้นไปเผาไหม้ในห้องเผาไหม้มากเกินไป จะเกิดเป็นก๊าซคาร์บอน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวเทียนบอดเคลือบวาล์ว และความเสียหายจะเกิดกับแหวงในที่สุด

อ้างอิงรูป : http://www.thai.excavatorengine-parts.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

การดูแล “แหวงลูกสูบ”

ควรใส่ใจกับการใช้ชนิดของน้ำมันหล่อลื่อ เราต้องเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่อที่เหมาะสมกับชนิดของเครื่องยนต์ และควรตรวจสอบระบบน้ำหล่อเย็นให้ดี เพื่อป้องกันให้ลูกสูบมีความร้อนในขณะทำงานมากเกินไป เพราะอาจจะเกิดอันตรายให้กับแหวงลูกสูบได้

1.6) ก้านสูบ (Connecting Rod)

ทำหน้าที่ ถ่ายทอดกำลังจากการเคลื่อนที่ของลูกสูบ ที่เกิดจากการจุดระเบิดหรือเผาไหม้เชื้อเลิงภายในกระบอกสูบ โดยก้านสูบนี้จะส่งกำลังงานไปยังเพลงข้อเหวี่ยง และถ่ายทอดเป็นกำลังในการหมุนต่อไปยังชิ้นส่วนอื่น


อ้างอิงรูป : http://www.kwaithongaec.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

อ้างอิงรูป : http://www.xo-autosport.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ก้านสูบ (Connecting Rod)


การดูแล “ก้านสูบ”

การที่เราจะรู้ถึงความผิดปกติของก้านสูบนั้นยากมาก เพราะอาการที่ของเครื่องยนต์ที่จะเตือนให้รู้เรารู้ตัวก่อนแทบจะไม่มี สุดท้ายก็จะเกิดเสียงดังปัง เป็นอันว่าก้านสูบเริ่งจะชำรุดแล้ว ดังนั้นเราควรตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ก่อนที่จะทำงาน

1.7) เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft)

ทำหน้าที่ รับกำลังจากก้านสูบ และเปลี่ยนแรงการเคลื่อนที่ของลูกสูบที่ขึ้นลง หรือซ้ายขวา ไปเป็นการเคลื่อนที่แบบหมุนเป็นวงกลม เพื่อถ่ายทอกกำลังหมุนไปยังชิ้นส่วนอื่น ๆ


อ้างอิงรูป : http://www.kwaithongaec.com และ http://www.thai.webike.net

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft)


การดูแล “เพลงข้อเหวี่ยง”

การบำรุงรักษาแบริ่งให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่เสมอ โดยเราจะต้องเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นให้ตรงเวลา

“อย่าลาก” หรือปล่อยให้น้ำมันหล่อลื่นแห้งจนเกินไป

1.8) เพลงลูกเบี้ยว (Camshaaft)

ทำหน้าที่เปิดวาล์วไอดีและวาล์วไอเสียจะปิด”เพื่อให้อากาศไหลเข้า”เมื่อเปิดวาล์วไอเสียวาล์วไอดีจะปิด”เพื่อให้ไอเสียไหลออก”


อ้างอิงรูป : www.yienn.icoc.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

เพลงลูกเบี้ยว (Camshaaft)


การดูแล “เพลาลูกเบี้ยว”

โดยปกติแล้วลูกเบี้ยวจะไม่เสียหายง่าย ๆ แต่ชิ้นส่วนที่อาจจะเสียหาย คือเซนเซอร์เพลาลูกเบี้ยว ก็สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ ราคาไม่แพง

1.9) ล้อช่วยแรง (Fly Wheel)

หรือล้อตุนกำลัง จะติดอยู่ที่ตำแหน่งปลายของเพลงข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่สะสมกำลังงานเพื่อทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์ ล้อช่วยแรงจะเพิ่งแรงหมุนข้อเหวี่ยงเป็น 2 เท่าตัวไม่ว่าเครื่องยนต์จะทำอัตราเร่งหรือลดก็ตาม


อ้างอิงรูป : http://www.gaeglong.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ล้อช่วยแรง (Fly Wheel)


การดูแล “ล้อช่วยแรง”

ล้อช่วยแรงผลิตขึ้นจากเหล็กกล้า จึงเป็นไปได้ยากที่จะแตก หัก หรือบิ่น เว้นแต่จะถูกกระแทงอย่างแรง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็ต้องซื้อเปลี่ยนใหม่อย่างเดียว

1.10) อ่างน้ำมันเครื่อง (Crank Case)

หรืออ่างน้ำมันหล่อลื่น คือส่วนที่อยู่ช่องล่างของเครื่องยนต์ โดยทั่วไปแล้วอ่างน้ำมันเครื่องจะมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือส่วนบนของอ่างจะถูกหล่อติดกับเสื้อสูบ และส่วนล่างจะเป็นอ่างที่ใช้เก็บน้ำมันหล่อลื่น โดยน้ำมันหล่อลื่นนั้นจะถูกดูดขึ้นไปหล่อเลี้ยงชิ้นส่วนที่ต้องการหล่อลื่นทั้งหมดของเครื่องยนต์


การดูแล “อ่างน้ำมันหล่อลื่น”

โดยปิกติแล้วอ่างน้ำมันหล่อลื่นจะไม่ค่อยเสียง่าย เว้นแต่จะถูกกระแทงอย่างแรง ส่วนมากจะเป็นปะเก็นอ่างน้ำมันเครื่องที่มีโอกาสที่จะเสียหายได้มากกว่าอ่างน้ำมันหล่อลื่น

1.11) ปั๊มน้ำ (Water Pump)

ทำหน้าที่สูบน้ำจากหม้อน้ำไประบายความร้อนให้กับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ในขณะทำงาน โดยเรียกทั้งระบบว่า ระบบหล่อเย็น แต่สำหรับเครื่องยนต์เล็ก 2 จังหวะจะเป็น ระบบรายความร้อนด้วยอากาศจะไม่มีปั๊มน้ำอยู่ในระบบเครื่องยนต์


อ้างอิงรูป : http://www.weekendhobby.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ปั๊มน้ำ (Water Pump)


การดูแล “ปั๊มน้ำ”

การเสียหายของปั๊มน้ำสามารถเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะเครื่องยนต์ที่มีความร้อนสูง ชิ้นส่วนที่จะเสียหายก่อนในปั๊มน้ำ คือซีลยางที่คอปั๊มน้ำ เนื่องจากซีลส่วนใหญ่จะผลิตจากยางสังเคราะห์ เมื่อถูกความร้อนมาก ๆ ซีลก็มักจะเสื่อมสภาพเร็ว

1.12) ปั๊มน้ำมันเครื่อง (Oil Pump)

หรือปั๊มน้ำมันหล่อลื่น ทำหน้าที่ดูดน้ำมันหล่อลื่นจากอ่างน้ำมันหล่อลื่นไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ที่มีการเสียดสี ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน โดยปั๊มน้ำมันหล่อลื่นจะถูกติดตั้งในเสื้อสูบ และทำการดูดน้ำมันหล่อลื่นให้ไหลไปตามทางท่อ โดยผ่านไส้กลองน้ำมันเครื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกหลุดเข้าไปสร้างอันตรายให้แก่ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์


อ้างอิงรูป : http://www.yienn.icoc.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ปั๊มน้ำมันเครื่อง (Oil Pump)


การดูแล “ปั๊มน้ำมันหล่อลื่น”

ปั๊มน้ำมันหล่อลื่นจะเสียได้ก็ต่อเมื่อไม่มีน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันหล่อลื่นขาด เพราะถ้าปั๊มน้ำมันหล่อลื่นมีปัญหาในการทำงาน นั่นหมายถึงไม่มีน้ำมันขึ้นไปหล่อลื่นการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนที่เสีนดสีกันในเครื่องยนต์

1.13) หม้อกรองอากาศ (Air Cleaner)

ทำหน้าที่กรองฝุ่นผงเล็ก ๆ และเศษสิ่งสกปรกทั้งหลายในอากาศ ที่เข้าไปในกระบอกสูบ ซึ่งเป็นห้องเผาไหม้ให้กำลังให้กับเครื่องยนต์


อ้างอิงรูป : http://www.auto2drive.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

หม้อกรองอากาศ (Air Cleaner)


การดูแล “หม้อกรองอากาศ”

โดยปกติแล้วหม้อกรองอากาศจะไม่ค่อยได้รับความเสียหาย แต่ไส้กรองของหม้อกรองอากศ เมื่อใช้งานนาน ๆ ไปฝุ่นผงเล็ก ๆ และเศษสิ่งสกปรกจะติดอยู่ในไส้กรอง ทำให้อากาศไหลเข้าเครื่องยนต์ไม่สะดวก เช่นนั้น เราควรถอดไส้กรองออกมาเป่าฝุ่นทำความสะอาดบ่อย ๆ 

1.14) วาล์ว (Valve)

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลิ้น ทำหน้าที่เปิดให้ก๊าซเข้าสู่กระบอกสูบ และออกจากกระบอกสูบตามจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ นอกจากนี้เครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ จะใช้ช่องพอร์ที่ผนังกระบอกสูบ แทนการใช้วาล์วแบบกลไล


อ้างอิงรูป : http://www.thai.alibaba.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง
ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

วาล์ว (Valve)


การดูแล “วาล์ว”

ปัญหาส่วนใหญ่ของวาล์ ก็คือวาล์วปิดไม่สนิท นั่นหมายถึงอาการวาล์วรั่ว อาการที่เราจะพอ คือ เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ เครื่องสั่น เปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

1.15) หัวเทียน (spark plug)

ทำหน้าที่ให้ประกายไฟฟ้าในการจุดระเบิด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ไอเชื้อเพลิงผสมอากาศภายในกระบอกสูบ


อ้างอิงรูป : http://www.asiadirect.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

หัวเทียน (spark plug)


การดูแล “หัวเทียน”

หมั่นตรวจดูสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ในกรณีรถกระตุกอาจเกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เราควรถอดเอาหัวเทียนออกมาทำความสะอาด ใช้เครื่องมือถอดหัวเทียนออกมา แล้วตรวจดูสภาพของหัวเทียน ทั้งในเรื่องคราบเขม่าสกปรก และระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียน ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีระยะปรับตั้งที่บอกมาเป็นค่ามาตรฐาน ทำความสะอาดด้วยการใช้กระดาษทรายละเอียดขัด และล้างด้วยน้ำมัน เช็ดและเป่าให้แห้ง ทิ้งไว้จนแห้งสนิทแล้วจึงนำไปประกอบกลับคืน

1.16) แบริ่งก้านสูบ ( Connecting Rod Bearing)

แบริ่งก้านสูบจะทำจากทองแดงผสมตะกั่ว เรียกว่า เคลเมต (Kelmet) ที่ผิวหน้าของแบริ่งก้านสูบจะชุบดีบุก เพื่อให้สามารถสัมผัสกับเพลาข้อเหวี่ยงได้ดี แบริ่งก้านสูบสามารถแยกออกเป็น 2 ส่วนได้ คือ ส่วนที่อยู่กับก้านสูบ และส่วนที่ติดอยู่กับฝาประกับก้านสูบ บุชก้านสูบจะท าจากทองแดงผสมตะกั่วเช่นเดียวกับแบริ่งก้านสูบ ที่หน้าบุชจะชุบดีบุกเคลือบไว้ เพื่อช่วยให้ทนทานต่อแรงสั่นสะเทือน แรงกระแทก และความร้อนที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน


อ้างอิงรูป : http://www.thanachartbluebook.com

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง
ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

แบริ่งก้านสูบ ( Connecting Rod Bearing)


การดูแล “แบริ่งก้านสูบ”

การดูแลแบริ่งก้านสูบนั้น เราไม่สามารถที่จะดูแลโดยตรงได้ เพราะแบริ่งก้านสูบอยู่ในห้องเครื่องยนต์ ดังนั้น การดูแลแบริ่งนั้น เราต้องดูน้ำมันหล่อลื่นให้ไม่ขาดจนมากกว่าไป และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะการใช้งาน

1.17) หัวฉีด (Fuel Injection)

คือ ส่วนประกอบหนึ่งในเครื่องยนต์ซึ่งทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปยังห้องเผาไหม้ เพื่อง่ายต่อการจุดระเบิด สร้างกำลังได้เต็มที่และไม่เกิดตกค้างเป็นเขม่าสะสม

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มีอะไรบ้าง

อ้างอิงรูป : http://www.car.boxzaracing.com

การดูแล “หัวฉีด”

ในระบบตัวของหัวฉีดจะมีน้ำมันเชื้อเพลิงแช่เพื่อรอฉีดและทำหน้าที่หล่อลื่นไปพร้อมกัน ในตัวน้ำมันเชื้อเพลิงนี่แหละมันคือสิ่งที่พกพาความสกปรกมาในระบบด้วย สิ่งสกปรกที่สะสมทำให้ทางเดินน้ำมันไม่สะดวก หรืออาจจะมีการอุดตันบางส่วนของรูหัวฉีด ทำให้น้ำมันที่ฉีดออกมาไม่ละเอียด นับวันมีการสะสมของเขม่าจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ด้วย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการล้างหัวฉีดเชื้อเพลิง

ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์4จังหวะมีอะไรบ้าง

การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ และ 2 จังหวะ.
ฝาสูบ (Cylinder Head) ... .
เสื้อสูบ (Cylinder Block) ... .
อ่างน้ำมันเครื่อง (Crank Case) ... .
กระบอกสูบ (Cylinder) ... .
ลูกสูบ (Piston) ... .
ก้านสูบ (Connecting Rod) ... .
เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) ... .
เพลาลูกเบี้ยว (Camshaft).

ชิ้นส่วนหลักของเครื่องยนต์มีกี่ประเภท

2. การแบ่งชิ้นส่วนเครื่องยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ - ชิ้นส่วนที่ไม่เคลื่อนที่ เช่น ฝาสูบ เสื้อสูบ อ่างน ้ามันเครื่อง - ชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ เช่น เพลาข้อเหวี่ยงลูกสูบ แหวนลูกสูบ ก้านสูบ ลิ้น กลไกลขับลิ้น เป็น ต้น ชิ้นส่วนที่ไม่เคลื่อนที่ เช่น เสื้อสูบ กระบอกสูบ ฝาสูบ อ่างน ้ามันเครื่อง เป็นต้น

Cylinder Head คือชื่อชิ้นส่วนใด

1. ฝาสูบ ( Cylinder Head) คือส่วนที่อยู่ตอนบนสุดของเครื่องทาหน้าที่ปิดส่วนบนของ เครื่องและเป็นที่ตั้งของหัวฉีด ลิ้นไอดีลิ้นไอเสีย เป็นต้น

ชิ้นส่วนใดทำหน้าที่รับกำลังงานจากเครื่องยนต์

ลูกสูบเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญของเครื่องยนต์ชิ้นหนึ่งซึ่งเคลื่อนที่ขึ้นและลงอยู่ภายในการบอกสูบทำหน้าที่รับแรงดันที่เกิดจากการเผาไหม้แล้วส่งกำลังผ่านก้านสูบ (Connecting rod) ไปสู่เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) นอกจากนี้ยังทำหน้าที่อัดส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศ (ไอดี) ขับไล่ไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากกระบอกสูบ และทำให้เกิด ...