การเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนาในทวีปเอเชีย สรุป

                ภายหลังจากการประชุมศาสนาและสันติภาพของโลก ที่นครไนโรบีเมื่อเดือนสิงหาคม  พ.ศ.2527 การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเคนยาเริ่มมีรูปแบบมากขึ้น เมื่อมีความพยายามที่จะก่อตั้งชมรมชาวพุทธในเคนยาขึ้นมาและมีการนิมนต์พระสงฆ์จากญี่ปุ่น จีน ไทยเพื่อให้เดินทางเข้ามาเผยแผ่หลักธรรมในประเทศนี้แต่ก็เป็นช่วงสั้นๆ  และไม่ประสบความสำเร็จคืบหน้ามากนัก เนื่องจากสถานภาพในประเทศเคนยาก็มีปัญหาทั้งในเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ  รวมทั้งชนพื้นเมืองบางกลุ่มมีความไม่เป็นมิตรนักสำหรับผู้ที่นับถือศาสนาแตกต่างไปจากตน  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศนี้จึงค่อนข้างมีปัญหามาก ปัจจุบันในประเทศเคนยามีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวอินเดียและศรีลังกา นอกจากนั้นก็มีชาวพื้นเมืองอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งจำนวนไม่มากนัก

การขยายตัวของพระพุทธศาสนาทั่วทวีปเอเชียส่วนใหญ่นั้นเป็นไปอย่างสันติและเกิดขึ้นจากหลายวิธีด้วยกัน   พระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างอาจารย์ผู้เดินทางแบ่งปันความรู้ให้กับผู้ที่เปิดใจยอมรับและสนใจในอาณาจักรใกล้เคียง  ท่านได้สั่งสอนให้พระสงฆ์เดินทางไปทั่วโลกและเผยแพร่คำสอนของท่าน  ท่านไม่ได้ขอให้ผู้คนปรักปรำ หรือเลิกนับถือศาสนาของตัวเอง แล้วหันมานับถือศาสนาใหม่  หากแต่จุดมุ่งหมายของพระพุทธเจ้าคือ การช่วยเหลือผู้อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานที่พวกเขาสร้างขึ้นให้ตัวเอง อันเกิดจากการขาดความรู้แจ้งของพวกเขาเท่านั้น  สาวกของท่านในรุ่นต่อ ๆ มาก็ได้รับแรงบันดาลใจจากท่าน และเผยแพร่วิธีการของท่านที่มีประโยชน์ต่อชีวิตพวกเขาให้ผู้อื่นได้ทราบ  และนี่คือวิธีการที่ “พระพุทธศาสนา” ได้แพร่กระจายไปกว้างไกลทั่วโลก

ในบางครั้งกระบวนการแพร่กระจายก็ก่อตัวแบบธรรมชาติ  ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพ่อค้าชาวพุทธไปเยี่ยมเยือนและตั้งรกรากในดินแดนอื่น ประชาชนในพื้นที่บางส่วนก็หันมาสนใจในความเชื่อของผู้มาเยือนต่างแดนเหล่านี้เอง ซึ่งลักษณะนี้เกิดขึ้นกับการแนะนำศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียและมาเลเซียในเวลาต่อมาเช่นกัน  กระบวนการลักษณะนี้เกิดขึ้นกับพุทธศาสนาในรัฐแถบโอเอซิสตามเส้นทางสายไหมในเอเชียตอนกลางในช่วงสองศตวรรษก่อนและหลังสากลศักราชด้วย  เมื่อเจ้าเมืองและประชาชนในพื้นนั้น ๆ ได้เรียนรู้ศาสนาจากอินเดียที่ว่านี้   พวกเขาก็นิมนต์พระจากเขตบ้านเกิดของพ่อค้าเหล่านั้นมาเป็นผู้ให้คำปรึกษา หรืออาจารย์  หลังจากนั้นผู้คนก็ค่อย ๆ หันมานับถือศาสนาพุทธ   วิธีแบบธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งคือ การกลืนกลายทางวัฒนธรรมอย่างช้า ๆ จากการพิชิตพื้นที่เหล่านั้น เช่น ชาวกรีกในคันธาระกลายเป็นสังคมชาวพุทธในช่วงหลังจากศตวรรษที่ 2 ของยุคก่อนสากลสมัย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในปากีสถานตอนกลาง

โดยปกติแล้ว การแพร่กระจายมักมาจากอิทธิพลของราชวงศ์กษัตริย์ที่มีอำนาจ ซึ่งได้น้อมรับพระพุทธศาสนาเข้ามาและสนับสนุนเป็นอย่างดี  ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงกลางศตวรรษที่ 3 ของยุคก่อนสากลกสมัย พระพุทธศาสนาได้รับการแพร่กระจายไปทั่วอินเดียตอนเหนือ ซึ่งเป็นผลจากการสนับสนุนของพระเจ้าอโศกมหาราชด้วยพระองค์เอง  พระเจ้าอโศกผู้ยิ่งใหญ่ไม่ได้บังคับให้ผู้คนของท่านหันมานับถือศาสนาพุทธแต่อย่างใด  แต่ได้ตั้งเสาเหล็กทั่วอาณาจักรของท่าน ซึ่งเสาแต่ละต้นมีการสลักพระบรมราชโองการให้ประชาชนใช้ชีวิตอย่างมีจริยธรรม  เมื่อท่านทรงปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ประชาชนของท่านก็ได้รับแรงบันดาลใจและหันมานับถือศาสนาพุทธด้วยเช่นกัน

พระเจ้าอโศกมหาราชคอยผลักดันการสอนศาสนานอกอาณาจักรของท่านโดยการส่งคณะผู้สอนศาสนาไปยังแดนไกล ซึ่งบางครั้งก็ได้รับคำเชื้อเชิญจากผู้ปกครองเมืองอื่น เช่น พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ แห่งประเทศศรีลังกา  ส่วนครั้งอื่น ๆ พระเจ้าอโศกก็ทรงเป็นผู้ริเริ่มการส่งคณะสงฆ์ออกไปเผยแพร่ศาสนาเอง  พระสงฆ์ที่ออกไปเยี่ยมเยือนจะไม่กดดันให้ผู้อื่นเปลี่ยนศาสนา เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยทุกคนมีสิทธิ์เลือกเสมอ  ข้อนี้ได้รับการยืนยันจากหลักฐานที่พระพุทธศาสนาเริ่มเติบโตในพื้นที่ทางอินเดียตอนใต้และพม่าตอนใต้หลังจากการเผยแพร่ไม่นาน แต่ในพื้นที่อื่น ๆ อย่างอาณานิคมของกรีกในเอเชียตอนกลางนั้นกลับไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับผลกระทบใด ๆ

กษัตริย์ที่ฝักใฝ่ในศาสนาองค์อื่น ๆ เช่น กุบไล ข่าน ผู้สร้างราชวงศ์มองโกล ได้เชิญอาจารย์สอนศาสนาพุทธไปยังอาณาจักร และประกาศให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำดินแดน เพื่อช่วยสร้างความสมานฉันท์ระหว่างผู้คนและเสริมความมั่นคงในการปกครอง  ในระหว่างกระบวนการนี้ พวกเขาอาจสั่งห้ามใช้หลักปฏิบัติบางประการของศาสนาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ  ทั้งยังข่มเหงผู้คนที่ปฏิบัติตามด้วย  แต่การจัดการเข้มงวดแบบนี้มักขับเคลื่อนด้วยเหตุผลทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่  กระนั้นแล้วผู้ปกครองที่เปี่ยมไปด้วยความทะเยอทะยานเช่นนี้ก็ยังไม่บังคับให้ประชาชนหันมานับถือ หรือปฏิบัติตามหลักชาวพุทธ  การบังคับขู่เข็นนั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อทางศาสนาพุทธเลย

กว่างโดยสรุปพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมลงในบางยุคสมัยเมื่อได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองปกครอง จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งมีการส่งเสริมการศึกษา และการวิจัยทางพระพุทธศาสนา แปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกจากภาษาจีน ทิเบต เกาหลีเป็นภาษาญี่ปุ่นมีการจัดตั้งองค์กรทางพระพุทธศาสนาเพ่อเผยแผ่และสืบต่อพระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ รวมทั้งได้ก่อตั้งคณะพุทธศาสน์ขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อจัดการเรียนการสอนทางด้านพระพุทธศาสนาเป็นการเฉพาะอีกด้วย

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

การเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนาในทวีปเอเชีย มี อะไร บ้าง

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3 ทวีปเอเชียนับเป็นดินแดนแรก ที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่ ซึ่งพระพุทธศาสนาที่เข้ามาเผยแผ่นั้น แบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายเถรวาท และ นิกายอาจาริยวาท ต่อมาพระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละประเทศ ทำให้เกิดวิวัฒนาการเป็นพระพุทธศาสนานิกายต่างๆ เช่น นิกายตันตระ นิกายสุขาวดี ...

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา คืออะไร

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ การทำให้พระพุทธศาสนา ขยายวงกว้างออกไปให้ แพร่หลาย ได้แก่ การดำเนินการเพื่อให้หลักคำสอน ในพระพุทธศาสนาเผยแผ่ ออกไป ทำให้มี ผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัย น้อมนำหลักคำสอน ในพระพุทธศาสนาไป ประพฤติ ปฏิบัติเพื่อให้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติเหล่านั้น เพราะพระพุทธศาสนาบังเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์สุข แก่ชาว ...

ใครเผยแผ่ศาสนาพุทธไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของเอเชีย

พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน เช่น พม่า ไทย ลาว เขมร เป็นต้น

ใคร คือผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการเผยแผ่ศาสนาพุทธไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของเอเชีย

๑ สมณทูต คือ พระสงฆ์ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างประเทศ 5. ทวีปเอเชีย แม้จะ ได้ชื่อว่า เป็นต้นกำาเนิดของ พระพุทธศาสนา แต่ในระยะแรก ก็มีเพียงประเทศอินเดีย หรือ ชมพูทวีปในอดีตเท่านั้นที่รับรู้ การเกิดขึ้นและคุณค่าของ พระพุทธศาสนา