ผู้ผลิต ตาม พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551
กับการยกระดับสินค้าเกษตรไทย

ประจำเดือนกรกฎาคม 2565

ทำไมต้องมีมาตรฐานสินค้าเกษตร ??

   ♦ สร้างกลไกสำคัญในการพัฒนา เพิ่มความสามารถการเเข่งขัน เพื่อยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรไทยให้มีคุณภาพเเละได้มาตรฐานทั้งสินค้าเกษตรด้านพืช ปศุสัตว์ เเละประมง

   ♦ ปกป้องผลประโยชน์ ในการส่งออกสินค้าเกษตรเเละอาหารในเวทีการค้าโลก

   ♦ เป็นเครื่องมือควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตร เเละกิจกรรมต่อเนื่องที่ไม่มีกฎหมายอื่นใช้บังคับตั้งเเต่ระดับฟาร์ม การเเปรรูป การขนส่ง เเละการจำหน่ายให้กับผู้บริโภค ซึ่งช่วยให้ประเทศผู้นำเข้าเชื่อมั่นในมาตรฐานสินค้าเกษตรเเละอาหารของไทยมากยิ่งขึ้น

   ♦ สร้างความน่าเชื่อถือ ระหว่างผู้ผลิต-ผู้ค้า-ผู้บริโภค

   ♦ สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ

   ♦ คุ้มครองผู้ผู้บริโภค  จากสินค้าเกษตรที่ไม่ได้คุณภาพหรือไม่ปลอดภัย

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551

     มาตรฐานสินค้าเกษตร คือ ข้อกำหนดทางวิชาการหรือเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการกสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ หรือการป่าไม้ เเละผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยการกำหนดเเละผ่านการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเป็นเเนวทางหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้กันทั่วไป

    1. คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร 

        ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐเเละภาคเอกชน เเละผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย เเผนงาน เเละมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมเเละดำเนินการมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร

     2. การกำหนดมาตรฐาน 

        เเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มาตรฐานบังคับ เเละ มาตรฐานทั่วไป

    ♦ มาตรฐานบังคับ มีกฏกระทรวงกำหนดให้สินค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐานปัจจุบัน มีมาตรฐานบังคับเเล้ว จำนวน 7 เรื่อง ได้เเก่

     1. มกษ. 1004-2557 หลักปฎิบัติสำหรับกระบวนการรมผลไม้สดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซต์

     2. มกษ. 4702-2557 เมล็ดถั่วลิสง : ข้อกำหนดปริมาณอะฟลาทอกซิน

     3. มกษ. 7432-2558 การปฎิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มผลิตลูกกุ้งขาวเเวนนาไมปลอดโรค

     4. มกษ. 9046-2560 การปฎิบัติที่ดีสำหรับการผลิตทุเรียนเเช่เยือกเเข็งเพื่อการส่งออก

     5. มกษ. 6401-2558 การปฎิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ

     6. มกษ. 2507-2559 หลักปฎิบัติสำหรับการผลิตเชื้อเห็ด

     7. มกษ. 6909-2562 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่

  ♦ มาตรฐานทั่วไปมีประกาศกำหนดเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้ตามมาตรฐานปัจจุบัน มีการกำหนดมาตรฐานทั่วไปเเล้ว เเบ่งได้ดังนี้

    3. ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า สินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ 

        ในกรณีที่มีกฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับสำหรับสินค้าเกษตรใด ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต จาก มกอช. หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ได้รับมอบหมาย

     4. การตรวจสอบเเละรับรองมาตรฐาน 

        • กรณีที่สินค้าเกษตรใดเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า จะต้องขอรับการตรวจรับรองจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน (หน่วยตรวจสอบรับรองของรัฐ/เอกชน)

        • กรณีสินค้าเกษตรตามมาตรฐานทั่วไป ผู้ผลิตจะขอรับการตรวจสอบรับรองหรือไม่ก็ได้ตามความสมัครใจ

    5. การประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน 

        หน่วยตรวจสอบรับรองภาคเอกชนที่มีความสามารถ มีการจัดองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลเเละประสงค์จะทำหน้าที่ตรวจสอบรับรองตามมตรฐานสินค้าเกษตร จะต้องขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

    6. การควบคุม 

        กฎหมายได้สร้างกลไกการควบคุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรทั้งระบบ เช่น ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน ผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย รวมถึงผู้ขนส่งสินค้าเกษตรทำให้เชื่อมั่นได้ว่าสินค้าเกษตรมีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบรับรองกลไกที่สำคัญ ได้เเก่

        • การตรวจสอบสถานที่ผลิต สถานที่เก็บสินค้าเกษตร หรือยานพาหนะของผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย หรือผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย รวมถึงห้องปฎิบัติการของผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน

        • การสุ่มตัวอย่างสินค้าเกษตรเพื่อตรวจสอบ การยึดเเละอายัดสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

        • การพักใช้เเละเพิกถอนใบอนุญาต

    7. เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน 

        สินค้าเกษตรที่ผ่านการตรวจสอบรับรองเเล้วจะต้องเเสดงเครื่องหมายรับรองตามที่กฏหมายกำหนด โดยเครื่องหมายรับรองมาตรฐานเเบ่งออกเป็น

          1. เครื่องหมายรับรองมาตรฐานบังคับ

          2. เครื่องหมายรับรองมาตรฐานทั่วไป

          3. เครื่องหมายรับรองมาตรฐานอินทรีย์

    8. การอุทธรณ์ 

        ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า หรือผู้ประกอบการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน มีสิทธิอุทธรณ์ คำสั่งสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะกรรมการเป็นหนังสือได้ โดยยื่นเป็นหนังสือต่อสำนักงานภายใน 30 วัน นับเเต่วันได้รับเเจ้งคำสั่ง

     9. บทกำหนดโทษ 

        การฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัตินี้กฏหมายกำหนดให้ต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามเเต่กรณี

ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรเเละอาหารเเห่งชาติ กระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ (www.acfs.go.th)