สวนพฤกษศาสตร์ มี ต้น อะไร บาง

๓) สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ รัฐบาลจึงได้ดำเนินการจัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นในประเทศไทย โดยมีลักษณะเป็นองค์กรเฉพาะ ที่มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน เพื่อทำหน้าที่รวบรวมพรรณไม้ชนิดต่างๆ นำมาจัดปลูก อนุรักษ์ ขยายพันธุ์ และศึกษาวิจัย โดยเฉพาะไม้ประจำถิ่น ไม้หายาก และไม้ที่กำลังจะสูญพันธุ์ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรพืชอย่างยั่งยืนต่อไป ตลอดจนการให้ความรู้ทางด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอันมีค่าของประเทศ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการการศึกษา และทัศนนิเวศ องค์การนี้ได้จัดตั้งสวนรวมพรรณไม้ป่าขึ้นรวม ๔ แห่ง ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เรียกชื่อว่า สวนรวมพรรณไม้ป่า ๖๐ พรรษา มหาราชินี

ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๕๓๗ ทางองค์การฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อสวนพฤกษศาสตร์ในภาคเหนือของ องค์การฯ ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์” ปัจจุบัน สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ทำหน้าที่หลัก ๔ ประการ คือ

๑. เป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ไม้ไทย โดยมี หน่วยงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชรับผิดชอบ งานขยายพันธุ์และอนุรักษ์พันธุ์ไม้ไทย โดยเฉพาะไม้ประจำถิ่นของเมืองไทย ตลอดจนทำเอกสารวิชาการและสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางพฤกษศาสตร์ทุกปี
๒. เป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติและ แหล่งข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ โดยมีการฝึกอบรมนักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น
๓. เป็นศูนย์รวมตัวอย่างพรรณไม้แห้ง สำหรับงานศึกษาทางอนุกรมวิธาน ซึ่งปัจจุบันมีตัวอย่างพรรณไม้แห้งประมาณ ๑๕,๐๐๐ ตัวอย่าง
๔. เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของ ประชาชน โดยให้ความรู้ควบคู่กับความเพลิดเพลิน

สถานที่ตั้งของสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บริเวณชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ดอยปุย ในตำบลโป่งแยง และตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีลำห้วยหลายสายไหลลงห้วยแม่สา ซึ่งเป็นลำห้วยสายใหญ่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบและที่สูง สลับกันเป็นชั้นต่างๆ จน ถึงความสูง ๑,๒๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเนื้อที่รวม ๖,๕๐๐ ไร่

สภาพสังคมพืชในพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ

๑) ป่าผลัดใบมีพื้นที่ประมาณร้อยละ ๓๕
๒) ป่ากึ่งป่าดิบมีพื้นที่ประมาณร้อยละ ๑๐ และ
๓) ป่าดิบมีพื้นที่ประมาณร้อยละ ๔๐

ส่วนพื้นที่ที่เหลือมีสภาพเป็นพื้นที่แผ้วถาง อีกประมาณร้อยละ ๑๕ ซึ่งเป็นป่าไผ่ และ ป่าที่กำลังคืนสภาพ รวมทั้งพื้นที่ปลูกพืชสวนของชาวเขา ที่ได้อพยพออกไปนอกพื้นที่แล้ว

ภายในสวนยังได้มีการจัดเส้นทางเดิน ศึกษาธรรมชาติ โดยมี ๔ เส้นทาง คือ

๑) เส้นทางเลียบน้ำตกแม่สาน้อย เป็นเส้นทางเดินเท้าเลียบไปตามห้วยแม่สาน้อยผ่านไปทางสวนหิน ซึ่งเป็นที่รวมพืชทนแล้งนานาชนิด และสิ้นสุดเส้นทางที่เรือนรวมพรรณกล้วยไม้ไทย ซึ่งมีกล้วยไม้ไทยรวมไว้กว่า ๓๕๐ ชนิด รวมระยะทางประมาณ ๓๐๐ เมตร

๒) เส้นทาง สวนรุกขชาติ เริ่มจากศูนย์สารนิเทศ เดินตามถนนไปสู่สวนรุกขชาติผ่านวงศ์กล้วย ปาล์ม เตย บอน ราชพฤกษ์ เข้าสู่สวนเฟิน จากนั้น ผ่านวงศ์ขิง-ข่า ปรงสนเขา

๓) เส้นทาง พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดต่างๆ และพืชสมุนไพรเป็นแหล่งรวบรวมพันธ์ไม้ไทยกว่า ๑,๐๐๐ ชนิด อาทิ พืชสมุนไพร พันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัด โดยมีการเสริมภูมิทัศน์ ด้วยกล้วยไม้ไทยนานาชนิด ให้ความสวยงาม และร่มรื่นตลอดเส้นทาง

๔) เส้นทางวัลย์ชาติ เป็นเส้นทางที่มีการปลูกรวบรวมไม้เลื้อย นานาชนิด ทั้งที่เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมือง และพันธุ์ไม้ต่างประเทศภายในสวนพฤกศาสตร์มีอาคารต่างๆ ได้แก่ กลุ่มเรือนกระจก ซึ่งประกอบด้วย โรงเรือนใหญ่ จัดแสดงพรรณพืชถาวร ๔ โรงเรือน คือ เรือนป่าดิบชื้น เรือนพืชทนแล้ง เรือนกล้วยไม้ และเรือนไม้น้ำ และมีโรงเรือน เล็กจัดแสดงพรรณพืชทั่วไป ๘ โรงเรือน อาทิ เรือนบัว ไม้ประดับ เรือนสับปะรดสี ชนิดพืชได้รับการรวบรวมจัดแสดงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และจัดไว้ตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ โดยสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนได้รับการควบคุมโดยระบบทันสมัย ซึ่งสามารถปรับความชื้นการหมุนเวียนของอากาศ และปริมาณแสงแดดได้ตามที่พืชต้องการ นอกจากนี้ยังมีอาคารอื่นๆ อีก คือ อาคารศูนย์สารนิเทศ เป็นอาคารที่จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าเยี่ยมชม ทั้งแผนที่ เอกสารและข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ สวนพฤกษศาสตร์ มีห้องโถงจัดนิทรรศการ ห้องประชุมสำหรับแสดงสไลด์มัลติวิชัน และวีดิทัศน์ ห้องประชุมสำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่สนใจจัดประชุมนอกสถานที่

อาคารหอพรรณไม้ เป็นศูนย์ค้นคว้าวิจัย และปฏิบัติการด้านพืช ทั้งในระดับพื้นฐานและระดับสูง งานปรับปรุงพันธุ์พืช งานสกัดสารจากพืช และการหาองค์ประกอบ สารต่างๆ ทางด้านพฤกษสมุนไพร

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ เป็นอาคารที่จัดแสดงและสาธิตให้ความรู้ทางด้านพืช ธรรมชาติวิทยา และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับพืช ด้วยเทคโนโลยีนำเสนอที่ทันสมัย สามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

นอกจากสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์แล้ว มีสวนรวมพรรณไม้ ที่อยู่ในความดูแลขององค์การสวนพฤกษศาสตร์ในภาคต่างๆ อีกรวม ๔ แห่ง คือ

๑. ศูนย์รวมพรรณไม้ภาคเหนือตอนล่าง บ้านร่มเกล้า จังหวัดพิษณุโลก
๒. ศูนย์รวมพรรณไม้ภาคตะวันออก หินสวยน้ำใส จังหวัดระยอง
๓. ศูนย์รวมพรรณไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทุ่งพึงพืด จังหวัดขอนแก่น
๔. ศูนย์รวมพรรณไม้ภาคใต้ ป่าทุ่งหราสูง จังหวัดพังงา

สวนพฤกษศาสตร์ มี ต้น อะไร บาง

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)


ที่มาและความสำคัญ

ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ซึ่งมีใจความดังต่อไปนี้ “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การให้วิธีสอน การอบรมและให้ความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว”

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริจัดตั้งงาน “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป

สวนพฤกษศาสตร์ คือ แหล่งที่รวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ทีมีชีวิต จัดปลูกตามความเหมาะสมกับสภาพถิ่นอาศัยเดิม มีห้องสมุด สถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้รักษาสภาพ อาจเป็นตัวอย่างแห้งหรือตัวอย่างดอง หรือเก็บรักษาด้วยวิธีอื่นๆ พันธุ์พืชที่ทำการรวบรวมไว้นั้นจะเป็นแหล่งข้อมูลและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน โดยมีองค์ประกอบดังกล่าว เป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็นประโยชน์ในการสอนวิชาต่างๆ

โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐมเป็นโรงเรียนที่ จัดตั้งขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2534 ด้วยสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณอันสูงยิ่ง ที่ทรงสนพระทัยในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้แก่เยาวชนในชนบทห่างไกล กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดตั้งโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัยขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเป็นอนุสรณ์ทางการศึกษาได้รับพระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย” ในชื่อภาษาอังกฤษว่า Princess Sirindhorn’s College ทางโรงเรียนได้มีการประชุมหารือ และเห็นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะสนองราชดำริ ดำเนินงานงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงได้ดำเนินการสมัครเข้าร่วมโครงการและดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน

จัดทำโดยกลุ่มงานคอมพิวเตอร์