ระบบสมการกำลังสอง ม.3 พร้อมเฉลย

ในหัวข้อนี้เราจะมารู้จักกับ สมการกำลังสองตัวแปรเดียว และวิธีการแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว รูปแบบต่างๆทั้ง การใช้สมบัติในการแก้สมการ แก้สมการในโดยใช้กำลังสองสมบูรณ์และผลต่างกำลังสอง และการแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียวโดยใช้สูตร โดยเนื้อหาเป็นการสรุปภาพรวมคร่าวๆ น้องๆสามารถดูแบบฝึกหัดเพิ่มเติมผ่านคลิปได้นะครับ

ดูเนื้อหาทั้งหมดของ สมการกำลังสองตัวแปรเดียว

สมการกำลังสองตัวแปรเดียว

คือสมการที่อยู่ในรูป ax2+ bx + c โดยที่  a,b และ เป็นค่าคงตัว และ a ≠ 0 

A คือ ค่าคงที่ที่อยู่หน้าพจน์กำลังสอง 

คือ ค่าคงที่ที่อยู่หน้าพจน์กำลังหนึ่ง 

คือ ค่าคงที่ 

ระบบสมการกำลังสอง ม.3 พร้อมเฉลย

พจน์ b,c อาจจะเป็น 0 ได้ทำให้เราไม่เห็น แต่พจน์ a ห้ามเป็น 0 แสดงว่า ถ้าเราเห็นสมการที่มีตัวแปร ยกกำลังสอง และมีตัวแปรเดียวกัน สมการนั้นจะเป็นสมการกำลังสองตัวแปรเดียวนั่นเอง  


สมบัติที่ใช้การแก้สมการกำลังสอง

ระบบสมการกำลังสอง ม.3 พร้อมเฉลย

“เอคุณบีเท่ากับศูนย์ แล้วเอเท่ากับศูนย์ หรือ บีเท่ากับศูนย์ “

หมายความว่าโพสต์อยู่ในรูปคูณ แล้วมีค่าเท่ากับศูนย์  พจน์ใดพจน์หนึ่งก็ต้องมีค่าเท่ากับศูนย์ 

สมบัตินี้จะช่วยให้เราสามารถแก้สมการใดโดยทำให้สมการที่อยู่ในรูปผลคูณแล้วเท่ากับศูนย์ได้

หรือในทางกลับกันถ้าเราต้องการแก้สมการ ที่เป็นสมการกำลังสอง เราแค่ต้องทำให้มันอยู่ในรูปผลคูณ = 0 เพื่อที่จะใช้สมบัติในข้อนี้

เมื่อเราได้สมการที่อยู่ในรูปผลคูณแล้ว เราสามารถใช้สมบัติข้อนี้เพื่อ ที่จะหาคำตอบของสมการได้ โดยมองว่า การที่จะได้ผลคูณเป็น 0 ได้นั้น พจน์ A หรือ B จะเป็นศูนย์  

 ทำให้เราสามารถหาคำตอบของสมการในข้อนี้ได้นั่นเอง


การแก้สมการโดยใช้กำลังสองสมบูรณ์และผลต่างกำลังสอง

เป็นวิธีการแก้สมการแบบพิเศษนะครับ ที่จะต่างจากรูปแบบทั่วไป มักจะใช้กับสมการที่ไม่สามารถแยกตัวประกอบแบบปกติได้

โดยวิธีการแก้สมการ ในรูปแบบนี้นะพี่จะแบ่งออกเป็นสี่ขั้นตอนหลัก

  1. ให้บวกจำนวนที่ทำให้สมการนั้นอยู่ในรูปกกำลังสองสมบูรณ์ได้ และลบออกด้วยจำนวนที่เท่ากัน
  2. ใช้สูตรกำลังสองสมบูรณ์ แยกตัวประกอบในส่วนที่แยกได้
  3. ใช้สูตรผลต่างกำลังสอง แยกตัวประกอบอีกครั้ง
  4. จัดรูปแล้วใช้นิยาม AB = 0 แล้ว A = 0 หรือ B = 0 เพื่อหาคำตอบ

ระบบสมการกำลังสอง ม.3 พร้อมเฉลย

ระบบสมการกำลังสอง ม.3 พร้อมเฉลย


การแก้สมการกำลังสอง โดยใช้สูตร

เราสามารถแทนตัวแปร a,b และ c ที่ได้จากการจัดรูปสมการกำลังสองในรูปแบบทั่วไปลงไปในสูตรได้เลย โดยปกติจะมีคำตอบออกมาทั้งหมด 2 คำตอบ


Author: Poom

ภูมิ จบวิศวะไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง เป็นคนรักความอิสระ ขี้เบื่อนิดหน่อย เขียนบทความในเว็บไซต์เป็นงานอดิเรก แต่ก็เหมือนจะทำเป็นงานไปประจำไปแล้ว ติดต่องาน :