คู่มือสภานักเรียน 2564 doc

◻ อดุ หนุน ◻ รายไดส้ ถานศึกษา ◻ อ่ืน ๆ ระบุ ...........................................................…………………….

กิจกรรม/รายการใช้ คา่ งบประมาณ คา่ รวม ผู้รบั ผดิ ชอบ
งบประมาณ ตอบแทน ครุภณั ฑ์
คา่ คา่
(ระบุรายละเอยี ดการใช้เงิน) ใชส้ อย วัสดุ

รวม

๓๘

๘. การตดิ ตามประเมนิ ผล
ตัวชีว้ ัดความสำเร็จ
วธิ ปี ระเมินผล
เครอ่ื งมอื ที่ใช้
บอกเป็นร้อยละของเป้าหมายของงาน เช่น
รอ้ ยละของนักเรียน ..............
จำนวนของ ...........
บอกวิธีการประเมนิ เช่น
การสอบถาม การสงั เกต
การประเมินความพงึ พอใจ การนเิ ทศตดิ ตาม การทดสอบ
บอกเครอื่ งมือทีใ่ ชใ้ นการประเมิน ให้ตรงกบั วิธีการประเมิน เช่น แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบ

นเิ ทศตดิ ตาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ
๙. ผลที่คาดวา่ จะไดร้ บั (เขียนใหส้ อดคล้องกบั วัตถปุ ระสงค์ทก่ี ำหนดซ่งึ อาจมีมากกวา่ วตั ถุประสงค์ท่กี ำหนด)

๑. ……………………………………………………………………………………………………………………………………….
๒. ……………………………………………………………………………………………………………………………………….
๓. ……………………………………………………………………………………………………………………………………….

ลงชื่อ.....................................................ผู้เสนอโครงการ ลงช่ือ...........................................ผูเ้ หน็ ชอบโครงการ

(นางสาวครองขวัญ หงษช์ มุ แพ ) (นายทนงศักดิ์ แต่งสวุ รรณมีโชค)

ประธานคณะกรรมการสภานักเรยี นโรงเรียนชุมแพศกึ ษา หัวหน้างานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน

ลงชอื่ .........................................ผู้จดบันทึกการประชุม ลงชอื่ ...............................ผตู้ รวจรายงานการประชมุ

1

เอกสารลาดบั ท่ี 1/2564
กลมุ่ สง่ เสรมิ การจดั การศกึ ษา

คมู่ อื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

2

คำนำ

คู่มือและแนวทางการจัดกิจกรรมสภานักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม
เขต ๒ เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนระดับสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงาน
เขตพ้ืนทก่ี ารศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๒

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๒ ได้ส่งเสริมสนับสนุน
การดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน ทั้งในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษา มาอย่าง
ต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนานักเรียนให้ได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ตามหลักวิถีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข ตระหนักถึงความเป็นไทย มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพกฎ กติกา ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้น เพื่อให้กิจกรรมสภานักเรียนดำเนินงาน
เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน จึงได้จัดทำคู่มือการจัดกิจกรรม
สภานักเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๒ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาสภานักเรียน
ใหเ้ ขม้ แขง็ ต่อไป

ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้ร่วมจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานกิจกรรม
สภานักเรยี น หวังว่าคมู่ ือเล่มน้จี ะเปน็ กรอบแนวทางในการดำเนนิ กิจกรรมสภานักเรยี นได้เป็นอย่างดี

(นายชาญกฤต น้ำใจด)ี
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพ้ืนท่ีการศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๒

คู่มือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

3

สารบญั หนา้

คำนำ ๑
ส่วนที่ ๑ บทนำ ๔

หลกั การและแนวคิด ๕
สภานกั เรยี น ๖
คุณค่าและความสำคัญของสภานกั เรยี น ๗
การสรา้ งความเขม้ แข็งใหแ้ กส่ ภานกั เรียน ๘
หลักธรรมาภบิ าล ๑๐
การพฒั นาทักษะการเป็นผ้นู ำ
การสร้างจติ อาสา/สำนึกสาธารณะ ๑๒
หลักการนำประชาธิปไตยสกู่ ารปฏิบตั ิ ๑๓
สว่ นที่ ๒ การดำเนนิ งานขับเคลอื่ นกิจกรรมสภานักเรยี นของสำนักงานเขตพน้ื ทก่ี ารศึกษา ๑๔
ประถมศึกษานครปฐม เขต ๒ ๑๔
ความเปน็ มาและความสำคัญของกจิ กรรมสภานักเรยี น ๑๕
โครงสร้างและองค์ประกอบของสภานกั เรียน ๑๖
โครงสรา้ งสภานักเรียนศูนยส์ ภานักเรยี น ๑๖
โครงสรา้ งสภานกั เรียนเครือข่ายสภานกั เรยี น ๑๖
โครงสร้างสภานกั เรียนระดับสถานศึกษา ๑๗
บทบาทการบริหารจัดการสภานกั เรยี น ๑๗
บทบาทหนา้ ทข่ี องศูนย์สภานกั เรียนเขตพื้นทีก่ ารศกึ ษาประถมศึกษานครปฐมเขต ๒ ๑๘
บทบาทหน้าท่ขี องเครือข่ายสภานกั เรียนอำเภอ ๑๘
บทบาทของสภานักเรียนระดบั สถานศึกษา ๑๘
หน้าท่สี ภานักเรียนระดับสถานศกึ ษา ๑๙
การสรา้ งและพัฒนาเครอื ข่าย ๒๐
การสรา้ งและพฒั นาเครือข่ายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๒๑
การสร้างและพัฒนาเครือข่ายของศนู ยส์ ภานักเรียน
การสร้างและพัฒนาเครอื ข่ายของเครือขา่ ยสภานักเรียน
แผนภมู เิ ครือขา่ ยการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สภานกั เรยี นเขตพ้นื ที่การศกึ ษา
แผนภูมิเครือขา่ ยการสร้างความเขม้ แข็งให้แกส่ ภานกั เรยี นเขตพนื้ ที่การศึกษา

คูม่ อื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรียน สพป.นฐ.เขต ๒

4

การขบั เคลอ่ื นและเง่อื นไขความสำเร็จ หน้า
ส่วนที่ ๓ แนวทางการขบั เคล่ือนกิจกรรมสภานักเรียนของสถานศกึ ษา ๒๔

กิจกรรมท่ี ๑ ท่ีมาสภานกั เรยี น ๓๐
กิจกรรมท่ี ๒ โครงสร้างสภานกั เรียน ๓๗
กจิ กรรมที่ ๓ รปู แบบการประชุมสภานกั เรยี น ๔๔
กจิ กรรมท่ี ๔ เครือข่ายสภานักเรยี นและการมสี ่วนร่วม ๕๔
กิจกรรมที่ ๕ การบูรณาการกิจกรรมสภานักเรยี น เขา้ กบั กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๖๐
กจิ กรรมที่ ๖ การเสนอโครงการ ๗๔
กจิ กรรมที่ ๗ การประเมนิ ผลการจดั กิจกรรมสภานกั เรยี น ๘๑
บรรณานุกรม ๘๘
ภาคผนวก
ตวั อยา่ ง แนวทางในการจดั ทำระเบียบ/ข้อบังคับ/ธรรมนูญโรงเรยี นว่าด้วยสภานักเรยี น ๙๐
ตวั อยา่ ง บันทกึ ข้อความประกาศผลการเลือกต้ังประธานคณะกรรมการสภานักเรียน ๙๑
ตวั อยา่ ง ประกาศผลการเลือกต้ังประธาน/คณะกรรมการสภานกั เรยี น ๙๒
ตวั อยา่ ง โครงการของสภานกั เรยี น ๙๓
ตวั อยา่ ง คำสง่ั แต่งตั้งคณะกรรมการสภานกั เรียน ๑๐๑
ตวั อย่าง การกำหนดระเบยี บวาระการประชมุ ๑๐๒
ตวั อย่าง เคร่อื งมือประเมิน แบบสงั เกตพฤติกรรม ๑๐๓
ตวั อยา่ ง แบบประเมินผลงาน ๑๐๕
ตวั อยา่ ง แบบสัมภาษณ์ ๑๐๗
ตวั อยา่ ง แบบสำรวจความพึงพอใจ ๑๐๘
คณะผู้จัดทำ ๑๑๒

คู่มือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรียน สพป.นฐ.เขต ๒

1

สว่ นที่ ๑ บทนำ

หลกั การและแนวคดิ

เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่ง หากได้รับการพัฒนาและได้รับโอกาสให้ใช้
ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ ย่อมเป็นกำลังสำคัญ ในการสืบทอดความเป็นชาติ สามารถพัฒนา
ประเทศใหเ้ จริญกา้ วหน้า เทยี บเท่านานาอารยประเทศ เด็กและเยาวชนจงึ เป็นความหวงั ในการจรรโลงชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภูมปิ ัญญา วฒั นธรรม รวมทงั้ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้อยคู่ สู่ ังคมไทย

องค์การสหประชาชาติ ได้มีการลงนามในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็ก ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓
เพื่อให้การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยให้คำมั่นว่าจะให้การปกป้องคุ้มครองเด็กทุกคนให้
เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ภายใต้การดูแลเลี้ยงดูจากครอบครัวด้วยความรัก ความอบอุ่น
ใหม้ ีสขุ ภาพและคุณภาพชีวิตท่ีดี โดยได้ให้การรับรองสิทธิพ้นื ฐานของเด็ก ๔ ประการ คอื

สทิ ธทิ จี่ ะมชี ีวติ (Right to life)
สิทธทิ จี่ ะได้รบั การปกปอ้ ง (Right to be protected)
สทิ ธิที่จะไดร้ บั การพฒั นา (Right to be developed)
สทิ ธิที่จะมีส่วนร่วม (Right to participate)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติรับรองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม มีสิทธิ มีช่องทางในการเข้าไปมีส่วนร่วมการพัฒนา
สังคมทุกระดับ ตั้งแต่การร่วมรับรู้ข้อมูล การร่วมแสดงความคิดเห็น การร่วมตัดสินใจ การร่วมตรวจสอบ
โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมขุ
รัฐบาลมีความตระหนักถึงความสำคัญ ของการสร้างเสริมความเป็นประชาธิปไตย
การใช้ธรรมาภิบาล ความสมานฉันท์ และความพอเพียง ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนในสังคมไทย
โดยการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อการบริหาร
กิจการบ้านเมืองท่ีดี
กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดยุทธศาสตร์
ในการพฒั นาเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรมนำความรู้ โดยการสรา้ งความตระหนักและความสำนึกในคุณค่า
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างความสมานฉันท์ การใช้สันติวิธีและวิถีประชาธิปไตย
ตลอดจนส่งเสริมการมีสว่ นร่วม ของผู้ปกครอง ชุมชน ทอ้ งถ่ิน ภาครัฐและภาคเอกชน ในการจัดการศึกษา
และสรา้ งเสริมความเขม้ แขง็ ให้แก่องค์กรนกั เรียน
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดแนวทางในการพัฒนากิจกรรม “สภานักเรียน” ให้โรงเรียนได้นำไปปฏิบัติให้เป็น
รูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ความเป็นพลเมืองและวิถีประชาธิปไตย อัน
ได้แก่ คารวธรรม สามัคคีธรรม ปัญญาธรรม รวมทั้งหลักธรรมาภิบาล การมีจิตอาสาและพัฒนาตนเองได้
อย่างเต็มศักยภาพอันจะส่งผลต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์บนพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง พร้อมก้าวสู่ความเป็นสากลและเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยความร่วมมือของทุกภาคี
เครอื ข่าย

คูม่ อื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

2
การดำเนินงานสภานักเรียนเปรียบเสมือนเวทีสำหรับฝึกให้ผู้เรียน เป็นนักประชาธิปไตย
อย่างแท้จริง คือ รู้จักการเป็นผู้ให้ ผู้รับ ผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบในหน้าที่และเป็นประโยชน์
ในการปกครอง โดยช่วยแบ่งเบาภาระของครูได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิด
การเรยี นรูแ้ ละเข้าใจวิถชี วี ติ แบบประชาธิปไตย มุ่งเน้นให้ผเู้ รียนคดิ เป็น ทำเปน็ แก้ปญั หาเป็น เป็นสมาชิก
ที่ดีของสังคม และส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะ อีกทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบัน
ที่มุ่งเน้นความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ดังนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งมีหน้าท่ี
ในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา จะต้องขับเคลื่อนกิจกรรมสภานักเรียนสู่สถานศึกษาอย่างเป็น
รปู ธรรม

คู่มือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

3

คู่มือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

4

สภานักเรยี น

สภานักเรยี นคอื อะไร
สภานักเรียนเป็นกจิ กรรมหนึง่ ของนกั เรียน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญ

ที่จะช่วยพัฒนาโรงเรียนตามกระบวนการ นิติธรรม และเป็นกิจกรรม
ที่จะปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยม ความเป็นประชาธิปไตย มีจิตวิญญาณ
ในการใช้ธรรมาภิบาล เพื่อให้นักเรียนเติบโตเป็นพลเมืองดีของสังคม
และประเทศชาติ เป็นตน้ กลา้ ประชาธิปไตยทมี่ นั่ คง เขม้ แข็งของสงั คมไทย

ทำไมต้องมสี ภานกั เรยี น
การพัฒนานักเรียนให้สามารถนำหลักธรรมาภิบาลไปพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้แก่

การมีวินัย เคารพกติกา มีจิตอาสาเพื่อสังคม รู้จักใช้กระบวนการประชาธิปไตยและแนวทางสันติวิธี
ซ่ึงกจิ กรรมท่ีสามารถทำให้ผู้เรียนมคี ณุ ลักษณะดงั กล่าวได้ คือ กิจกรรมสภานักเรียน

ท่ีมาของสภานักเรียน
โรงเรียนมีภารกิจในการปลูกฝังวิถีประชาธิปไตยให้กับนักเรียน โดยการสนับสนุนให้นักเรียน

ได้มีกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการประชาธิปไตยที่ได้ปฏิบัติจริงในรูปแบบ การเลือกตั้งผู้แทนนักเรียน
เริ่มจากการเลือกหัวหน้าห้อง หัวหน้าระดับชั้น ประธานชุมนุม ประธานชมรม คณะกรรมการนั กเรียน
และสภานกั เรียน

คณุ ค่าและความสำคัญของสภานกั เรยี น

๑. เป็นกลไกสำคญั ให้นักเรยี นเหน็ คุณคา่ ของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และเพื่อการ
พฒั นาสังคมในสถานศึกษาให้เปน็ สงั คมประชาธิปไตย

๒. เป็นกระบวนการในการพัฒนาศักยภาพการเปน็ ผู้นำและผู้ตามท่ดี ี
๓. เป็นเวทีให้นักเรียนได้ฝึกทักษะและประสบการณ์ตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยและการใช้
หลักธรรมาภบิ าล
๔. สร้างโอกาสให้นกั เรยี นได้เรียนรกู้ ารอยู่ร่วมกันในสงั คมประชาธิปไตย อย่างสงบสขุ
๕. เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการปลูกฝังจิตวิญญาณประชาธิปไตยและการใช้หลักธรรมาภิบาล
ใหแ้ กน่ กั เรยี น

คมู่ ือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

5
๖. เปดิ โอกาสให้นักเรียนมีสว่ นร่วมในกจิ กรรมของสถานศึกษา
๗. ส่งเสริมให้นกั เรยี นได้รูจ้ ักสิทธแิ ละหน้าท่ีของตนเอง และรู้จกั เคารพสิทธิ และความคิดเห็นของผู้อืน่
๘. ส่งเสรมิ ให้นกั เรยี นมคี วามคิดรเิ ริ่มสร้างสรรค์ และรูจ้ กั คดิ อยา่ งมีวิจารณญาณ
๙. ให้นกั เรียนมคี วามรบั ผิดชอบในหนา้ ทต่ี อ่ ตนเอง
๑๐. สง่ เสริมความสามัคคแี ละให้เกดิ ความมนี ้ำใจตอ่ หมคู่ ณะ
๑๑. สง่ เสรมิ นกั เรยี นใหเ้ ป็นพลเมืองดใี นสังคมประชาธปิ ไตย

การสรา้ งความเข้มแข็งให้แก่สภานักเรียน

การดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่
สภานักเรียนด้วยการนำหลกั ธรรมาภิบาลสู่การปฏิบัติ การใช้หลักความสมานฉนั ท์ การใช้แนวทางสันติวิธี
ในการดำเนินงาน อีกทั้งยังต้องมีการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำ การสร้างและพัฒนาเครือข่ าย
การสร้างลักษณะนิสัยให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสาและมีจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งองค์ความรู้แต่ละเรื่อง
มีสาระสำคัญดังต่อไปน้ี

คมู่ ือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

6

หลักธรรมาภบิ าล

ธรรมาภิบาล หมายถึง การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคม อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคประชาชนที่จะช่วยให้เกิดความถูกต้อง ความชอบธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ
และมคี วามเหน็ ร่วมกันในการพฒั นาสังคมและประเทศชาติ

หลกั การสำคญั ของธรรมาภบิ าล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

พ.ศ.๒๕๔๒ ไดร้ ะบหุ ลกั การสำคญั ของธรรมาภิบาลไว้ ๖ หลักการ คือ
๑. หลักนิติธรรม คือการปกครองภายใต้ขอบเขตของระเบียบ แบบแผน โดยใช้กฎหมายเป็นหลัก

ในการดำเนินงาน
๒. หลกั คุณธรรม หมายถึงการยดึ มน่ั ในความถกู ต้องดีงามเปน็ สำคัญ
๓. หลักความโปร่งใส คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก

สามารถตรวจสอบได้
๔. หลักการมีส่วนร่วม คือการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็น

และการตัดสนิ ใจในการดำเนินงาน
๕. หลกั ความรับผดิ ชอบ คอื ความตระหนกั ในสิทธหิ นา้ ท่ี มีสำนึกในความรบั ผิดชอบในภาระหน้าท่ี
๖. หลักความคุ้มค่า คือการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แก่ส่วนรวม
การนำหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 หลักการไปสู่การปฏิบัตินั้น ต้องมีลักษณะและเงื่อนไข คือ

มีความชอบธรรม มีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล รวมท้ังการมสี ่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชน

คู่มอื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

7

การพัฒนาทกั ษะการเป็นผูน้ ำ

ภาวะผู้นำ หมายถึง ความสามารถในการวางแผนการจัดองค์กร การสื่อสาร การแก้ปัญหา
การตดั สนิ ใจ และการจูงใจให้ผู้อ่ืนปฏิบตั ิหน้าท่ีให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร คณุ ลักษณะของผู้นำที่ดี
ประกอบดว้ ย

๑ ความรูค้ วามสามารถในการปฏบิ ตั งิ าน (คนเกง่ )
๑.๑ มคี วามรู้ความเขา้ ใจงานในหนา้ ทีร่ บั ผดิ ชอบ
๑.๒ มีความสามารถในการทำงานในหน้าทร่ี บั ผดิ ชอบ
๑.๓ มคี วามสมารถในการแก้ปัญหาที่เกิดข้ึนในการทำงาน
๑.๔ มีความสามารถในการคดิ รเิ รม่ิ หรอื การพฒั นางาน
๑.๕ มคี วามม่ันคงทางอารมณ์

๒ ความรบั ผิดชอบในการทำงาน(คนด)ี
๒.๑ มคี วามขยันในการทำงาน
๒.๒ มีความเพียรพยายามและท่มุ เทให้กบั การทำงาน
๒.๓ มีความประหยัดในการใช้ทรัพยากรประกอบการทำงาน
๒.๔ มคี วามละเอยี ดรอบคอบในการทำงาน
๒.๕ มีระเบยี บวินัยในการทำงาน

๓. ความมมี นุษย์สัมพนั ธ์ในการทำงาน (มีน้ำใจ)
๓.๑ ให้ความร่วมมือกับผทู้ ีเ่ กี่ยวข้อง
๓.๒ ใหค้ วามชว่ ยเหลอื เพอ่ื นร่วมงาน
๓.๓ ยิ้มแยม้ แจม่ ใสมีมติ รไมตรีตอ่ เพ่ือนร่วมงาน
๓.๔ วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย นา่ เลื่อมใส ศรทั ธา
๓.๕ ใหเ้ กียรติและให้โอกาสเพ่อื นร่วมงานหรือเป็นนักประชาธปิ ไตย

คูม่ อื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

8

การสร้างจิตอาสา/สำนึกสาธารณะ

จิตอาสา หมายถึง การมีจิตที่ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น นึกถึงส่วนรวมอยู่เสมอ แสดงออก
ด้วยการกระทำโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน อยากเห็น ความสุข ความสำเร็จของผู้อื่น และปรารถนาจะเห็น
ส่วนรวมมีความสุขกับการได้ทำสิ่งดีดี มีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง คำนึงว่ากิจกรรมส่วนที่ตนทำจะก่อให้เกิด
ประโยชนส์ ุขแกผ่ ู้อนื่

ความเป็นผู้มีจิตอาสา/สำนึกสาธารณะ เกิดจากการซึมซับบรรยากาศและสภาพแวดล้อม
ของสถาบันต่างๆ เชน่ สถาบนั ครอบครวั สถาบันการศึกษา สถาบันสงั คม การเรยี นรูจ้ ากการไดร้ บั โอกาสที่
ได้คดิ ไดส้ รา้ งสรรค์ ไดท้ ดลอง ซึ่งสถาบนั ตา่ งๆ มอบโอกาสให้ การมสี ว่ นรว่ มของนักเรียนในกจิ กรรมต่างๆ
อย่างทั่วถึง รวมทั้งการส่งเสริม สนับสนุน และการกระตุ้น จากสถาบันการเมือง การปกครอง
และสอื่ มวลชน

แน ว ทางใน การ พั ฒ น า ให้ น ั ก เ ร ี ย น เ ป ็ น ผ ู ้ มี จ ิ ต อาส า / ส ำน ึ กส าธ าร ณ ะข อ งส ถา บ ั น การ ศ ึ ก ษ า
คือ สถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนสร้างปัญญาและพิจารณาจากการกระทำสู่การเรียนรู้
การสร้างความคิด จิตสำนึกให้ยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติ คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาสนา
สถาบันครอบครัว การสร้างเมตตาธรรมให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
ในเรื่องจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม การได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย การสร้างความคิดเห็นที่ถูกต้อง
การสรา้ งความอดทน อดกลั้น ความรับผิดชอบ การสรา้ งวินัยในตนเอง และการมเี มตตาธรรม

ปัจจัยที่เอ้อื ต่อการสร้างผเู้ รียนให้มีจิตอาสา/สำนกึ สาธารณะ

๑. การมีความสัมพนั ธ์ท่ดี ีในหมู่นกั เรยี น
๒. การสรา้ งความรว่ มมอื และความใส่ใจของครู
๓. การสรา้ งความสนใจในกจิ กรรมนกั เรียน
๔. การสรา้ งโอกาสใหแ้ ก่นักเรียน
๕. การส่งเสรมิ และสนับสนนุ ให้นกั เรียนไดใ้ ชโ้ อกาสทำงานเพอ่ื ส่วนรวม และสงั คม
๖. การแสวงหาโอกาสจากแหล่งเรยี นรู้ภายนอกสถาบนั

คูม่ ือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

9
คุณคา่ และความสำคญั ของการมจี ิตอาสา/สำนึกสาธารณะ
๑ มผี ลตอ่ ความมั่นคงของชาติ
๒ เปน็ พนื้ ฐานในการพัฒนาและสร้างสรรคค์ วามเจรญิ ใหแ้ กอ่ งค์กร
๓ ก่อให้เกดิ ความร้สู ึกรว่ ม และความผูกพันในองคก์ ร
๔ มีผลตอ่ การพฒั นาวินัยในตนเองของนักเรยี น นกั ศกึ ษา
๕ เปน็ ทนุ ทางสังคมทมี่ ีความสำคญั ของประเทศ

คูม่ ือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

10

หลักการนำประชาธิปไตยส่กู ารปฏบิ ัติ

การใช้หลกั ความสมานฉนั ท์

ความสมานฉันท์ หมายถึง ความสามัคคี ปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การมีความเห็นพ้อง
ต้องกัน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยอยู่บนพื้นฐาน
ความดี ความเป็นจริง ความเป็นธรรม ความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน ความเมตตากรุณา รวมทั้ง
การแกป้ ัญหาด้วยกระบวนการสันติวิธี ซง่ึ ควรจะต้องร้อยรัดดว้ ยวธิ ีการท่ีดี ท่จี ะชว่ ยประสานเช่ือมโยงและ
นำไปสู่การมที ศั นคตทิ ีด่ ี สานสามคั คีใหเ้ กดิ ขนึ้ ในทกุ ทข่ี องสังคม

การจะสร้างความสมานฉนั ท์ให้เกดิ ขน้ึ ควรประกอบดว้ ยแนวคดิ หลัก ๙ ประการ ได้แก่
๑ การเปิดเผยความจริง
๒ ความยตุ ธิ รรม
๓ ความพร้อมในการรบั ผิดชอบ
๔ การให้อภัย
๕ การเคารพความหลากหลายทางศาสนา วัฒนธรรม
๖ การยดึ หลกั สันติวธิ ีเปน็ ทางเลอื กในการแก้ไขความขดั แยง้
๗ การเปดิ พื้นที่ใหค้ วามทรงจำทีเ่ จบ็ ปวด
๘ การแกป้ ัญหาในอนาคตด้วยจติ นาการ
๙. การยอมรับความเสี่ยงทางสงั คมเพ่ือเสรมิ สรา้ งความไวว้ างใจระหวา่ งกัน

การใชแ้ นวทางสนั ตวิ ิธี

สังคมเกิดจากการรวมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป มีการติดต่อทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
ได้อาศัยบรรทัดฐาน คือ กฎหมาย ระเบียบประเพณี สถานภาพ และบทบาทหน้าที่เป็นที่ยึดถือ และใช้
เปน็ หลกั ปฏบิ ัติ แต่เน่ืองจากบคุ คลบางคนบางกลมุ่ ขาดคุณสมบตั ิภายใน อนั ได้แก่ ศรทั ธา ศีล การเสียสละ
และปัญญา จึงไม่ยอมรับกฎกติกา ระเบียบ แบบแผน วัฒนธรรม ประเพณี ที่ได้ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติ
ของคนในสงั คม จงึ ทำใหเ้ กิดสถานการณค์ วามขดั แย้งขนึ้ ในกลมุ่ คน ชุมชน และสังคม

ความขัดแย้งเป็นสถานการณ์ปกติของการอยู่ร่วมกันในสังคม เพราะบุคคล แต่ละคนมีพื้นฐาน
การศึกษา สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์ความขัดแย้ง
เกดิ ขนึ้ คนเราไมส่ ามารถแก้ไขความขัดแยง้ ที่เกดิ ขึ้นได้ทันที ความขดั แยง้ ที่ก่อตวั ขึ้น จึงขยายกว้างออกไป
เป็นการทะเลาะวิวาทกัน และทวีความรุนแรงขึ้น บทสรุปของความขัดแย้งก็จะกลายเป็นความแตกแยก
ทงั้ ในแง่ของความคดิ การปฏิบตั ิและผลทต่ี ามมาก็คือสังคมโดยรวมขาดความสงบสขุ

คูม่ ือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรียน สพป.นฐ.เขต ๒

11

โดยเหตุผลดังกล่าว นักวิชาการในสังคมไทยจึงพยายามที่จะแสวงหาเครื่องมือสำคัญ เพื่อนำมา
แก้ไขปัญหาความขัดแย้งซึ่งทางออกอย่างหนึ่งที่ถือได้ว่าน่าจะเป็นคำตอบได้ ก็คือแนวคิดเรื่องการใช้
กระบวนการสนั ตวิ ธิ ี หรือการปฏิบตั กิ ารท่ไี รค้ วามรนุ แรง (Non – Violence)

สันติวิธี หมายถึง วิธีการที่ไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อการแก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือวิธีการปฏิบัติ
ที่ไม่รุนแรงในการดำเนินชีวิต เพื่อนำไปสู่ความยุติธรรมและความสงบสุขสันติวิธีไม่ใช่ความอ่อนแอ
หนีปัญหา หรือยอมถูกกระทำ แต่ทว่าเป็นวิธีเผชิญปัญหา ความขัดแย้งด้วยสติปัญญา เพื่อเปลี่ยน
ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงให้เป็นความขัดแย้งลักษณะอื่นที่ไม่ก่อความเสียหายแก่ผู้เกี่ยวข้อง
อีกทั้งเป็นการนำไปสู่โอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิด เพื่อเปลี่ยนสถานการณ์ให้เป็นไป
ในเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้น การแก้ไขความขัดแย้ง จึงควรเริ่มจากมาตรฐานการสร้างความไว้วางใจ
ด้วยการเปิดใจรับฟังมุมมองของอีกฝ่ายเกี่ยวกับข้อขัดแย้ง และอาจเริ่มปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์
โดยไมต่ ้องรอให้อีกฝา่ ยร้องขอ เพอื่ การนำไปสู่โอกาสพิจารณาข้อขดั แย้งบางสว่ นรว่ มกัน รวมท้ังการลดละ
เจตคตแิ ละพฤติกรรมทางลบ

ผู้นำสันติวิธีต้องใช้สติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และขันติธรรมในการพัฒนาวิธีจัดการ
ความขัดแย้งที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและบริบทของสถานการณ์บนหลักการพื้นฐาน คือ หลีกเลี่ยงการใช้
ความรุนแรง เพราะการใช้ความรุนแรงอาจดูเหมือนช่วยกดข่มหรือระงับปัญหาลงได้ระดับหน่ึง
แต่ ความเกลียดชังหรือความเป็นปฏิปักษ์ยังแฝงตัวอยู่ หากข้อขัดแย้งไม่ได้รับการแก้ไขถึงรากเหง้า
ย่อมรอจังหวะปะทุขึ้นเป็นวัฏจักรใหม่ของความรุนแรง สันติวิธีจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ไข
ปัญหาความขัดแย้งที่ยั่งยืน

คูม่ ือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรียน สพป.นฐ.เขต ๒

12

สว่ นที่ ๒
การดำเนนิ งานขับเคล่ือนกิจกรรมสภานกั เรียน
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศกึ ษาประถมศกึ ษานครปฐม เขต ๒

ความเปน็ มาและความสำคัญของกิจกรรมสภานกั เรียน

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการกำหนดนโยบายการดำเนินกิจกรรม
สภานักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้ได้รู้บทบาทหน้าที่ตามหลักวิถีประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เคารพกฎ กติกา ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี เติบโตเป็นพลเมืองที่ดี
ของประเทศชาติ และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตดำเนินการ ให้กิจกรรมสภานักเรียน
เป็นกิจกรรมหนึ่งในจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยปฏิบัติตามมาตรการในการดำเนินงาน
กิจกรรมสภานักเรียน และรายงานแผนพัฒนางานสภานักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเดือน
พฤษภาคมของทุกปี

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต ๒ ได้ดำเนินการส่งเสริม
สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายกิจกรรมสภานักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตลอดจนพัฒนาความเข้มแข็งกิจกรรมสภานักเรียนระดับเขตพ้ืนที่การศึกษา ซึ่งสภานักเรียนเป็นกิจกรรม
สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีภาวะผู้นำที่ใช้กระบวนการประชาธิปไตยและนำหลักธรรมาภิบาล
มาดำเนินงาน เพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยม ๑๒ ประการ ซึ่งจะต้อง
ขบั เคล่อื นให้มีการดำเนนิ กจิ กรรมทเ่ี ปน็ รูปธรรมอยา่ งจริงจัง ตอ่ เน่อื งและขยายผลสูค่ วามยง่ั ยนื

เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครปฐมเขต ๒ จึงได้อนุมัติจัดตั้งศูนย์สภานักเรียน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครปฐมเขต ๒ และเครือขา่ ยสภานกั เรียนประจำอำเภอ ดงั น้ี

๑. ศูนยส์ ภานักเรียนเขตพืน้ ที่สำนักงานเขตพืน้ ท่ีการศึกษาประถมศกึ ษานครปฐม เขต ๒
โรงเรียนบา้ นกระทุ่มล้ม (นครราษฎรป์ ระสิทธิ์)

๒. เครอื ข่ายสภานกั เรียนประจำอำเภอนครชยั ศรี สำนักงานเขตพ้ืนท่กี ารศึกษาประถมศึกษา
นครปฐม เขต ๒ โรงเรยี นวดั ศรีมหาโพธิ์

คูม่ ือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

13
๓. เครือข่ายสภานักเรียนประจำอำเภอสามพราน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครปฐม เขต ๒ โรงเรียนวดั หอมเกร็ด (ไพศาลประชานุกลู )
๔. เครือข่ายสภานักเรียนประจำอำเภอพทุ ธมณฑล สำนักงานเขตพื้นที่การศกึ ษาประถมศึกษา
นครปฐม เขต ๒ โรงเรียนวดั มะเกลือ (กาญจนลักษณว์ ทิ ยา)
๕. เครือข่ายสภานักเรียนประจำอำเภอบางเลน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครปฐม เขต ๒ โรงเรยี นวดั บึงลาดสวาย
ทั้งนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานสภานักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครปฐม เขต ๒ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และมีการขยายผลการดำเนินงาน
สภานักเรียนสู่ทุกโรงเรียนในเขตพื้นท่ี มีการสร้างความเข้มแข็ง ในการดำเนินงานสภานักเรียนและ
มีการพัฒนาอย่างยงั่ ยนื

โครงสรา้ งและองคป์ ระกอบของสภานักเรยี น
โครงสร้างการบริหารงานสภานกั เรียนปรากฏดังแสดงในแผนภมู ิ

โครงสรา้ งสภานกั เรยี นระดับเขตพืน้ ท่กี ารศึกษา

คู่มอื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

14
โครงสรา้ งสภานักเรียนศูนย์สภานักเรียนเขตพ้นื ทกี่ ารศกึ ษาประถมศกึ ษานครปฐม เขต ๒

โครงสรา้ งสภานกั เรียนเครือข่ายสภานักเรียนอำเภอ

คู่มือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

15
โครงสรา้ งสภานักเรยี นระดับสถานศึกษา

รูปแบบที่ ๑

รูปแบบท่ี ๒

คู่มือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

16

บทบาทการบริหารจัดการสภานกั เรยี น

บทบาทหนา้ ทข่ี องศนู ย์สภานกั เรียนเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษาประถมศึกษานครปฐมเขต ๒

๑. กำหนดแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียนในระดับศูนย์สภานักเรียนเขตพื้นที่
การศกึ ษาและเครอื ขา่ ยสภานกั เรยี นทัง้ ๔ อำเภอ

๒. ดำเนนิ การจดั ตงั้ ประธานและคณะกรรมการศนู ยส์ ภานักเรียนเขตพ้ืนท่ีการศึกษาและเครือข่าย
สภานกั เรยี นทงั้ ๔ อำเภอ

๓. ดำเนินการจัดกิจกรรมและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์สภาเขตพื้นที่การศึกษา
และเครือขา่ ยสภานกั เรียนท้ัง ๔ อำเภอ

๔. การยกยอ่ งชมเชยสภานักเรียนโรงเรยี นที่สามารถจัดกจิ กรรมสภานักเรยี น ไดอ้ ยา่ งเขม้ แข็งและ
มปี ระสทิ ธภิ าพ

๕. การส่งเสริมสนบั สนุนและเสริมสร้างความเขม้ แขง็ ใหก้ บั เครือข่ายสภานกั เรียนและสภานักเรียน
ในระดบั สถานศกึ ษา

๖. การกำกบั นิเทศตดิ ตามประเมนิ ผลการดำเนนิ งานของสภานกั เรยี นทุกเครือข่าย
๗. กำหนดแนวทางหรือแผนพัฒนาสภานักเรียนทั้งในระดับศูนย์สภานักเรียนเขตพื้นที่การศึกษา
และเครือข่ายสภานกั เรียนทง้ั ๔ อำเภอ
๘.ประสานเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการ
สนบั สนนุ การดำเนนิ งานของสภานักเรียนทุกระดับ
๙. จัดทำธรรมนูญ ระเบียบข้อบังคับ คมู่ อื การดำเนนิ งานของศนู ยส์ ภานักเรยี นเขตพ้ืนที่การศึกษา
และเครอื ข่ายสภานกั เรียนทง้ั ๔ อำเภอ

บทบาทหน้าทขี่ องเครอื ขา่ ยสภานักเรียนอำเภอ

๑. จดั ทำธรรมนญู ระเบียบขอ้ บังคบั คูม่ ือการดำเนนิ งานของเครอื ข่ายสภานกั เรียนอำเภอ
๒. กำหนดแผนงานโครงการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมเครือข่ายสภานักเรียนอำเภอและ
สภานักเรยี นระดับสถานศกึ ษา ในอำเภอ
๓. ดำเนนิ การจดั ต้งั ประธานและคณะกรรมการเครอื ขา่ ยสภานกั เรียนอำเภอ

คมู่ อื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานักเรียน สพป.นฐ.เขต ๒

17

๔. ดำเนินการจัดกิจกรรมและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายสภานักเรียนประจำ
อำเภอและสภานักเรยี นระดบั สถานศกึ ษาในอำเภอ

๕. การสง่ เสริมสนับสนนุ และเสรมิ สร้างความเข้มแข็งให้กบั สภานักเรียนระดับสถานศึกษา
๖.กำหนดแนวทาง/แผนพัฒนาสภานักเรียนทั้งในระดับเครือข่ายสภานักเรียนอำเภอและ
สภานกั เรียนระดับสถานศกึ ษา
๗. การยกย่องชมเชยสภานักเรียนระดับสถานศึกษาที่สามารถจัดกิจกรรสภานักเรียนได้อย่าง
เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

บทบาทของสภานักเรียนระดบั สถานศึกษา

๑. เป็นผู้นำในการปฏบิ ตั กิ จิ กรรมเพื่อสว่ นรวมตามหลกั ธรรมาภบิ าล
๒. ปกปอ้ งคุ้มครองสิทธเิ สรีภาพของตนเองและเพ่ือนนักเรียน โดยใชก้ ระบวนการประชาธปิ ไตย
และแนวทางสันติวธิ ี
๓. สง่ เสรมิ สนับสนนุ และมสี ว่ นร่วมในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรยี นและสว่ นรวม
๔. สบื สานความรู้ ภูมปิ ญั ญา อนรุ ักษว์ ัฒนธรรมและเอกลกั ษณ์ของชาติ
๕. เป็นผู้นำเพือ่ การมสี ว่ นรว่ มในกจิ กรรมของชุมชนและสงั คม
๖. ประสานและปฏบิ ตั ิงานรว่ มกบั ทกุ หน่วยงาน องคก์ รชมุ ชนต่าง ๆ
๗. รณรงคใ์ ห้นักเรยี นทำความดีเพ่ือเป็นประโยชน์ต่อโรงเรยี น ชมุ ชน และสงั คม

หนา้ ท่ีสภานักเรยี นระดับสถานศึกษา

๑. ดแู ลทกุ ข์ สุข ของนักเรียน และร่วมแก้ไขปัญหาท่ีเกดิ ขน้ึ ในโรงเรียน
๒.ประสานงานกับบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์ และ
ความกา้ วหนา้ ท่ีผู้เรยี นควรได้รับ
๓. รับผดิ ชอบงาน/กจิ กรรมต่างๆ ตามทไ่ี ดร้ ับมอบหมายจากระดับสถานศึกษา
๔.คดิ ริเริม่ โครงการท่ีเปน็ ประโยชน์ สามารถปฏิบัติไดจ้ รงิ และส่งผลต่อการพฒั นาสถานศกึ ษา
๕. ดูแลสอดส่อง และบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในระดับสถานศึกษา ให้เกิดประโยชน์อยา่ ง
ค้มุ คา่
๖. ประชาสัมพันธ์ขอ้ มูลข่าวสารทเี่ ปน็ ประโยชน์ ทนั ต่อเหตกุ ารณ์ และตรงไปตรงมา

คู่มือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานักเรียน สพป.นฐ.เขต ๒

18

การสร้างและพัฒนาเครือข่าย

การสร้างเครือข่าย หมายถึง การขยายตัวขององค์กรในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบ และเป็น
การช่วยเหลือกนั ในการแกป้ ัญหา และพฒั นาอยา่ งเปน็ กระบวนการต่อเน่ืองและยั่งยนื เพ่อื ให้องค์กรได้รับ
ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยทั่วไปเครือข่ายการดำเนินงานมีหลายระดับตั้งแต่ ระดับประเทศ
ระดับภมู ิภาค ระดบั ท้องถน่ิ และระดบั องคก์ ร

องค์ประกอบของเครอื ข่าย
๑. ต้องมีสมาชกิ องค์กรตา่ ง ๆ มารวมกนั
๒. ตอ้ งมวี ตั ถปุ ระสงคร์ ่วมกนั
๓. ตอ้ งมกี ารตดิ ตอ่ ส่อื สารระหว่างสมาชกิ ท้ังภายในและภายนอกเครือข่าย
๔. ตอ้ งมกี จิ กรรมรว่ มกนั
๕. ตอ้ งมกี ารระดมทรัพยากรร่วมกนั
๖. ต้องมีการแลกเปลย่ี นขอ้ มลู และความคดิ เห็น
๗. ตอ้ งมีแกนหลักในการประสานงาน

การสร้างและพฒั นาเครอื ขา่ ยของสำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา

การสร้างและพัฒนาเครือข่ายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต ๒
คือ การสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต
๒ ทุกโรงเรียน โดยผ่านการทำงานระดับศูนย์สภานักเรียน ระดับเครือข่ายสภานักเรียนประจำอำเภอ
ซ่ึงมีหน้าที่ในการสร้างเครือข่ายในอำเภอของตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการที่จะพัฒนากิจกรรม
สภานักเรียน โดยมีกิจกรรมร่วมกันในการสร้างเครือข่าย เช่น ระดับเขตพื้นที่การศึกษา มีการดำเนิน
กิจกรรมการเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียนระดับเขต และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาโรงเรียนน้อง
เป็นตน้

การสร้างและพฒั นาเครอื ขา่ ยของศูนย์สภานักเรียน

การสร้างและพัฒนาเครือข่ายของศูนย์สภานักเรียน คือ การสร้างศูนย์สภานักเรียนที่มี
ความรว่ มมอื กันระหว่างสถานศึกษา เป็นการดำเนนิ กิจกรรมสภานักเรียนของสำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษา
ประถมศึกษา เพื่อสร้างความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมสภานักเรียน โดยสร้างเครือข่ายสภานักเรียน
ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ผ่านเครือข่ายระดับอำเภอไปสู่สถานศึกษาทุกสถานศึกษา เพื่อสร้างองค์กร
เครือข่ายร่วมกัน ผ่านกิจกรรมที่จัดร่วมกัน คือ การเลือกตั้งคณะกรรมสภานักเรียนระดับเขตพื้นท่ี
การศกึ ษา และการให้ความรู้กับคุณครูในการพฒั นากจิ กรรมสภานักเรยี น

คูม่ ือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

19

การสร้างและพัฒนาเครอื ขา่ ยของเครอื ข่ายสภานกั เรยี น

การสร้างและพัฒนาเครือข่ายของเครือข่ายสภานักเรียน คือ การสร้างเครือข่ายสภานักเรียนดว้ ย
ความรว่ มมอื กนั ระหว่างโรงเรยี นในอำเภอที่ตนเองรับผดิ ชอบ โดยมวี ัตถปุ ระสงคใ์ นการที่จะพัฒนากิจกรรม
สภานักเรียนร่วมกัน เพื่อเกิดความยัง่ ยืนในการดำเนินงาน โดยผ่านกิจกรรมร่วมกนั ในระดับอำเภอ เช่น
กจิ กรรมการเลอื กตง้ั คณะกรรมการสภานกั เรยี นระดบั อำเภอ

หลกั การในการทำงานของเครือขา่ ย
๑. คำนงึ ถึงประโยชนส์ ูงสดุ ขององค์กรเป็นหลัก
๒. ลดทอนการยดึ อัตราและผลประโยชนข์ องตวั เอง
๓. มคี วามเข้าใจในข้อจำกดั ของแต่ละฝ่าย
๔. มีความไว้วางใจในการทำงานร่วมกัน
๕. ยึดหลกั ความเสมอภาคในการทำงาน
๖. มีทัศนคติที่ว่าผู้ประสานงานคือผู้ให้บริการ และให้การสนับสนุนไม่ใช่ผู้นำหรือสั่งการ

แตเ่ ปน็ ผู้คิดริเริ่ม
๗. ต้องเปน็ การทำงานแบบกระจายอำนาจไมใ่ ชร่ วมศนู ย์ ศูนย์กลาง คือ การประสานงาน
๘. องคก์ รสมาชิกมีความเท่าเทียมกัน
๙. มกี ารสื่อสารกันหลายทาง
๑๐. มกี จิ กรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์ โดยเกดิ จากความร่วมมือของสมาชิก
๑๑. มกี ารประสานงานท้งั แนวต้ังและแนวนอน
๑๒. มีแกนกลางท่ีมีประสิทธภิ าพ

ลกั ษณะของเครอื ขา่ ยทีด่ ี
๑. ต้องเกิดขนึ้ ตามธรรมชาตแิ ละเป็นไปตามความสมัครใจของทุกคน
๒. ต้องมีการแลกเปลยี่ นความคดิ เหน็
๓. ต้องร่วมมือกันเป็นทีมในการทำกิจกรรม
๔. ต้องมีใจเปิดกวา้ งรบั ฟงั ความคิดเห็นจากทุกฝา่ ย
๕. ต้องมีการบรหิ ารและการจัดการท่ดี ีและมีประสทิ ธิภาพ
๖. ต้องมีทรัพยากรสนับสนุน
๗. ต้องมเี ครอื่ งมอื และกลไกในการทำงาน

คู่มอื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

20
แผนภมู ิเครือข่ายการสรา้ งความเข้มแข็งใหแ้ ก่สภานกั เรยี นเขตพน้ื ที่การศึกษา

การสร้างความเข้มแข็งสภานักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับ
สภานักเรียนใหเ้ ป็นสากลและมีความยง่ั ยืน การที่สภานักเรยี นระดบั เขตพ้ืนที่การศึกษาจะมคี วามเข้มแข็ง
ได้นั้น โดยผ่านการประชุมวางแผนของคณะกรรมการเสริมสรา้ งความเข้มแข็งของสภานักเรียน วางแผน
ในการดำเนินกิจกรรม เพื่อนำไปสู่กิจกรรมของศูนย์สภานักเรียน เครือข่ายสภานักเรียนระดับอำเภอ
และสถานศกึ ษา

ค่มู อื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

21
แผนภมู ิเครอื ขา่ ยการสร้างความเข้มแขง็ ให้แก่สภานกั เรียนเครอื ขา่ ย

การสร้างความเข้มแข็งของสภานักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ผ่านการดำเนินงานของ
คณะกรรมการสภานักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้เป็นการติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์
สภานักเรียน ติดตามการดำเนินงานของเครือข่ายสภานักเรียนระดับอำเภอ เพื่อให้ความช่วยเหลือ
และ เข้าไปรว่ มพฒั นากจิ กรรมรว่ มกัน เชน่ กจิ กรรมจิตอาสาเพื่อพฒั นาโรงเรยี นน้อง เปน็ ตน้

แผนภมู ิเครอื ขา่ ยการสร้างความเขม้ แข็งใหแ้ ก่สภานกั เรียน

คมู่ ือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

22

การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สภานักเรียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับสภานักเรียนให้เป็นสากล
และมคี วามยัง่ ยืน การทสี่ ภานกั เรียนจะมีความเข้มแข็งไดน้ ้นั จำเป็นทีผ่ ู้เกี่ยวขอ้ งต้องมีความเข้าใจ มีความ
มุ่งมั่น ใส่ใจ และเข้าใจในเรื่องของสภานักเรียน ทั้งในมุมของนักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ชุมชน
ตลอดจนองค์กรภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เห็นภาพรวมตลอดจนความสำคัญของการมี และการพัฒนา
สภานักเรียนให้มคี วามเขม้ แขง็ และย่งั ยืน

นกั เรยี น เปน็ เปา้ หมายแรกของการส่งเสริม พัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ความเข้าใจ
ในเรื่องของสิทธิเด็ก ทักษะการพูด การคิด วิสัยทัศน์ การสื่อสาร การประสานงาน การทำงานเป็นทีม
และอืน่ ๆ

ครู คอื ผู้ที่มีความสำคัญเปน็ ท้ังผ้สู ง่ เสริมสนับสนุน แนะนำ ทัง้ ในด้าน ความคดิ ตลอดจนเปน็ ทพี่ ง่ึ
ให้กบั เดก็ ในเร่ืองตา่ งๆ ต้องเป็นทงั้ พ่อแม่ และพี่น้องไปพร้อมๆ กนั

ผู้บริหาร คือ ผู้สนับสนุนหลักของสภานักเรียน การกำหนดเป็นนโยบายตลอดจนการแต่งตั้ง
และมอบหมายให้มีครูที่ปรึกษารับผิดชอบดำเนินการ รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณสนับสนุนกิจกรรม
ของสภานกั เรยี นก็อยู่ทผี่ ู้บรหิ ารทงั้ สนิ้

ผู้ปกครอง คือ ผู้ที่เด็กต้องคอยเหลือบมองอยู่ทุกครั้งเมื่อต้องไปทำกิจกรรม ทั้งในและนอก
โรงเรยี น วา่ จะอนญุ าตหรือไม่ รวมท้งั การสนับสนนุ ในดา้ นอ่ืนๆ ตามศกั ยภาพของผู้ปกครองแตล่ ะท่าน

ชุมชนและองค์กรภาครฐั และเอกชน คอื ผสู้ นับสนุนใหส้ ภานักเรียนไดม้ โี อกาสได้เรยี นรู้ สรา้ งเสรมิ
ประสบการณ์และมีส่วนรว่ ม สนบั สนุนสภานักเรียนใหม้ ีความเขม้ แขง็ ไดใ้ นที่สดุ

ค่มู ือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

23

คู่มอื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

24

การขับเคลอ่ื นและเง่อื นไขความสำเร็จ

สภานักเรียนเป็นกิจกรรมสำคัญในการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ใช้กระบวนการ
ประชาธิปไตย และนำหลักธรรมาภิบาลมาดำเนินงาน ดังนั้น เพื่อให้ การดำเนินงานมีความยั่งยืน
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรภายนอก จะต้องขับเคลื่อนให้มีการดำเนินกิจกรรม
สภานกั เรยี น ดงั น้ี

๑. ระดบั สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน
๑.๑ กำหนดเป็นยุทธศาสตร์เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและสนับสนุน

งบประมาณให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมสภานักเรียนในระดับเขตพื้นที่
การศกึ ษา และระดบั สถานศึกษา

๑.๒ สง่ เสรมิ สนับสนุนการพฒั นาบุคลากรทีเ่ ก่ยี วขอ้ งทกุ ระดับ
๑.๓ สนบั สนุนการผลิตส่อื เอกสารและวดี ีทัศน์ เพื่อพฒั นากจิ กรรมสภานกั เรยี น
๑.๔ กำหนดให้กิจกรรมสภานกั เรยี นเปน็ ตวั ช้ีวัดหน่ึงของการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา
๑.๕ เผยแพรต่ น้ แบบกจิ กรรมดเี ด่น และตัวอย่างความสำเร็จของกจิ กรรมสภานกั เรยี น
๑.๖ กำหนดให้มีการคดั เลือกและประกาศให้เปน็ โรงเรียนต้นแบบสภานักเรยี น

๒. ระดบั สำนกั งานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษา

๒.๑ สนับสนุนการดำเนินการกิจกรรมสภานักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาและ

สภานักเรียนในสถานศึกษาอยา่ งจรงิ จังและตอ่ เนอื่ ง

๒.๒ สง่ เสริม สนับสนนุ การพัฒนาครแู ละบคุ ลากรทีเ่ กยี่ วข้องทกุ ระดบั

ภาคเอกชน ๒.๓ สร้างเครือข่ายสภานักเรียนกับองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่นทั้งองค์กรภาครัฐและ
๒.๔ ส่งเสริมให้ดำเนินการจัดประชุมสภานักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาคัดเลือก

คณะกรรมการสภานักเรยี นระดบั เขตเพื่อเปน็ ผ้แู ทนเขา้ รว่ มเปน็ สมาชิกสภานักเรยี นระดบั ประเทศ
๒.๕ ส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียนในสังกัดเข้าร่วมการแข่งขันกิจกรรมสภานักเรียน

ในระดบั ตา่ ง ๆ

๒.๖ สง่ เสรมิ ให้สภานกั เรยี นดำเนินโครงการท่สี รา้ งสรรค์และเป็นประโยชนต์ อ่ สังคม
๒.๗ สง่ เสริม ดแู ล กำกับ ติดตาม นเิ ทศ และประเมินผล เพือ่ พฒั นา การดำเนนิ กิจกรรม
สภานักเรยี นระดับเขตพืน้ ท่ีการศึกษาและระดบั โรงเรยี น

คมู่ อื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรียน สพป.นฐ.เขต ๒

25

๒.๘ เผยแพร่ตน้ แบบกิจกรรมสภานักเรยี นดเี ดน่
๒.๙ สรุปรายงานผลการดำเนินการสภานักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับ
โรงเรียนเสนอสำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน

๓. ระดบั ศนู ย์สภานักเรียน
๓.๑ ส่งเสริมสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายสภานักเรียนและ

สภานกั เรียนในสถานศึกษา
๓.๒ กำหนดแนวทางหรือแผนพฒั นาสภานักเรียน ท้งั ในระดบั ศูนย์สภานักเรียนเขตพ้ืนที่

การศึกษา และเครอื ขา่ ยสภานกั เรยี นทั้ง ๔ อำเภอ
๓.๓ ประสานเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรปกครอง

สว่ นทอ้ งถน่ิ ในการสนบั สนนุ การดำเนนิ งานของสภานกั เรียนทกุ ระดบั
๓.๔. นิเทศ ตดิ ตาม และประเมนิ ผลการดำเนินงานของสภานักเรียน ทุกเครือขา่ ย
๓.๕ เผยแพร่ต้นแบบกิจกรรมสภานักเรียน และตัวอย่างความสำเร็จของการดำเนินงาน

กิจกรรมสภานกั เรียน
๓.๖ สรุปรายงานผลการดำเนินการสภานักเรยี นระดบั ศูนย์สภานักเรียน เสนอสำนักงาน

เขตพ้นื ท่ีการศกึ ษา

๔. ระดับเครือขา่ ยสภานกั เรยี น
๔.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายสภานักเรียนประจำอำเภอ

และสภานักเรียนโรงเรยี นในอำเภอ
๔.๒ กำหนดแนวทางหรือแผนพัฒนาสภานักเรียนทั้งในระดับเครือข่ายสภานักเรียน

อำเภอและสภานกั เรียนโรงเรยี น
๔.๓ นเิ ทศ ตดิ ตาม และประเมินผลการดำเนินงานของสภานักเรยี นทุกโรงเรยี น
๔.๔ เผยแพร่กิจกรรมสภานกั เรียน และตัวอย่างความสำเร็จของการดำเนินงานกิจกรรม

สภานกั เรยี นในระดับสถานศกึ ษา
๔.๕ สรุปรายงานผลการดำเนนิ การสภานกั เรียนระดับเครือขา่ ย เสนอศนู ย์สภานักเรียน

๕. ระดบั สถานศกึ ษา
๕.๑ ดำเนนิ การจดั กจิ กรรมสภานักเรียนใหเ้ ป็นรูปธรรมอยา่ งต่อเนอ่ื ง
๕.๒ พัฒนา ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีศักยภาพในการดำเนินการจัดกิจกรรม

สภานกั เรียน

คมู่ อื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

26
๕.๓ สร้างบรรยากาศในการดำเนินกิจกรรมสภานักเรียนในสถานศึกษา ให้เอื้อต่อ
การเรียนรู้ของนักเรียน
๕.๔ ชี้แนะแนวทางการดำเนินการจัดกิจกรรมสภานักเรียนให้เหมาะสมกับสภาวะ
แวดล้อมและสถานการณ์
๕.๕ ส่งเสริมสนับสนุนสภานักเรียนให้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์
ตอ่ โรงเรยี น ชมุ ชน และสงั คม
๕.๖ กำกับ ติดตาม นิเทศ และประเมินผล เพื่อพัฒนาการดำเนินการกิจกรรม
สภานกั เรยี น
๕.๗ เผยแพร่ผลการดำเนนิ งานของสภานกั เรียน
๕.๘ สรปุ รายงานผลการดำเนินการสภานักเรียนเสนอเครอื ขา่ ยสภานักเรยี น

ค่มู ือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

27

ส่วนที่ ๓

แนวทางการขบั เคล่ือนกิจกรรมสภานักเรียน
ของสถานศึกษา

คมู่ อื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

28

ส่วนที่ ๓
แนวทางการขบั เคลื่อน
กิจกรรมสภานักเรียน

ของสถานศึกษา

การดำเนินกิจกรรมสภานกั เรียนได้กำหนดรูปแบบและแนวทาง เพ่ือนำไปสู่การปฏิบัติ
ไดอ้ ย่างถูกตอ้ งเหมาะสม ครอบคลมุ ภารกจิ งานสภานกั เรยี น ตามกจิ กรรม ดงั นี้

คมู่ อื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

29

กิจกรรมที่ ๑

ท่ีมาสภานักเรียน

คมู่ ือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานักเรียน สพป.นฐ.เขต ๒

30

กจิ กรรมท่ี ๑ ทมี่ าสภานักเรียน

กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดนโยบายและ
จุดเน้นในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรมนำความรู้ ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้น
การพัฒนาผู้เรียนโดยการส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถตอบสนองการส่งเสรมิ
ความเป็นประชาธิปไตย เพื่อสร้างความตระหนักและความสำนึกด้านประชาธิปไตยโดยสภานักเรียน
เปน็ กิจกรรมหน่งึ ที่ปลกู ฝงั ประชาธปิ ไตยให้นักเรียนทกุ คนได้เรยี นรู้ รว่ มกิจกรรม มีการส่งเสริมการเลือกต้ัง
รวมถึงเป็นกลไกสำคัญในการฝึกนักเรียนให้เห็นคุณค่าของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมพี ระมหากษัตรยิ ์ทรงเปน็ ประมุข มแี นวทางการดำเนินงานเพ่อื ให้ไดม้ าซ่ึงสภานกั เรยี น ดังน้ี

คู่มือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

31

แผนภูมิ ท่ีมาสภานกั เรยี น

๑ แตง่ ตง้ั ๒ จัดทำระเบียบ ๓ จดั ทำคมู่ ือ
คณะกรรมการ ขอ้ บังคบั หรือธรรมนูญ กำรดำเนนิ งำน
ทป่ี รกึ ษาสภานกั เรียน วา่ ดว้ ยสภานกั เรยี น สภานกั เรียน
ทีป่ รกึ ษาสภานักเรียน
๖ ผสู้ มคั รหำเสยี ง ๕ รบั สมัคร
เลอื กตั้ง ผแู้ ทนสภานกั เรียน ๔ สง่ เสรมิ ใหม้ กี าร
ตงั้ พรรค/กลุ่ม เพ่ือสมคั ร
เปน็ ผู้แทนสภานักเรยี น

๗ ดำเนินการเลือกตง้ั ๘ นบั คะแนนและ
๗.๑ กรณีใช้บตั รเลือกต้ัง ประกาศผลเลือกตง้ั
(๑) ตรวจบัญชีรายชือ่ อยา่ งเป็นทางการ
(๒) แสดงตนขอรบั บัตรเลอื กต้งั
(๓) รับบตั รเลือกตั้ง ๙ ออกคำส่งั แตง่ ตงั้
(๔) เข้าคูหากากบาท คณะกรรมการ
(๕) หยอ่ นบตั รเลือกต้งั ลงหีบ สภานักเรยี น
๗.๒ กรณีใช้เครือ่ งอิเล็กทรอนกิ สเ์ ลอื กตั้ง
(๑) ตรวจบญั ชรี ายชือ่
(๒) แสดงตนขอใช้สิทธ์เลอื กต้งั
(๓) เขา้ คหู ากดปมุ่ เลอื กผู้สมัคร

คู่มอื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

32

วิธกี ารและข้ันตอนการดำเนินงาน

การได้มาซึ่งสภานักเรียนของแต่ละโรงเรียนนั้น จะต้องเป็นไปตามระเบียบ/ข้อบังคับ/ธรรมนูญ
ว่าด้วยสภานักเรียนของแต่ละโรงเรียน จะต้องกำหนดรูปแบบหรือองค์ประกอบของสภานักเรียนไว้
เช่น สมาชิกสภานักเรียนที่ได้มาจากการดำเนินการเลือกตั้งในระดับโรงเรียน อาจจะเลือกตั้งแบบเป็นทีม
หรือเป็นรายบุคคล ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานสภานักเรียน มีการกำหนดตำแหน่ง จำนวน
คณะกรรมการ บทบาทหน้าท่ี และคณุ สมบัตติ า่ งๆ ของผทู้ จี่ ะเข้ามาทำหนา้ ท่ีในสภานกั เรยี น

สำหรับที่มาของสภานักเรียน โรงเรียนควรมีการดำเนินงาน โดยเริ่มจากการแต่งตั้งคณะครู
ที่ปรึกษากิจกรรมสภานักเรียนของโรงเรียน เพื่อศึกษาหาความรู้ วางแผนการดำเนินงาน ศึกษาแนวทาง
การดำเนินงานสภานักเรียน จัดทำระเบียบ/ข้อบังคับ/ธรรมนูญของโรงเรียน ว่าด้วยสภานักเรียน
โดยคณะครูที่ปรึกษาสนับสนุนให้มีการตั้งพรรค/กลุ่ม เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเลือกตั้งสภานักเรียน โรงเรียน
มี การดำเนินการรับสมัครตัวแทนสภานักเรียน เปิดโอกาสให้มีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งผู้แทน
นักเรียน เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ในสภานกั เรยี น ดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนนักเรียน โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน
ทุกคนในโรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วม มีการนับคะแนน ตลอดจนประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
และสดุ ท้ายโรงเรียนตอ้ งออกคำสัง่ แต่งตัง้ คณะกรรมการสภานักเรียน

คูม่ ือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

33

(ตวั อย่าง)
(แนวทางในการจัดทำระเบียบ/ขอ้ บงั คับ/ธรรมนญู โรงเรียนว่าด้วยสภานกั เรยี น)

ระเบียบ/ข้อบงั คับ/ธรรมนญู โรงเรยี น........................
วา่ ดว้ ยสภานักเรียน ปีพุทธศักราช.....
หมวด ๑
บทท่ัวไป

ขอ้ ๑ ระเบียบนี้เรยี กว่า “ระเบยี บโรงเรยี น.........ว่าด้วยสภานกั เรยี นปพี ุทธศักราช ......”
ขอ้ ๒ ระเบยี บ/ขอ้ บังคบั /ธรรมนูญโรงเรียน มผี ลบังคับใช้ หลงั จากวนั ประกาศใช้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ผู้อำนวยการโรงเรยี น..........หรอื ผทู้ ไี่ ดร้ บั มอบหมายเปน็ ผู้ประกาศใช้ระเบียบ/ขอ้ บังคบั /
ธรรมนูญโรงเรียน
ขอ้ ๔ ในระเบียบนว้ี ่าด้วย

โรงเรยี น หมายถึง โรงเรยี น
คณะกรรมการทปี่ รึกษา หมายถึง ครผู ทู้ ่ไี ด้รบั การแตง่ ตง้ั ให้เป็นทป่ี รึกษาสภานักเรยี น
โรงเรียน………
สภานกั เรยี น หมายถึง สภานักเรียนโรงเรียน.....................

หมวด ๒
วัตถปุ ระสงค์
ข้อ................

ฯลฯ
หมวด ๓
องค์ประกอบของคณะกรรมการสภานกั เรยี น
ข้อ................

ฯลฯ

คูม่ อื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

34

หมวด ๔
การเลอื กตั้ง การแตง่ ต้ัง และสมาชกิ ภาพ

ข้อ................
ฯลฯ

หมวด ๕
การบริหารงานสภานักเรียน

ข้อ................
ฯลฯ

หมวด ๖
บทบาทและหนา้ ทสี่ ภานกั เรียน

ขอ้ ................
ฯลฯ

หมวด ๗
การประชมุ สภานักเรียน

ข้อ................
ฯลฯ

ประกาศ ณ วันที่..........เดือน.............................................พ.ศ. ............
(..................................................)

ผอู้ ำนวยการโรงเรยี น.................................

หมายเหตุ สามารถปรับไดต้ ามความเหมาะสม

คู่มือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

35

แนวทางการประเมนิ ทีม่ าสภานกั เรยี น

๑. ตรวจสอบการกำหนดระเบียบ/ข้อบังคับ/ธรรมนูญของโรงเรียนว่าด้วยสภานักเรียนให้มี
ความเหมาะสมตามแนวทางที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๒ กำหนด
ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด และสอดคล้องกับรูปแบบ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๒. สังเกตการณ์ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งของนักเรียน
และการดำเนนิ การเลอื กต้ังสภานักเรียน

การสรุปและรายงานผล

๑. ตรวจสอบความถกู ตอ้ ง/เหมาะสม
๒. ปรบั ปรุงแก้ไขในกรณีทไ่ี ม่เปน็ ไปตามแนวทางที่เหมาะสม
๓. เสนอผบู้ รหิ ารสถานศึกษาทราบและลงนาม

คู่มอื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

36

กิจกรรมที่ ๒

โครงสร้างสภานักเรียน

คมู่ ือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

37

กิจกรรมท่ี ๒ โครงสร้างสภานักเรียน

บทบาทหน้าที่ของสภานักเรียน เป็นผู้นำในการปฏิบัติกิจกรรมในโรงเรียน ที่เป็นประโยชน์
ต่อนักเรียนและส่วนรวม รวมถึงเป็นกลไกสำคัญให้นักเรียนเห็นคุณค่าของระบอบการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข ประกอบกับโรงเรียนได้มี ระเบยี บ/ข้อบังคับ/ธรรมนูญ
ว่าด้วยสภานักเรียนไว้ตามบริบทของแต่ละโรงเรียน ดังนั้นในการจัดโครงสร้างสภานักเรียนของโรงเรียน
จงึ ควรพิจารณาจากกรอบภาระงาน และควรกำหนดโครงสร้างสภานักเรียน ดงั น้ี

แผนภมู ิ ข้ันตอนการดำเนนิ งานโครงสรา้ งสภานกั เรียน

ตรวจสอบ ตรวจสอบและกำหนดการดำรงตำแหนง่
ภารกจิ /โครงสรา้ ง คณะกรรมการตามโครงสร้าง

ปฏบิ ัตงิ านตามกรอบ ประชุมคณะกรรมการ ออกคำสง่ั แต่งต้งั คณะ
ภารกจิ /คำสงั่ กรรมการสภานกั เรยี น
สภานกั เรียน/ช้ีแจง
กรอบภารงาน

คมู่ อื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

38

วธิ ีการและขน้ั ตอนการดำเนินงาน

โดยทั่วไปโครงสร้างและรูปแบบของสภานักเรียนแต่ละโรงเรียน จะประกอบด้วยสมาชิก
ใน สภานักเรียนสองลักษณะ คือ สมาชิกสภานักเรียนที่ได้มาจากการดำเนินการเลือกตั้งในระดับ
โรงเรียน อาจจะเลือกตั้งแบบเป็นทีม หรือเป็นรายบุคคล ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานสภานักเรียน
และคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งในระดับชั้นเรียน เพื่อเป็นตัวแทนของนักเรียนเข้าร่วม
เปน็ คณะกรรมการสภานกั เรยี นดว้ ย ขนาดและจำนวนของสมาชกิ สภานักเรยี นน้นั ใหเ้ ปน็ ไปตาม ระเบียบ/
ข้อบังคับ/ธรรมนญู ของโรงเรยี น

หากโรงเรียนเห็นสมควรที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจกรรม
สภานักเรียน โรงเรียนอาจจะกำหนดให้สภานักเรียนมีคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ที่สอดคล้องกับ
โครงสร้าง แต่ทั้งนี้ต้องมีการกำหนดจำนวน บทบาทหน้าที่ ของคณะอนุกรรมการนั้นไว้ใน ระเบียบ/
ขอ้ บังคับ/ธรรมนูญว่าดว้ ยสภานักเรียน

คมู่ อื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

39

(ตัวอย่าง)
โครงสร้างและองคป์ ระกอบของคณะกรรมการสภานักเรียน

โรงเรียน..............................................

ประธานที่ปรึกษา
(ผูบ้ ริหารโรงเรยี น)

ครทู ่ปี รกึ ษาส+ภานักเรียน

ประธานสภานักเรยี น

รองประธานสภานักเรยี น รองประธานสภานกั เรยี น

คณะกรรมการตวั แทน ฝา่ ย ฝ่าย ฝ่ายปกครองวินัย ฝา่ ย เลขานุการ
ระดับชัน้ วชิ าการ ประชาสมั พันธ์ สารวัตรนกั เรยี น เหรัญญิก

ฝ่าย ฝา่ ยพฒั นา ฝ่ายสมั พันธ์ชุมชน
ประชาสมั พันธ์ กิจกรรม ฝา่ ยปฏคิ ม และเครอื ขา่ ย

คณะกรรมการ/คณะอนกุ รรมการ
ฝา่ ยต่างๆ

คมู่ ือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

40

(ตัวอยา่ ง)

คำส่งั โรงเรยี น.......................................................
ที.่ ............../.......................

เรอ่ื ง แต่งตั้งคณะกรรมการสภานักเรยี นและครูที่ปรกึ ษาสภานักเรียน
...................................................................

ด้วยโรงเรียน....................................................ได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งประธานสภานักเรียน
ประจำปีการศึกษา........................ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และได้ประกาศผลการเลือกตั้ง
(ประธานสภานักเรียน) หรือคณะกรรมการสภานักเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้สภานักเรียนได้ปฏิบัติ
หน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน
ตามโครงสรา้ ง ดังต่อไปนี้

๑. คณะกรรมการสภานกั เรียน ประกอบดว้ ย
๑.๑ ชอ่ื ........................................................................ ประธานสภานักเรยี น
๑.๒ ชอื่ ........................................................................ รองประธานสภานักเรียน
๑.๓ ชอ่ื ........................................................................ รองประธานสภานักเรยี น
๑.๔ ช่อื ........................................................................ เหรญั ญิก
๑.๕ ชื่อ........................................................................ ประชาสมั พนั ธ์
๑.๖ ชอ่ื ........................................................................ ฝา่ ยวิชาการ
๑.๗ ชอ่ื ........................................................................ ฝา่ ยกจิ กรรม
๑.๘ ชื่อ........................................................................ ฝ่ายปกครอง
๑.๙ ชอ่ื ........................................................................ ฝ่ายสมั พันธช์ ุมชนและเครือข่าย
๑.๑๐ ชื่อ........................................................................ เลขานุการ

คูม่ ือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

41
๑.๑๑ กรรมการฝา่ ยต่างๆ

๑) ............................................................................................
๒) ............................................................................................
๓) ............................................................................................

ฯลฯ
๒. ครูท่ีปรึกษาสภานักเรียน

๒.๑ ............................................................................................
๒.๒ ............................................................................................

ให้คณะกรรมการสภานกั เรยี นปฏบิ ัติหนา้ ทีต่ ามท่ีไดก้ ำหนดไวใ้ น ระเบียบ/ข้อบังคบั /ธรรมนูญ
ของโรงเรยี น ให้เป็นไปอยา่ งมีประสทิ ธิภาพ

ทัง้ น้ี ตงั้ แตบ่ ัดนีเ้ ปน็ ตน้ ไป
สัง่ ณ วนั ท.ี่ ..........เดอื น.....................................พ.ศ........................

(......................................................................)
ผู้อำนวยการโรงเรยี น................................................................

คมู่ อื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรียน สพป.นฐ.เขต ๒

42
แนวทางการประเมนิ โครงสร้างสภานกั เรียน

๑. ตรวจสอบการกำหนดโครงสร้างให้ครบถ้วนตามตัวอยา่ งรูปแบบกำหนดโครงสร้างสภานักเรียน
๒. มกี ารมอบหมายงานของสภานกั เรียนให้คณะกรรมการฝา่ ยต่างๆ
การสรุปและรายงานผล
๑. ตรวจสอบความถกู ต้อง
๒. ปรับปรงุ แกไ้ ขในกรณที ี่ไมเ่ ป็นไปตามแนวทางท่เี หมาะสม
๓. เสนอผบู้ รหิ ารสถานศึกษาทราบและลงนาม

คู่มือและแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานกั เรียน สพป.นฐ.เขต ๒

43

กิจกรรมที่ ๓

รปู แบบการประชมุ
สภานักเรียน

คมู่ อื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

44

กิจกรรมที่ ๓ รูปแบบการประชมุ สภานักเรยี น

รูปแบบและการกำหนดระเบียบวาระการประชุม
คำว่า “ระเบียบวาระการประชุม” หมายความว่า ลำดับรายการที่กำหนดไว้เสนอที่ประชุม
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ : ๖๗๔) คำคำนี้จึงใช้สำหรับการประชุมโดยเฉพาะ
บางหน่วยงานใช้คำว่า “วาระ” ซึ่งอาจเพราะเห็นว่าเป็นคำสั้นๆ แต่คำนี้ควรใช้ในภาษาพูดเท่านั้น ไม่ควร
ใช้ในรายงานการประชุม เพราะมไิ ดม้ คี วามหมายเกีย่ วกับการประชุมแต่อยา่ งใด
ระเบียบวาระการประชุมมีความสำคัญหลายประการ กล่าวคือ ทำให้ผู้เข้าประชุมทราบขอบเขต
ของการประชุม และทราบประเด็นล่วงหน้า สมารถเตรียมข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อเสนอที่ประชุม
หากไม่เข้าประชุมควรมอบหมายผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ เข้าประชุมแทน นอกจากนั้นยังเป็นการจัด
ระเบียบการประชุมให้ดำเนินไปตามลำดับ ป้องกันการพูดข้ามระเบียบวาระหรืออภิปรายนอกเรื่อง
ประธานสามารถจัดแบ่งเวลาให้เหมาะสมกับระเบียบวาระต่างๆ หากไม่มีระเบียบวาระชัดเจน อาจมี
การอภปิ รายมากเกนิ จำเป็น ทำใหไ้ ม่สามารถประชมุ ให้แลว้ เสรจ็ ตามกำหนดเวลาได้

คู่มอื และแนวทางการดำเนินงานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

45

รูปแบบการประชมุ สภานกั เรียน

๑. การจดั รปู แบบโต๊ะประชุม

๒. รปู แบบและการกำหนดระเบียบวาระการประชมุ

๓. ขน้ั ตอนการดำเนนิ การประชุม

๔. การรายงานผลการประชุม

๕. แนวทางการประเมนิ รปู แบบการประชมุ สภานกั เรยี น

การประชุมเป็นกิจกรรมที่ทำให้บุคลากรในองค์กรเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ได้รวบรวมความ
คิดเห็น วิธีการแก้ปัญหาต่างๆ จากสมาชิกอย่างทั่วถึง สมาชิกผู้ร่วมประชุมต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตน
ทั้งผู้ทำหน้าที่ประธานต้องสามารถใช้เทคนิคในการนำและควบคุมการประชุม เพื่อให้ผู้เข้าประชุม
มกี ารแลกเปลยี่ นความคดิ เหน็ มีการเสนอความคดิ ทท่ี ำให้เกดิ การยอมรับ และเป็นประโยชน์ตอ่ องคก์ ร

คู่มอื และแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒

46

๑. การจัดรปู แบบโต๊ะประชุม

๑.๑ โต๊ะประชุมของคณะกรรมการสภานักเรียน กับโต๊ะครูที่ปรึกษา/ผู้เข้าร่วมประชุม ต้องแยก
ออกจากกนั

๑.๒ ตอ้ งมปี า้ ยช่ือ – สกลุ ตำแหน่งของคณะกรรมการสภานกั เรยี น/ครทู ีป่ รกึ ษา
๑.๓ การจัดโต๊ะประชุม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนั่งประชุม และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม
ทุกคนสามารถมองเห็นทั้งประธาน รองประธาน และเลขานุการ รวมถึงผู้เข้าร่วมประชุม การจัดโต๊ะ
ประชมุ มหี ลายรปู แบบ แบบการจัดโตะ๊ ประชมุ ท่เี ปน็ ทน่ี ยิ มใชก้ นั มี ๙ แบบ ดังน้ี
แบบที่ ๑ จดั แบบตัวอกั ษรไอในภาษาองั กฤษ ( I )
แบบท่ี ๒ จัดแบบตัวอกั ษรยูในภาษาองั กฤษ ( U )
แบบท่ี ๓ จดั แบบตวั อักษรทีในภาษาอังกฤษ ( T )
แบบที่ ๔ จัดแบบตัวอักษรโอในภาษาอังกฤษ ( O )
แบบที่ ๕ จดั แบบเกือกม้า
แบบท่ี ๖ จัดแบบรปู ครงึ่ วงกลม
แบบท่ี ๗ จดั แบบรปู สเี่ หล่ียม
แบบที่ ๘ จัดแบบช้นั เรียน
แบบท่ี ๙ จัดแบบออดิทอเลย่ี ม(โรงภาพยนตร์)

๒. รูปแบบและการกำหนดระเบยี บวาระการประชุม

๒.๑ รูปแบบการประชมุ ที่เป็นทางการ ได้กำหนดระเบียบวาระไว้ ดงั นี้
ระเบียบวาระท่ี ๑ เรือ่ ง ประธานแจง้ ท่ีประชมุ ทราบ

๑.๑ ........................................................................................
๑.๒ ........................................................................................

ฯลฯ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรือ่ ง รบั รองรายงานการประชมุ ครั้งท่ี ....../.......

๒.๑ ................................................................................... .....
๒.๒ ........................................................................................

ฯลฯ

คมู่ ือและแนวทางการดำเนนิ งานกจิ กรรมสภานักเรยี น สพป.นฐ.เขต ๒