อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม มีอะไรบ้าง

          เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร จากอัตราร้อยละ 10.0 เป็นอัตราร้อยละ 6.3 ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 ประกอบกับพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2534 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2535 เป็นต้นไป มอบให้กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนราชการส่วนท้องถิ่น ในอัตรา 1 ใน 9  ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ ดังนั้น กรมสรรพากรจึงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 6.3 บวกกับภาษีที่ต้องจัดสรรให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นอีกในอัตรา 1 ใน 9 ของอัตราภาษีที่จัดเก็บ รวมเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้นร้อยละ 7.0

มีกระแสข่าวว่ากระทรวงการคลังจะเสนอเก็บ VAT 2 อัตรา คือเก็บ 7% กับสินค้าทั่วไป และเก็บเกิน 7% ในสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มรายได้ให้รัฐได้ 1 แสนล้านบาท แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกมาปฏิเสธว่ายังไม่มีแนวคิดทำแบบนี้
  • ไทยเริ่มเก็บ VAT ครั้งแรก 1 ม.ค. 2535 ในอัตรา 10% แต่ว่าพอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ก็ลด VAT เหลือ 7% เพื่อลดภาระประชาชน โดยกำหนดว่าจะพิจารณาทุก 2 ปี ซึ่งผ่านมา 25 ปี ถึงตอนนี้ก็ยังเก็บ 7% อยู่ โดยในปีงบประมาณ 2565 ช่วง 11 เดือน (ต.ค. 2564-ส.ค. 2565) เก็บ VAT ไปแล้ว 8.49 แสนล้านบาท
  • ถ้าไปดูในเวทีโลก หลายประเทศก็เก็บ VAT หลายอัตรา เช่น อินเดีย ที่เก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือยสูงมากเมื่อเทียบกับสินค้าทั่วไป

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม มีอะไรบ้าง

    อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม มีอะไรบ้าง

    เมื่อไม่นานมานี้ มีกระแสข่าวว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังกำลังศึกษาแนวทางการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ระบบ 2 อัตรา คือ เก็บที่ 7% กับสินค้าทั่วไป และเก็บมากกว่า 7% กับสินค้าฟุ่มเฟือย โดยการศึกษาเรื่องนี้ทำมาระยะหนึ่งแล้ว และคาดว่าถ้าจัดเก็บภาษีแบบนี้จะช่วยเพิ่มรายได้ให้ภาครัฐได้ถึง 1 แสนล้านบาท

    แต่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะออกมาปฏิเสธแล้วว่า ยังไม่ได้หยิบแนวทางนี้มาหารือ แต่ไหน ๆ มีประเด็นนี้ขึ้นมาแล้ว พี่ทุยก็เลยอยากชวนทุกคนมาคุยเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มกัน ทั้งของไทยและต่างประเทศ

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คืออะไร ? เก็บ 2 อัตรา ได้มั้ย?

    เป็นภาษีที่ภาครัฐเรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่าย ทั้งที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยผู้ประกอบการไปเก็บต่อจากผู้ซื้ออีกที (ภาษีทางอ้อม)

    การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเริ่มถูกใช้อย่างแพร่หลายในฝรั่งเศส ปี 1954 โดย Maurice Laure’ หรือบิดาแห่งระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นคนเอาแนวคิด VAT ในเยอรมัน มาสร้างเป็นระบบในฝรั่งเศส  และปลายศตวรรษที่ 1960 มีประเทศที่นำระบบ VAT ไปใช้น้อยกว่า 10 ประเทศเอง 

    ด้านไทยเริ่มจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ครั้งแรกในวันที่ 1 ม.ค. 2535 ในอัตรา 10% และหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มีการออกพระราชกฤษฎีกา ลดอัตราภาษี VAT เหลือ 7% เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน โดยเปิดช่องไว้ว่าจะพิจารณาทุก ๆ 2 ปี แต่จนถึงปี 2565 ก็ยังเก็บ 7% อยู่ (มีผลถึง 30 ก.ย. 2566) นั้นหมายความว่า ไทยมีโอกาสที่จะปรับปรุงโครงสร้างการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

    อย่างไรก็ตาม ก.ย. 2565 ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังกำลังศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ระบบ 2 อัตรา คือ 

    อัตราที่ 1 เก็บที่ 7% สินค้าทั่วไป 

    อัตราที่ 2 เก็บมากกว่า 7% สินค้าฟุ่มเฟือย 

    ซึ่งก็ยังไม่ได้ประกาศเเนวทางที่ชัดเจน เเต่หากทางรัฐบาลดำเนินการจัดเก็บภาษีแบบนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ภาครัฐได้ถึง 1 แสนล้านบาท จากข้อมูลผลการจัดเก็บรายได้ภาษี ตามปีงบประมาณ 2565 ช่วงเวลา ต.ค. 2564 – ส.ค. 2565 คือ 849,625 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2564 ช่วงเวลา ต.ค. 2563 – ก.ย. 2564 คือ 793,243 ล้านบาท 

    ผู้ประกอบการแบบไหนต้องจดทะเบียน VAT ?

    มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียน VAT เพื่อเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อนำส่งกรมสรรพากร

    (ถ้าเป็นกิจการที่กฎหมายยกเว้นก็ไม่ต้องจด VAT)

    สูตรคำนวณ VAT 

    VAT = ราคาสินค้าหรือบริการ X 7% 

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2 อัตรา กับรายได้ของรัฐบาล 

    พี่ทุยต้องบอกว่า VAT ก็เป็นช่องทางรายได้อย่างหนึ่งของภาครัฐ ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ประเทศต่าง ๆ ใช้พิจารณาว่าจะจัดเก็บภาษี VAT เท่าไหร่ ก็คือ สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศของตัวเอง บวกกับสถานการณ์การจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ

    โดยหลังจัดเก็บภาษี VAT มาแล้ว เงินเหล่านี้ก็จะถูกนำกลับมาหมุนเป็นงบประมาณแผ่นดิน เพื่อสวัสดิการของประชาชน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการพัฒนาประเทศชาติในด้านต่าง ๆ

    คราวนี้ถ้าลองวิเคราะห์แนวคิดการเก็บ VAT 2 อัตรา คือ ถ้าเป็นสินค้าทั่วไปเก็บ 7% สินค้าฟุ่มเฟือยเก็บมากกว่า 7% พี่ทุยมองว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ ก็คือ ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ก็ต้องจ่ายค่าสินค้าแพงขึ้นกว่าเดิมอีก สมชื่อคำว่า “ฟุ่มเฟือย” ส่วนรัฐบาลก็จะมีโอกาสหารายได้ภาษีเข้าประเทศได้มากขึ้น จากรายได้ VAT ส่วนของสินค้าฟุ่มเฟือยที่เพิ่มขึ้น   

    ทั้งนี้ ถึงแม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะออกมาปฏิเสธแล้วว่า ยังไม่ได้มีความคิดจะเก็บ VAT 2 อัตราตอนนี้ แต่ถ้าไปดูในต่างประเทศ พี่ทุยต้องบอกว่า มีหลายประเทศที่ไม่ได้เรียกเก็บ VAT อัตราเดียวเหมือนกันทุกประเภทสินค้าและบริการ แต่ว่าแบ่งอัตราการเก็บ VAT ออกเป็นหลายอัตรา โดยเน้นเก็บภาษีสินค้าที่เป็นพื้นฐานจำเป็นต่อชีวิตประจำวันไม่สูง แล้วเก็บแพงขึ้นกับสินค้าประเภทอื่น โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย

    มีข้อสังเกตอีกอย่างที่พี่ทุยอยากบอก ก็คือ การเก็บภาษี VAT นั้น ในบางประเทศ ก็ไม่ได้ใช้ชื่อว่า VAT แต่ใช้ชื่อว่า ภาษีสินค้าและบริการ หรือ Goods and Services Tax (GST) ซึ่งพี่ทุยก็ไปรวบรวมรูปแบบการจัดเก็บภาษีของประเทศหลัก ๆ ในโลกมาแชร์ให้เพื่อน ๆ ดังนี้

    อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม มีอะไรบ้าง

    ถ้าดูจากตารางก็จะพบว่า มีบางประเทศที่ปรับลด VAT ลงมา หลังจากช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซึ่งก็คล้าย ๆ กับไทยที่ปรับลดภาษี VAT ลงมา หลังจากมีวิกฤตต้มยำกุ้ง เพื่อหวังจะฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตได้

    นอกจากนี้ก็จะพบว่ามีหลายประเทศเลยที่ไม่ได้เรียกเก็บ VAT/GST ในอัตราเดียวตายตัว แต่เก็บหลายอัตรา โดยพี่ทุยขอยกตัวอย่างการจัดเก็บภาษี GST ของอินเดีย ที่มีการเรียกเก็บกับสินค้าฟุ่มเฟือยในอัตราที่สูงมากคือ 28% แล้วกัน

    แนวการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่อินเดีย 

    อินเดียเพิ่งจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษี GST ใหม่เมื่อต้นปี 2022 โดยจะเก็บภาษี GST ซึ่งเป็นภาษีทางอ้อม กับสินค้าและบริการหรู เช่น บริการในโรงแรม สปา และรีสอร์ท รวมถึงรถแบรนด์หรู รวมถึงสินค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าบาป ในอัตราสูงสุด 28%

    พี่ทุยขอแยกสินค้าและบริการที่ถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่างกันในอินเดีย จากข้อมูล ณ ก.ย. 2022 เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้

    อัตรา GST ต่อ สินค้าและบริการ ประเภทต่าง ๆ

    ยกเว้นภาษี : ผ้าอนามัย วัตถุดิบที่ใช้ทำไม้กวาด เกลือ วัตถุดิบประกอบอาหารทั้งหมด ไข่ หนังสือพิมพ์ หนังสือภาพสำหรับเด็ก สมุดระบายสี โรงแรมทั้งหมดที่เก็บค่าห้องพักต่ำกว่า 1,000 รูปีต่อคืน รวมถึงรูปปั้นเทพเจ้า เทพธิด สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่ทำจากหิน หินอ่อน ไม้ ปราศจากโลหะมีค่าอย่างทองคำและเงิน

    5% : เครื่องเทศ น้ำมันพืช ขนมปัง พิซซ่า ปลา ชา กาแฟ (ที่ไม่ใช่กาแฟสำเร็จรูป) อาหารเด็ก น้ำตาล ถั่ว ขนมหวาน ผัก ยาที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิต ปุ๋ย และธูป ร้านอาหารในโรงแรมที่คิดค่าห้องพักน้อยกว่า 7,500 รูปีต่อคืน บริการขนส่งมวลชนต่าง ๆ อาหารซื้อกลับบ้าน น้ำมันปิโตรเลียมเพื่อการขนส่ง

    12% : เนื้อสัตว์แช่แข็ง ไส้กรอกเนื้อสัตว์ น้ำผลไม้ ซอส (ไม่ใช่น้ำสลัด) เค้ก น้ำตาลต้ม ผลิตภัณฑ์ทำจากนม น้ำดื่มและน้ำมะพร้าว ตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ ตั๋วหนัง โรงแรมหรือบ้านพักที่คิดค่าห้องพัก 1,000-7,500 รูปีต่อคืน ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสุรา

    18% : น้ำแร่ วัตถุดิบทำพาสต้า บิสกิต ขนมอบ ซุป คอร์นเฟลก ผงกะหรี่ น้ำพริกเผา ผักดอง ส่วนผสมอาหารและอาหารเสริม เครื่องปรุงรสอื่น ๆ เช่น น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เนยโกโก้ ไอศครีม ของกินเล่น เช่น ช็อคโกแลต หมากฝรั่ง การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเข้าพักจริงในโรงแรมน้อยกว่า 7,500 รูปี โรงแรมที่คิดค่าห้องพัก 2,500-5,000 รูปีต่อคืน ร้านอาหารในโรงแรมที่คิดค่าห้องพักมากกว่า 7,500 รูปีต่อคืน บริการจัดเลี้ยง บริการโทรคมนาคม และบริการไอทีอื่น ๆ

    28% : การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเข้าพักจริ่งในโรงแรมมากกว่า 7,500 รูปี โรงแรมที่มีค่าห้องพักเกิน 5,000 รูปีต่อคืน โรงแรม 5 ดาว ร้านอาหารระดับ 5 ดาว รถแบรนด์หรู บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ถ้าดูข้างต้นก็จะเห็นชัดว่า สินค้าและบริการพื้นฐานจำเป็นในชีวิตจะถูกคิดภาษี GST ในอัตราที่ต่ำมาก ๆ และการคิดภาษี GST จะแพงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อสินค้าและบริการเหล่านั้น เริ่มไม่เข้าข่ายว่าจำเป็น คือ ไม่ซื้อก็ไม่เป็นไร หรือซื้อต่ำกว่านั้นก็ได้ แต่เต็มใจจะจ่ายแพงขึ้นเองเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ดีขึ้น และอัตราภาษีก็จะขึ้นไปในระดับสูงสุดเลย เมื่อเป็นสินค้าและบริการหรูหรา

    โดยรวมแล้ว พี่ทุยมองว่า การแบ่งเก็บภาษีไม่เท่ากัน โดยเรียกเก็บสินค้าหรูแพงกว่าสินค้าทั่วไป ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า คนที่มีกำลังใช้จ่ายกับสินค้าหรูได้ ก็น่าจะแบกรับต้นทุน VAT ที่เพิ่มขึ้นไหว ซึ่งก็ทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนอะไรที่เป็นสิ่งจำเป็นกับชีวิต ที่คนส่วนใหญ่หรือเกือบทุกคนจำเป็นต้องมีต้องใช้ ก็ควรคิดภาษีในอัตราที่คนทั่วไปรับไหว

    แต่สิ่งสำคัญก็คือ รายได้ประเทศเพิ่มขึ้นแล้ว ควรจะนำเงินไปใช้อุดหนุนสวัสดิการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรืออะไรที่จำเป็น ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกยินดีกับการเสียภาษี เพราะรู้สึกว่าเสียไปแล้ว ประเทศชาติได้อะไร ประชาชนในประเทศได้อะไร

    อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

    ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax (VAT) คือภาษีอากรประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในทุกการบริโภคที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นภาษีทางอ้อมโดยที่ผู้ประกอบการนั้นจะเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของผลิตภัณฑ์ และจะนำภาษีนั้นส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อเข้าสู่คลังของประเทศเพื่อการใช้ ...

    ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บในอัตราร้อยละเท่าใด

    ทำไมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ในเมื่อพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 507) พ.ศ.2553 กำหนดให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3.