การกําจัดของเสียของไตมี 3 ขั้นตอน อะไรบ้าง

ไตเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญกับร่างกาย ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายและหน้าที่อื่นอีกหลายอย่าง ดังนั้นการดูแลไตจึงเป็นสิ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อที่ไตจะได้คงสภาพการทำงานต่อไปได้

ตำแหน่งและลักษณะของไต

คนปกติมีไตอยู่ 2 ข้างด้วยกัน ลักษณะของไตจะคล้ายเมล็ดถั่วแดง แต่ละข้างวางตัวในลักษณะแนวตั้ง ขนานกับกระดูกไขสันหลังช่วงเอว ฝังตัวติดกับผนังลำตัวของแผ่นหลัง หรือถ้าจะให้ทำความเข้าใจง่ายๆ ตำแหน่งของไตจะอยู่บริเวณสีข้างของร่างกาย โดยไตข้างซ้ายจะวางตัวสูงกว่าไตข้างขวาเล็กน้อย เนื่องจากด้านบนไตข้างขวาเป็นตำแหน่งของตับ ซึ่งไตทั้ง 2 ข้างนั้นจะหันส่วนเว้าหรือที่เรียกว่า ขั้วไต เข้าหากระดูกไขสันหลัง

ส่วนของเนื้อไต จะประกอบไปด้วยหน่วยไต (nephron) ในไตแต่ละข้างจะมีหน่วยไตอยู่ประมาณ 1 ล้านหน่วย ทำหน้าที่สำคัญในการกรองพลาสมา (plasma) ซึ่งก็คือน้ำเลือด ปรับส่วนประกอบและความเข้มข้นของปัสสาวะ โดยหน่วยไตแต่ละหน่วยจะทำงานเป็นอิสระต่อกัน จนถึงจุดเชื่อมที่หลอดไตฝอยรวม (collecting duct) ปัสสาวะที่ผลิตได้จากแต่ละหน่วยไตจึงไหลรวมกันเข้าสู่หลอดไตฝอยรวม กรวยไต และท่อไตตามลำดับ ไปสะสมรวมกันอยู่ที่กระเพาะปัสสาวะเพื่อรอการขับทิ้งออกจากร่างกายต่อไป

หน้าที่ของไต

หน้าที่ซึ่งเด่นชัดมากที่สุดของไต คือ การขับของเสียออกจากร่างกายด้วยการผลิตปัสสาวะให้มีปริมาณของส่วนประกอบและปริมาตรที่เหมาะสม เป็นการรักษาสมดุลของน้ำกับแร่ธาตุในร่างกาย โดยหน้าที่ในส่วนนี้ทั้งหมดจะทำงานโดยหน่วยไต นอกจากนั้นไตยังมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ด้วย เช่น การกระตุ้นวิตามินดี (vitamin D) เพื่อช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และการหลั่งเอนไซม์เรนิน (renin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต

วิธีการดูแลไต

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย

    การดื่มน้ำที่เพียงพอนั้นเปรียบเสมือนการช่วยให้ไต ไม่ต้องทำงานหนักเนื่องจากไม่ต้องกรองน้ำเลือดที่ข้นหนืด คำแนะนำทั่วไปคือ ควรดื่มน้ำ 8-10 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) ต่อวัน หรือตามที่ Institute of Medicine (IOM) ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำ คือ ควรดื่มน้ำเฉลี่ย 3.7 ลิตรต่อวันในผู้ชาย และเฉลี่ย 2.7 ลิตรต่อวันในผู้หญิง

  • รับประทานอาหารและใช้อาหารเสริมอย่างเหมาะสม

    การรับประทานอาหารที่เหมาะสม เสมือนเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งในการดูแลสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รสหวานและเค็มนั้น มักนำมาด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตามลำดับ นอกจากนั้นการรับประทานอาหารเสริมบางชนิดที่มากเกินความจำเป็นก็มีโอกาสที่จะทำให้เกิดความผิดปกติที่ไตได้

  • ป้องกันการกระทบกระแทกบริเวณสีข้าง

    การถูกตีหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณสีข้าง อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไตวายได้เนื่องจากเป็นตำแหน่งของไต ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอันตรายหรืออุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การเหยียบหรือการต่อตัวโดยใช้บริเวณหลังของร่างกายเป็นฐาน เป็นต้น

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

    การตรวจร่างกายเป็นประจำเป็นสิ่งที่ควรกระทำอยู่แล้วในการดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของโรคนั้นๆ ใช้ยาควบคุมโรคอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากยาส่วนใหญ่ ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุของโรค และการไม่ดูแลรักษาโรคประจำตัวที่ยกตัวอย่างไปนั้น จะส่งผลให้ไตทำงานได้แย่ลง

  • งดบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์) และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน (ชา กาแฟ)

    สารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่ และคาเฟอีนในขนาดสูง มีผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในอีกหลายๆ กลไกที่ทำให้เกิดพิษต่อไต และเช่นเดียวกับคาเฟอีน การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ในปริมาณมากๆ ทำให้เกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อและเกิดไตวายเฉียบพลันตามมา

  • ใช้ยาอย่างระมัดระวัง

    ยาทั่วไปที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย แต่อาจส่งผลต่อการทำงานของไต ทำให้ไตทำงานได้ลดลง ได้แก่ยาในกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ได้มีโครงสร้างเป็นสเตียรอยด์ ที่เรียกย่อๆว่ายากลุ่ม “ NSAID” (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs; NSAIDs) เช่น Aspirin, Diclofenac, Ibuprofen, Indomethacin, Naproxen และ Piroxicam เป็นต้น รวมไปถึงยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านไวรัส เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ยาในกลุ่มนี้ร่วมกับยาอื่นอาจส่งเสริมให้เกิดอาการข้างเคียงของยา (ในที่นี้คือ เป็นพิษต่อไต) ที่รุนแรงเพิ่มขึ้น จากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา (drug-drug interactions) หรือที่เข้าใจกันง่ายๆ ว่า “ยาตีกัน” เช่น ในกรณีผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยา Cyclosporine เพื่อกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยยาดังกล่าวมีอาการข้างเคียงของยาที่ทำให้เกิดพิษต่อไตได้อยู่แล้ว ต่อมาเนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายของผู้ป่วยต่ำอาจติดเชื้อราขึ้นได้ จึงรับประทานยา Ketoconazole หรือ Itraconazole เพื่อจะรักษาอาการติดเชื้อรา ซึ่งยาที่กล่าวไป 2 ตัวหลังจะทำให้ระดับยา Cyclosporine ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นและทำให้โอกาสเกิดพิษต่อไตสูงขึ้นตามไปด้วยดังนั้นนอกจากผู้ป่วยจะต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังแล้ว ต้องแจ้งชื่อยาหรือนำตัวอย่างยาที่ตนเองใช้ให้กับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา

    หน้าที่สำคัญของไต คือ การสร้างปัสสาวะซึ่งจะช่วยขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ และช่วยในการรักษาความปกติของน้ำและเกลือแร่ของร่างกายนอกจากนั้นไตยังมีหน้าที่ในการสร้างสารที่ควบคุมความดันโลหิต และสารที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้นเมื่อไตทำงานน้อยลงมักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงและโลหิตจางร่วมด้วย  

    ขับถ่ายของเสีย

    ไตทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนออกจากร่างกาย ของเสียประเภทนี้ ได้แก่ ยูเรีย ครีอะตินีน กรดยูริก และสารประกอบไนโตรเจนอื่นๆ อาหารประเภทโปรตีนมีมากในเนื้อสัตว์และอาหารจำพวกถั่ว ซึ่งหากของเสียจากอาหารประเภทโปรตีนเหล่านี้คั่งค้างอยู่ในร่างกายมากๆ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะดังกล่าวว่า ยูรีเมีย (uremia) นอกจากนี้ไตยังทำหน้าที่กำจัดสารพิษ สารเคมี รวมทั้งขับถ่ายยาต่างๆออกจากร่างกายอีกด้วย  

    ยูเรีย

    ยูเรียเป็นโปรตีนที่ถูกตัดหมู่ amino ออก (-NH2) แล้ว เปลี่ยนเป็นยูเรีย ส่งไปกรองที่ไต กระบวนการเปลี่ยนให้เป็นยูเรียเกิดขึ้นที่ตับ ยูเรียมีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของหน่วยไต เรียกว่า countercurrent system ช่วยในการดูดซึมกลับของสารน้ำและเกลือแร่ที่อยู่ในหน่วยไต โปรตีน urea transporter 2 เป็นตัวขนถ่ายยูเรียเข้าสู่ท่อไตเพื่อขับออกทางปัสสาวะ ยูเรียในกระแสเลือดอยู่ในสภาพสารละลายประมาณ 2.5 – 7.5 มิลลิโมล/ลิตร เกือบทั้งหมดขับถ่ายทางปัสสาวะ มีเพียงส่วนน้อยที่ถูกขับถ่ายทางเหงื่อ  

    ครีอะตินีน

    ครีอะตินีนเป็นสารที่เกิดจากการแตกสลายของ creatine phosphate ในกล้ามเนื้อ ร่างกายสร้างครีอะตินีนขึ้นในอัตราที่คงที่โดยอัตราการสร้างขึ้นกับมวลกล้าม เนื้อของแต่ละคน ไตทำหน้าที่กรองครีอะตินีน โดยไม่มีการดูดกลับ ดังนั้นถ้าการทำหน้าที่กรองของไตเสียไปโดยไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ จะสามารถตรวจพบระดับของครีอะตินีนในเลือดเพิ่มสูงขึ้น  

    กรดยูริก

    กรดยูริกเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทเนื้อสัตว์ สาร พิวรีนในโปรตีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วแดง กระถิน ชะอม ใบขี้เหล็ก ผักตำลึง กระหล่ำดอก ผักบุ้ง ถั่วลิสง เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง กรดยูริกจะถูกขับออกมาทางไต ถ้าหน้าที่ของไตเสียไป ก็จะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นได้ เช่นกัน กรดยูริกเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริก และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริกจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี  

    สมดุลของน้ำและเกลือแร่

    ไตทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายน้ำและแร่ส่วนที่เกินควรจำเป็นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าว เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น ร่าง กายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 92 ในสมองมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้าพิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 จริงๆแล้วน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลพืช เซลล์สัตว์ และเซลล์มนุษย์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ำทั้งนั้น ในเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์มีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ของน้ำหนักร่างกาย ในพืชบกมีน้ำประมาณร้อยละ 50–75 ถ้าเป็นพืชน้ำอาจมีน้ำมากกว่าร้อยละ 95  

    ความดันโลหิต

    ไตทำหน้าที่สร้างสารเรนิน (renin) ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ระดับคงที่ ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆเพียงพอ ใน ภาวะความดันโลหิตในหลอดเลือดแดงที่ไตโดยเฉลี่ยลดลง ทำให้ร่างกายกระตุ้นกระบวนการเรนิน-แองจิโอเทนซิน ซึ่งจะทำให้มีการหลั่งเรนินจากจักซตาโกลเมอรูลาร์ อัฟพาราตัส (juxtaglomerular apparatus) ในไต เรนินเป็นเอนไซม์ที่หลั่งจากไตเข้าไปในกระแสเลือด ทำหน้าที่เปลี่ยนแองจิโอเทนซิโนเจน ให้เป็นแองจิโอเทนซิน I หลังจากนั้นเอนไซม์แเองจิโอเทนซิน คอนเวอทติง (angiotensin converting enzyme : ACE) จะเปลี่ยนแองจิโอเทนซิน I ให้เป็นแองจิโอเทนซิน II ที่ปอด เมื่อสารน้ำในร่างกายต่ำกว่าปกติ ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน จะไปกระตุ้นหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหดรัดตัว และกระตุ้นการหลั่งแอลโดสเตอโรนที่ต่อมหมวกไตส่วนนอก ทำให้เพิ่มปริมาณของโซเดียมและน้ำมากขึ้น ปริมาณเลือดจะเพิ่มขึ้น  

    การสร้างเม็ดเลือดแดง

    ไตทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง มีชื่อเรียกว่า อีริโทโพอิติน (erythropoietin) หรือเรียกว่า อีโป (EPO) สารนี้ช่วยกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายมีปริมาณเลือดเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายอย่างเพียงพอ ป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง ไข กระดูกเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือด โดยทั่วไปไขกระดูกจะอยู่ตามโพรงของกระดูกทุกชิ้น และมีปริมาณมากที่กระดูกเชิงกราน และกระดูกหน้าอก เม็ดเลือดแดงมีสารฮีโมโกลบิน ทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เซลล์ทำงานได้ตามปกติ  

    วิตามินดี

    ไตทำหน้าที่สร้าง active form ของวิตามินดี ซึ่งมีบทบาทควบคุมระดับเกลือแร่แคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง วิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย เฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ในบ้านเรามักจะไม่มีปัญหาการขาดวิตามีนดี เนื่องจากมีแสงแดดตลอดปี วิตามินดีมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้ ควบคุมการขับถ่ายแคลเซียมออกจากไต และควบคุมการสะสมแคลเซียมบนกระดูก ร้อยละ 90 ของวิตามินดีในร่างกายมาจากการสร้างขึ้นของผิวหนังเมื่อทำปฏิกิริยากับรังสี อุลตราไวโอเลตชนิดบี  

    เมื่อไตทำงานบกพร่อง

    เมื่อ ความบกพร่องเกิดขึ้นกับไต จนไตไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในระยะแรก อาจพบความผิดปกติเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง เช่น ตรวจ พบเพียงโปรตีนไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ จากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษาจนไตเสื่อมหน้าที่มากขึ้น จะเกิดภาวะไตวายเรื้อรังหาก ไตมีความบกพร่องมากๆ ผู้ป่วยอาจมีโรคโลหิตจาง หรือกระดูกผุ เป็นต้น หากไตไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เพียงพอ เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ หรือมีโรคแทรกจะทำให้ระดับของเสีย และปริมาณน้ำคั่งค้างในร่างกายหรือในเลือด จะปรากฏอาการเหล่านี้ คือ ปัสสาวะน้อย ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงกลางคืน มีเลือดในปัสสาวะ มีอาการบวมที่มือและเท้า ปวดหลังในระดับชายโครง ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เกิดภาวะไตวายระยะสุดท้าย มีสาเหตุที่สำคัญมาจากเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ต้องรักษาโดยการล้างไต หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต หากรักษาโรคทั้งสองนี้ได้ก็จะทำให้โรคไตที่เกิดขึ้นทุเลา หรือชะลอการเปลี่ยนแปลงได้ภาวะไตวายเรื้อรังในระยะนี้ยังสามารถแก้ไขให้ไตกลับคืนหน้าที่ได้หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่องและเหมาะสม แต่หากปล่อยปละละเลยจนไตเสื่อมทุกหน้าที่อย่างสมบูรณ์และถาวร จนเกิดภาวะที่เรียกว่าไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายการรักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกเลือด การฟอกไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไตใหม่ให้ แม้ ว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่ ก็ใช่ว่าไตนั้นจะใช้งานได้เหมือนอย่างไตของคนปกติ เพราะไม่ใช่ไตที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด ร่างกายต้องปรับตัวเข้ากับไตใหม่ ไตใหม่ที่ปลูกถ่ายมานี้ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยไม่เกินสิบปี และเมื่อการเปลี่ยนไตสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจะต้องหลีกเหลี่ยงและระวังกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการ ติดเชื้อ เนื่องจากไตใหม่ที่ปลูกถ่ายใหม่นั้นถือเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกายที่ กระตุ้นให้ภูมิต้านทานของร่างกายออกมาทำหน้าที่ต่อต้าน จึงจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ :  แผนกไตเทียม ชั้น 2 โรงพยาบาลกรุงเทพหัวหิน โทร. 032-616-870

    การกําจัดของเสียของไตมี อะไรบ้าง

    กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสีย อื่น ๆ จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร

    ขั้นตอนการกําจัดของเสียของไตมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง ตามลําดับ

    ขั้นตอนการทำงานของหน่วยไต.
    กระบวนการกรองของเสียที่โกลเมอรูลัส (glomerulus filtration) ... .
    กระบวนการดูดกลับสารที่ท่อหน่วยไต (tubular reabsorption) ... .
    กระบวนการหลั่งสารโดยท่อของหน่วยไต (tubular secretion).

    ส่วนใดของไตที่ทำหน้าที่กรองของเสีย

    ไต (kidney) ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะไหลไปตามท่อเล็กๆในไต โดยไปรวมกันที่กรวยไต จากนั้นก็ไหลผ่านท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ พร้อมที่จะขับออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ

    การกำจัดของเสียโดยไตประกอบด้วยกี่ส่วน

    หน่วยไต (Nephron) ประกอบด้วยส่วนสําคัญ ๆ 3 ส่วน คือ 1. โกลเมอรูลัส (Glomerulus) เป็นกลุ่มของเส้นเลือดฝอยที่แยกมาจาก เส้นเลือดแดงเข้าสู่ไต จะขดพันกันอยู่ภายในถุงที่เรียกว่า โบว์แมนแคปซูล 2. โบว์แมนแคปซูล (Bowman's capsule) เป็นถุงเยื่อบาง ๆ ปลายสุด มีรูปร่างเหมือนถ้วยหรือเหมือนก้ามปู ส่วนที่เหลือเป็นท่อคดเคี้ยว ซึ่ง ...