การจัดทํารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental  Impact  Assessment : EIA)  เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืน  โดยอาศัยหลักวิชาการในการคาดการณ์  หรือทำนายผลกระทบทั้งทางบวก  และทางลบที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆซึ่งจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้าน  ทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ  เศรษฐกิจและสังคม เพื่อที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันผลกระทบให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด     เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อจำแนกและคาดคะเนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการ/กิจกรรมตลอดจนเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation  Measure)  และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Monitoring  Plane)  ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินโครงการ   การทำ EIA  นั้นเป็นข้อบังคับตามกฎหมาย โดยเป็นเครื่องมือในป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาโครงการต่างๆ

การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม  Environmental  Impact  Assessment  ย่อว่า  EIA)    หมายถึง  การประเมินผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสุขภาพของมนุษย์  หรือความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบ  รวมทั้งความเสี่ยงที่จะมีผลต่อสภาพความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อธรรมชาติ  ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรง  การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาจนิยามได้ว่าเป็น  "กระบวนการเพื่อการบ่งชี้  ทำนาย  ประเมิน  และบรรเทาผลกระทบทางชีวภาพ  สังคม  และผลกระทบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่มีต่อข้อเสนอการพัฒนาใดๆ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจให้ลงมือดำเนินได้

วัตถุประสงค์ของการจัดทำ  EIA

1.  เพื่อจำแนกและคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ที่อาจจะเกิดจากโครงการทั้งด้านบวก    และลบ

2.  เพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบทางลบ  และปรับโครงการให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ตั้งโครงการ  ซึ่งจะสามารถช่วยให้มีทางเลือกมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและ   มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติมากกว่าการแก้ไขที่จะดำเนินการภายหลัง

3.  เป็นแนวทางในการกำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่างๆ

4.  เป็นการนำเสนอข้อมูลหรือทางเลือกในการดำเนินโครงการแก่เจ้าของโครงการ  เพื่อใช้ประกอบการวางแผนและตัดสินใจในการดำเนินโครงการ

องค์ประกอบของ  EIA

การจัดทำ  EIA  ประกอบด้วย  การศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน  คือ

1.  ทรัพยากรกายภาพ  เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ  เช่น  ดิน  น้ำ  อากาศ  เสียง  ว่าจะมี         การเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

2.  ทรัพยากรชีวภาพ  การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่มีต่อระบบนิเวศ  เช่น  ป่าไม้  สัตว์ป่า  สัตว์น้ำ  ปะการัง  เป็นต้น

3.  คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์  เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร            ทั้งทางกายภาพและชีวภาพของมนุษย์  เช่น  การใช้ประโยชน์ที่ดิน

4.  คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต  ซึ่งจะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อมนุษย์  ชุมชน  ระบบ                      เศรษฐกิจ  การประกอบอาชีพ  วัฒนธรรมประเพณี  ความเชื่อ  ค่านิยม  รวมถึงทัศนียภาพ  คุณค่า    ความสวยงาม

ตารางที่ 7.1  โครงการที่ต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจกรรม

ขนาด

1.

เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ

ที่มีปริมาณเก็บกักน้ำตั้งแต่ 100,000,000 ลบ.ม.ขึ้นไป  หรือมีพื้นที่เก็บกักน้ำตั้งแต่ 15 ตร.กม. ขึ้นไป

2.

กรมชลประทาน

ที่มีพื้นที่การชลประทาน ตั้งแต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป

3.

สนามบินพาณิชย์

ทุกขนาด

4.

โรงแรมหรือสถานที่พักตากออากาศ

ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป

5.

ระบบทางพิเศษตางกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษหรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับทางพิเศษหรือระบบขนส่งมวลชนที่ใช้ราง

ทุกขนาด

6.

การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่

ทุกขนาด

7.

นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่านิคมอุตสาหกรรมหรือโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหกรรม

ทุกขนาด

8.

ท่าเรือพาณิชย์

ที่สามารถรับเรือขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป

9.

โรงไฟฟ้าพลังความร้อน

ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกกะวัตต์ขึ้นไป

10.

การอุตสาหกรรม

(1)  อุตสาหกรรมเปโตรเคมีที่ใช้วัตถุซึ่งได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และ/หรือการแยกก๊าซธรรมชาติในกระบวนการผลิต

ตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป

(2)  อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

ทุกขนาด

ตารางที่ 7.1  โครงการที่ต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ต่อ)

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจกรรม

ขนาด

(3) อุตสาหกรรมแยกหรือแปลสภาพก๊าซธรรมชาติ

ทุกขนาด

(4)  อุตสาหกรรมคลอ-แอลคลอไลน์ที่ใช้ในการผลิตโซเดียมคาร์บอเนต  โซเดียมไฮดรอกไซด์  กรดไฮโดรคลอริคคลอรีนโซเดียมไฮโพ-   คลอไรด์และปูนคลอรีน

ที่มีกำลังการผลิตสารดังกล่าวแต่ละชนิดหรือ
รวมกันตั้งแต่ 10 ตันต่อวันขึ้นไป

(5)  อุตสาหกรรมเหล็กและ/หรือเหล็กกล้า

ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 100 ตันต่อวันขึ้นไป

(6)  อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์

ทุกขนาด

(7)  อุตสาหกรรมถลุงแร่หรือหลอมโลหะซึ่งมิใช่อุตสาหกรรมเหล็กหรือเหล็กกล้า

ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป

(8)  อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ

ที่มีกำลังผลิตตั้งแต่ 50 ตันต่อวันขึ้นไป

11.

โครงการทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น   1 บี

ทุกขนาด

12.

การถมที่ดินในทะเล

ทุกขนาด

13.

อาคารที่ตั้งอยู่ริมน้ำ  ฝั่งทะเล  ทะเลสาบ  หรือ ชายหาด หรือที่อยู่ใกล้  หรือในอุทยานแห่งชาติ  หรืออุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

1.  ความสูงตั้งแต่ 23.00 เมตร  ขึ้นไปหรือ
2.  มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดใน
หลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป

14.

อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป

15.

การจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อประกอบการพาณิชย์

จำนวนที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลงขึ้นไป
หรือเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่

16.

โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
(1)  กรณีตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล  ทะเลสาบ  หรือชายหาด ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม

1.ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป
2.ที่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตั้งแต่ 60 เตียงขึ้นไป

ตารางที่ 7.1  โครงการที่ต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ต่อ)

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจกรรม

ขนาด

(2)  กรณีโครงการที่ไม่อยู่ในข้อ (1)

17.

อุตสาหกรรมผลิตสารออกฤทธิ์หรือสารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชสัตว์โดยกระบวนการทางเคมี

ทุกขนาด

18.

อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีโดยกระบวนการทางเคมี

ทุกขนาด

19.

ทางหลวงหรือถนนซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ตัดผ่านพื้นที่ดังต่อไปนี้
(1)  พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
(2)  พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
(3)  พื้นที่เขตลุ่มน้ำชั้น 2 ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว
(4)  พื้นที่เขตป่าชายเลนที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
(5)  พื้นที่ชายฝั่งทะเลในระยะ 50 เมตร ห่างจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด

ทุกขนาดที่เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานต่ำ
สุดของทางหลวงชนบทขึ้นไปโดยรวมความถึงการก่อสร้างคันทางใหม่เพิ่มเติมจากคันทางที่มีอยู่

20.

โรงงานปรับปรุงคุณภาพของเสียรวม เฉพาะสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

ทุกขนาด

21.

อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาล
ดังต่อไปนี้

(1)  การทำน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์  น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
(2)  การกลูโคส  เดกซ์โทรส  ฟรักโทส         หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน

ทุกขนาด

22.

การพัฒนาปิโตรเลียม
(1)  การสำรวจและ/หรือผลิตปิโตรเลียม

ทุกขนาด

ตารางที่ 7.1  โครงการที่ต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ต่อ)

ลำดับ

ประเภทโครงการหรือกิจกรรม

ขนาด

(2)  ระบบการขนส่งปิโตรเลียมและน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ