วัตถุประสงค์ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

เป้าหมายและแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค

       การคุ้มครองผู้บริโภค

             รัฐบาลต้องคุ้มครองให้ผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคสินค้าและบริการ ทั้งนี้โดยตรากฎหมายคุ้มครองสิทธิต่างๆ ของผู้บริโภค และจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคได้ทราบและตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตนในการบริโภคในชีวิตประจำวัน รวมทั้งทำหน้าที่คอยตรวจสอบสินค้าและบริการที่ผลิตและเสนอขายในตลาด เกี่ยวกับคุณภาพและราคาที่เสนอขายอย่างยุติธรรม

            เป้าหมายและแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค

            เป้าหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค มีดังนี้

             1. ให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย ความปลอดภัย  หมายถึง ความปลอดภัยจากการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่มีผลต่อชีวิตและทรัพย์สินในการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น  การควบคุมสินค้าจำพวกอาหารเจือปนสารพิษยารักษาโรคที่หมดอายุและมีสารพิษตลอดจนของเล่นหรือเครื่องใช้ที่ก่อให้เกิดอันตราย เป็นต้น

             2. ให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรม ความเป็นธรรม  หมายถึง การที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะต้องไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงผู้บริโภคในประการต่าง ๆ เช่น  ปลอมปนคุณภาพ   การโฆษณาที่ชวนเชื่อเกินจริง การติดราคาที่บิดเบือนจากความเป็นจริง  ตลอดจนการทำนิติกรร ต่างๆ  ที่มีเจตนาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและต้องตกในฐานะเป็นผู้เสียเปรียบ  เป็นต้น ความเป็นธรรมจะสร้างบรรยากาศสำหรับความปลอดภัยและความประหยัดในระบบการตลาดเสรี

            3. ให้ผู้บริโภคได้รับความประหยัด ความประหยัด  หมายถึง  การส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาประหยัดตามสภาพสินค้าและบริการอย่างเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้บริโภครู้จักประหยัด โดยมีความระมัดระวังในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการอย่างมีเหตุผลในเชิงเศรษฐกิจ ความประหยัดจะเกิดได้ต่อเมื่อผู้บริโภคมีความรู้ในเรื่องการซื้อพอสมควร และรู้จักเลือกซื้อ เลือกใช้

วัตถุประสงค์ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

ที่มา : https://sites.google.com/site/healtheducation51/bth-thi/3-7-pea-hmay-laea-naewthang-kar-khumkhrxng-phu-briphokh


1. ติดตามความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ สอดส่องพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่จะมี
ผลกระทบต่อผู้บริโภค
2. ศึกษา วิเคราะห์ต้นทุน และพิจารณาความเหมาะสมของราคาสินค้า เพื่อป้องกันผู้ขายฉวยโอกาส
ขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร
3. กำกับดูแลให้ผู้ประกอบการทำงานตามกฎหมาย เช่น ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่าย ห้ามกักตุน
สินค้าห้ามปฏิเสธการขาย โดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น
4. รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับราคาสินค้า ปริมาณ หรือพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
5. ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภค เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อ
6. ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยร่วมมือกับภาคเอกชน จำหน่ายสินค้าราคาถูก ตามสถานที่ต่างๆ
ตามโครงการ "ธงฟ้า – ราค ประหยัด"

เกี่ยวกับ คคส.

  • ประวัติ และความเป็นมา
  • แนวคิด และการดำเนินการ
  • เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
  • คณะทำงาน

ข่าว

  • แจ้งเตือนภัย
  • กิจกรรม
  • ประชาสัมพันธ์

ติดต่อ คคส.

02-218-8445

ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ ชั้น 2 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Copyright © 2017 Health Consumer Protection Program

ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย