การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

ขั้นตอนในการใช้กล้องจุลทรรศน์ สำหรับมือใหม่ กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่มีส่วนประกอบหลายส่วน และอุปกรณ์อุปกรณ์เฉพาะทางดังนั้นการใช้งานให้ถูกต้องจึงมีความจำเป็น บทความนี้จะสอนถึงวิธีการใช้งานกล้องจุลทรรศน์อย่างละเอียด ทีละขั้นตอน

ขั้นที่ 1 วางสไลด์ที่ต้องการส่องบนแท่นวางสไลด์ เปิดไฟกล้องจุลทรรศน์ ควรให้จุดวงกลมของแสงอยู่ตรงกลางใกล้เคียงกับบริเวณที่ต้องการส่องมากที่สุด

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

ขั้นที่ 2 ปรับระยะห่างระหว่างตา สำหรับกล้องชนิด 2 ตา ปรับหาระยะห่างระหว่างตา (Interpupillary distance) และปรับ Diopter ที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้ระยะโฟกัสที่เท่ากัน

  • ในกรณีผู้ใช้งานสวมแว่นให้ทำการถอดแว่นออก กล้องจุลทรรศน์สามารถปรับหาโฟกัสโดยไม่ต้องส่วมแว่นได้

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

ขั้นที่ 3 ปรับโฟกัส หาระยะโฟกัสที่ชัดที่สุด โดยเริ่มจากเลนส์วัตถุที่ขนาดกำลังขยายต่ำสุดก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มกำลังขยายให้สูงขึ้น โดยปรับปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment knob)

  • เนื่องจากเลนส์กำลังขยายต่ำสุดจะเป็นเลนส์ที่เห็นภาพกว้างที่สุด ทำให้ง่ายในการหาจุดที่จะส่อง การเริ่มที่กำลังขยายสูงทำให้มองเห็นไม่คลอบคลุมหรือทำให้ยากต่อการหาวัตถุที่จะส่อง

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

ขั้นที่ 4 ปรับละเอียด เมื่อปรับภาพหยาบจนพอมองเห็นภาพให้ทำการปรับด้วยปุ่มปรับภาพแบบละเอียด (Fine adjustment knob) ควบคู่กับการเลื่อนสไลด์

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

ขั้นที่ 5 ปรับปริมาณแสง โดยปรับที่ไดอะแฟรม (Diaphragm) ใต้แท่นวางสไลด์เพื่อควบคุมแสงในปริมาณที่พอเหมาะ การลดความกว้างของไดอะแฟรมลงเมื่อกำลังขยายสูงขึ้น

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

 ขั้นที่ 6 ปรับกำลังขยายให้สูงขึ้น เมื่อไม่ขนาดของวัตถุที่ส่องมีขนาดเล็กจนไม่สามารถมองเห็นได้ให้ปรับกำลังขยายให้สูงขึ้น โดยเลนส์ 100X ควรใช้ Immersion Oil หยดลงบนกระจกปิดสไลด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นด้วย โดยให้เลนส์สำผัสกับ Immersion Oil และกระจกปิดสไลด์

  • สำหรับกำลังขยาย 40X และ 100X แนะนำให้ใช้การปรับโฟกัสเฉพาะปุ่มปรับละเอียดอย่างระมัดระวัง เพราะการกระทบกันของสไลด์และเลนส์สามารถสร้างความเสียหายให้กับเลนส์ได้

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

ขั้นที่ 7 เก็บทำความสะอาด เมื่อใช้งานเสร็จให้เก็บโดยใช้ถุงคลุมหรือเก็บไว้ในที่ที่ไม่มีฝุ่น และความชื้นต่ำ โดยเช็ดทำความสะอาดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์หรือน้ำยาสำหรับเช็ดเลนส์

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

กล้องจุลทรรศน์ และส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์

เมื่อ :

วันอังคาร, 27 กุมภาพันธ์ 2561

การศึกษาจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ในการศึกษาทางด้านจุลชีววิทยาซึ่งเป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ซึ่งเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ สำหรับผู้ที่จะศึกษาวิชาจุลชีววิทยาจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์และวิธีใช้ที่ถูกต้อง ในปัจจุบันวิทยาการในด้านต่างๆ ได้เจริญก้าวหน้าไปมาก รวมทั้งมีการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์แบบใหม่ๆขึ้น จึงทำให้การศึกษาในวิชาจุลชีววิทยารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบใช้แสงธรรมดาและแบบใช้แสงอิเล็กตรอน

กล้องจุลทรรศน์: แบบใช้แสงธรรมดา

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา (Compound microscope)

แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน    

  1. กล้องจุลทรรศน์อย่างง่ายหรือแว่นขยาย (Compound Microscope or Magnifying glass) ซึ่งใช้เพียงเลนส์นูนเพียงอันเดียวเป็นตัวช่วยในการขยายวัตถุให้ดูใหญ่ขึ้น และภาพที่ได้จะเป็นภาพเสมือน
  2. กล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อน (Compound Light Microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีระบบเลนส์ที่ทำหน้าที่ขยายภาพ 2 ชุดด้วยกัน คือ เลนส์ใกล้วัตถุ และเลนส์ใกล้ตา กล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อนที่ใช้งานทั่วไปในห้องปฏิบัติการจะเป็นชนิด Light field Microscope หรือ Bright field Microscope หลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้คือ เมื่อแสงไฟจากหลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสงจะถูกรวบรวมแสงโดย condenser lens ไปตกที่วัตถุที่วางบนแท่นวางวัตถุ (Specimen stage) จากนั้นเลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) จะเป็นตัวขยายวัตถุให้ได้ภาพที่ใหญ่ขึ้น แล้วจะส่งต่อไปยัง เลนส์ใกล้ตา (ocular lens) เพื่อขยายภาพสุดท้าย

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

ส่วนต่าง ๆ ของกล้องจุลทรรศน์ชนิด compound light microscope (Olympus)

www.biology.sc.chula.ac.th/2303106/2303106BU.pdf

โครงสร้างโดยทั่วไปของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา มีส่วนประกอบดังภาพที่ 1 ดังนี้ คือ
  1. ส่วนฐาน (base) คือส่วนฐานที่วางติดกับโต๊ะ มีหลอดไฟฟ้าติดอยู่ที่ฐานกล้องพร้อมสวิทช์ปิดเปิด
  2. ส่วนแขน (arm) คือส่วนที่ยึดติดระหว่างลำกล้องกับส่วนฐาน
  3. ลำกล้อง (body tube) มีเลนส์ใกล้ตาติดอยู่ด้านบน ส่วนด้านล่างติดกับแผ่นหมุน ซึ่งมีเลนส์ใกล้วัตถุติดอยู่ บางกล้องมีปริซึมติดอยู่เพื่อหักเหแสงจากเลนส์ใกล้วัตถุให้ผ่านเลนส์ใกล้ตา
  4. แผ่นหมุน (revolving nosepiece) คือแผ่นกลมหมุนได้ มีเลนส์ใกล้วัตถุติดอยู่เพื่อหมุนเปลี่ยนกาลังขยายของเลนส์ตามความต้องการ
  5. เลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) คือเลนส์ที่ติดอยู่บนแผ่นหมุน ตามปกติจะมี 3 หรือ 4 อัน แต่ละอันจะมีตัวเลขแสดงกำลังขยายกำกับไว้ เช่น x4, x10, x40 หรือ x100 เป็นต้น ในกรณีที่ใช้เลนส์ใกล้วัตถุกาลังขยาย x100 ต้องใช้น้ำมันเป็นตัวกลางระหว่างเลนส์และวัตถุจึงจะเห็นภาพ นอกจากนี้ ด้านข้างของเลนส์ใกล้วัตถุมีตัวเลขแสดงค่า N.A. (numerical aperture) กำกับอยู่ (ภาพที่ 2) ค่า N.A. (ความสามารถของเลนส์ที่รวบรวมแสงที่หักเหผ่านวัตถุเข้ากล้องมากที่สุด) มีความสัมพันธ์กับ resolving power ดังนี้

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

λ = ความยาวคลื่นแสง

N.A. = numerical aperture

*** ถ้า N.A. มีค่าสูง resolving power มีค่าน้อย แสดงว่ากล้องมีการแจกแจงรายละเอียดได้ดี

  1. เลนส์ใกล้ตา (eyepiece lens) คือเลนส์ชุดที่อยู่ส่วนบนสุดของกล้อง มีตัวเลขบอกกำลังขยายอยู่ทางด้านบน เช่น x5, x10, หรือ x15 เป็นต้น บางกล้องมีเลนส์ใกล้ตาอันเดียว (monocular) บางกล้องมีเลนส์ใกล้ตา 2 อัน (binocular) เลนส์ชุดนี้ขยายภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุ ภาพที่เห็นมีขนาดขยาย เป็นภาพเสมือนหัวกลับ และกลับซ้ายเป็นขวากับวัตถุ
  2. วงล้อปรับภาพ (adjustment wheel) สำหรับปรับระยะห่างระหว่างวัตถุกับเลนส์ใกล้วัตถุ เพื่อปรับภาพให้เห็นชัด ซึ่งระยะห่างที่ทาให้เห็นภาพชัด เรียกว่า ระยะการทำงานของกล้อง (working distance) หรือระยะโฟกัสของกล้อง วงล้อดังกล่าวมี 2 ชนิด คือ ชนิดปรับภาพหยาบ (coarse adjustment wheel) ใช้ปรับระยะห่างระหว่างวัตถุกับเลนส์ใกล้วัตถุชนิดกำลังขยาย 10 เท่าลงมา และชนิดปรับภาพละเอียด (fine adjustment wheel) ใช้ปรับภาพให้ชัด เมื่อใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายสูง 40 เท่าขึ้นไป
  3. แท่นวางวัตถุ (stage) มีช่องตรงกลางสำหรับให้แสงผ่าน และใช้วางสไลด์แก้ว เป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนที่ได้ (mechanical stage) ด้วยการหมุนปุ่มบังคับ อุปกรณ์ดังกล่าวมีคลิปเกาะสไลด์ และมีสเกลบอกตำแหน่งของสไลด์บนแท่นวางวัตถุ ฉะนั้นอุปกรณ์นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเลื่อนสไลด์ไปทางขวา ซ้าย หน้า และหลังได้ในขณะที่ตามองภาพในกล้อง ช่วยให้หาภาพได้รวดเร็ว และมีสเกลบอกตำแหน่งของวัตถุบนสไลด์
  4. คอนเดนเซอร์ (condenser) คือชุดของเลนส์ที่ทำหน้าที่รวมแสงให้มีความเข้มมากที่สุด เพื่อส่องวัตถุบนสไลด์แก้วให้สว่างที่สุด มีปุ่มปรับความสูงต่ำของ condenser
  5. ไอริสไดอะแฟรม (iris diaphragm) เป็นม่านปรับรูเปิดเพื่อให้แสงผ่านเข้า condenser และมีปุ่มสาหรับปรับ iris diaphragm ให้แสงผ่านเข้ามากน้อยตามต้องการ
  6. แหล่งกำเนิดแสง (light source) เป็นหลอดไฟฟ้าให้แสงสว่างติดอยู่ที่ฐานกล้อง มีสวิทช์เปิดปิด และมีสเกลปรับปริมาณแสงสว่าง
การใช้กล้องจุลทรรศน์
  1. การจับกล้องและเคลื่อนย้ายกล้อง ต้องใช้มือหนึ่งจับที่แขนและอีกมือหนึ่งรองที่ฐานของกล้อง
  2. ตั้งลำกล้องให้ตรง
  3. เปิดไฟเพื่อให้แสงเข้าลำกล้องได้เต็มที่
  4. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุ ให้เลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง
  5. นำสไลด์ที่จะศึกษามาวางบนแท่นวางวัตถุ โดยปรับให้อยู่กลางบริเวณที่แสงผ่าน
  6. ค่อยๆหมุนปุ่มปรับภาพหยาบให้กล้องเลื่อนขึ้นช้าๆเพื่อหาระยะภาพ แต่ต้องระวังไม่ให้เลนส์ใกล้วัตถุกระทบกับสไลด์ตัวอย่าง เพราะจะทำให้เลนส์แตกได้
  7. ปรับภาพให้ชัดเจนขึ้นด้วยปุ่มปรับภาพละเอียด ถ้าวัตถุที่ศึกษาไม่อยู่ตรงกลางให้เลื่อนสไลด์ให้มาอยู่ตรงกลาง
  8. ถ้าต้องการให้ภาพขยายใหญ่ขึ้นให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงกว่าเดิมมาอยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง จากนั้นปรับภาพให้ชัดเจนด้วยปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น ห้ามปรับภาพด้วยปุ่มปรับภาพหยาบเพราะจะทำให้ระยะของภาพ หรือจุดโฟกัสของภาพเปลี่ยนไป
  9. บันทึกกำลังขยายโดยหาได้จากผลคูณของกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา

แหล่งที่มา

การใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope).สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
         www.kruseksan.com/book/microscope.pdf

กล้องจุลทรรศน์ - SMD : E- Learning.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
         www.learning.smd.kku.ac.th/home/images/documents/Microscope.pdf

บทปฏิบัติการที่ 1 กล้องจุลทรรศน์ เซลล์ และองค์ประกอบของเซลล์.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
        www.biology.sc.chula.ac.th/2303106/2303106BU/บทปฏิบัติการที่%201.pdf

นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ, และปรีชา สุวรรณพินิจ. (2554). จุลชีววิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ:
        โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Return to contents


กล้องจุลทรรศน์: แบบใช้แสงอิเล็กตรอน

        กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเป็นเครื่องมือที่พัฒนามาจากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา เหตุผลที่ทำให้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ขึ้นมาเนื่องจากว่า ประสิทธิภาพในการขยายภาพของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงแบบธรรมดานั้นไม่สามารถศึกษารายละเอียดของโครงสร้างภายในของสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่มีขนาดเล็กมากๆอย่างเช่น ดีเอ็นเอ (Deoxyribo nucleic acid : DNA) ก็ไม่สามารถมองเห็นได้ และเครื่องมีนี้ได้ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในปีค.ศ.1932 โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน คือ Max Knoll และ Ernst Ruska ซึ่งแสงที่ใช้เป็นลำแสงอิเล็กตรอน ที่มีขนาดของความยาวคลื่นประมาณ 0.025 อังสตรอม (oA) มีกำลังขยายถึง 500,000 เท่า หรือมากกว่าแหล่งกำเนิดแสงอิเล็กตรอนได้จากปืนยิงอิเล็กตรอน (Electron gun) ซึ่งเป็นขดลวดทังสเตน มีลักษณะเป็นรูปตัววี เมื่อขดลวดทังสเตนรั้นขึ้นโดยการเพิ่มกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวด ทำให้อิเล็กตรอนถูกปลดปล่อยออกมาจากขดลวดทังสเตน เนื่องจากอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมาก และเพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของมวลอากาศกับลำแสงอิเล็กตรอน ซึ่งจะทำให้เกิดการหักเหได้ จึงต้องมีการดูดอากาศจากตัวกล้องให้เป็นสุญญากาศระบบเลนส์ที่ใช้เป็นระบบเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic lens) แทนเลนส์แก้วในกล้องจุลทรรศน์ชนิดแสงธรรมดา เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยขดลวดพันรอบแท่งเหล็ก เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะทำให้ลำแสงอิเล็กตรอนเข้มขึ้น เพื่อไปตกกระทบกับตัวอย่างวัตถุที่จะศึกษา เลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนประกอบด้วยเลนส์รวมแสง (Objective lens) และ Projector Lens โดยที่ Projector lens ทำหน้าที่ฉายภาพจากวัตถุ Electron Microscope ตัวอย่างที่จะศึกษาลงบนจอภาพคล้ายกับ Eyepiece ของกล้องจุลทรรศน์ชนิดแสงธรรมดา จอภาพฉาบด้วยสารเรืองแสงพวกฟอสฟอรัส เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนตกลงบนจอ จะทำให้เกิดการเรืองแสงขึ้นซึ่งเป็นสารสีเขียวแกมเหลืองที่มองได้ด้วยตาเปล่า

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในปัจจุบันมี 2 ชนิดด้วยกัน

  1. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (Transmission Electron Microscope: TEM)

เอิร์นสต์ รุสกา สร้างสำเร็จเป็นคนแรก ในปี ค.ศ.1932 ใช้ในการศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์ หรือวัตถุตัวอย่างที่ศึกษา ซึ่งต้องมีลักษณะบางเป็นพิเศษ ขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่างที่ศึกษายุ่งยาก

หลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน
  1. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน หรือ TEM จะใช้ลำอิเล็กตรอนจากแหล่งกำเนิดอิเล็กตรอน ส่องไปยังวัตถุ แทนที่จะใช้แสงส่องผ่านวัตถุแบบกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ซึ่งลำอิเล็กตรอนจะมีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสง ทำให้สามารถขยายภาพของวัตถุได้มากกว่า
  2. เมื่อลำอิเล็กตรอนพุ่งออกมาจากแหล่งกำเนิด จะผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่หักเหลำอิเล็กตรอนแทนเลนส์ จึงเรียกสนามแม่เหล็กไฟฟ้านี้ว่า electromagnetic lens
  3. ลำอิเล็กตรอนจะส่องผ่าน condenser lens ซึ่งเป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำหน้าที่หักเหลำอิเล็กตรอนหรือ electromagnetic lens เช่นเดียวกับเลนส์ชุดแรก เพื่อโฟกัสลำอิเล็กตรอนให้ตกลงบนวัตถุ
  4. เมื่อส่องผ่านวัตถุ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ electromagnetic lens อีกชุดหนึ่ง จะทำหน้าที่เหมือน objective lens หักเหลำอิเล็กตรอน ให้เกิดการขยายและโฟกัสภาพวัตถุที่ส่องผ่าน แล้วจะมี projection lens ทำหน้าที่โฟกัสลำอิเล็กตรอนอีกครั้งหนึ่ง
  5. ภาพของวัตถุจะตกลงบนจอภาพเรืองแสงหรือจอฟลูออเรสเซนซ์ ถ้าต้องการภาพถ่ายจะใช้แผ่นฟิล์มบันทึก และนำไปล้างและอัดเป็นภาพ หรืออาจบันทึกภาพด้วยอุปกรณ์รับภาพแบบ CCD หรือ charge-coupled device ได้เป็นภาพอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์
  6. กล้องจุลทรรศน์ชนิดส่องกราด (Scanning Electron Microscope: SEM)

        เอ็ม วอน เอนเดนนี (M Von Andenne) สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1938 โดยใช้ศึกษาผิวของเซลล์หรือผิวของตัวอย่างวัตถุที่นามาศึกษา โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิวของวัตถุ

หลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด

         เกิดจากการที่ Primary electron วิ่งไปกระทบพื้นผิวของวัตถุ   ทำให้มีการสะท้อนกลับของพลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น back-scatter electron, รังสีเอ็กซ์ (X-ray) หรือ secondary electron เป็นต้น และในลำกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด จะมีตัวรับสัญญาณที่ทำหน้าที่รับและเปลี่ยน secondary electron ให้เป็นสัญญาณอิเล็กตรอน (electrical signal) แล้วส่งสัญญาณไปยังจอภาพ (Cathode ray tube) เพื่อทำให้เกิดภาพที่ตามองเห็นได้ โดยภาพที่ออกมานั้นจะมีลักษณะ 3 มิติ จากนั้นจะบันทึกภาพลง Photographic

ข้อควรระวังในการใช้กล้องจุลทรรศน์

       เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูงและมีส่วนประกอบที่อาจเสียหายง่ายโดยเฉพาะเลนส์ จึงต้องใช้และเก็บรักษาด้วยความระมัดระวังให้ถูกวิธี ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้

  1. ในการยกกล้องและเคลื่อนย้ายกล้อง ต้องใช้มือหนึ่งจับที่แขนและอีกมือหนึ่งรองที่ฐานของ กล้อง
  2. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ที่ใช้ต้องไม่เปียก เพราะอาจจะทำให้แท่นวางวัตถุเกิดสนิม และเลนส์ใกล้วัตถุอาจขึ้นราได้
  3. เมื่อต้องการหมุนปุ่มปรับภาพหยาบต้องมองด้านข้างตามแนวระดับแท่นวางวัตถุ เพื่อป้องกันการกระทบของเลนส์ใกล้วัตถุกับกระจกสไลด์ ซึ่งอาจทำให้เลนส์แตกได้
  4. การหาภาพต้องเริ่มด้วยเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกาลังขยายต่ำสุดก่อนเสมอ
  5. เมื่อต้องการปรับภาพให้ชัดขึ้นให้หมุนเฉพาะปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น เพราะถ้าหมุนปุ่มปรับภาพหยาบจะทำให้ระยะภาพหรือจุดโฟกัสของภาพเปลี่ยนไปจากเดิม
  6. ห้ามใช้มือแตะเลนส์ ควรใช้กระดาษเช็ดเลนส์ในการทำความสะอาดเลนส์
  7. เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องเอาวัตถุที่ศึกษาออก เช็ดแท่นวางวัตถุและเช็ดเลนส์ให้สะอาด หมุนเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ตรงกลางลำกล้อง และเลื่อนลำกล้องลงต่ำสุด ปรับกระจกให้อยู่ในแนวตั้งฉากกับแท่นวางวัตถุเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเกาะ แล้วเก็บใส่กล่องหรือตู้ให้เรียบร้อย

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

https://pccpcell.wordpress.com

แหล่งที่มา

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
       https://sites.google.com/site/aomsupaporn2535/hnwy-thi2/hnwy-thi2-2

กล้องจุลทรรศน์ - SMD : E- Learning.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
       www.learning.smd.kku.ac.th/home/images/documents/Microscope.pdf

คู่มือสื่อการสอนวิชาชีววิทยา โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560.จาก
        www.phukhieo.ac.th.pdf

บทปฏิบัติการที่ 1 กล้องจุลทรรศน์ เซลล์ และองค์ประกอบของเซลล์.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
        www.biology.sc.chula.ac.th/2303106/2303106BU/บทปฏิบัติการที่%201.pdf

นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ, และปรีชา สุวรรณพินิจ. (2554). จุลชีววิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ:
        โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Return to contents


การเตรียมวัสดุเพื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์

          การเตรียมตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อนำมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงธรรมดาอาจกระทำได้ 2 วิธี คือ เลี้ยงจุลินทรีย์ในสภาพของเหลวเพื่อทำสไลด์สดหรือหยดแขวน และอีกวิธีหนึ่งโดยการทำให้เซลล์แห้งตรึงติดอยู่กับที่ และย้อมสีเพื่อให้เห็นความแตกต่างได้

เทคนิคการเตรียมสไลด์สดและการทำหยดแขวน

การเตรียมสไลด์สด

            โดยหยดของเหลวที่มีจุลินทรีย์บนแผ่นแก้วสไลด์ ปิดทับด้วยกระจกสไลด์ โดยค่อยๆ วางกระจกปิดให้ด้านหนึ่งสัมผัสกับหยดของเหลว แล้วค่อยๆ ปล่อยกระจกปิดลงช้าๆ เพื่อไม่ให้เกิดฟองอากาศขึ้น เช็ดขอบกระจกปิดสไลด์ให้แห้ง ถ้าต้องการให้ลดการระเหยของของเหลว อาจใช้ยาทาเล็บทาปิดระหว่างขอบกระจกปิดและสไลด์

การทำหยดแขวน

            มีลักษณะคล้ายกับการทำสไลด์สด แต่ให้หยดซัสเพนชันของจุลินทรีย์บนกระจกปิดสไลด์ก่อน แล้วจึงคว่ำสไลด์หลุมตรงกลาง (depression slide) ลงบนกระจกปิด กะปริมาณให้บริเวณหลุมอยู่เหนือหยดของเหลว แล้วรีบพลิกสไลด์ให้หงายขึ้นโดยเร็ว หลดเชื้อจะแขวนอยู่กับกระจกปิดสไลด์และอยู่เหนือหลุมของสไลด์หลุมพอดี

            ข้อดีของการศึกษาด้วยสไลด์สดและการทำหยดแขวน

  1. สามารถศึกษาเซลล์ที่มีชีวิตได้
  2. สังเกตเห็นรูปร่างและการเรียงตัวของเซลล์ได้ชัดเจน
  3. สามารถศึกษาพฤติกรรมต่างๆของเซลล์ได้ เช่น การเคลื่อนที่ด้วยแฟลกเจลลา ศึกษากิจกรรมต่างๆ ของเซลล์ เช่น การสร้างสปอร์ การแบ่งเซลล์ เป็นต้น
  4. สามารถศึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ เช่น หยดไขมัน แวคิวโอล
การย้อมสี

            เนื่องจากจุลินทรีย์ซึ่งมีขนาดเล็กมากนั้นมักโปร่งแสง จึงแยกความแตกต่างกับของเหลวที่จุลินทรีย์แขวนลอยอยู่ได้น้อย ทำให้มองให้ได้ยาก ดังนั้นการย้อมสีจะช่วยให้เห็นรายละเอียดและความแตกต่างของจุลินทรีย์แต่ละชนิดได้มากขึ้น

            สีที่ใช้ในการย้อมสีแบคทีเรียนั้นเป็นสีที่อยู่ในรูปของเกลือ ซึ่งจะประกอบไปด้วยออนบวกและลบ ส่วนที่แสดงสี หรือ Chromophoric group ซึ่งเป็นส่วนที่มีประจุเป็นออนบวกหรือลบนี้ สามารถใช้ในแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามประจุไฟฟ้า คือ

  1. Acidic dye ได้แก่ สีที่มีอนุภาคเม็ดสีเป็นประจุลบ (-) เช่นสี Eosin Y, Indian ink, Nigrosin ใช้ย้อม Cytoplasm
  2. Basic หรือ Basicdic dye ได้แก่ สีที่มีอนุภาคเม็ดสีเป็นประจุ (+) เป็นสีที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ เช่น Methylene blue, Crystal violet, Safranin O, Carbol fuchsin ใช้ย้อมนิวเคลียสและโครมาติน
  3. Netral dye ได้แก่ สีที่อนุภาคเม็ดสีไม่มีประจุ เช่นสี Sudan III
หลักการของการติดสีในการย้อมสีแบคทีเรีย

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

หลักการของการติดสีในการย้อมสีแบคทีเรีย

จุรีย์รัตน์ สีสมิทธ์. ปฏิบัติการจุลชีววิทยาทั่วไป. หน้า 27.

กลไกในการติดสีย้อมของเซลล์แบคทีเรีย

            การย้อมสีเป็นปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนไอออนของเซลล์กับของสี กล่าวคือ ไอออนของสีจะเข้าไปแทนที่ไอออนบนส่วนประกอบของเซลล์ จึงเกิดสารประกอบของเกลือออกมาและสีจะติดที่เซลล์แทนนอกจากนี้องค์ประกอบทางเคมีของกรดนิวคลีอิคยังมีส่วนในการเกิดเกลืออีกด้วย เช่น เกลือของโซเดียมหรือโปตัสเซียม เป็นต้น เนื่องจากเซลล์ของแบคทีเรียมีประจุไฟฟ้าลบ ดังนั­นจึงดึงดูดได้ดีกับไอออนที่มีประจุไฟฟ้าบวกเช่น ถ้ามี Na+ หรือ K+ จะเกิดการดึงดูด Na+ หรือ K+ ไปติดที่เซลล์ ของแบคทีเรียเป็น (Bacterial cell)- Na+ หรือ (Bacterial cell)- K+

            เนื่องจากสีที่ใช้ย้อมสีแบคทีเรียอยู่ในรูปของเกลือ ซึ่งมีทั้งประจุลบและบวกด้วยกันเม่ือย้อมเซลล์แบคทีเรียทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างสีและเซลล์ เช่น ใช้ Methylene blue chloride (MB+Cl-) ย้อมเซลล์แบคทีเรีย จะเกิดการเปลี่ยนประจุกันขึ้นทำให้เซลล์ติดสีย้อมของ Methylene blue ดังสมการ

(Bacterial cell- Na+) + (MB+Cl-) → (Bacterial cell- MB+) + (Na+Cl-)

วิธีการย้อมสีแบคทีเรีย

วิธีการย้อมสีแบคทีเรียที่สำคัญมีดังนี้

  1. Simple stain เป็นการย้อมสีแบคทีเรียด้วยสีย้อมชนิดเดียว เซลล์จะติดสีย้อมสม่ำเสมอทั้งหมด การย้อมสีวิธีนี้ต้องการศึกษารูปร่าง ขนาดและการจัดเรียงตัวของแบคทีเรีย ส่วนสีที่ใช้ ได้แก่ Crystal violet, Methylene blue และ Carbol fuchsin เป็นต้น
  2. Differential stain เป็นการย้อมสีที่ใช้ย้อมมากกว่าหนึ่งชนิด สีจะติดส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างเซลล์แบคทีเรียชนิดต่าง ๆ ได้ วิธีการย้อมสีแบบนี้­มีหลายวิธีที่สำคัญ คือ การย้อมสีแบบกรัม (Gram staining) และ Acid - fast stain

ตาราง แสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการย้อมสีแบบแกรม      

การใช้ กล้องจุลทรรศน์ ม. 1

สรุปหลักเกณฑ์สำคัญในการย้อมสีแกรมได้ดังนี้

  1. เซลล์ปกติของแบคทีเรียเท่านั้นที่มีการติดสีแกรมบวกและแกรมลบ แต่ถ้าทำให้เซลล์แตกจะติดเฉพาะสีแกรมลบเท่านั้น
  2. การย้อมสีแกรมต้องใช้ Crystal violet และสารละลายไอโอดีนเสมอ
  3. แบคทีเรียเท่านั้นที่ให้ผลแตกต่างกันในการย้อมสีแกรม แต่จุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ จะติดสีย้อมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น เซลล์ของยีสต์จะติดสีแกรมบวก
  4. ไซโตพลาสซึมติดสีแกรมลบเท่านั้น
  5. การย้อมสีแกรม สามารถเปลี่ยนแบคทีเรียแกรมบวกเป็นแบคทีเรียแกรมลบได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแบคทีเรียแกรมลบเป็นแกรมบวกได้
  6. แบคทีเรียแกรมบวกถูกล้างสีได้ยากกว่าแบคทีเรียแกรมลบ
  7. สปอร์ที่ยังเจริญไม่เต็มที่ (Immature endospore) ติดสีแกรมบวก ส่วนสปอร์ที่เจริญเต็มที่ (Mature endospore) ไม่ติดสีย้อม

แหล่งที่มา

การเตรียมตัวอย่าง (Simple preparation).สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560.จาก
      https://www.scribd.com/document/348205778/การยอมสี.pdf

นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ, และปรีชา สุวรรณพินิจ. (2554). จุลชีววิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ:
       โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Return to contents

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

กล้องจุลทรรศน์,ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์,กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา,โครงสร้างโดยทั่วไปของกล้องจุลทรรศน์

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอังคาร, 27 กุมภาพันธ์ 2561

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ชีววิทยา

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ดูเพิ่มเติม