เงินเยียวยา นายจ้าง กรม แรงงาน

จากกรณีที่ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า กระทรวงแรงงานได้เปิดให้นายจ้าง/สถานประกอบการภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม และมีลูกจ้างรวมทุกสาขาไม่เกิน 200 คน ลงทะเบียนร่วมโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ผ่านเว็บไซต์ “ส่งเสริมการจ้างงานเอสเอ็มอี.doe.go.th” ตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. 64 จนถึงวันที่ 3 พ.ย. 64 มีสถานประกอบการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว 64,554 ราย หรือร้อยละ 16.36 ช่วยรักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทย 1,174,157 คน หรือร้อยละ 29.11

ซึ่งหากเทียบจากเป้าหมายจำนวนสถานประกอบการ 394,703 ราย จำนวนลูกจ้างสัญชาติไทย 4,032,948 คน (ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม ณ วันที่ 16 ต.ค. 64) พบว่ามีนายจ้างจำนวนมากที่ยังไม่ลงทะเบียนร่วมโครงการ ล่าสุดจึงมอบหมายกรมการจัดหางาน ประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างสถานประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบ ทราบถึงโครงการและขั้นตอนเพื่อลงทะเบียนรับสิทธิแล้ว

“ผมขอย้ำให้นายจ้าง สถานประกอบการสบายใจว่า เงินอุดหนุนที่ได้รับจากโครงการฯ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วแต่กรณี โดยท่านไม่ต้องนำเงินอุดหนุนดังกล่าวไปคิดเป็นรายได้ หรือนำไปคิดคำนวณเป็นรายจ่ายในการหักภาษี โครงการนี้ รัฐบาลตั้งใจส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อเสริมสภาพคล่องฟื้นฟูกิจการ และสร้างความแข็งแรงในธุรกิจ SMEs ให้ดำเนินกิจการได้ต่อเนื่อง

โดยเตรียมเงินอุดหนุนค่าจ้างผู้ประกันตนสัญชาติไทยจำนวน 4,032,948 คน เป็นเงิน 36,296,532,000 บาท และเงินส่งเสริมการจ้างงานใหม่ ในเดือนที่ 2 และ 3 สูงสุด 201,647 ราย เป็นเงิน 1,209,882,000 บาท รวมงบประมาณที่จะช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ทั้งสิ้น 37,506,414,000 บาท ขอเพียงท่านมีคุณสมบัติครบตามที่กำหนด และปฏิบัติตามเงื่อนไขโครงการฯจะได้รับเงินอุดหนุนฟรีทันที”

ด้าน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานรับข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยมอบหมายสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานคร และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทั่วประเทศ แจ้งข้อมูลโครงการฯ และวิธีการรับสิทธิแก่นายจ้างในพื้นที่รับผิดชอบของตนทางโทรศัพท์ เพื่อให้นายจ้างสถานประกอบการไม่พลาดการรับสิทธิ

เมื่อนายจ้างได้รับการอนุมัติร่วมโครงการฯ รัฐบาลจะจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่นายจ้างเพื่อรักษาการจ้างงานในอัตรา 3,000 บาทต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ในเดือนพฤศจิกายน 2564-มกราคม 2565 แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯที่เป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม (ฐานข้อมูลประกันสังคม ม.33 สถานะ Active) ที่มีลูกจ้างรวมทุกสาขาไม่เกิน 200 คน ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2564 โดยที่นายจ้างจะต้องรักษาระดับการจ้างงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ในระหว่างเข้าร่วมโครงการฯ หากไม่สามารถรักษาระดับการจ้างงานให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนนั้น

และกรณีนายจ้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากยอดการจ้างงาน ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มตามจำนวนการจ้างงานจริงไม่เกินร้อยละ 5 ทั้งนี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฯ

สำหรับนายจ้าง/สถานประกอบการที่ต้องการร่วมโครงการฯ สามารถลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ได้ที่เว็บไซต์ ส่งเสริมการจ้างงานเอสเอ็มอี.doe.go.th ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม-20 พฤศจิกายน 2564 พร้อมแนบเอกสาร ดังนี้

1.สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
2.กรณีมอบอำนาจแนบหนังสือมอบอำนาจ/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ เจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการอนุมัติเข้าร่วมโครงการที่เว็บไซต์ดังกล่าวภายใน 5 วันทำการนับจากวันที่ลงทะเบียน

กรณีที่ไม่สะดวกลงทะเบียนผ่านระบบด้วยตนเองสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร.1694

ทั้งนี้ นายจ้างสามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้ที่นี่

มาตรการ "รัฐบาลอุดหนุนนายจ้าง ช่วยจ่ายเงินเดือนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อคน นาน 3 เดือน เพื่อรักษาการจ้างงาน" (ลงทะเบียนได้ที่นี่)

เยียวยานายจ้าง “สุชาติ” กำชับกรมการจัดหางาน -ประกันสังคม เร่งลงทะเบียนนายจ้าง รักษาการจ้างงาน พร้อมโอน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คนต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน เริ่ม 30 พ.ย.นี้ ล่าสุดมีเข้าร่วมแล้ว 5,091 ราย ลูกจ้าง 123,847 คน พื้นที่กทม. สูงสุด 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ว่า ตามที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 อนุมัติกรอบวงเงิน 37,521.69 ล้านบาท สำหรับโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs โดยให้ทางกระทรวงแรงงาน เป็นฝ่ายดูแลรับเรื่องลงทะเบียน ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาระดับการจ้างงานและส่งเสริมการจ้างงานใหม่ และสร้างสภาพคล่องให้นายจ้าง/สถานประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถฟื้นฟูกิจการสร้างความแข็งแรงของธุรกิจ พร้อมรับการเปิดประเทศที่จะมีขึ้นเร็ว ๆ นี้ โดยรัฐบาลจะโอนเงินให้นายจ้างในอัตรา 3,000 บาทต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน

เงินเยียวยา นายจ้าง กรม แรงงาน

“เรื่องนี้ผมได้กำชับให้กรมการจัดหางาน และสำนักงานประกันสังคม บูรณาการเร่งรัด ให้นายจ้างลงทะเบียน โดยให้กรมการจัดหางานใช้ฐานข้อมูลสถานประกอบการของประกันสังคม ที่นายจ้างสถานประกอบการมีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน มาดำเนินการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการให้ได้รับสิทธิตามนโยบายรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือ นายจ้างและรักษาระดับการจ้างแรงงานของลูกจ้างในธุรกิจ SMEs ให้สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้”

เยียวยานายจ้าง โอนเงินงวดแรก 30 พ.ย.นี้ 

สำหรับเงื่อนไขและวิธีการลงทะเบียนนั้น จะต้องเป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 สถานะ active มีลูกจ้างรวมทุกสาขาไม่เกิน 200 คน ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2564 นายจ้างต้องรักษาระดับการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 95% ระหว่างเข้าร่วมโครงการ (หากไม่สามารถรักษาระดับการจ้างงานให้ไม่ต่ำกว่า 95% จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนนั้น กรณีนายจ้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากยอดการจ้างงาน ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มตามจำนวนการจ้างงานจริง แต่ไม่เกิน 5% นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฯ

วิธีการลงทะเบียนและเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้

1. ลงทะเบียนทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ ส่งเสริมการจ้างงานเอสเอ็มอี.doe.go.th

2. แนบไฟล์รูปภาพ (.jpg หรือ .png ขนาดแต่ละไฟล์ไม่เกิด 2MB) ของสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร, สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร, สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์ (นิตุบุคคล)/สำเนาบัตรประชาชน (นายจ้างบุคคลธรรมดา)

3. กรณีมอบอำนาจแนบไฟล์รูปภาพของสำเนาหนังสือมอบอำนาจ/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ โดยสามารถตรวจสอบผลการอนุมัติได้ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม- 20 พฤศจิกายน 2564 (หลังลงทะเบียน 5 วันทำการ) กรณีได้รับสิทธิตามเงื่อนไข และไม่ได้อยู่ในกลุ่มทบทวนสิทธิ จะได้รับเงินอุดหนุนทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน คือ 30 พฤศจิกายน 2564, 30 ธันวาคม 2564 และ 31 มกราคม 2565

เงินเยียวยา นายจ้าง กรม แรงงาน
สุชาติ ชมกลิ่น

เยียวยานายจ้าง แลกจ้างงาน

นายสุชาติ  กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการนี้ว่า จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ได้ถึง 394,621 แห่ง เพื่ออุดหนุนค่าจ้างผู้ประกันตนมาตรา 33 สัญชาติไทยได้ 4,034,590 คน ส่งเสริมการจ้างงานใหม่ในเดือนที่ 2 และ 3 สูงสุด 201,730 ราย เป็นเงิน 1,210,380,000 บาท รวมงบประมาณที่จะช่วยเหลือธุรกิจ SMEs ทั้งสิ้น 37,521,690,000 บาท ส่วนความคืบหน้าหลังจากเปิดลงทะเบียนวันแรก (ณ วันที่ 20 ตุลาคม เวลา 17.00 น.) ปรากฎว่า มียอดรวมสถานประกอบการ ได้รับการอนุมัติเข้าร่วมโครงการแล้ว 5,091 ราย จำนวนลูกจ้างคนไทยที่ได้รับสิทธิ์ 123,847 คน แบ่งเป็นดังนี้

1. กิจการในพื้นที่ กทม. 2,231 ราย จำนวนลูกจ้างคนไทยได้รับสิทธิ์ 53,548 คน

2. กิจการในปริมณฑล 1,101 ราย จำนวนลูกจ้างคนไทยได้รับสิทธิ์ 29,218 คน

3. กิจการในภาคกลาง 687 ราย จำนวนลูกจ้างคนไทยได้รับสิทธิ์ 18,247 คน

4. กิจการในภาคใต้ 454 ราย จำนวนลูกจ้างคนไทยได้รับสิทธิ์ 8,799 คน

5. กิจการในภาคเหนือ 365 ราย จำนวนลูกจ้างคนไทยได้รับสิทธิ์ 6,975 คน

6. กิจการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 253 ราย จำนวนลูกจ้างคนไทยได้รับสิทธิ์ 7,060 คน

ทั้งนี้ ผู้สนใจที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

  • ครม.ช่วย SMEs ทุ่ม 3.7 หมื่นล้าน อุดหนุนค่าจ้างหัวละ 3,000 บาท 
  • เช็คที่นี่! เคาะเยียวยาเพิ่ม กลุ่มไหนได้รับเงินเยียวยาบ้าง!!
  • กลุ่มตกหล่นรอ!! ‘สุชาติ’ เร่งประกันสังคมโอนเยียวยากลุ่มตกหล่น ม.33-39-40