ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

ความเห็น: 4 - [22 เม.ย. 55, 08:01] ดู: 12,728 - [25 ก.ย. 65, 19:57]  ติดตาม: 2 โหวต: 1

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

กระทู้: 19

ความเห็น: 1,883

ล่าสุด: 10-08-2565

ตั้งแต่: 23-08-2554

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ
1

น้าๆมีข้อมูลเครื่องเรือไหมครับ
อยากทราบข้อดี ข้อเสียระหว่างเครื่อง 2จังหวะ /4 จังหวะ ครับ

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

กระทู้: 2

ความเห็น: 142

ล่าสุด: 21-12-2564

ตั้งแต่: 20-06-2553

ข้อดีและข้อเสียของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
ข้อดี 1. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่า 2 จังหวะ
        2. เครื่องยนต์เดินเรียบกว่า คือเงียบนิ่งกว่า 2 จังหวะ
        3. ควันไอเสียที่ออกจากเครื่องเป็นมลพิษน้อยกว่า 2 จังหวะ
        4. กระบวนการดูดไอดีและอัดไอดียาวนานกว่า ทำให้ประสิทธิภาพของการดูดและอัดดีกว่า อัตราความเร็วในรอบต่ำจะราบเรียบกว่าและที่สำคัญความร้อนของเครื่องจะต่ำกว่า 2 จังหวะ โอกาสเกิดโอเว่อร์ฮีทน้อยกว่า

ส่วนข้อเสีย 1. ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มากและซับซ้อนกว่า แน่นอนทำให้การบำรุงรักษายากตามไปด้วย
                2. น้ำหนักตัวเครื่องมากกว่า
                3. อัตราการเร่งเป็นไปได้ช้าคือต้องใช้ระยะเวลาในการเร่งมากกว่า 2 จังหวะ ในระยะทางเท่าๆกัน
               
หมายเหตุ กรณีเปรียบเทียบเครื่องยนต์ที่มีขนาดเท่ากัน เช่น 2 จังหวะ40 แรงกับ4 จังหวะ 40 แรง

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

กระทู้: 12

ความเห็น: 1,031

ล่าสุด: 13-08-2565

ตั้งแต่: 22-02-2554

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

กระทู้: 64

ความเห็น: 21,133

ล่าสุด: 21-09-2565

ตั้งแต่: 17-07-2554

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

กระทู้: 19

ความเห็น: 1,883

ล่าสุด: 10-08-2565

ตั้งแต่: 23-08-2554

ขอบคุณน้าwarat,น้าsaksky13,น้าปาการังเทียม ครับสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์

ผมไปเรียนแลปมา เค้าบอกว่ารถ 4 จังหวะ เป็นรถที่เครื่องยนต์ ไม่ balance กัน ต้องมีขนาดตั้งแต่ 6 สูบขึ้นไปตามหลักวิศวกรรม จึงจะ balance เช่นsuper sport จะมี 6 สูบ ขึ้นไปทั้งสิ้น

แต่ผมคิดในมุมกลับกัน ถ้างั้น 2 จังหวะ อาจารย์ บอก balanceกับ เสถียรกว่า ทำไมไม่เอามาใช้  ขนาดรถเครื่องยนต์ดีเซล  เมื่อก่อนควันโขมงมาแต่ไกล ยังติดเทอร์โบแก้ไขได้
ทำไมกะไอแค่ 2 จังหวะเทคโนโลยี 50 ปีที่แล้วจะแก้ไขไม่ได้
ผมเลยแบบงงๆ แต่ไม่ได้ถาม พึ่งคิดได้

เครื่องบินเจ็ท อุณหภูมิเผาไหม้ สูงกว่า น้ำมันดีเซล
ยังให้ เผาสมบูรณ์ได้เลยครับ

ใครรู้ช่วยตอบทีครับ


ทราบกันเป็นอย่างดีว่าในปัจจุบันรถจักรยานยนต์นั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นระบบเครื่องยนต์ 4 จังหวะแทบทิ้งสิ้น แต่ก็ยังคงสงสัยอยู่ดีว่า ระหว่างเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วจะดูได้จากตรงไหน ซึ่งก็มีเกร็ดความรู้ในเรื่องนี้มาฝาก กับวิธีการดูความแตกต่างระหว่าง 2 เครื่องยนต์นี้แบบง่ายๆ ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

SUZUKI T350 มาพร้อมเครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ

Honda Wave มาพร้อมกับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ทั้งเครื่องยนต์ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะนั้นต่างก็มีระบบการทำงานหรือวัญจักรการสันดาปภายในที่เหมือนกัน นั่นก็คือการดูดอากาศ และ อัดอากาศ จนถึง ระเบิด (จุดระเบิดด้วยหัวเทียน) และคายไอเสียจากการเผาไหม้ออกมา

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

สังเกตได้อย่างไรนั้น สำหรับวิธีการตรวจสอบภายนอกด้วยตาเปล่าง่ายๆ เลยก็คือ การตรวจสอบลักษณะภายนอกของเครื่องยนต์ระหว่าง 2 จังหวะกับ 4 จังหวะ จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน นั่นก็คือ

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 2 รูปแบบ

1.ตัวเสื้อสูบ โดยเสื้อสูบของเครื่องยนต์ 4 จังหวะจะมีขนาดใหญ่กว่า 2 จังหวะ ทั้งๆ ที่มีปริมาตรความจุเท่ากัน เพราะภายในของเสื้อสูบเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้น มีส่วนประกอบต่างๆ ที่มากกว่า เช่น ระบบกลไกของวาล์วไอดี วาล์วไอเสีย ก้านกระทุ้ง และแคมชาฟต์ (โซ่ขับเพลาลูกเบี้ยว) โดยเครื่องยนต์ในลักษณะของ 2 จังหวะจะไม่มีระบบกลไกของวาล์ว มีเพียงแค่ท่อสำหรับคายไอเสียทิ้งออกมาเท่านั้น รวมไปถึงท่อดูดอากาศก็ไม่ได้อยู่บริเวณส่วนของเสื้อสูบ แต่จะอยู่บริเวณด้านล่างแทน

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 2 รูปแบบ

2.ดูบริเวณท่อดูดอากาศจากคาร์บูเรเตอร์เข้าบริเวณเสื้อสูบที่ตรงกันข้ามกับทางออกของท่อไอเสีย หากเป็นเครื่องแบบ 2 จังหวะนั้น มันจะไม่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้นจะอยู่ระดับเดียวกันเสมอ

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์ 2 รูปแบบ

3.ฟังเสียง โดยเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้นหลายๆ คนคงจะทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าเสียงของมันจะออกทุ้มๆ นุ่มๆ กว่า โทนเสียงต่ำและใหญ่ ซึ่งเมื่อเร่งรอบสูงๆ เสียงของมันจะดังแบบทุ้มๆ และส่วนเครื่องยนต์ 2 จังหวะนั้นเสียงจะออกแหลมๆ (เสียงแว๊น) และสังเกตได้จากตอนขณะจอดติดเครื่องยนต์ รอบของมันจะเดินไม่เรียบนั่นเอง

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

เครื่องยนต์ 2 จังหวะส่วนใหญ่จะมีควันออกจากท่อไอเสีย

4.ท่อไอเสีย (ควัน) แน่นอนว่ารถจักรยานยนต์ที่มาพร้อมกับเครื่องยนต์ในรูปแบบ 2 จังหวะนั้นจะมีควันตามมาเป็นปกติ ซึ่งมันก็จะต้องอาศัยน้ำมันเครื่องชนิดพิเศษ หรือที่เรารู้จักกันว่า ออโต้ลูป เพื่อให้มันเข้าไปช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนบริเวณภายในห้องเครื่อง พ้รอมกับการถูกเผาไหม้ปนออกมากับไอเสียนั่นเอง

และที่เครื่อง 4 จังหวะไม่มีควันนั้นก็เพราะเนื่องจากเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะนั้นมักมีระบบการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มากกว่า และแทบจะไม่มีควันออกมาจากท่อไอเสียเลย

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

5.ตำแหน่งติดตั้งหัวเทียน สำหรับเครื่องยนต์ 4 จังหวะนั้น จำเป็นจะต้องติดตั้งหัวเทียนไว้ด้านปลายของฝาสูบ เพื่อหลบระบบควบคุมวาล์วที่อยู่บริเวณส่วนบนของฝาสูบ และเครื่องยนต์ 2 จังหวะสามารถติดตั้งส่วนบนสุดของฝาสูบได้เลย เพราะไม่มีระบบควบคุมวาล์วนั่นเอง

ข้อดีข้อเสียเครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ 4 จังหวะ

รถจักรยานยนต์ 2 จังหวะส่วนใหญ่จะต้องสตาร์ทกับเท้าเท่านั้น

6.ระบบติดเครื่องยนต์ (สตาร์ท) เครื่องยนต์ 4 จังหวะส่วนใหญ่จะสามารถใช้ได้ทั้งแบบ สตาร์ทด้วยเท้า และสตาร์ทไฟฟ้า ส่วนเครื่อง 2 จังหวะนั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้การสตาร์ทด้วยเท้า ยกเว้นในรุ่นที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่หรือจำนวนสูบมากกว่า 2 สูบขึ้นไป โดยอาจจะมีระบบมอเตอร์ช่วยสตาร์ท แต่ในปัจจุบันนี้ก็ได้มีการพัฒนามาเป็นแบบสตาร์ทไฟฟ้า (สตาร์ทมือ) แทบทั้งหมด

ส่วนข้อดีและข้อเสียโดยทั่วไปของเครื่องยนต์ทั้ง 2 และ 4 จังหวะ

ข้อดี ออกตัวได้รวดเร็ว อัตราเร่งดี ลากรอบเครื่องยนต์ได้สูง ชิ้นส่วนเคลื่อนไหวน้อย ดูแลรักษาง่าย ปรับแต่งไม่มากก็แรงได้

ข้อเสีย การสึกหรอสูง ควันขาวก่อมลพิษ เสียงดังมาก ไม่ทนทานเท่าแบบ 4 จังหวะ เครื่องเดินไม่เรียบ กินน้ำมันมากกว่า มีข้อจำกัดในการปรับแต่ง เมื่ออายุใช้งานนานๆ ชิ้นส่วนภายในเกิดคราบเขม่าจากการใช้ออโต้ลูป อาจเกิดความเสียหายได้

ข้อดี ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง (ปัจจุบันเริ่มนิยมใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์) รอบเครื่องเดินเรียบ เสียงเบา ดูแลรักษาง่ายเช่นกัน ปรับแต่งได้มากกว่า แรงบิดคงที่ ไม่มีควันขาว มลพิษต่ำ

ข้อเสีย ชิ้นส่วนมากย่อมมีค่าใช้จ่ายบำรุงรักษามากตามมาด้วย ลากรอบได้ไม่สูงเท่าเครื่อง 2 จังหวะ (แต่ในรถสมรรถนะสูงๆ ลากได้เกินหมื่นรอบ/นาทีขึ้นไป) เสียงจะดังมากขึ้นหากปรับแต่งท่อไอเสีย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก motorcycle.boxzaracing

Related Posts