ประกันสังคม ม.39 ส่งได้ถึงอายุเท่าไหร่

วันที่ 12 กันยายน 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้แจ้งเตือนผู้ประกันตนตามมาตรา 33  และมาตรา 39 ซึ่งมีอายุครบ 55 ปี และปัจจุบันมีสถานะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ให้ตรวจสอบสิทธิการได้รับบำเหน็จ หรือบำเหน็จชราภาพ พร้อมกับยื่นขอรับเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด

  สำหรับช่องทางการตรวจสอบสิทธิและยอดเงินสมทบชราภาพ หากไม่สะดวกเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 3 ช่องทาง คือเว็บไซต์ของ สปส.  www.sso.go.th, แอปพลิเคชั่น SSO Connect สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง ระบบ iOSและ Android และ Line Official Account ของ สปส. @ssothai

  ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบและทราบสิทธิที่จะได้รับแล้วสามารถยื่นขอรับบำเหน็จ หรือ บำเหน็จชราภาพ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง และกรอกใบคำขอ สปส. 2-01 หรือ SSO. 2-01 พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่จะรับโอนเงิน แต่หากผู้ประกันตนมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีออมทรัพย์ สามารถแจ้งขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ไปพร้อมการยื่นคำร้องได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาสมุดบุญชีธนาคาร (บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ไม่สามารถใช้ได้)

  น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับสิทธิของผู้ประกันตนกรณีชราภาพนั้นจะแยกเป็น 2 กรณี  ได้แก่ 1) รับบำเหน็จชราภาพ  ได้แก่ ผู้จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี

  2) กรณีรับบำนาญชราภาพ ได้แก่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็น         รายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง(ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และกรณีที่จ่ายเกินกว่า 180 เดือนจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญ ให้อีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน

  นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตลงระหว่างรับบำนาญชราภาพยังไม่ถึง 60 เดือน ที่ทายาทสามารถติดต่อเพื่อรับบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนได้ โดยสามารถดูข้อเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามที่สายส่วน สปส. 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

เปิดรายละเอียดประกันสังคมขยายอายุผู้ประกันตนมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจากอายุ 55 ปี เป็นอายุ 60 ปี

วันนี้ ( 19 ธ.ค. 64 )สำนักงานประกันสังคมเปิดเผยว่า เนื่องจากโครงสร้างประชากรที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลให้มีจำนวนแรงงานลดลง ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้มีจำนวนผู้สูงอายุและผู้รับบำนาญเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ระบบการแพทย์ที่ดีขึ้นและสุขภาพที่ดีขึ้น ทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญเป็นระยะเวลายาวนานขึ้น เนื่องจากบำนาญประกันสังคมเป็นการดูแลตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตาม สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มมากขึ้นก็จะตามมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น เพื่อไม่ให้ต้นทุนสูงขึ้นมากจนเกินไป ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างต้องนำส่ง สำนักงานประกันสังคม จึงมีนโยบายการปรับปรุงอายุเกิดสิทธิรับบำนาญ (หรือที่เรียกกันว่าอายุเกษียณ) เพื่อให้เกิดสมดุลกับโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ และควบคุมต้นทุนของระบบบำนาญให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็นมาตรการปกติที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกดำเนินการ

สำนักงานประกันสังคม ได้มีการจัดทำแนวทางการปฏิรูประบบบำนาญชราภาพโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ระบบบำนาญชราภาพ รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนเมื่อต้องเข้าสู่วัยเกษียณ โดยที่การขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจาก 55 ปี เป็น 60 ปี เป็นมาตรการหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการใช้กับผู้ประกันตนใหม่และผู้ประกันตนที่อายุน้อยเท่านั้น ผู้ประกันตนปัจจุบันที่ใกล้เกษียณอายุจะไม่ได้รับผลกระทบ

นอกจากนี้ การขยายอายุเกิดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกันตนได้รับบำนาญในอัตราที่สูงขึ้นด้วย โดยจะได้รับบำนาญเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อทุกปีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบ ตัวอย่างเช่น หากส่งเงินสมทบกรณีชราภาพตั้งแต่อายุ 35 ปี และทำงานจนถึงอายุ 55 ปี เท่ากับทำงาน 20 ปี หากมีค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 15,000 บาท จะได้บำนาญในอัตรา 35% ของ 15,000 บาท หรือคิดเป็นเดือนละ 5,250 บาท และหากขยายระยะเวลาการทำงานถึงอายุ 60 จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 7.5% ทำให้บำนาญเพิ่มเป็น 42.5% ของค่าจ้าง 15,000 บาท หรือคิดเป็นเดือนละ 6,375 บาท (เพิ่มขึ้น 1,125 บาท) ไปตลอดชีวิต

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการสำรวจและรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็ปไซต์ สปส. และมีการสรุปการรับฟังความคิดเห็นให้ทราบด้วยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการยกร่าง พรบ. และเตรียมเสนอ ครม. พิจารณาในลำดับถัดไป หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

ประกันสังคม ม.39 ส่งได้ถึงอายุเท่าไหร่

ข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม

ภาพจาก : AFP

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

ประกันสังคมมาตรา 39 อายุเท่าไร

จะได้รับเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนหรือทายาทจะได้รับเงินส่วนนี้ *กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบ 12-179 เดือน (รวมเดือนที่ประกันตนในมาตรา 33)

ประกัน สังคม มาตรา 39 คือ ใคร บ้าง

ใครสามารถสมัคร ม.39 ได้บ้าง ผู้ที่สามารถสมัครประกันสัง ม.39 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เคยเป็นผู้ประกันตน ม. 33 ซึ่งส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ลาออกจากงานมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

ประกันสังคมมาตรา 39 ดียังไง

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้สิทธิประโยชน์ 6 กรณี ดังนี้ เจ็บป่วย กรณีเจ็บป่วยปกติ มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาลในประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเกิดอุบัติเหตุ ทางประกันสังคมเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ คลอดบุตร

ม.40 ต้องส่งกี่ปี

เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)