พิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ มีอะไรบ้าง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
และศาสนพิธี

วัฒนธรรมทางศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ ศาสนพิธี หรือพิธีกรรมทางศาสนา สำหรับชาติไทยมีเอกลักษณ์การประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นของตนเอง ศาสนพิธีเหล่านี้แม้จะมิใช่แก่นแท้ของศาสนาเหมือนกับพระธรรมคำสอน แต่ก็ช่วยให้สิ่งที่เป็นก่นดำรงอยู่และเจริญเติบโตได้ฉันนั้น ทั้งนี้ศาสนพิธีมักอยู่ร่วมกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรศึกษาความเป็นมาของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม

1.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

1. วันมาฆบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือนแปดสองหน ก็จะเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญเดือน 4 เมื่อครั้งพุทธกาล

มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในวันนี้ 4 ประการดังนี้

1. พระสาวก 1250 องค์มาประชุมกันโดยทุกองค์ล้วนเป็นพระอรหันต์

2. สาวกเหล่านั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา

3. พระสาวกเหล่านั้นมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายมาก่อน

4. พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

วันมาฆบูชา

ในการประชุมกันวันนั้น ถือเป็นเรื่องอัศจรรย์ 4 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง หลักธรรมเรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์” ดังนี้

ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นตบะสูงสุด พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า พระนิพพานเป็นธรรมสูงสุด คนทำร้ายคนอื่นไม่ใช่บรรพชิต คนเบียดเบียนคนอื่นไม่ใช่สมณะ”

“การไม่ทำชั่วทั้งปวง การทำแต่ความดี การทำใจให้บริสุทธิ์ นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

“การไม่ว่าร้าย การไม่ทำร้าย การสำรวมในปาฏิโมกข์ การรู้จักประมาณในอาหาร การอยู่ในที่สงัด การบำเพ็ญสมาธิ นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา ในตอนเช้าพุทธศาสนิกชนจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด ฟังพระธรรมเทศนา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และในตอนค่ำก็จะนำดอกไม้ ธูปเทียนไปยังวัด พอได้เวลาพระสงฆ์จะประชุมกัน บรรดาฆารวาสก็ยืนตั้งแถวด้านหลังพระสงฆ์ จากนั้นจุดธูปเทียนและเดินเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ 3รอบ

เมื่อเวียนครบ 3 รอบแล้ว จากนั้นเข้าไปในโบสถ์เพื่อทำวัตร สวดมนต์และสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาเรื่อง พระโอวาทปาฏิโมกข์”

วันวิสาขบูชา

2. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ถ้าปีใด มีเดือน 8 สองหน

ก็เลื่อนมาเป็นวันเพ็ญเดือน 7 วันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันวิสาขบูชาคือ “หลักอริยสัจ 4”

หลักอริยสัจ 4 เป็นหัวใจสำคัญของการตรัสรู้ ซึ่งมีดังนี้

  • ทุกข์ ความทุกข์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับบุคคลทุกคนไม่ว่าที่ใด สมัยใด
  • สมุทัย ความทุกข์มีสาเหตุ คือ เกิดจากตัณหาทั้ง 3
  • นิโรธ หมายความถึง ความดับทุกข์
  • มรรค คือ หนทางที่จะพาเราไปสู่ความดับทุกข์

การปฏิบัติตนในวันวิสาขบูชา ปฏิบัติตนเช่นเดียวกับวันมาฆบูชา คือ พุทธศาสนิกชนจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด ฟังเทศน์ สนทนาธรรม เวียนเทียน รักษาศีล 5 ศีล 8 หรือศีลอุโบสถ

วันอัฏฐมีบูชา

3. วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 นับถัดจาก

วันวิสาขบูชาไป 7 วัน เป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

พุทธศาสนิกชนพึงรำลึกว่าแม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ทรงเพรียบพร้อมทุกอย่างยังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ดังนั้นจึงพึงยึดหลักธรรมว่าด้วย “อัปปมาทะ”

(ความไม่ประมาท) ดังปัจฉิมพุทธโอวาทว่า “เธอทั้งหลายพึงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

การปฏิบัติตนในวันอัฏฐมีบูชา ในวันนนี้พระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาจะประกอบพิธีบูชาขึ้นเป็นการเฉพาะภายในวัด นิยมทำในตอนค่ำ และปฏิบัติอย่างเดียวกับการประกอบพิธีวิสาขบูชา จะต่างกันแต่คำบูชาเท่านั้น

วันอาสาฬหบูชา

4. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8วันนี้ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทั้งยังเป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้ ดวงตาเห็นธรรม

และได้รับการอุปสมบทเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา

การปฏิบัติตนในวันอาสาฬหบูชา ก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา พระภิกษุ สามเณร มรรคนายก พุทธศาสนิกชนที่ว่าเว้นจากหน้าที่การงานประจำ ก็จะช่วยกันปัดกว่า ปูลาดเสนาสนะ จัดเตรียมเครื่องสักการะ เช่นเดียวกับวันวิสาขบูชา

ตอนเช้าพุทธศาสนิกชนจะไปร่วมทำบุญตักบาตรที่วัด ฟังเทศน์ และบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ต่งๆ ตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ เสร็จแล้วเข้าไปทำวัตรค่ำในพระอุโบสถ จากนั้นพระเถระผู้ใหญ่ขึ้นธรรมาสน์ แสดงพระธรรมเทศนา ชื่อ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร”

2. หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ

1. วันธรรมสวนะ หรือวันพระ คือวันกำหนดประชุมฟังธรรมโดยถือว่าการฟังธรรมตากกาลที่กำหนดไว้เป็นประจำ ย่อมก่อให้เกิดปัญญาและสิริมงคลแก่ผู้ฟัง วันกำหนดฟังธรรมนี้ในเดือนหนึ่งมี 4 วัน คือ วันขึ้นและแรม 8 ค่ำ

วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ

หลักธรรมประการหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องในวันธรรมสวนะ อันเป็นข้อหนึ่งในมงคล 38 คือ “กาเลน ธัมมสากัจฉา” หมายความว่า สนทนาธรรมตามกาล

วันธรรมสวนะ

การสนทนาธรรมจะได้ผลดีตามที่ต้องการพึงปฏิบัติ ดังนี้

1. มุ่งแสวงหาธรรมจริงๆ คือ มิใช่มาสนทนากันเพื่อตีฝีปาก แต่มาเพื่อแสวงหาคำตอบในสิ่งที่ยังเป็นปัญหา

2. รักษามารยาทในการสนทนา คือ พูดจาด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ ด้วยเหตุผล

3. ไม่ดูหมิ่นคู่สนทนา ควรตั้งใจฟังขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด และเคารพในความคิดเห็นของเขา

4. ไม่ดูหมิ่นตนเอง การดูหมิ่นตัวเอง คือ การมีใจลำเอียงว่าเขาจะต้องถูกเสมอและเราจะต้องผิดเสมอ การดูหมิ่นตัวเองทำให้เราไม่กล้าคิดที่จะเห็นต่างไปจากเขา

5. ยึดถือเหตุผลอย่ายึดถือบุคคล การที่เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดของคู่สนทนา ควรดูที่เหตุผล อย่าไปดูว่าเขาเป็นใคร

การปฏิบัติตนในวันธรรมสวนะ พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ คือ ในตอนเช้าพระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ประชุมพร้อมกันที่พระอุโบสถ พระสงฆ์ทำวัตร สวดมนต์ เริ่มด้วยนมัสการพระรัตนตรัย และสวดบททำวัตรเช้าไปจนจบ หลังจากนั้นฆารวาสก็ทำวัตร สวดมนต์ จากนั้นก็มีการรับศีล 5 หรือศีล 8 จากนั้นก็ฟังเทศน์

วันเทศกาลสำคัญ

2. วันเทศกาลสำคัญ วันเทศกาลสำคัญที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนา ได้แก่ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันเทโวโรหณะ

2.1 วันเข้าพรรษา คือวันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะอยู่ประจำในอาวาสตลอด 3 เดือน โดยไม่ไปแรมคืนในที่อื่น วันเข้าพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ตามประวัติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาลพระภิกษุได้จาริกไปยังที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน ทำให้ไปเหยียบต้นข้าวของชาวบ้านเสียหาย พุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอดเวลา 3 เดือน

การปฏิบัติตนในวันเข้าพรรษา พิธีกรรมในวันเข้าพรรษา แบ่งได้เป็น ๒ ส่วน ดังนี้

1. พิธีของพระภิกษุสงฆ์ เมื่อวันเข้าพรรษา พระภิกษุเพียงแต่ตั้งจิตอธิษฐานว่า “ข้าพเจ้าจักอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้ เป็นเวลา 3 เดือน” นอกจากนี้พระผู้น้อยจะกล่าวคำขอขมาต่อพระผู้ใหญ่มีใจความว่า “ขอให้ท่านจงอดโทษทั้งปวงที่ทำด้วยไตรทวาร เพราะความประมาทในท่านแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”

2. พิธีของพุทธศาสนิกชน เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา บิดามารดาจะประกอบพิธีอุปสมบทให้แก่บุตรของตนที่มีอายุครบบวช และพุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร แห่เทียนพรรษาซึ่งได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามไปตามวัดที่ตนนับถือ และถวายผ้าอาบน้ำฝนและฟังธรรม

2.2 วันออกพรรษา คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา 3 เดือน

ในวันนี้พระสงฆ์จะเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ด้วยกันกล่าวตักเตือนกันได้

2.3 วันเทโวโรหณะ คือวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกในวันมหาปวรณา (ขึ้น15 ค่ำเดือน 11) พุทธศาสนิกชนถือเอาวันรุ่งขึ้นคือ แรม 1 ค่ำเดือน 11 เป็นโอกาสพิเศษ พร้อมใจกัน “ตักบาตรเทโวโรหณะ”

การปฏิบัติตนในวันออกพรรษาและวันเทโวโรหณะ

ในวันออกพรรษา บางวัดจัดทำพิธีอย่างใหญ่โตมาก เรียกว่า “ตักบาตรเทโว” คำว่า “เทโว” ย่อมาจาก “เทโวโรหณ” แปลว่า การเสด็จลงมาจากเทวโลก ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธองค์เสด็จไปจำพรรษาโปรดพระพุทธมารดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระพุทธองค์ก็เสด็จกลับมาสู่โลกมนุษย์ในวันนี้คือ วันมหาปวารณา

กล่าวคือ เหล่าฆราวาสจะชะลอพระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐานอยู่ในบุษบก มีล้อเลื่อน และมีบาตรตั้งอยู่หน้าพระพุทธรูป นำหน้าพระสงฆ์ผ่านไปรอบๆ บริเวณโบสถ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนตักบาตร อาหารคาวหวาน ผลไม้ ข้าวต้มมัดไต้ หลังทำบุญเสร็จก็ฟังเทศนา รักษาศีล 5 ศีล 8

ศาสนพิธี

มี 2ประเภท ดังนี้

1.ศาสนพิธีเนื่องด้วยพุทธบัญญัติ

2. ศาสนพิธีที่นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง

ศาสนพิธีเนื่องด้วยพุทธบัญญัติ

คือ พิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นแก่สงฆ์

ที่พึงบัญญัติดังนี้

1. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

-โดยให้ผู้ที่แสดงตนกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย

2.พิธีเวียนเทียน จะกระทำในวันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา

3.พิธีถวายสังฆทาน สังฆทาน แปลว่า การให้แก่สงฆ์โดย ไม่เจาะจงบุคคล โดยจะต้องกล่าวคำถวายสังฆทาน

คำถวายสังฆทาน

ตั้งนโม 3 จบ

“. อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ

โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุ สังโฆ   อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารนิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหาร

กับของที่เป็นบริวาร ทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ

ซึ่งภัตตาหารกับของ ที่เป็นบริวารทั้งหลาย เหล่านี้ เพื่อประโยชน์

เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ

4. พิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน นางวิสาขาเป็นผู้กราบทูลอนุญาต ให้มีผ้าอาบน้ำฝน และทรงอนุญาต

5.พิธีทอดกฐิน กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้ที่นำมาทำโครง เย็บ จีวร สังฆกรรมที่สงฆ์ตัดเย็บเสร็จแล้วมอบหมายให้พระรูป

ใดครองจีวรนี้ เรียกว่า กรานกฐิน

วัตถุประสงค์ของการทอดกฐิน เพื่อให้พระสงฆ์ได้เปลี่ยนผ้าจีวร

ต้นเหตุของกฐิน มีภิกษุเดินทางไปเมืองสาวัตถีต้องบุกน้ำ ลุย โคลน ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงอนุญาตให้พระสงฆ์เปลี่ยนจีวรใหม่ ได้โดยกำหนดเอาวันออกพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 11ถึง วันขึ้น 15 เดือน 12 จึงกลายเป็นประเพณีทอดกฐิน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

พิธีกรานกฐิน คือเนื่องจากมีภิกษุจำพรรษาจำนวนมากจึง ต้องมีการคัดเลือกพระสงฆ์เพียงหนึ่งรูปเพื่อครองกฐิน ส่วนที่เหลือร่วมอนุโมทนา กรานกฐิน จะต้องมีภิกษุร่วม พิธีอย่างน้อย จำนวน 5 รูป

คุณสมบัติของผู้กรานกฐิน พระสงฆ์ที่ได้รับคัดเลือก จะต้องรู้วิธีกล่าวคำถอนผ้าผืนเก่าให้ถูกต้องและรู้จักอธิ ฐานไตรจีวร คือ รู้ว่าเวลาจะใช้ผ้าผืนใหม่ชนิดใดต้อง กล่าวคำอธิฐานว่าอย่างไร

6. พิธีปวารณา

การปวารณา หมายถึง การที่พระสงฆ์เปิดโอกาสให้

ว่ากล่าวตักเตือนผู้ที่ทำผิดวินัยได้ไม่ว่าจะเป็นพระผู้ใหญ่

หรือพระผู้น้อยก็ตาม

กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า วันปัณรสี

แต่ถ้าพระสงฆ์ไม่พร้อมก็จะเลื่อนไปเป็น วันแรม 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า วันจาตุทสี

ศาสนพิธีที่นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง

คือ พิธีทำบุญเลี้ยงพระ แบ่งได้ดังนี้

1. การทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคล

2. การทำบุญเลี้ยงพระในงานอวมงคล เกี่ยวกับการตาย

1. การทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคล

ขั้นตอนในการปฏิบัติพิธี มีดังนี้

1. อาราธนาพระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ จะนิมนต์ไม่ต่ำกว่า 5 รูป จะเป็น 7 หรือ 9 รูปก็ได้ รวมทั้งไม่นิยมนิมนต์เป็นจำนวนคู่ ยกเว้นงานแต่งงาน

3. ดูแลรักษาและตกแต่งสถานที่บริเวณพิธี ควรดูแลบริเวณที่จะประกอบพิธีให้สะอาดเรียบร้อยเพื่อให้เป็นสิริมงคล ตกแต่งสถานที่ให้สวยงามตามกำลัง

2. เตรียมที่ตั้งพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชา ปัจจุบันนิยมเรียกว่า “โต๊ะหมู่บูชา” เป็นที่ตั้งพระพุทธรูป ประกอบด้วยโต๊ะตัวเล็ก 5 ตัว ปูผ้าขาว หันหน้าโต๊ะออกมาทางเดียวกับพระสงฆ์

4. วงด้ายสายสิญจน์ ปัจจุบันนิยมวางสายสิญจน์ไว้บนโต๊ะหมู่บูชาเท่านั้น แล้วโยงมาที่ภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ การโยงสายสิญจน์ไม่ควรวางต่ำจนคนเดินข้าม วงสายสิญจน์จากซ้ายไปขวา

การทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคล

5. อัญเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนโต๊ะบูชา ควรทำเมื่อใกล้จะประกอบพิธี พระพุทธรูปนั้นจะเป็นพระอะไรก็ได้ ขนาดไม่เล็กเกินไป ควรสรงน้ำเสียก่อนที่จะนำมาตั้ง

7. เตรียมเครื่องรับรองพระสงฆ์ เช่น น้ำร้อน น้ำเย็น กระโถน

6. ปูลาดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ หากปูอาสนะบนพื้นธรรมดา จะใช้เสื่อหรือพรมก็ได้ อย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับอาสนะผู้ร่วมงานเป็นอันเดียวกัน สำหรับพระสงฆ์ควรปูทับด้วยผ้าอีกชั้น

8. ตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์ หากไม่มีครอบน้ำมนต์ จะใช้บาตรของพระหรือขันน้ำที่มีพานรองแทนก็ได้ หาน้ำสะอาดใส่ที่ปากบาตรหรือขันน้ำให้ติดเทียนขี้ผึ้งแท้ เมื่อเสร็จแล้วนำไปไว้หน้าโต๊ะบูชา

9. จุดธูปเทียนและดำเนินพิธีตามลำดับ เมื่อพระสงฆ์มาถึง เจ้าภาพต้อนรับพระสงฆ์ไปยังอาสนะแล้ว ประเคนเครื่องรับรอง เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่โต๊ะบูชา ต่อจากนั้นจึงดำเนินพิธีการไปตามลำดับ

10. เลี้ยงพระ หลังจากพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว ก็ให้ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เสร็จแล้วถวายไทยธรรม ต่อจากนั้นพระสงฆ์อนุโมทนา

11. การกรวดน้ำ เมื่อพระฉันภัตตาหารเสร็จและถวายไทยธรรมแล้ว การกรวดน้ำเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย กระทำทั้งในงานมงคลและอวมงคล เมื่อพระผู้เป็นประธานเริ่มสวดว่า “ยถา วาริวหา” เจ้าภาพก็เริ่มหลั่งน้ำอุทิศส่วนกุศล ขณะรินน้ำควรอุทิศส่วนกุศลว่า “อิทํ เม ญาตีนํ โหตุ, สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย”

การทำบุญงานอวมงคล หมายถึง การทำบุญเกี่ยวกับเรื่องการตาย นิยมทำกันอยู่ 2 อย่าง คือ ทำบุญหน้าศพที่เรียกกันว่าทำบุญ 7 วัน 50 วัน หรือ 100 วัน กับทำบุญอัฐิหรือทำบุญปรารภ

การตายของบรรพบุรุษ

2. การทำบุญเลี้ยงพระในงานอวมงคล

การทำบุญดังกล่าวมีขั้นตอนเหมือนการทำบุญเลี้ยงพระในงานมงคล แต่มีข้อแตกต่างดังนี้

  • นิยมอาราธนาพระสงฆ์ 8 รูป หรือ 10 รูป และใช้คำว่า “ขออราธนาสวดพระพุทธมนต์”
  • ไม่ต้องวงสายสิญจน์ ไม่ต้องตั้งภาชนะสำหรับทำน้ำมนต์
  • เตรียมสายสิญจน์หรือภูษาโยงต่อจากศพหรือโกฏใส่กระดูก

ศาสนพิธีมีความหมายว่าอย่างไร

ศาสนพิธี คือ พิธีกรรมหรือระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่ดีงาม เปรียบเสมือนเครื่องห่อหุ้มศาสนาไว้ให้ ศาสนิกชนได้เห็นและปฏิบัติได้ถูกต้อง พิธีกรรมที่ประกอบขึ้นเป็นระเบียบสวยงาม เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่ ผู้พบเห็น และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านจิตใจ

พิธีกรรมในข้อใดที่ปฏิบัติในทุกวันสำคัญทางพุทธศาสนา

1. ทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 2. ร่วมการเวียนเทียน 3. ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก

ศาสนพิธีเกิดขึ้นได้อย่างไร

ศาสนพิธี เป็นพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งถือปฏิบัติเป็นแบบอย่าง เป็นธรรมเนียมสืบต่อกัน มา เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามเป็นแบบเดียวกัน เหตุให้เกิดศาสนพิธีนี้คือความนิยมท าบุญ ของพุทธศาสนิกชนซึ่งไม่ว่าจะปรารภเหตุอะไรท ากัน ก็มักจะให้ตรงและครบตามหลักวิธีท าบุญในทาง พระพุทธศาสนา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะแนวไว้๓ หลัก คือ

ศาสนพิธีมีคุณค่าต่อพุทธศาสนิกชนอย่างไร *

ศาสนพิธีที่ชาวพุทธปรารภจัดขึ้นโดยผ่านศาสนพิธีแบบใดแบบหนึ่ง ย่อมจะแสดงออกถึงคุณค่าและประโยชน์อย่างน้อย 2 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านจิตใจของผู้ประกอบศาสนพิธี 2.ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม