วิเคราะห์ swot รถยนต์ไฟฟ้า

เพื่อทำความเข้าใจทั้ง “ความต้องการและโอกาสที่กำลังจะมาถึง” ของ ตลาด EV Car ในประเทศไทย ว่ามีความแตกต่างจากนานาประเทศในเรื่องใดบ้าง แนวโน้มพฤติกรรมในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของคนไทยล่าสุดเป็นอย่างไร ตลอดจนแนวทางการปรับตัวของผู้เล่นในอุตสาหกรรมนี้จะเป็นไปอย่างไรบ้าง “วิจัยกรุงศรี” ได้เผยแพร่รายงานผลการสำรวจเรื่อง “รถยนต์ไฟฟ้า: ความต้องการและโอกาสที่กำลังมาถึง” เพื่อตอบข้อสงสัยที่กล่าวมานี้

วิเคราะห์ swot รถยนต์ไฟฟ้า

วิกฤตโควิด ตัวแปรกระตุ้นการพัฒนา Ecosystem ตลาด EV Car

ล่าสุด รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ระบุว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก (รวมถึงรถยนต์ PHEV และรถยนต์ BEV) ในปี 2021 เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2020 มาอยู่ที่ 6.6 ล้านคัน โดยร้อยละ 53 ของยอดขายทั่วโลก (ประมาณ 3.4 ล้านคัน) อยู่ที่จีน ตามมาด้วยตลาดยุโรป (ร้อยละ 33) และตลาดสหรัฐฯ (ร้อยละ 11) ทั้งนี้ ในปี 2021 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.6 ของยอดขายรถยนต์ทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 0.9 ในปี 2016 โดยปัจจุบันคาดว่ามีรถยนต์ไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการใช้งานทั่วโลกราว 16 ล้านคัน
ความต้องการรถไฟฟ้าที่เร่งตัวทั่วโลกนำไปสู่การพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนที่สำคัญ เช่น แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น สาธารณูปโภคด้านการชาร์จไฟ การผลิตไฟฟ้า กฎระเบียบ และความต้องการของผู้บริโภค
  • ผู้ผลิตรถยนต์และส่วนประกอบสำคัญต่างเร่งพัฒนาสินค้าและเพิ่มความหลากหลายของสินค้า
เพื่อรองรับความต้องการที่จะเกิดขึ้น จากตัวเลขของ BloombergNEF ในตลาดรถยนต์ในปี 2021 มีรถยนต์ไฟฟ้า PHEV และรถยนต์ไฟฟ้า BEV รวมกันมากถึง 500 รุ่น เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่าจากปี 2016 และคาดว่าในช่วงสองปีข้างหน้าจะมีรถยนต์ไฟฟ้าสองประเภทนี้ออกสู่ตลาดอีกประมาณ 180 รุ่น
นอกจากนี้ ผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตแบตเตอรี่ยังร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ออกใหม่ ค่าเฉลี่ยของระยะทางในการขับขี่ต่อการชาร์จหนึ่งครั้งเพิ่มขึ้นจาก 233 กิโลเมตรในปี 2016 มาอยู่ที่ 350 กิโลเมตรในปี 2021 นับเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50.2

วิเคราะห์ swot รถยนต์ไฟฟ้า

  • จำนวนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทั่วโลก
IEA ระบุว่า จำนวนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 1.93 ล้านสถานีในปี 2021 แบ่งเป็นสถานีชาร์จแบบช้าจำนวน 1.38 ล้านสถานี (เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ประมาณ 50%) และเป็นสถานีชาร์จแบบเร็วจำนวน 0.55 ล้านสถานี (เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ประมาณ 43%) โดยสถานีชาร์จไฟฟ้ามากกว่าร้อยละ 65 อยู่ในประเทศจีน
หากคิดเป็นสัดส่วนระหว่างจำนวนสถานีชาร์จและจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2021 ทั่วโลกมีจำนวนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 1.2 สถานีต่อรถยนต์ไฟฟ้า 10 คัน ซึ่งมากกว่าจำนวนที่สหภาพยุโรปแนะนำไว้ ที่ 1 สถานีต่อรถยนต์ไฟฟ้า 10 คัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จำนวนสถานีชาร์จไฟที่เร่งตัวทั่วโลกสามารถรองรับความต้องการรถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การกระจายตัวของสถานีชาร์จจะเป็นปัจจัยสำคัญหากต้องการให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในวงกว้างทั่วโลก
  • หลายประเทศกำหนดเป้าหมายการเข้าสู่ยุครถยนต์ไฟฟ้า
โดยได้ออกมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย เช่น ภายใน 2030 นอร์เวย์ เดนมาร์ค ไอซ์แลนด์ สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักรต่างตั้งเป้าว่ารถยนต์ที่ออกขายจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ของรถยนต์ที่ออกขายใหม่ทั้งหมด
ขณะญี่ปุ่นและจีนตั้งเป้าที่คล้ายคลึงกันเอาไว้ในปี 2035 โดยแต่ละประเทศได้จัดทำแพ็คเกจสนับสนุนทั้งในด้านการเงินและไม่ใช่ตัวเงิน อาทิ ฝรั่งเศสและเยอรมนีให้เงินสนับสนุนประมาณ 7,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน จีนจัดตั้งสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศและให้สิทธิประโยชน์ทั้งเป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินกับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังไม่แพร่หลายนัก ด้วยสาเหตุเช่น รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาแพง การสนับสนุนจากรัฐไม่ชัดเจน โครงสร้างพื้นฐานยังไม่มีเพียงพอ และตัวเลือกรุ่นรถในไทยมีจำกัด เป็นต้น ซึ่งหากไทยเป็นประเทศนำเข้ารถยนต์เพื่อบริโภคเป็นหลักก็อาจไม่จำเป็นต้องเร่งปรับตัวนัก แต่เนื่องจากไทยมีสถานะเป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญประเทศหนึ่ง การปรับตัวของประเทศจึงมีความจำเป็นอยางยิ่ง ทั้งกับผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนเพื่อรักษาความสามารถในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกต่อไป และรวมไปถึงผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง
วิจัยกรุงศรีมองว่าความเข้าใจทั้ง Ecosystem ของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะด้านความต้องการของลูกค้าที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์และผู้เกี่ยวข้องสามารถวางแผนรับมือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

วิเคราะห์ swot รถยนต์ไฟฟ้า

ชี้พฤติกรรมนำทางสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าของคนไทยล่าสุด

จากการสำรวจในประเด็นสำคัญ คือ พฤติกรรมของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของคนไทยแบ่งออกเป็น การสำรวจความคิดเห็น ผู้ที่ตัดสินใจใช้รถยนต์ไฟฟ้าแล้วและผู้ที่ยังไม่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยในทั้ง 2 กลุ่ม วิจัยกรุงศรี พบข้อค้นพบสำคัญที่น่าสนใจ
สำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าเนื่องจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการใช้งานต่ำกว่า (ร้อยละ 81) ดีต่อสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 73) และชื่นชอบเทคโนโลยี (ร้อยละ 59) ขณะที่ปัจจัยด้านยี่ห้อและผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ที่จอดรถพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
หลังจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ระบุว่าสมรรถนะการขับขี่ของรถยนต์ไฟฟ้าดีกว่าที่คาดหวังไว้ ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่สถานีบริการน้อยครั้งกว่าที่คาดไว้ และโดยรวมแล้วผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีความพึงพอใจต่อการใช้งานมากกว่าที่คาดไว้
โดยเฉพาะผู้ใช้รถยนต์ BEV หรือ Battery electric vehicles ที่เรียกสั้นๆ ว่า EV Electric vehicles ซึ่ง BEV นี้เรียกได้ว่าเป็นรถไฟฟ้า 100% ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนเลย และกว่าร้อยละ 81.8  มีความพึงพอใจโดยรวมมากกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้รถยนต์ BEV ยังมีแนวโน้มที่จะวางแผนในการขับรถมากขึ้น ขับรถเร็วขึ้น แต่ขับรถให้ประหยัดมากขึ้นอีกด้วย เช่น ขับด้วยความเร็วประมาณ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นความเร็วระดับที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วิเคราะห์ swot รถยนต์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังพบปัญหาจากการใช้ โดยเฉพาะด้านการชาร์จ เช่น ระยะเวลาการชาร์จที่ยาวนาน จำนวนสถานีที่ยังไม่ครอบคลุม เป็นต้น นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุว่าระยะทางการขับขี่ต่อการชาร์จหนึ่งครั้งยังสั้นเกินไป
ส่วน ผู้ที่ยังไม่ใช้รถยนต์ไฟฟ้า เหตุผลหลักที่ยังไม่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องของการชาร์จเช่นเดียวกัน โดยเหตุผลที่สำคัญที่สุดคือ จำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้ายังไม่เพียงพอ ตามมาด้วยระยะทางการขับขี่ต่อการชาร์จที่สั้นเกินไป ราคาที่ยังสูงกว่ารถ ICE และการชาร์จใช้เวลานาน ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการตัดสินใจคือยี่ห้อรถยนต์และเทคโนโลยี

อันที่จริงแล้ว ผู้ที่ยังไม่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้ความสนใจรถยนต์ BEV มากที่สุด ดังนั้น หากมองฝั่งอุปสงค์ จะเห็นได้ว่าตลาดรถยนต์ของไทยในอนาคตอาจจะกระโดดข้ามจากรถยนต์สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่โดยไม่ต้องมีรถยนต์ไฮบริดทั้ง 2 ประเภทมาคั่นกลาง

เมื่อถามความคิดเห็นทั่วไปต่อรถยนต์ไฟฟ้า ผู้ที่ยังไม่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าไม่มากนัก โดยหากได้รับความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามมีแนวโน้มจะให้ความสนใจต่อรถยนต์ BEV มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เชื่อว่ารถยนต์ไฟฟ้าดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ ICE ขณะที่ร้อยละ 73.7 ของผู้ที่ยังไม่ได้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าระบุว่าระยะทางการขับขี่ต่อการชาร์จของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันเพียงพอต่อความต้องการขับขี่ปกติ
นอกจากนี้ กว่าร้อยละ 80 เชื่อว่าสมรรถนะการขับขี่ของรถยนต์ไฟฟ้าดีกว่ารถยนต์สันดาปภายใน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ปัญหาหลักที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของผู้ใช้ส่วนใหญ่ในไทย คือ ราคาที่ยังสูงกว่ารถยนต์สันดาปภายในและความรู้ความเข้าใจต่อรถยนต์ไฟฟ้าที่ยังไม่มาก ขณะที่ประเด็นเรื่องการชาร์จนั้นหากผู้บริโภคได้ทดลองใช้รถยนต์ไฟฟ้าอาจทำให้คลายความกังวลด้านการชาร์จลงได้

วิเคราะห์ swot รถยนต์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ดี ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบต่างๆ มีทั้งหมด 9 ปัจจัยด้วยกัน ดังนี้ 1) อายุรถยนต์ 2) จำนวนรถยนต์ในครัวเรือน 3) ระดับเทคโนโลยี 4) อายุผู้ตอบแบบสอบถาม 5) การศึกษา 6) ระยะทางการเดินทางต่อวัน 7) ระดับรายได้ 8) ที่อยู่อาศัย และ 9) อุปกรณ์ที่ครอบครอง
จากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐมิติพบว่าปัจจัยร่วมของผู้ที่สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท คือ อายุรถยนต์และจำนวนรถยนต์ที่ครอบครองในครอบครัว โดยผู้ใช้รถมักจะเปลี่ยนรถยนต์ทุก 4-10 ปี และหากในครอบครัวยังไม่มีรถยนต์ในครอบครองเลยหรือมีรถยนต์อยู่แล้วตั้งแต่ 4 คันขึ้นไป จะทำให้มีโอกาสซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสูงกว่าคนทั่วไป
นอกจากนี้ ระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และระดับรายได้ที่สูงขึ้นจะทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามสนใจรถยนต์ไฟฟ้าชนิด BEV และ PHEV มากขึ้น
และหากมุ่งเน้นที่รถยนต์ไฟฟ้าชนิด BEV จะพบว่าผู้ที่สนใจมักมีอายุระหว่าง 25-44 ปี และให้ความใส่ใจกับสุขภาพ อีกทั้งโดยปกติเดินทางในระยะที่ไม่ไกลนักที่ประมาณ 5-20 กิโลเมตรต่อวัน ซึ่งสั้นกว่าผู้ที่สนใจรถ PHEV หรือ HEV สำหรับปัจจัยทางด้านที่อยู่อาศัยพบว่าผู้ที่สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามักอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
สรุปแล้ว ณ เวลานี้ การตัดสินใจมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า ยังคงพบว่ามี จุดแข็ง-จุดอ่อน ซึ่งใน Facebook : ALS Thailand ได้แชร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว้าอย่างเข้าใจง่ายในรูปแบบอินโฟกราฟิก ดังนี้
วิเคราะห์ swot รถยนต์ไฟฟ้า

คาดการณ์แนวโน้มการพัฒนา ตลาด EV Car มีความต้องการสูงใน 3 ปีข้างหน้า

ผลการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าของไทย ตลอดจนความตื่นตัวเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการพัฒนา Ecosystem ของรถยนต์ไฟฟ้าในทุกภาคส่วน ทั้งการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ การสนับสนุนจากภาครัฐ และการเพิ่มจำนวนสถานีชาร์จ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้จะช่วยลดข้อจำกัดทางด้านอุปทานและนำไปสู่การเร่งตัวของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าได้ วิจัยกรุงศรีมองว่าการเปลี่ยนผ่านจากยุครถยนต์สันดาปภายในมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่อาจมาถึงเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดคิดไว้ ซึ่งจะสร้างแรงกระเพื่อมต่อผู้เล่นในตลาดรถยนต์และผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็น
วิจัยกรุงศรีพบว่าความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะเริ่มมาถึงในช่วง 1-2 ปีนี้ โดยในระยะแรกความต้องการส่วนใหญ่จะเป็นรถที่มีราคาระดับปานกลางและสูง หลังจากนั้นความต้องการจะเร่งตัวสูงขึ้นมากโดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าระดับราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท

วิเคราะห์ swot รถยนต์ไฟฟ้า

ลักษณะความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในช่วงหลายปีข้างหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา ทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีลักษณะแตกต่างกันด้วย ดังนั้น ทั้งผู้ผลิตรถยนต์และผู้ให้บริการจึงต้องหารูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมเพื่อที่จะตอบสนองลูกค้ากลุ่มต่างๆ
หากจะพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ผู้ใช้รถยนต์มีแนวโน้มเลือกซื้อรถยนต์ยี่ห้อที่ไม่ได้ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีเพียงร้อยละ 28 ที่จะใช้รถยนต์ยี่ห้อเดิม ส่วนร้อยละ 72 ระบุว่าสนใจจะเปลี่ยนยี่ห้อรถ และในจำนวนนี้ ร้อยละ 13 จะลองซื้อรถยนต์จากผู้ผลิตรายใหม่ๆ ที่ไม่เคยผลิตรถยนต์ ICE มาก่อน ดังนั้นผู้ผลิตรถยนต์ที่ปรับตัวไม่ทันกับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดได้
ดังนั้น ท่ามกลางภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ วิจัยกรุงศรีมองว่าการร่วมมือกันระหว่างผู้เล่นและการสร้างห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ใหม่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้เล่นได้ อาทิ
  • การสร้างห่วงโซ่อุปทานระหว่างผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่และชิ้นส่วนที่สำคัญ
เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าไม่ต้องใช้ชิ้นส่วนหลายอย่างที่มีในรถยนต์ ICE ตั้งแต่เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังไปจนถึงท่อไอเสีย ดังนั้น หากรถยนต์ไฟฟ้าเป็นที่นิยมมากขึ้น โครงสร้างการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์จะต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แต่แม้การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าใช้ชิ้นส่วนลดลงแต่ชิ้นส่วนแต่ละส่วนจะมีความสำคัญมากขึ้น เช่น แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและต้นทุนการผลิตของชิ้นส่วนเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญของการผลิตรถยนต์ ดังนั้น การร่วมมือกันของผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนที่สำคัญจะช่วยให้ผู้เล่นเหล่านี้สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้

วิเคราะห์ swot รถยนต์ไฟฟ้า

  • การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ผู้ให้เช่ารถยนต์ และผู้ให้บริการแบ่งปันรถใช้ (Car sharing)
เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่มากนัก อีกทั้งเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงแรกอยู่ในระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ผู้บริโภคในปัจจุบันยังคงลังเลที่จะเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า วิจัยกรุงศรีมองว่า นอกจากธุรกิจการให้เช่ารถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยลดความกังวลในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังอาจช่วยลดปัญหาราคารถยนต์ไฟฟ้ามือสองที่อาจลดลงอย่างรวดเร็วได้ นอกจากนี้ รูปแบบธุรกิจ Car sharing อาจสามารถตอบสนองผู้บริโภคบางกลุ่มที่ไม่ต้องการครอบครองรถได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
  • การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน
จากผลของแบบสอบถามพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คาดว่าจะชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน อีกทั้งระยะเวลาการชาร์จที่สั้นลงจะเป็นปัจจัยสำคัญในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น หากผู้ผลิตรถยนต์สามารถเสนอเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับผู้ซื้อรถ ก็จะสร้างความสามารถในการแข่งขันได้
  • การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar rooftop) และผู้ให้บริการระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage)
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงานมีแนวโน้มราคาที่ถูกลงมาก ทำให้แนวคิดการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีความคุ้มค่ามากขึ้น นอกจากนี้ผู้ที่ติดตั้ง Solar rooftop ยังสามารถขายคืนกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ด้วย ซึ่งจะสร้างความคุ้มค่าให้มากยิ่งขึ้น
  • การสร้างความร่วมมือระหว่างสถานีบริการ ร้านค้าปลีกและร้านอาหาร
เนื่องจากในปัจจุบันสถานีชาร์จไฟฟ้ายังมีความจำเป็นและเวลาการชาร์จไฟยังมีเวลานาน ดังนั้น การร่วมมือกันระหว่างสถานีบริการ ร้านค้า และร้านอาหารจะสามารถดึงดูดให้ผู้บริโภคมาใช้บริการได้

หลากหลายแง่มุมน่าสนใจของ ตลาด EV Car ทั้งในและต่างประเทศ

4 เหตุผลที่ ตลาด EV Car ยังไม่บูมสักทีในประเทศยุโรป

เปิดกลยุทธ์สร้างแบรนด์ยานยนต์ไฟฟ้า MG เน้นวางรากฐาน EV Ecosystem ในไทยให้แข็งแกร่งนำการตลาด

EV conversion รักษาการจ้างงาน สร้างเศรษฐกิจฐานราก

Post Views: 1,261