พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป ม.3 สรุป

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

   สภาพทางภูมิศาสตร์ตลอดจนพัฒนาการและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคต่าง ๆ  ที่ต่างกัน เป็นผลทำให้สภาพสังคม เศรษฐกิจ และรูปแบบทางการเมืองการปกครองมีความแตกต่างกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

  ส 4.1 ม.3/1 อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกโดยสังเขป

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.อธิบายพัฒนาการทางเศรษฐกิจของทวีปยุโรป

2.วิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของยุโรป

3.นำเสนอและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจของยุโรป

การวัดผลและประเมินผล

1.สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม

2.ตรวจสอบความถูกต้องของใบงาน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  สภาพทางภูมิศาสตร์ตลอดจนพัฒนาการและความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคต่าง ๆ  ที่ต่างกัน เป็นผลทำให้สภาพสังคม เศรษฐกิจ และรูปแบบทางการเมืองการปกครองมีความแตกต่างกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส 4.1 ม.3/1 อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกโดยสังเขป

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายพัฒนาการทางสังคมของทวีปยุโรปตามลำดับเวลา

2. วิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญและเรียงลำดับเหตุการณ์ตามช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

3. นำเสนอและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของยุโรปได้อย่างเป็นระบบและน่าสนใจ

4. บอกประโยชน์ของการศึกษาพัฒนาการของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพสังคมทวีปยุโรป

การวัดผลและประเมินผล

  สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป ม.3 สรุป

StartDee เคยเสนอเรื่องการเมืองการปกครองของไทยไปบ้างแล้วในบทความ การเมืองการปกครองไทยในสมัยร.6 - 7 ในวันนี้ StartDee เลยอยากชวนนั่งไทม์แมชชีน ไปดูพัฒนาการทางการเมืองของทวีปยุโรปกันบ้าง โดยเราจะขอเน้นกันที่ช่วงสมัยใหม่และสมัยปัจจุบันเป็นหลัก

แต่ถ้าเพื่อน ๆ อยากลงลึกไปที่พัฒนาการด้านการเมืองของยุโรปตั้งแต่สมัยโบราณและสมัยกลาง ก็ทำได้เช่นกัน แต่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee ก่อนนะ จากนั้นก็คลิกเข้าไปในวิชาประวัติศาสตร์ แล้วเลือกประวัติศาสตร์โลก ตามด้วยทวีปยุโรปได้เลย

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป ม.3 สรุป

พัฒนาการทางการเมืองของยุโรปในสมัยใหม่

เมื่อผ่านสมัยกลางที่มีระบบฟิวดัล (Feudal system) สู่สมัยใหม่ การเมืองการปกครองในยุโรปเริ่มมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาชนเริ่มรู้จักสิทธิเสรีภาพของตนเอง คู่ขนานกันไปกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์มีอำนาจ ไปเรียนรู้พัฒนาการทางประชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรปกันเลย

พัฒนาการของประชาธิปไตยในยุโรป :

ในช่วงที่มีระบบฟิวดัลนั้น ได้มีการออกมหากฎบัตร (Magna Carta) ใน ค.ศ. 1215 อันเกิดจากเหล่าขุนนางชาวอังกฤษ ได้กดดันพระเจ้าจอห์น (John, King of England) ให้ทรงลงนามในมหากฎบัตรนี้ เนื่องมาจากพระองค์ดูแลปกครองบ้านเมืองอย่างไม่เป็นธรรมนัก โดยทรงแต่งตั้งพระญาติเข้ามากุมอำนาจในตำแหน่งสำคัญ ขึ้นภาษี และยึดที่ดินจากบาทหลวงที่ขัดขืน

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป ม.3 สรุป

มหากฎบัตร (Magna Carta) ขอบคุณรูปภาพจาก The 101.World

แม้ว่ามหากฎบัตรจะช่วยให้พระเจ้าจอห์นยอมรับอำนาจของเหล่าขุนนางมากขึ้น แต่ก็แค่ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะมีขุนนางหลายคนที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงจึงไม่ยอมปฏิบัติตาม อีกทั้งพระเจ้าจอห์นยังได้ยื่นอุทธรณ์ต่อองค์พระสันตะปาปา จนเป็นเหตุทำให้เกิดสงครามกลางเมือง แต่ก็ถือว่ามหากฎบัตร (Magna Carta) เป็นรากฐานสำคัญของประชาธิปไตยในสมัยต่อมา

นอกจากนั้น การมีมหากฎบัตร (Magna Carta) ยังทำให้เกิดการก่อตั้งรัฐสภาอังกฤษขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยแบ่งออกเป็นสภาขุนนาง และสภาสามัญซึ่งมาจากตัวแทนประชาชน การมีรัฐสภานี้ ถือเป็นการท้าทายอำนาจของกษัตริย์เป็นอย่างมาก จนนำไปสู่เหตุการณ์ “การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ค.ศ. 1688” ที่รัฐสภามีชัยชนะเหนือกษัตริย์อังกฤษ ที่แม้ว่ากษัตริย์จะไม่ได้ถูกล้มล้าง แต่สถาบันกษัตริย์ก็จำต้องยอมรับอำนาจของรัฐสภาอังกฤษอย่างสมบูรณ์ โดยมีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689 (Bill of Rights 1689) สำหรับเป็นตัวแทนของสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกหนึ่งประการ คือ การเชิญเจ้าชายวิลเลียม สมาชิกราชวงศ์ออเรนจ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (The House of Orange-Nassau) เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษ เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ร่วมกับสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ถือเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของราชวงศ์อังกฤษภายใต้รัฐสภา ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับรูปแบบการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) 

พัฒนาการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุโรป :

แม้ว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศอังกฤษนั้น ดูเหมือนจะอ่อนกำลังลง แต่ในประเทศอื่น ๆ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเฟื่องฟูมาก โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV) แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราช แห่งปรัสเซีย (Frederick II Frederick the Great of Prussia) ซึ่งก็พัฒนามาเป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ความรุ่งเรืองของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังแพร่กระจายสู่จักรวรรดิรัสเซีย โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช (Peter The Great) ซึ่งครองราชย์ในช่วงค.ศ. 1682-1725 และพระนางแคทเธอรีนมหาราชินี (Catherine The Great) ซึ่งครองราชย์ในช่วงค.ศ. 1762-1796 โดยพระองค์ถือเป็นผู้ปกครองหญิงที่มีอำนาจสุงสุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย

พัฒนาการทางการเมืองของยุโรปที่ส่งผลต่อมาสู่ปัจจุบัน

พัฒนาการทางการเมืองของยุโรปนั้น ได้รับอิทธิพลจากการปฏิวัติฝรั่งเศส  ค.ศ. 1789 ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนไม่พอใจที่สถาบันกษัตริย์ปกครองดูแลบ้านเมืองได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เรียกว่าเป็นยุคตกต่ำในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) เลยก็ว่าได้

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ทำให้จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีอำนาจขึ้นมา ซึ่งนำพาฝรั่งเศสให้เป็นมหาอำนาจในเวลาต่อมา แต่หลังจากหมดยุคของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 กลับเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศสขึ้นอีกครั้งใน ค.ศ. 1848 และในคราวนี้เกิดการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ลงไปอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบ “สาธารณรัฐ” จนถึงปัจจุบัน

หลังจากนั้น ทั่วโลกต้องประสบกับภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) ระหว่าง ค.ศ. 1914-1918 ส่งผลให้เกิดการล่มสลายของราชวงศ์หลายแห่งในยุโรป และหลายประเทศปรับเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย

ในขณะเดียวกันแนวคิดคอมมิวนิสต์ของคาร์ล มากซ์ (Karl Marx) ก็แผ่ขยายอิทธิพลไปหลายประเทศ ที่สำคัญ คือ นำไปสู่การปฏิวัติในจักรวรรดิรัสเซียเมื่อปีค.ศ. 1917 ก่อให้เกิดการสถาปนาสหภาพโซเวียต (Soviet Union) ที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เป็นครั้งแรกของโลก ตั้งแต่ค.ศ. 1917-1991 

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป ม.3 สรุป
คาร์ล มากซ์ ขอบคุณรูปภาพจาก Britannica

ในช่วงเวลาที่ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เฟื่องฟู ยังมีอีกระบอบหนึ่งที่รุ่งเรืองไม่แพ้กัน นั่นคือระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ (Fascist) ที่มีแนวคิดสร้างชาติให้ยิ่งใหญ่ และยึดถือตัวผู้นำเป็นศูนย์กลางในการปกครองประเทศ โดยผู้นำที่เพื่อน ๆ น่าจะรู้จักกันดีคือ เบนิโต มุสโสลินี (ฺBenito Mussolini) แห่งอิตาลี และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) แห่งเยอรมนี ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่นำประเทศในยุโรปเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ที่กินระยะเวลาตั้งแต่ค.ศ. 1939-1945 อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ระบอบการปกครองแบบฟาสซิสต์ก็ล่มสลายตามไปด้วย

หลังจากสงครามจบลงไป ทวีปยุโรปก็เข้าสู่สมัยปัจจุบัน เกิดการเดินหน้าเข้าสู่การรวมประเทศผ่าน “สหภาพยุโรป” (EU) ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญหน้าหนึ่งเลยทีเดียว

Did you know ? รู้จักกับประโยคดัง "ก็กินเค้กแทนสิ !"

ในบทความนี้ เราพูดถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสค.ศ. 1789 ที่เกิดจากการที่ประชาชนไม่พอใจการทำงานของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กันไปแล้ว StartDee จึงอยากให้เพื่อน ๆ ทำความรู้จักกับสมาชิกราชวงศ์ที่สำคัญอีกคนหนึ่งซึ่งก็คือ มารี อ็องตัวแน็ต ราชินีแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นภรรยาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 นั่นเอง (ดูรีวิวภาพยนตร์เรื่อง Marie Antoinette ได้ที่นี่)

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป ม.3 สรุป

จากซ้าย เจ้าหญิงมารี-เตแรซ, พระนางมารี อ็องตัวแน็ต, เจ้าชายหลุยส์-ชาร์ล, เจ้าชายหลุยส์-โฌแซ็ฟ (ขอบคุณรูปภาพจาก biography.com)

มารี อ็องตัวแน็ตถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของวลีเด็ด "Qu’ils mangent de la brioche" หรือ "Let them eat cake" ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า "ก็กินเค้กแทนสิ" หลังจากได้รับการบอกเล่าว่าประชาชนกำลังอดอยาก และไม่มีขนมปังกิน ซึ่งถ้าเพื่อน ๆ เป็นประชาชนฝรั่งเศส ก็คงจะนึกโกรธมารี อ็องตัวแน็ตไม่น้อย ก็แหม...เค้กกับขนมปังนี่มันต่างกันมากเลยเนาะ (แต่ ๆ ขนมที่ชื่อ brioche อ่านว่า บิออช ของฝรั่งเศสนั้น จริง ๆ แล้วไม่ได้แปลว่า cake โดยตรงหรอกนะ แต่เป็นขนมปังฉ่ำเนยและไข่ ซึ่งแน่นอนว่าแพงกว่าขนมปังทั่วไปอีก !)

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ว่ามารี อ็องตัวแน็ตพูดจาแบบนั้นจริง ๆ เลยสักฉบับเดียว หลักฐานที่ใกล้เคียงที่สุดคือหนังสือชื่อ Rousseau’s Confessions ลำดับที่ 5 ที่เขียนขึ้นในค.ศ. 1767 โดยผู้เขียนกล่าวว่าคำพูด "Qu’ils mangent de la brioche" น่าจะมาจากเจ้าหญิงผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง (The Great Princess) ทำให้ประชาชนฝรั่งเศสที่ได้อ่านเอกสารฉบับนี้ ลือกันไปว่าเจ้าหญิงผู้ยิ่งใหญ่ ก็คือมารี อ็องตัวแน็ตนี่แหละ แต่แท้จริงแล้วในขณะที่ผู้เขียนเขียนหนังสือเล่มนี้ มารี อ็องตัวเน็ตเพิ่งจะอายุ 11 ปีเท่านั้น ยังไม่ได้แต่งงานเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่ามารี อ็องตัวเน็ตเป็นผู้พูดประโยคดังกล่าวได้นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก :

สุรรังสรรค์ ผาสุขวงษ์ (ครูกอล์ฟ) และ พีรพัฒน์ เพชราบรรพ์ (ครูรพี)

ที่มา : 

https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_438
https://www.youtube.com/watch?v=sJ5jFF6M5ys https://www.britannica.com/story/did-marie-antoinette-really-say-let-them-eat-cake