พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 กฤษฎีกา

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 - หมวดที่ 4 คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า

หมวด 4 คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า

[15] มาตรา 95 ให้มีคณะกรรมการเรียกว่า "คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า" ประกอบด้วยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านกฎหมายหรือการพาณิชย์ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาหรือเครื่องหมายการค้าไม่น้อยแปดคน แต่ไม่เกินสิบสองคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ

การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการตามวรรคหนึ่ง ต้องแต่ตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ของจำนวนกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

คณะกรรมการจะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการก็ได้

([15] มาตรา 95 แก้ไขโดยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 )

[16] มาตรา 96 6 คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
(2) พิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการตามพระราชบัญญัตินี้

([16] มาตรา 96 (2) แก้ไขโดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543

(3) ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตาม พระราชบัญญัตินี้
(4) พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

มาตรา 97 กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือ
อยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้

มาตรา 98 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 97 กรรมการซึ่งคณะ
รัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออก
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้
กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

[17] มาตรา 99 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ
จำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมให้ที่ประชุมเลือกกรรมการ คนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลง
คะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาตามมาตรา ๙๖ (๑) หรือ (๒) ห้ามมิให้กรรมการผู้นั้นเข้าร่วมประชุมในเรื่องดังกล่าว

([17] มาตรา 99 วรรคสี่ เพิ่มเติมโดยมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543)

[18] มาตรา 99 ทวิ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๙๖ (๑) และ (๒) คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และเมื่อดำเนินการแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการเพื่อมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อไป

ให้นำมาตรา ๙๙ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องโดยอนุโลม

([18] มาตรา 99 ทวิ เพิ่มเติมโดยมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543.

มาตรา 100 คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการ
อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
ให้นำมาตรา 99 มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

[19] มาตรา 101 การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียน และคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นต่อนายทะเบียนตามแบบที่อธิบดีกำหนด

วิธีพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

([19] มาตรา 101 แก้ไขโดยมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543

มาตรา 102 ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจมีหนังสือ
สอบถามหรือเรียกนายทะเบียน ผู้อุทธรณ์ หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย
หรือความเห็น หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาก็ได้