พรหมวิหาร 4 คือหลักความประพฤติ 4 ประการได้แก่อะไรบ้าง

พรหมวิหาร คือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจอันประเสริฐ หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ เป็นธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ ผู้ที่มีพรหมวิหารธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จะดำเนินชีวิตด้วยความบริสุทธิ์หมดจด และปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายโดยชอบธรรม พรหมวิหาร มี 4 อย่าง คือ

1. เมตตา

เมตตา คือ ความรัก (ความรักที่ปราศจากราคะ) ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญ ความคิดอยากจะทำคุณประโยชน์แก่คนรอบข้างเพื่อให้เขามีความสุขความเจริญ

2. กรุณา

กรุณา คือ ความสงสาร ความปรารถนาอยากจะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ เห็นคนอื่นสัตว์อื่นตกทุกข์ได้ยากแล้วอยากจะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากภาวะเช่นนั้น ความมีใจฝักใฝ่ในอันที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่นสัตว์อื่น

3. มุทิตา

มุทิตา ความพลอยยินดีในเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข คือเมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุขความเจริญ ก็พลอยมีใจแช่มชื่นยินดีไปกับเขาด้วยใจจริง ไม่มีความริษยา ไม่ขุ่นเคืองใจเมื่อคนอื่นได้ดีกว่าตน มีแต่ความแช่มชื่นเบิกบานใจ

4. อุเบกขา

อุเบกขา ความวางเฉย คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือ มีจิตเที่ยงตรงเที่ยงธรรม ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน

ผู้ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตากรุณา และย่อมรักษาธรรมไว้ได้ด้วยอุเบกขา ดังนั้น แม้จะมีกรุณาที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์แต่ก็ต้องมีอุเบกขาด้วยที่จะมิให้เสียธรรม

พรหมวิหาร 4 นี้เรียกอีกอย่างว่า อัปปมัญญา เพราะแผ่สม่ำเสมอโดยทั่วไปในมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต

ใช้ในการครองใจผู้ใต้บังคับบัญชา ประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา แต่ละส่วนนั้นสามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารได้ดังต่อไปนี้

เมตตา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข

          ในยามที่ลูกน้องมีความสุข หน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัวดำเนินไปได้อย่างราบรื่น เจ้านายก็ควรสนับสนุน ส่งเสริมให้พวกเขาได้มีความสุขกับชีวิตอย่างยั่งยืน คอยหมั่นสังเกตและซักถามความเป็นอยู่ของลูกน้อง จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าหัวหน้าเอาใจใส่และห่วงใยพวกเขาจากใจจริง เกิดเป็นความสัมพันธ์ที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมให้การบริหารเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์

          ในยามที่ลูกน้องประสบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว หัวหน้าก็ควรจะยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม เวลานี้เป็นเวลาที่คนเราต้องการการสนับสนุนมากที่สุด ซึ่งหลายครั้งสิ่งที่พวกเขาต้องการอาจเป็นแค่เพียงคำพูดที่สร้างแรงบันดาลใจหรือคำพูดที่ให้กำลังก็เป็นได้ สิ่งที่สำคัญคือ หัวหน้าจะต้องไม่ทอดทิ้งกันในวันที่พวกเขามีปัญหา

มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

          ในยามที่ลูกน้องประสบความสำเร็จ ทำผลงานได้ดี ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง เจ้านายก็ควรแสดงความยินดีด้วยจากใจจริง อย่ากลัวว่าลูกน้องจะได้ดีขึ้นมาจนเหนือตนเอง แต่กลับควรจะส่งเสริมอย่างเต็มที่และภาคภูมิใจเสียด้วยซ้ำว่าคนที่ตนเองดูแลมาตั้งแต่ต้นกำลังได้รับความก้าวหน้า เหมาะสมกับความสามารถและความทุ่มเทที่เขามีให้กับองค์กร

อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย ทำใจเป็นกลาง ไม่ปฏิบัติเอนเอียงด้วยความรักหรือชัง

          อย่างไรก็ตาม ความหวังดีควรมีขอบเขตและตั้งอยู่บนความยุติธรรม มีหลายครั้งที่แม้หัวหน้าอาจจะเกิดความปรารถนาอยากช่วยเหลือลูกน้องในยามที่เดือดร้อน แต่หากสิ่งที่ลูกน้องทำเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง เช่น มีการยักยอก คดโกงบริษัท ทำผิดกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ต่อให้เป็นลูกน้องคนสนิทก็ไม่ควรยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ควรปล่อยให้เขาได้รับผลจากการกระทำไปตามที่ควรจะเป็น

          จะเห็นได้ว่าหลักพรหมวิหาร 4 นี้ ครอบคลุมทุกสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับทุกเรื่องในชีวิต ไม่ใช่เฉพาะกับเรื่องการทำงาน ไม่จำกัดเฉพาะคนที่เป็นเจ้านาย แต่คนที่เป็นลูกน้องก็สามารถใช้หลักการนี้ในการดำเนินชีวิตได้เช่นกัน หากต่างฝ่ายต่างอยู่ร่วมกันด้วยความปรารถนาดีต่อกันเช่นนี้ ที่ทำงานและสังคมของเราคงจะเป็นสถานที่ที่อบอุ่นด้วยความสามัคคี ปรองดอง มีความสุขกันทุกฝ่ายค่ะ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

พรหมวิหาร 4 คือหลักความประพฤติ 4 ประการได้แก่อะไรบ้าง

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

“รักษางานให้ดี รักษาใจให้เป็นสุข” ธรรมะหรรษา พาให้ใจเป็นสุข

ทฤษฎีการบริหาร ของท่าน ว.วชิรเมธี

หลักปฏิบัติของนายจ้าง  หลักปฏิบัติของผู้บริหาร  หลักปฏิบัติของหัวหน้า  หลักปฏิบัติของเจ้านาย

บทความยอดนิยม

พรหมวิหาร 4 คือหลักความประพฤติ 4 ประการได้แก่อะไรบ้าง

Web 3.0 คืออะไร สายงาน IT อัปเดตด่วน

เมื่อเราอยู่ในยุคที่โลกแห่งเทคโนโลยีพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เรื่องราวของอินเทอร์เน็ตก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญของคนในยุคนี...

พรหมวิหาร 4 คือหลักความประพฤติ 4 ประการได้แก่อะไรบ้าง

10 อันดับภาษาโปรแกรมมิ่งมาแรงที่ควรศึกษา 2022

ในยุคที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างฉับไว เพียงเสี้ยววินาที หลาย ๆ อย่างในชีวิตคุณก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยเทคโนโลยีและอิ...

พรหมวิหาร 4 คือหลักความประพฤติ 4 ประการได้แก่อะไรบ้าง

เรียนจบอะไร ทำงาน IT ได้บ้าง

งานด้านไอที หรือ Information Technology ที่เป็นอีกหนึ่งสายงานที่ได้รับความนิยมไม่แพ้สายงานอื่นๆ จนที่เป็นต้องการในตลาดค่...

ข้อใดเป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมอุเบกขาในพรหมวิหาร 4

อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควร ...

หลักพรหมวิหาร 4 ที่สอนให้เรายินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีคือข้อใด

3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อน ...

พรหมวิหาร 4 ศาสนา อะไร

พรหมวิหาร 4” คือ หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวถือปฏิบัติในทางอันประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม ผู้ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่ เมตตา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับความสุข

พรหมวิหารธรรมคืออะไร

สรุป คำาว่า “พรหมวิหารธรรมคือ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม หรือธรรมประจำาใจของพรหม หรือธรรมเครื่องอยู่ อย่างประเสริฐ ธรรมประจำาใจอันประเสริฐ หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักของจิตใจและกำากับ ความประพฤติ หรือเป็นธรรมที่ใช้ในการยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้ปกครอง ท่านผู้ใหญ่ ถ้าปฏิบัติตนโดยใช้ ...