อาณาจักรอยุธยารับอิทธิพลรูปแบบการปกครองมาจากแคว้นใด

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

วันที่ 4 มีนาคมของทุกปี ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทยเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นวันครบรอบของการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีของสยาม ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) จากประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 417 ปี ทำให้กรุงศรีอยุธยานั้นได้อยู่ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ของบ้านเรา รวมทั้งเป็นต้นแบบในด้านต่างๆ ส่งต่อมายังกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปกรรม การเมืองการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ

การสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีนั้น จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มอำนาจ 2 กลุ่ม ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือแคว้นละโว้-อโยธยา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผู้คนในกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเมืองจากอาณาจักรเขมรโบราณ หรือเมืองพระนครนั่นเอง

ส่วนอีกขั้วอำนาจหนึ่งคือแคว้นสุพรรณภูมิหรือสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมี

อาณาจักรอยุธยารับอิทธิพลรูปแบบการปกครองมาจากแคว้นใด

ความสัมพันธ์กับแคว้นละโว้ทางเครือญาติ โดยผ่านการแต่งงานกัน อันเป็นธรรมเนียมที่เป็นการผูกสัมพันธ์กันเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐในยุคโบราณ ที่ได้รับสืบมาจากอินเดีย

แต่เรื่องที่ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันเกี่ยวกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยานั้น นอกจากคำถามที่ว่า พระเจ้าอู่ทองเป็นใคร มาจากไหน? แล้ว ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของวันที่สถาปนาราชธานีแห่งนี้ขึ้นมา ว่าสรุปแล้ว กรุงศรีอยุธยา สถาปนาในวันเดือนปีไหนกันแน่?

เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่ากรุงศรีอยุธยานั้นสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 โดยมีการอ้างอิงจากพระราชพงศาวดารของไทยฉบับต่างๆ ดังความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวไว้ว่า

อาณาจักรอยุธยารับอิทธิพลรูปแบบการปกครองมาจากแคว้นใด
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ “พระเจ้าอู่ทอง” พระมหาหษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา

“ศักราช ๗๑๒ ขาลศก วัน ๖  ๕  ค่ำเพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๙ บาด แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุทธยา”

ทั้งนี้จะสังเกตว่าในพระราชพงศาวดารนั้นจะใช้ “จุลศักราช”เป็นหลัก ในขณะปัจจุบันนิยมใช้ “พุทธศักราช” แทน ซึ่งจุลศักราชนั้นจะช้ากว่าพุทธศักราชอยู่ 1,181 ปี ดังนั้นเมื่อนำจุลศักราช 712 ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐฯ ที่นำมาอ้างอิงในข้างต้น บวกกับ 1,181 ก็จะได้เท่ากับเป็นปี พ.ศ.1893 พอดี ซึ่งก็ตรงกับข้อมูลที่หลายๆ ท่านทราบดีอยู่แล้ว

แต่ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกลับระบุว่า ปีที่สถาปนากรุงศรีอยุธยานั้นคือปี ค.ศ. 1351 ซึ่งเมื่อแปลงเป็นพุทธศักราชแล้ว ก็จะได้ตรงกับปี พ.ศ. 1894

ตัวเลขปีที่ได้มาจากหลักฐานชิ้นนี้จึงไม่ตรงกับเอกสารพระราชพงศาวดารของฝ่ายไทย จึงทำให้เกิดข้อสงสัย เพราะคิดว่ามองสิเออร์ลาลูแบร์ไม่น่าจะระบุตัวเลขคลาดเคลื่อน เนื่องจากได้เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและจดรายละเอียดเกี่ยวกับดินแดนรวมถึงผู้คนของที่นี่ไว้อย่างรอบด้าน

ในหนังสือ “ศรีรามเทพนคร รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น” ของอาคม  พัฒิยะ และนิธิ เอียวศรีวงศ์ พบว่าทั้ง 2 ท่านเชื่อว่าปี พ.ศ. 1894 เป็นปีที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเหตุใดทั้ง 2 ท่าน จึงไม่ใช้ศักราชตามเอกสารพระราชพงศาวดารไทย

จนในที่สุดก็ได้ข้อสมมติฐานที่น่าสนใจว่า เดิมทีชาวสยามแต่ครั้งอยุธยา ได้ถือเอาช่วงหลังวันสงกรานต์ คือวันที่ 16-17 เมษายนเป็นวันขึ้นศักราชใหม่นั่นเอง ไม่ใช่วันที่ 1 มกราคมเหมือนในปัจจุบัน

ส่วนวันขึ้นปีใหม่ในปัจจุบันนั้น ได้ตั้งขึ้นตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ต้องการทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นสากลในเวทีโลก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ที่ผ่านมานี้เอง

ดังนั้นหากยึดตามการนับวันแบบอยุธยาแล้ว วันที่ 4 มีนาคม จุลศักราช 712 จึงน่าจะตรงกับ พ.ศ. 1894 มากกว่า เพราะยังไม่เข้าสู่วันสงกรานต์ที่ต้องขึ้นศักราชใหม่นั่นเอง

โดยในส่วนนี้ตรงกับความคิดเห็นของ ดร.ตรงใจ หุตางกูรนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ที่ได้อธิบายไว้ว่า

“พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐระบุวันเดือนปีแห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ไว้ด้วยระบบปฏิทินจันทรคติว่า ตรงกับ “ศักราช 712 ขาลศก วันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนห้า เวลารุ่งแล้ว 3 นาฬิกา 9 บาท แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา ที่ผ่านมา ได้มีการคำนวณปรับเทียบวันเดือนปีดังกล่าวกับระบบปฏิทินสุริยคติ จึงได้ว่า ตรงกับ “วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม จุลศักราช 712” จากนั้น จึงแปลงเลขจุลศักราชดังกล่าวเป็นเลขพุทธศักราช ด้วยการบวก 1181 เข้าไป จึงได้ว่า ตรงกับ “วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.1893” 1 วันเดือนปีดังกล่าวจึงเป็นที่เผยแพร่กันโดยทั่วไปอย่างไรก็ตาม วันสถาปนากรุงศรีอยุธยาดังกล่าวมี “จุดลักลั่นทางปฏิทิน” อยู่ 2 จุด คือ “เลขวันที่” กับ “เลขพุทธศักราช” เพราะที่ถูกต้องตรงตาม “ปฏิทินไทยสากล” ซึ่งขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ต้องตรงกับ “วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894”

อาณาจักรอยุธยารับอิทธิพลรูปแบบการปกครองมาจากแคว้นใด
ภาพวาด ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้เข้ามาเจริญไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

ดังนั้นนี่จึงอาจเป็นคำอธิบายว่าเหตุใดมองสิเออร์ลาลูแบร์ จึงได้ระบุปีที่สถาปนากรุงศรีอุธยาว่าตรงกับปี พ.ศ. 1894 คงเพราะบุคคลท่านนี้ได้เดินทางมาจากโลกตะวันตกซึ่งมีการนับการขึ้นศักราชใหม่ในวันที่ 1 มกราคม ดังนั้นปีศักราชใหม่ของโลกตะวันตกจึงเร็วกว่าของไทยอยู่ประมาณ 3-4 เดือนนั่นเอง

แต่หากยึดตามบริบทปัจจุบันที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ความเป็นอารยะสากลในเวทีโลกในการนับวันเวลามาตั้งแต่ช่วงทศวรรรษ 2480 โดยถือเอาวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นศักราชใหม่ จึงควรนับว่าวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 1894 เป็นวันสถาปนากรุงศรีอยุธยาด้วยเช่นกัน