หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

ทะเบียนรถขาด 3  ปี ทะเบียนรถยนต์จะอยู่ในสถานะถูกระงับทันที แต่สามารถต่อได้ หลังนำเล่มไประงับทะเบียน พร้อมเสียค่าปรับ ก่อนต่อทะเบียนรถรอบใหม่

ใกล้ถึงปีใหม่แล้ว ได้เวลาต่อภาษีรถยนต์ หรือทะเบียนรถยนต์ โดยรถยนต์ปกติ ที่มีการต่อภาษีทุกปี จะไม่มีปัญหา สามารถต่อได้ทันที แต่สำหรับรถยนต์ ที่ไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์  หรือ ทะเบียนรถขาด 3 ปี จะยุ่งยากกว่า

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

 

ทั้งนี้เพราะ กรณีที่ค้างชำระภาษี ครบกำหนด 3 ปี เจ้าของรถต้องคืนแผ่นป้าย และนำสมุดคู่มือ มาให้ทาง กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ที่จดทะเบียน บันทึกการระงับทะเบียน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียน ระงับการดำเนินการทางทะเบียน หากไม่ไปดำเนินการ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

จากนั้น ผู้ครอบครองรถ สามารถต่อทะเบียนรถยนต์ที่ขาดมา 3 ปี โดยต้องเตรียมตัว ดังนี้

เอกสารที่ต้องเตรียม

  • สมุดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • รถยนต์ที่จะต่อภาษี
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ)

หลังจากนั้น ให้นำสมุดทะเบียนรถ ที่ขาดต่อการชำระภาษี ให้ทางราชการบันทึก  การระงับทะเบียน และชำระภาษีค้างชำระ ณ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน หรือจะไปขนส่งจังหวัดใดก็ได้

กรณีที่ไม่ใช่จังหวัดเดิม ต้องแจ้งย้ายปลายทาง พร้อมชำระภาษีทะเบียนระงับก่อน (ไม่ตรวจสภาพ) โดยจะต้องชำระภาษีที่ค้างตามที่เป็นจริง ตามอัตราภาษีรถประจำปีของรถแต่ละประเภท และเสียภาษีเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

ขั้นตอนต่อจากนี้คือ การแจ้งขอใช้รถอีกครั้ง หลังถอนอายัดที่ สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน พร้อมอัตราค่าธรรมเนียมและต้องทำการต่อ พ.ร.บ. เพื่อเอานำหาง พ.ร.บ. ไปแจ้งขอใช้รถ โดยเอกสารและหลักฐานที่ต้องเตรียมมีดังนี้

  • สมุดคู่มือจดทะเบียน โดยจะได้หลังจากทำการบันทึกการระงับทะเบียนแล้ว โดยจะต้องใช้ตัวจริงเท่านั้น พร้อมสำเนาก็อปปี้
  • บัตรประจำตัวประชาชน ของเจ้าของรถ ทั้งตัวจริง พร้อมสำเนาก็อปปี้
  • หลักฐานการประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.)
  • หลักฐานการได้มาของรถ เช่น หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขายทอดตลาด (กรณีมิได้จดทะเบียนในชื่อเจ้าของเดิม)
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล อายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มีอำนาจลงนาม กรณีเป็นนิติบุคคล

กรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ ต้องใช้เอกสาร ได้แก่ หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท) และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ

สำหรับ อัตราค่าธรรมเนียมในการต่อทะเบียนรถยนต์ที่ขาดมา 3 ปี มีดังนี้

  • ค่าใช้จ่าย สำหรับการจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท
  • ค่าใช้จ่าย สำหรับการทำสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท
  • ค่าใช้จ่าย สำหรับการทำแผ่นป้ายทะเบียนรถ ป้ายละ 100 บาท
  • ค่าใช้จ่าย สำหรับการทำ พรบ. ร.1 = 645 บาท / ร.2 1180 บาท  / ร.12 350 บาท แบบปีต่อปี
  • อัตราภาษีของรถ แต่ละประเภท
  • ราคาค่าตรวจสภาพ ประมาณ 300 บาท
  • เสียภาษีเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือนจนถึงวันชำระ

ที่สำคัญคือ  รถยนต์ที่ขาดต่อภาษีมา 3 ปี ไม่สามารถต่อทะเบียนที่อื่นได้ เพราะทะเบียนรถยนต์ จะอยู่ในสถานะถูกระงับ จำเป็นต้องทำการขอจดทะเบียนใหม่ ที่สำนักงานขนส่ง จังหวัดใดก็ได้

หากไม่ใช่จังหวัดเดิม ต้องแจ้งย้ายปลายทาง พร้อมชำระภาษีทะเบียนระงับก่อน (ไม่ต้องตรวจสภาพ) แล้วตรวจสภาพรถยนต์ที่ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่ยื่นเรื่อง เมื่อดำเนินการจดทะเบียนใหม่ รวมย้ายเข้าเท่านั้น

โอนลอย หลายคงเคยได้ยินคำนี้เมื่อมีการซื้อขายรถยนต์มือสอง เพราะเป็นการดำเนินงานด้านเอกสารเกี่ยวกับการครอบครองทรัพย์สิน ให้มีความพร้อมสำหรับการซื้อ-ขาย เราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการโอนลอยเมื่อใช้กับการซื้อขายรถยนต์มาให้ พร้อมคลายข้อสงสัย ต้องระวังตรงไหน มีความเสี่ยงอะไรบ้าง พร้อมเอกสารจริงคุณสามารถนำไปใช้งานได้

โอนลอย คือ คือผู้ขายรถจัดทำเอกสารการเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองรถให้เรียบร้อย ขาดแต่เพียงเซ็นต์รับเป็นผู้ครอบครองรถต่อ

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

เพื่อขายรถให้เต๊นท์หรือบุคคล ผู้ครอบครองตามทะเบียนรถต้องการลงลายเซ็นต์ช่องผู้โอน และลายเซ็นต์ที่เอกสารมอบอำนาจไว้ 

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

เล่มทะเบียน

  • เล่มทะเบียนรถตัวจริง
  • สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลายเซ็นต์สำเนาถูกต้องของผู้ครองครองรถล่าสุด 
  • สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมลายเซ็นต์สำเนาถูกต้องของผู้ครองครองรถล่าสุด 

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

แบบคำขอโอนและรับโอน

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

แบบคำขอโอนและรับโอน

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

หนังสือมอบอำนาจ

โอนลอยอย่างไรให้ไม่มีปัญหา

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

  • เจ้าของเอกสาร ตรงกับชื่อผู้ครอบครองพาหนะล่าสุดในเล่มทะเบียน
  • สำเนาเอกสารมีเซ็นต์กำกับ สำเนาถูกต้อง และชื่อตรงกับผู้ครอบครองพาหนะล่าสุดในเล่มทะเบียน
  • ลายเซ็นต์ผู้โอน ในใบคำขอโอนและหนังสือมอบอำนาจ
  • เช็กวันที่บัตรประชาชนหมดอายุในสำเนา  

ระหว่างที่ยังไม่ไปจดทะเบียนผู้ครองครองใหม่ที่สำนักงานขนส่ง ทางกฎหมายรถยังเป็นของเจ้าของเดิม หากรถกระทำผิดจะถูกติดตามเป็นคนแรกเช่น ตั้งแต่ ๆ อย่างใบสั่งจราจร หรือมีส่วนเกี่ยวข้องคดีอุบัติเหตุบนถนน ร้ายแรงสุดเป็นการก่ออาชญากรรม

ลดปัญหา บรรรเทาความเสี่ยงจากโอนลอยด้วย สัญญาซื้อขาย

หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

สัญญาซื้อขาย

โดยสัญญาซื้อขายควรมี 2 ฉบับเก็บไว้กับทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย โดยให้ที่รับเอกสารการโอนลอยของเจ้าของไปเซ็นต์ไว้ (ไม่ว่าจะเต็นท์หรือตัวแทน)  และขอสำเนาบัตรประชาชนผู้ที่เซ็นต์ซื้อไว้ด้วย หากเกิดมีคดีมาถึงผู้ขายสามารถนำเอกสารเหล่านี้พิสูจน์ตนเองว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง และวุ่นวายน้อยลงมาก   

ทั้งหมดที่โอนลอยได้รับความนิยม ก็เพราะผู้ขายไม่ต้องยุ่งยากเพียงสำเนาเอกสารพร้อมลายเซ็นต์  ไม่ต้องไปที่กรมขนส่งด้วยตัวเอง และสามารถรับเงินได้ทันทีเมื่อเอกสารโอนลอยพร้อม