เงินสมทบม.40ต้องจ่ายกี่เดือน

เงินสมทบม.40ต้องจ่ายกี่เดือน

ที่ประชุม ครม. มีมติ ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ม.40 เหลือ 60% ต่ออีก 6 เดือน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ประกอบอาชีพอิสระ เริ่มตั้งแต่ 1 ก.พ. – 31 ก.ค. 2565 ย้ำกองทุนประกันสังคมยังมีเงินสมทบเพียงพอสำหรับจ่ายประโยชน์ทดแทน

  • ตรวจสอบสถานะโอน เงินเยียวยาประกันสังคม คนกลางคืน
  • ประกันสังคมชง ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ม.40 อีก 6 เดือน

1 กุมภาพันธ์ 2565 – น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการ ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 40 ที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 – 31 กรกฎาคม 2565

ลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม ม.40 เหลือ 60% ตั้งแต่ ก.พ. – ก.ค. 2565

โดยตามร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่เสนอปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน ม.40 ในระบบประกันสังคม ลงเหลือ 60% ต่ออีกเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์  ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย และสนใจประกันตนภาคสมัครใจ มีทางเลือกส่งเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก ดังนี้

  1. ทางเลือกที่ 1 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 3 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 42 บาท (จากเดิม 70 บาท)
    • คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
    • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
  2. ทางเลือกที่ 2 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 4 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 60 บาท (จากเดิม 100 บาท)
    • คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
    • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
    • คุ้มครองกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
  3. ทางเลือกที่ 3 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 5 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 180 บาท (จากเดิม 300 บาท)
    • คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
    • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
    • คุ้มครองกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
    • คุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือนตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ

หมายเหตุ: ทางเลือกที่ 1 จะได้รับประโยชน์ทดแทนน้อยที่สุด ในขณะที่ทางเลือกที่ 3 จะได้รับประโยชน์ทดแทนมากที่สุด

ทั้งนี้ แม้การลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 เป็นเวลา 6 เดือน จะทำให้กองทุนประกันสังคมได้รับเงินสมทบลดลง แต่ยังคงมีเงินสมทบเพียงพอสำหรับรายจ่ายประโยชน์ทดแทนให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะกองทุนในระยะยาว อีกทั้งการปรับลดเงินสมทบดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีกำลังซื้อมากขึ้น อันจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและลดผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

ลดอัตราประกันสังคม ม.40 ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกันตนได้มากกว่า 10 ล้านคน

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่าการปรับลดอัตราเงินสมทบต่อเป็นระยะเวลา 6 เดือนในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับประโยชน์กว่า 10.57 ล้านคน เกิดเงินหมุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจกว่า 1,408.56 ล้านบาท ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตน และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และเป็นการสร้างหลักประกันให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จูงใจให้แรงงานภาคอิสระที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากสำนักงานประกันสังคมให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น จึงขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม ที่พร้อมดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของผู้ประกันตนให้ตรงจุดและทันท่วงที เนื่องจากปัญหาเรื่องความเป็นอยู่ปากท้องของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการตลอด 24 ชั่วโมง

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

20 เม.ย. 2565 เวลา 4:55 น. 22.6k

ประกันสังคม "มาตรา 40" ที่จ่ายเงินสมทบเกิน ๆม่ต้องกังวล ขอเงินคืนได้แล้ว เช็คขั้นตอนขอรับเงินคืนต้องทำอย่างไร

ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเต็มจำนวนในอัตราเดิม งวดกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 2565 ที่มีความกังวลว่าจะไม่ได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินคืน หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบลดอัตราเงินสมทบไปแล้วนั้น

ผู้ประกันตนไม่ต้องกังวลหากจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิม คือทางเลือกที่ 1 จำนวน 70 บาท ทางเลือกที่ 2 จำนวน 100 บาท และทางเลือกที่ 3 จำนวน 300 บาท

  • หากจ่ายในอัตราเดิมเช่นนี้ในงวดเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม 2565 สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนได้ โดยโหลดแบบฟอร์ม (สปส.1-40/7)  ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th เเล้วกรอกแบบฟอร์ม
  • พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ยื่นเอกสารไปยังสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาได้ทุกแห่ง เพื่อความสะดวกไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยื่นที่ประกันสังคม
  • นำส่งเอกสารทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงสำนักงานประกันสังคมได้เช่นกัน หลังจากนั้นเมื่อตรวจอนุมัติแล้วสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนตามที่แจ้งไว้
  • กรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 ขาดส่งเงินสมทบจะกี่เดือนก็ตาม ยังคงสภาพความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 อยู่
  • หากขาดส่งเงินสมทบยังคงสามารถกลับมานำส่งสมทบต่อได้ โดยจ่ายล่วงหน้าได้ 12 เดือน แต่ไม่สามารถจ่ายย้อนหลัง
  • การขาดส่งเงินสมทบอาจกระทบการเกิดสิทธิ์ความคุ้มครอง เช่น หากเจ็บป่วยต้องหยุดพักรักษาตัว ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ แต่ต้องดูว่าส่งเงินสมทบ 3 เดือน ใน 4 เดือนก่อนเจ็บป่วยหรือไม่
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการ ตลอด 24 ชั่วโมง