สาขาภาษาอังกฤษ มีที่ไหนบ้าง

รีวิวมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสำคัญของผู้คนทั่วโลกที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุนี้วิชาภาษาอังกฤษจึงเป็นวิชาบังคับเรียนตั้งแต่ระดับประถมไปจนถึงมหาวิทยาลัยในระบบการศึกษาของไทย และมีน้องๆ ม.ปลายจำนวนไม่น้อย ที่มีความชอบและอยากจะศึกษาเกี่ยวกับภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้งเพื่อนำทักษะความรู้ไปใช้ประโยชน์ด้านที่ตัวเองสนใจในอนาคต ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งถือได้ว่ามีชื่อเสียงระดับประเทศ ต้องอยู่ในความคิดอันดับแรกๆ ของน้องๆ อย่างแน่นอน เพราะสาขาวิชานี้เปิดสอนมาพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อายุกว่า 60 ปี ถือเป็นภาควิชาเก่าแก่และเป็นภาควิชาหลักที่มีส่วนสำคัญในการเรียนการสอนของทุกคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

น้องๆ ที่เข้ามาเรียนในสาขานี้กว่า 50% คือคนที่สอบผ่านระบบรับตรงโควตาของคณะที่ว่ากันว่าทั้งยากและคะแนนโหดมาก ดังนั้นคนที่เข้ามาเรียนในสาขานี้ได้ จะต้องมีพื้นฐานความรู้และทักษะทางภาษาอังกฤษกันพอสมควร เพราะการเรียนการสอนจากอาจารย์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มากด้วยคุณวุฒิและประสบการณ์จะเข้มข้นและเน้นความรู้เชิงวิชาการเป็นหลัก โดยที่นี่เรียนกัน 4 ปี และน้องๆ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ จะมีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า “มนุษย์อิ๊ง” สำหรับน้องมนุษย์อิ๊งปี 1 จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกับนักศึกษาทั่วไปในคณะ คือ จิตวิทยา ภาษาไทย วิชาทางมนุษยศาสตร์ และภาษาอังกฤษที่เน้นทักษะในการฟัง พูด และเขียน จากนั้นในปีที่ 2 น้องๆ จะได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพูดนำเสนอผลงาน การเขียนเรียงความ วรรณคดี และภาษาศาสตร์เบื้องต้น เมื่อขึ้นปี 3 จะเรียนลึกลงไปเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ ทักษะการเขียนเชิงวิชาการ ระบบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ รวมถึงวิชาวรรณคดีเพิ่มเติมทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง บทละคร และในชั้นปีที่ 4 จะได้เรียนวิชาการวิจัยและกระบวนวิชาเลือกตามความถนัดและความสนใจ คือ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ทักษะการสื่อสาร โดยในเทอมที่ 2 นักศึกษาจะต้องทำงานวิจัย ค้นคว้า และนำเสนอผลงาน

นอกจากเก่งในด้านวิชาการแล้ว น้องๆ สาขาวิชานี้ส่วนมากก็เป็นนักกิจกรรมที่เก่งเช่นเดียวกัน ​โดยกิจกรรมสำคัญของภาควิชานี้ที่น้องๆ ในทุกชั้นปีจะต้องได้ร่วมคือ การแสดงละครเวทีภาษาอังกฤษ เพราะนักศึกษาสาขานี้จะต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาและความเข้าใจด้านวัฒนธรรมที่หลากหลายของคน ดังนั้นประสบการณ์ที่ห้องเรียนอาจจะสอนไม่ได้ น้องๆ จึงต้องเรียนรู้เองจากประสบการณ์ต่างๆ ก่อนออกไปใช้ชีวิตจริงในสังคม และแน่นอนว่าจบสาขานี้สามารถทำงานได้หลากหลายทั้ง งานสายวิชาการ เช่น ครู อาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย หรืองานสายบริการ เช่น มัคคุเทศก์ เลขานุการ แอร์โฮสเตส พนักงานต้อนรับ หรือสายงานธุรกิจ เช่น ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ เจ้าหน้าที่แปลเอกสาร เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ หรือประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

จุดเด่นของที่นี่ คืออะไร

- เป็นสาขาวิชาเปิดสอนมาพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อายุกว่า 60 ปี
- เป็นภาควิชาเก่าแก่และเป็นภาควิชาหลักที่มีส่วนสำคัญในการเรียนการสอนของทุกคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จบมาทำงานอะไร

บัณฑิตสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษ สามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา และความเข้าใจด้านวัฒนธรรมได้หลากหลายประเภท ดังนี้
1. สายวิชาการ เช่น ครู อาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย
2. สายบริการ เช่น มัคคุเทศก์ เลขานุการ แอร์โฮสเตส พนักงานต้อนรับ
3. สายงานธุรกิจ เช่น ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ ผู้แทนฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายขาย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน พนักงานฝ่ายต่างประเทศ พนักงานต้อนรับอาคันตุกะต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม เจ้าหน้าที่แปลเอกสาร เจ้าหน้าที่การศึกษา เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

สมัครเรียนทำอย่างไร

ระบบรับตรง
โครงการรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดี
- นักเรียนชั้นม.6 โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 4 เทอม (ชั้นม. 4 - 5) ไม่น้อยกว่า 3.50
- มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รายวิชาภาษาอังกฤษ 4 เทอม (ชั้นม. 4 - 5) ไม่น้อยกว่า 3.50
- มีประสบการณ์ในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร อาจจะมีประกาศนียบัตร/เกียรติบัตร หรือรางวัลมาแสดง
- ไม่มีความพิการที่เป็นอุปสรรคตอ่ การพูด การได้ยิน และการมองเห็น
- ผ่านการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ของทางสาขาวิชาฯ
- สมัครผ่านเว็บไซต์ www3.reg.cmu.ac.th

โควตา 17 จังหวัดในเขตภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ เชียงราย น่าน ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร และอุทัยธานี)
- กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นม.5 หรือ 6 ทุกแผนแผนการเรียน
- ผ่านการทดสอบของมหาวิทยาลัย
- สมัครผ่านทางเว็ปไซต์ https://www.reg.cmu.ac.th

แอดมิชชัน
พื้นฐานวิทยาศาสตร์
- GPAX 20%
- O-NET 30%
- GAT 30%
- PAT1 (คณิตศาสตร์) 20%

พื้นฐานศิลปศาสตร์
- O-NET 30%
- GPAX 20%
- GAT 50%

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

120, 000 บาท

รายละเอียดค่าใช้จ่าย

15, 000 บาท/เทอม

10 สาขาวิชา คณะมนุษยศาสตร์ / อักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์ ที่น่าเรียนต่อ

สำหรับน้องๆที่อยากเรียน ในด้านภาษา คงจะนึกต้องถึง คณะมนุษยศาสตร์ / อักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์ อย่างแน่นอน แต่คณะเหล่านี้ ก็ไม่ได้มีสอนแต่ทางด้านภาษาเท่านั้น ยังมี สาขาวิชาอื่นๆ อีกที่น่าสนใจ อาทิ เช่น สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา , สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา , สาขาวิชาจิตวิทยา เป็นต้น

และหากน้องๆ คนไหนที่สนใจอยากจะศึกษาต่อ ในคณะนี้ แต่ยังเลือกไม่ได้ว่าจะเลือกสาขาวิชาอะไร ในบทความนี้ พี่ก็มี 10 สาขาวิชา คณะมนุษยศาสตร์ / อักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์ ที่น่าเรียนต่อ มาฝากกัน น่าจะเป็นแนวทางให้กับน้องๆ ได้นะจ้ะ

1. สาขาวิชาจิตวิทยา

เป็นการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) กระบวนความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สาขาวิชานี้ บางมหาวิทยาลัยเป็นคณะเลยด้วยนะ อย่างเช่น คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

5. มหาวิทยาลัยศิลปากร

**บางมหาวิทยาลัยอาจสังกัดอยู่ในคณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่คณะมนุษยศาสตร์ / อักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. นักจิตวิทยา

2. นักวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น โรงพยาบาล มูลนิธิ สถานสงเคราะห์ เป็นต้น

.

2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์

การเรียนในสาขาวิชานี้ จะได้ศึกษาถึงประสบการณ์แห่งอดีตของสังคมมนุษย์ โดยอาศัยกระบวนการค้นหาความจริงที่มีระเบียบแห่งเหตุและผล และเรื่องราวต่างๆ ทางประวัติศาสตร์

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5. มหาวิทยาลัยนเรศวร

**บางมหาวิทยาลัยอาจสังกัดอยู่ในคณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่คณะมนุษยศาสตร์ / อักษรศาสตร์ / ศิลปศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู/อาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์หรือสังคมศึกษา

2. ศึกษานิเทศก์ในสาขาสังคมศาสตร์

3. รับราชการในหน่วยงานต่างๆ เช่น เป็นนักอักษรศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ เป็นนักจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นภัณฑารักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร เป็นนักวิชาการวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หรือกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นนักการทูต กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

.

3. สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา

การเรียน จะได้เรียนเกี่ยวข้องกับแหล่งบริการสารสนเทศต่างๆ เพื่อเป็นผู้บริหารจัดการข้อมูล สารสนเทศ ในรูปแบบต่างๆ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5. มหาวิทยาลัยศิลปากร

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู / อาจารย์

2. บรรณารักษ์

3. นักเอกสารสนเทศ

4. นักวิชาการสารสนเทศ

5. นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ เป็นต้น

.

4. สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา

จะเรียนเกี่ยวกับแนวคิดของนักปรัชญาแต่ละคน ที่มีต่อการใช้ชีวิต มนุษย์ โลก และความจริง ได้เห็นว่าเขามีมุมมองอย่างไร ทั้งตะวันออกและตะวันตก เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. มหาวิทยาลัยศิลปากร

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. รับราชการ

2. พนักงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล

3. นักสื่อสารมวลชน

4. นักเขียน

5. นักโฆษณา เป็นต้น

.

5. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

จะเรียนเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษทางด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมเจ้าของภาษา

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยบูรพา

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

3. เจ้าหน้าที่สถานทูต

4. พนักงานสายการบิน

5. เจ้าหน้าที่สำนักงานข่าวและสำนักพิมพ์ เป็นต้น

.

6. สาขาวิชาภาษาไทย

จะศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสำคัญ และวิวัฒนาการ ของภาษา วรรณกรรมไทย ตลอดจนศิลปะการใช้ทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน อย่างมีวิจารณญาณ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. นักอ่านบทโฆษณา

3. นักวิจัยภาษา

4. บรรณาธิการ

5. นักแปล / นักพิสูจน์อักษร  เป็นต้น

.

7. สาขาวิชาภาษาจีน

จะศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์ และใช้เครื่องมือที่เรียกว่าภาษาในการสื่อสารให้เข้าใจมนุษย์มากยิ่งขึ้น ซึ่งภาษาที่ศึกษาก็คือภาษาจีน โดยวิชาเรียน อาทิเช่น การอ่านภาษาจีน, การแปลจีน-ไทย, ประวัติวรรณคดีจีน, สนทนาภาษาจีนเบื้องต้น เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์นักแปล

2. นักเขียน

3. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในบริษัทหรือองค์กรที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและจีน

4. อาชีพทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม เช่น มัคคุเทศก์  เป็นต้น

.

8. สาขาวิชาภาษาเกาหลี

จะศึกษาเกี่ยวกับ ภาษาเกาหลีทั้งด้านความรู้และทักษะ เช่น การฟัง พูด อ่าน เขียนและแปล เพื่อสามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาเกาหลีทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยนเรศวร

4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. ล่ามแปลภาษา

3. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในบริษัทหรือองค์กรที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและเกาหลี

4. อาชีพทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม เช่น มัคคุเทศก์  เป็นต้น

.

9. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

จะศึกษาเกี่ยวกับ ภาษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ คันจิ เรียนลงลึกเกี่ยวกับภาษาที่หลากหลายของญี่ปุ่น เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. มหาวิทยาลัยบูรพา

3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

5. มหาวิทยาลัยนเรศวร

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. ล่ามแปลภาษา

3. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในบริษัทหรือองค์กรที่ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและญี่ปุ่น

4.  ทำงานด้านสื่อสารมวลชนหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

.

10. สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

จะเรียนเกี่ยวกับการใช้ภาษาฝรั่งเศสในระดับที่สูงขึ้น เรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ลักษณะเฉพาะของสังคมฝรั่งเศสด้านต่างๆ แนวคิดต่างๆ วรรณกรรมและศิลปะแต่ละยุคสมัยของฝรั่งเศสค่ะ ในรายละเอียดก็มีทั้งหลักภาษา การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลัก การสนทนา การอ่าน การเขียน การแปล เป็นต้น

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ (ตัวอย่าง)

1. มหาวิทยาลัยนเรศวร

2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ครู  / อาจารย์

2. ล่ามแปลภาษา

3. พนักงานต้อนรับของสายการบิน เป็นต้น

.

ขอบคุณข้อมูล    :  openhouse.swu.ac.th/hm  ,  admissionpremium.com/adplanning/fac?id=20150903135744fJaZAZH

academic.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=7792  ,  admissionpremium.com/adplanning/fac?id=201509041136032MJz6IL

trueplookpanya.com/admissions/webboard/detail/15288  ,  admissionpremium.com/adplanning/fac?id=20150909115135rI477zS

admissionpremium.com/adplanning/fac?id=201509091345191vQhsgn ,  admissionpremium.com/adplanning/fac?id=20150909145843Y9WMacT

admissionpremium.com/adplanning/fac?id=20150909164603OWCDPRj , tcaster.net/2020/08/content-university-swu-08032020t1032

Post Views: 1,674