สารอนุมูลอิสระมีประโยชน์อย่างไร

สารอนุมูลอิสระมีประโยชน์อย่างไร

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)  คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นในร่างกาย เช่น การได้รับมลพิษทางอากาศ การย่อยสลายโปรตีนและไขมันจากอาหารที่กินเข้าไป รวมไปถึงผิวที่ถูกทำลายจากรังสียูวี เป็นต้น ถ้าร่างกายมีการสร้างอนุมูลอิสระเร็วหรือว่ามากเกินไป จนสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) กำจัดไม่ทัน ผลคือจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อได้ นำมาสู่โรคร้ายต่างๆนั้นเอง

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกมากมายที่บ่งชี้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคร้ายแรงขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ตลอดจนโรคอัลไซเมอร์ (เกี่ยวข้องกับสมอง)

สนใจสร้างแบรนด์ครีมกับโรงงานรับผลิตครีมโรงงานผลิตอาหารเสริมคลิกเพื่อดูรายละเอียดได้

  1. สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)  จำเป็นต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน?
  2. สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)  แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?
  3. กระตุ้นการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ในร่างกายได้อย่างไร?
  4. มาทำความรู้จัก แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ
    • วิตามินซี (Vitamin C)
    • วิตามินอี (Vitamin E)
    • ซีลีเนียม (Selenium)
    • บีตาแคโรทีน (Beta – Carotene)
    • วิตามินเอ (Vitamin A)
    • สารประกอบฟีโนลิก (polyphenol)

สารอนุมูลอิสระมีประโยชน์อย่างไร

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)  จำเป็นต่อร่างกายมากน้อยแค่ไหน?

ต้องอธิบายก่อนว่า กระบวนการออกซิเดชั่นในร่างกาย ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ขึ้น ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญในร่างกาย และได้รับมลพิษจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวมา เช่น ฝุ่น ควันบุหรี่ ควันรถยนต์ โอโซน โลหะหนัก

ซึ่งอนุมูลอิสระเหล่านี้ จะเข้ามาทำลายโครงสร้าง และหน้าที่ของผนังเซลล์ ก่อเกิดความผิดปกติ เซลล์ถูกทำลายและเสื่อมได้เร็ว เกิดเป็นโรคชรา หรือแก่ก่อนวัย โรคภัยต่างๆตามมา

โดยปกติร่างกายของคนเรามีการสร้าง สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่ถ้าได้รับปัจจัยที่ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระมาก ร่างกายก็จะไม่สามารถกำจัดออกได้ทัน นำมาสู่โรคต่างๆนั้นเอง ซึ่งคุณสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ได้ 2 วิธีคือ ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระขึ้น และเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย

คุณกำลังหาโลโก้ที่โดนใจ เหมาะกับแบรนด์อยู่ใช่มั้ยคะ วันนี้ BeautyCosmet มีทริคในการทำโลโก้มาบอกกันค่ะ

สารอนุมูลอิสระมีประโยชน์อย่างไร

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)  แบ่งออกเป็นกี่ประเภท?

แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ตามกลไกการทำงานที่แตกต่างกัน

  • Preventive antioxidant ช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ
  • Scavenging antioxidant ช่วยทำลายหรือยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น
  • Chain breaking antioxidant ช่วยทำให้ลูกโซ่ของการเกิดอนุมูลอิสระสิ้นสุดลง หรือการช่วยชะลอการเกิด “ออกซิเดชั่น” ในร่างกาย  ทำให้ร่างกายโทรมน้อยลง ชะลอการแก่เร็ว ชะลอริ้วรอยมากขึ้น และลดโอกาสที่ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย

การที่ร่างกายของคนเราได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่เพียงพอ จะช่วยสร้างภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายไม่เสื่อมถอยก่อนวัยอันควรได้

สารอนุมูลอิสระมีประโยชน์อย่างไร

กระตุ้นการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ในร่างกายได้อย่างไร?

อีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยทำให้ร่างกายของเรา ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่เพียงพอ คือ การพึ่งแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) จากภายนอก โดยการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เข้มข้นสูงนั้นเอง  โดยมักพบได้ในอาหารที่มี วิตามินซี วิตามินอี ซีลีเนียม บีตาแคโรทีน วิตามินเอ สารประกอบฟีโนลิก (Polyphenol) ที่มักพบในชาและสมุนไพรบางชนิด ไอโซฟลาโวน (isoflavones) ที่มักพบในถั่วเหลือง  เป็นต้น

มาทำความรู้จัก แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ

วิตามินซี (Vitamin C)

มักพบใน ผักผลไม้ เช่น  ดอกกะหล่ำ กะปล่ำปลี ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ใบมันสำปะหลัง ส้มต่างๆ มะนาว ฝรั่ง มะขามป้อม มะขามเทศ มะละกอ วิตามินซีจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ  (Antioxidant) ที่จะช่วยปกป้องร่างกายจากความเสื่อม นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างการทำงานของเม็ดเลือดขาว ให้ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายอีกด้วย

วิตามินอี (Vitamin E)

มักพบได้ใน  ไขมันจากพืช เมล็ดถั่ว ผักใบเขียว ธัญพืชต่างๆ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือดแดง ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและการอุดตันของเส้นเลือด ลดการเกิดกระบวนการอักเสบในร่างกายที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ

ซีลีเนียม (Selenium)

มักพบใน ต้นหอม มะเขือเทศ ถั่ว จมูกข้าว หน่อไม้ กระเทียม เมล็ดพืช หอมแดงและหอมใหญ่ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อถูกทำลายอีกด้วย  หากรับประทานควบคู่กับวิตามินอี จะยิ่งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และนอกจากนี้ซีลีเนียมสามารถต้านการเกิดมะเร็งได้เหมือนกัน โดยเฉพาะ มะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะพบว่าเมื่อซีลีเนียมในร่างกายต่ำ ก็จะมีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น

บีตาแคโรทีน (Beta – Carotene)

มักพบใน ผักหวาน ผักตำลึง ผักกวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ชะอม หรือผลไม้สีเหลือง เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก มะเขือเทศสุก เป็นสารชะลอความแก่ เบต้าแคโรทีนให้ผลในการลดความเสื่อมของเซลล์จากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระบวนการแก่

วิตามินเอ (Vitamin A)

มักพบใน ผักใบเขียว ใบเหลือง ไข่แดง ตับ นม เนย ปลา มะเขือเทศ แครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชะลอความแก่, ลดอาการอักเสบของผิว, ช่วยลดเลือนจุดด่างดำได้ วิตามินเอจะมีชื่อเสียงในเรื่องของการลดสิว โดยเฉพาะสิวอักเสบ 

สารประกอบฟีโนลิก (polyphenol)

มักพบในผลไม้ตระกูลเบอร์รีและเครื่องดื่ม เช่น ไวน์แดง ชาสารประกอบฟีโนลิก (polyphenol) มีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชัน ต้านการตายของเซลล์ต้านสารก่อมะเร็ง ต้านการอักเสบ ต้านโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันเนื้อเยื่อและดีเอนเอจากการถูกทำ ลาย ด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชันของอนุมูลอิสระในร่างกายได้

สำหรับใครที่ไม่มีเวลารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยประหยัดเวลาและดูแลสุขภาพของตัวเองไปด้วยพร้อมการ คือการเลือกรับประทานอาหารเสริมที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระครับ เพื่อช่วยเติมสารต้านอนุมูลอิสระเข้าร่างกาย ลดความเสื่อมของเซลล์ ป้องกันโอกาสที่จะเกิดโรคเรื้อรังอื่นๆตามมาได้

ขอบคุณที่มา:Paolohospital  ข้อมูลจาก สสส. BDMS wellness Ampro Health Laservisionthai  Supremeilasik งานวิจัยมหาวิทยาลัย มหาสารคาม