นายจ้างขาดส่งประกันสังคม มาตรา 33 pantip

กระทรวงยุติธรรม เสนอกฎหมายน่ารู้ ตอน : เจ้าของกิจการไม่ยื่นประกันสังคมให้ลูกจ้าง มีโทษทั้งจำ ทั้งปรับ

นายจ้างไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม ทำให้ลูกจ้างไม่ได้เป็นผู้ประกันตน และไม่ได้รับสิทธิจากประกันสังคมนั้น ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ นายจ้างถือว่ามีความผิด
ข้อกำหนดของประกันสังคมได้กำหนดไว้ว่า “นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่  1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนด้วยกับทางประกันสังคม โดยต้องขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีการจ้างงาน เมื่อมีการจ้างลูกจ้างใหม่ก็จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายในกำหนด 30 วัน เช่นเดียวกันและเมื่อมีลูกจ้างลาออกไปนายจ้างก็มีหน้าที่ต้องแจ้งเอาชื่อลูกจ้างออกจากประกันสังคมด้วยเช่นเดียวกัน โดยต้องระบุสาเหตุของการออกจากงาน ต้องแจ้งภายใน 15 วันของเดือนถัดไปหักเงินสมทบและนำส่งประกันสังคม”

กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้กับลูกจ้าง นายจ้างจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีนายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมล่าช้า เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นับจากเดือนที่จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้าง จะต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือน นับจากวันที่ครบกำหนด เช่น ค่าจ้างงวดเดือนมีนาคม นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบและนำส่งประกันสังคม ภายในวันที่ 15 เมษายน แต่นายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ในวันที่ 30 เมษายน ดังนั้น นายจ้างจะต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 2 เป็นเวลา 15 วัน (ครึ่งเดือน)
กรณีนายจ้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่ครบถ้วน จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของเงินสมทบที่จ่ายขาด

ข้อมูลจาก : พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533  และ Taokaemai สถาบันพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการ SME

เอกสารแนบ

  • กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 315 : เจ้าของกิจการไม่ยื่นประกันสังคมให้ลูกจ้าง มีโทษทั้งจำ ทั้งปรับ ดูแล้ว 197 ครั้ง

ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกระทรวงยุติธรรม

ท่านคิดว่าข้อมูลข่าวสารนี้มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวนี้มากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย
ท่านพึงพอใจในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากน้อยเพียงใด
มาก ปานกลาง น้อย

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ส่งข้อมูล

สำนักงานประกันสังคมเปิดโอกาสสร้างหลักประกันในชีวิต ให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ พ่อค้าแม่ค้า แม่บ้าน รับจ้างทั่วไป ฟรีแลนซ์ สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ ในมาตรา 40

ผู้ที่สามารถสมัครมาตรา 40 ได้ คือบุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม

โดยแบ่งออกเป็น 3 ทางเลือก

ทางเลือกที่ 1 : ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย

ทางเลือกที่ 2 : ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ(รับบำเหน็จ)

ทางเลือกที่ 3 (ทางเลือกใหม่) : ผู้ประกันตนจ่าย 300 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 5 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ(รับบำเหน็จ) และสงเคราะห์บุตร

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีนอนพักรักษาตัวในสถานพยาบาลวันละ 100 บาท กรณีไม่นอนพักรักษาตัวในสถานพยาบาล แต่มีใบรับรองแพทย์ ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่สามวันขึ้นไปได้รับวันละ 200 บาท (สำหรับทางเลือกใหม่กรณีนอนพักรักษาตัว กับไม่นอนพักรักษาตัว รวมกันไม่เกิน 90 วันต่อปี)

อีกทั้งเพิ่มระยะเวลาการรับสิทธิกรณีทุพพลภาพเป็นตลอดชีวิต เพิ่มค่าทำศพเป็น 40,000 บาท เพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพเป็นเดือนละ 150 บาท และหากส่งครบ 180 เดือนให้เงินเพิ่มอีก 10,000 บาท เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาทคราวละไม่เกินสองคนตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ซึ่งหลักเกณฑ์การเพิ่ม (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. 61)

สิทธิประโยชน์พื้นฐานประกันสังคมใหม่ ประกันสังคม มาตรา 40

  •  กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย

– เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 200 บาทต่อวันไม่เกิน 30 วันต่อปี เงื่อนไขจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)

– เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพิ่มเป็นวันละ 300 บาท สำหรับกรณีนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเบิกได้ตั้งแต่วันแรกที่นอนโรงพยาบาล และ

– กรณีไม่ได้นอนพักรักษาตัวแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้วันละ 200 บาท

– กรณีมีใบรับรองแพทย์ ให้หยุดพักรักษาตัว 1-2 วัน ให้ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 50 บาท แต่ไม่เกินคนละ 3 ครั้งต่อปี

– เพิ่มเงินสงเคราะห์กรณีตาย 3,000 บาท เมื่อส่งสมทบมาแล้ว 60 เดือน

  • กรณีชราภาพ เงินบำเหน็จชราภาพ หากส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนจะได้รับเงินเพิ่มจำนวน 10,000 บาทผู้ประกันตนสามารถรับเงินก้อนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
  • กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500 – 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปีทั้งนี้ เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนขึ้นไป (ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการ แพทย์)
  • กรณีตาย รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทต่อราย เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต ยกเว้น เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนเอง สามารถชำระเงินได้หลากหลายช่องทาง สำนักงานประกันสังคมได้ยกเลิกค่าธรรมเนียมชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทั้งมาตรา 39 และมาตรา 40 ผ่านธนาคารและหน่วยบริการ เป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกันตน ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 61 เป็นต้นมา

โดยสามารถชำระเงินสมบท ด้วยวิธีหักจากบัญชีเงินฝากจาก 8 ธนาคาร
– ธนาคารกรุงไทย
– ธนาคารกสิกรไทย
– ธนาคารไทยพาณิชย์
– ธนาคารทหารไทย
– ธนาคารออมสิน
– ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
– ธนาคารธนชาต
– ธนาคารกรุงเทพ

ชำระผ่านเคาน์เตอร์ 6 แห่ง
– เคาน์เตอร์เซอร์วิส
– บิ๊กซี
– เทสโก โลตัส
– ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
– ธนาคารกรุงไทย
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

นอกจากนี้สำหรับผู้ประกันตนในทางเลือกที่ 1 และ 2 สามารถชำระผ่าน ‘ตู้บุญเติม’ ที่กระจายตัวอยู่ 10,000 ตู้ทั่วประเทศ โดยไม่คิดค่าบริการ

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสังคม มาตรา 40 ได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือโทร. 1506 โดยผู้ที่สนใจเข้าสู่ระบบประกันสังคม ในมาตรา 40 สามารถสมัครทางออนไลน์ได้ใน เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม