งานวิจัย บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 5 บท doc

งานวิจัย บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 5 บท doc

บทคัดย่อ

วุฒิชัย  แม้นรัมย์และคณะ. 2559. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม.
ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ที่ปรึกษาวิจัย:
อาจารย์ ดร.บรรพต  วงศ์ทองเจริญ. 115 หน้า

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่ององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในเรื่ององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน เรื่ององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน
นาโพธิ์พิทยาคม  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559  จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่ององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนเกี่ยวกับคุณลักษณะของบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่า E1/E2   และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทั้ง 3 เรื่อง พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.11/83.90 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.51

กิตติกรรมประกาศ

วิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจากผู้ที่เกี่ยวข้องหลายท่านที่จะได้กล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร. บรรพต วงศ์ทองเจริญ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ที่ได้กรุณาแนะนำให้คำปรึกษาและเอาใจใส่แก้ไขข้อบกพร่องด้วยดี ทำให้วิจัยฉบับนี้
มีความสมบูรณ์ถูกต้อง ขอขอบพระคุณอย่างสูง

ผู้วิจัยขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน คือ อาจารย์โยธิน จ่าแท่นทะรังค์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา อาจารย์อนล สวนประดิษฐ์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา อาจารย์เลอสัญ ฤทธิขันธ์ อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ที่กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการตรวจและแก้ไขเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตลอดจนให้คำแนะนำในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างดี

ขอขอบพระคุณผู้อำนวยการโรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม และคณะครูอาจารย์ทุกท่านที่ได้อำนวยความสะดวก เป็นกำลังใจ ให้การช่วยเหลือและให้การสนับสนุนในการทำวิจัยในครั้งนี้จนสำร็จและขอขอบใจนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาคม ทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการทำวิจัยในครั้งนี้เป็นอย่างดี

ขอขอบพระคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสถาบันอันทรงเกียรติประสิทธิ์ประสานวิชา และการทำวิจัยสำเร็จไปด้วยความรักและกำลังใจจากครอบครัวของผู้วิจัย คุณค่าและประโยชน์ของวิจัยฉบับนี้ขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณ บิดา มารดา คุณครู และบูรพาจารย์ที่ได้อบรมสั่งสอนให้เป็นผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา ที่จะทรงผลต่อการศึกษาของนักเรียน สังคมและประเทศชาติสืบต่อไป

ประโยชน์คุณค่าและความดีของวิจัยฉบับนี้ ขอมอบให้แก่บิดา มารดา และครูบาอาจารย์
ทุกท่าน

คณะผู้จัดทำ

ดาวน์โหลด ไฟล์วิจัยได้ที่ GoogleDrive

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

              ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่โลกโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็ว รวมถึงการคิดค้นอินเตอร์เน็ตขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ที่มีเครือข่ายโยงใยไปทั่วโลกทำให้วิทยาการทางการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศหรือโลกไร้พรมแดนซึ่งการจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้มีการนำเอาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีศักยภาพสูงและรวดเร็ว ผู้เรียนและผู้สอนสามารถส่งและรับข้อมูลถึงกันได้หลายรูปแบบที่เป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง

              เพื่อให้มีผู้เรียนมีการตื่นตัวในการจัดการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความสามารถ มีทักษะในการทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ(หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ,บทนำ) จึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เบื้องต้นการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ต่างๆและมีการบริการอินเตอร์เน็ตเพื่อเพิ่มพูนความรู้ โดยการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เป็นการจัดกิจกรรมการสอนที่เน้นให้เกิดความเข้าใจทางด้านการใช้งานและทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงานด้วยคอมพิวเตอร์ แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้พื้นฐาน ความสามารถทักษะการทำงาน ประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่างกัน จึงได้เปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Flash CS3 ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์สามารถนำไปใช้สร้างสื่อการเรียนการสอนที่เป็นสื่อมัลติมีเดีย,ภาพเคลื่อนไหวและภาพกราฟิกหลากหลายแบบที่น่าสนใจได้อย่างมากมายและประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบของอีกหลายๆโปรแกรมได้และมีประสิทธิภาพสามารถบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถนำไฟล์ไปใช้แสดงที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องนำไปทั้งหมด มีผลทำให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็วและนอกจากนั้นยังสามารถแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่นได้หลากหลายแบบ เช่น .avi, .mov, .gif, .wav, .emf, .eps, .ai, .dxf, .bmp, .jpg, .png หรืออื่นๆ โปรแกรม Adobe Flash CS3 เป็นโปรแกรมที่มีเครื่องมือและวิธีใช้งานแตกต่างจากโปรแกรมที่ผู้เรียนเคยใช้ และจำเป็นต้องมีการฝึกทักษะในการปฏิบัติงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา

              จากสภาพปัญหาเกี่ยวกับสภาพรายวิชาโปรแกรม Adobe Flash CS3 ได้แก่ การทำงานที่ซับซ้อน ยากแก่การเรียนรู้และเข้าใจสำหรับนิสิตช่วงระยะเวลาสั้นๆเพราะโปรแกรมมีเทคนิคในการทำงานที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่นในการใช้คำสั่งการจำคำสั่ง อีกทั้งยังจดไม่ทัน นิสิตไม่สามารถวัดประสิทธิภาพของผลงานได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการแรกเป็นเพราะความแตกต่างระหว่างบุคคล อันเนื่องมาจากสติปัญญา ความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของนิสิต ประการที่สอง เนื่องจากเนื้อหาที่ต้องศึกษามีจำนวนมาก ด้วยมีเวลาจำกัดในการศึกษาหรือปฏิบัติในแต่ละเรื่อง ทำให้นิสิตมีความเข้าใจในเนื้อหาที่แตกต่างกัน และขาดการปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนซึ่งทำให้นิสิตเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนอีกด้วยซึ่งสอดคล้องกับปัญญาที่พบในโรงเรียน

              จากเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงเกิดความสนใจในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flash สำหรับสำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า การทบทวนความรู้ได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดสถานที่และประสบผลสำเร็จตามศักยภาพของแต่ละคน นอกจากนี้ยังส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ แสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง สามารถนำเอาเทคนิคต่างๆมาปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และนำมาใช้ในการทำงาน ชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อมในทางสร้างสรรค์

หลักการและเหตุผล

            เนื้อหาที่ใช้ตามการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flashแบ่งเป็น 5 หน่วย คือ
                        หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรม Flash
                        หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การฝึกวาดภาพกราฟิกเบื้องต้น
                        หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว
                        หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง work shop การสร้างภาพเคลื่อนไหว
                        หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การเผยแพร่เอกสารและนำไปใช้

            1) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flash สำหรับสำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จะช่วยทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Flash ดีขึ้นหรือไม่

            2) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flash สำหรับสำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา จะทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียน เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Flash มากขึ้นหรือไม่

            3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flash สำหรับสำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
            4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flash ที่มากขึ้น

วิธีการ

            1 แนะนำความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรม Flash
            2 เริ่มฝึกการวาดภาพกราฟิกเบื้องต้นโดยใช้โปรแกรม Flash
            3 ออกแบบการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Flash

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                  1)    เพื่อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flash สำหรับสำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

                  2)    เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flash สำหรับสำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

                  3)    เพื่อประเมินผลความพึงพอใจและผลฤทธิ์ทางการเรียน จากการใช้สื่อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flash สำหรับสำหรับนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

สมมุติฐานงานวิจัย

              1)   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตที่เรียนโดยใช้สื่อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flashหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

              2)   ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง โปรแกรม Adobe flashที่มากขึ้น

ขอบเขตการวิจัย

            1)         ประชากร คือ นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

                        -           กลุ่มเป้าหมาย เพื่อทดลองใช้นวัตกรรม คือ นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาจำนวน 2 ห้อง มีนิสิต จำนวน60 คน

                        -           กลุ่มเป้าหมาย เพื่อการใช้นวัตกรรม คือ นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

            2)         ตัวแปรที่ศึกษา

                        -           นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

                        -           หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

                        -           ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                        -           ความพึงพอใจต่อการเรียน

                        -           เนื้อหาที่ใช้ตามการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียออนไลน์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Flash แบ่งเป็น 5 หน่วย คือ

                                                หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรม Flash

                                                หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การฝึกวาดภาพกราฟิกเบื้องต้น

                                                หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว

                                                หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง work shop การสร้างภาพเคลื่อนไหว

                                                หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การเผยแพร่เอกสารและนำไปใช้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1.         นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Adobe Flash

            2.         ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนดีขึ้น เมื่อนำเอาสื่อมัลติมีเดียออนไลน์มาร่วมใช้ในการเรียนสอน

            3.         สามารถดึงดูดความสนใจในการเรียนจากนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพาได้

            4.         สร้างเจตคติที่ดีให้กับนิสิตที่มีต่อวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี กับ โปรแกรม Adobe Flash

            5.         ลดความเบื่อหน่ายในการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียวในคาบเรียน และส่งเสริมให้นิสิตใช้เทคโนโลยีในด้านบวก