1 กลวัตร เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ 2 จังหวะหมุนกี่รอบ

ในเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ลูกสูบจะทำงานเคลื่อนที่ 4 ครั้งในระหว่างการหมุน 2 รอบของเพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์

การทำงาน 4 จังหวะได้แก่ ดูด อัด ระเบิด และคาย แต่ละจังหวะใช้การทำงานเคลื่อนที่ของลูกสูบหนึ่งครั้ง ซึ่งหมายความว่าหนึ่งรอบการทำงานต้องใช้การหมุนเพลาข้อเหวี่ยงสองรอบ

หลักการทำงานมีดังนี้

ดูด (Intake)

ลูกสูบเคลื่อนลงจากด้านบนลงล่างของกระบอกสูบ ดูดส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบ วาล์วไอดีจะปิดเมื่อสิ้นสุดจังหวะดูด

อัด (Compression)

เมื่อวาล์วไอดีปิด ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากล่างขึ้นด้านบนของกระบอกสูบ ส่วนผสมของอากาศ/น้ำมันเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ของฝาสูบจะถูกอัด

ระเบิด (Power)

หัวเทียนจุดระเบิดและเผาไหม้เชื้อเพลิงที่อัดตัว น้ำมันเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ขยายตัว และดันลูกสูบลงล่าง

คาย (Exhaust)

ในช่วงสิ้นสุดของจังหวะระเบิด วาล์วไอเสียจะเปิด จากนั้นลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นสู่ด้านบนพร้อมจัดการกวาดเอาไอเสียผ่านวาล์วและออกจากกระบอกสูบ ก่อนจะเข้าสู่จังหวะดูดอีกครั้ง เช่นนี้วนไปเรื่อยๆ

การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ 4 จังหวะของคุณ

เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้นุ่มนวล คุณต้องใช้น้ำมันเครื่องสำหรับรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะคุณภาพสูง น้ำมันเครื่องที่ดีไม่เพียงช่วยทำความสะอาดเครื่องยนต์ ลดแรงเสียดทาน และระบายความร้อน ยังต้องมีประสิทธิภาพด้านความประหยัดด้วย ค้นหาว่าน้ำมันเครื่องเชลล์ แอ๊ดว้านซ์ สามารถช่วยให้เครื่องยนต์ของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร

ข้อมูลอ้างอิงจาก Wikipedia และ animatedengines.com

회원님이 요청이 처리되지 않았습니다.

요청을 처리하는 중 문제가 발생하였습니다. 가능한 한 빨리 문제를 해결하도록 하겠습니다.

  • 홈으로 돌아가기

  • 한국어
  • English (US)
  • Tiếng Việt
  • Bahasa Indonesia
  • ภาษาไทย
  • Español
  • 中文(简体)
  • 日本語
  • Português (Brasil)
  • Français (France)
  • Deutsch

  • 가입하기
  • 로그인
  • Messenger
  • Facebook Lite
  • Watch
  • 장소
  • 게임
  • Marketplace
  • Facebook Pay
  • Oculus
  • Portal
  • Instagram
  • Bulletin
  • 지역
  • 기부 캠페인
  • 서비스
  • 투표 정보 센터
  • 그룹
  • 정보
  • 광고 만들기
  • 페이지 만들기
  • 개발자
  • 채용 정보
  • 개인정보처리방침
  • 쿠키
  • AdChoices
  • 이용 약관
  • 고객 센터
  • 연락처 업로드 및 비사용자
  • 설정
  • 활동 로그

Meta © 2022

1 กลวัตร เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ 2 จังหวะหมุนกี่รอบ

 
 

1 กลวัตร เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ 2 จังหวะหมุนกี่รอบ
  เครื่องยนต์ 2 จังหวะ

1 กลวัตร เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ 2 จังหวะหมุนกี่รอบ

        
ภาพการทำงานของเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ 2 ช่วงชัก

ภาพการทำงานของเครื่องยนต์ 2 ช่วงชัก

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (Two-stroke engine ) คือเครื่องยนต์ที่ทำงาน 2 ช่วงชัก คือช่วงชักที่ 1 คือช่วงชักดูดกับอัด และ ช่วงชักที่ 2 คือช่วงชักระเบิดและคาย และเครื่องยนต์ 2 ช่วงชักจะไม่มีวาล์วเปิดปิดไอดีไอเสีย แต่จะใช้ลูกสูบเป็นตัวเปิดปิดไอดีไอเสียแทน ซึ่งเครื่องยนต์ 2 ช่วงชักจะทำงานรอบจัดกว่าเครื่องยนต์ 4 ช่วงชัก และการเผาไหม้ก็มีประสิทธิภาพด้อยกว่าด้วย

ช่วงชักการทำงานของเครื่องยนต์ 2 ช่วงชัก
สามรถอธิบายโดยละเอียดได้ดังนี้

1 กลวัตร เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ 2 จังหวะหมุนกี่รอบ

ช่วงชักที่ 1 
ดูด/อัด:ลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากศูนย์ตายบนสู่ศูนย์ตายล่าง ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงมานั้นจะจะทำให้ช่องพอร์ตไอดีเปิดไอดีถูกอัดจาก ห้องแคร้งค์ผ่านเข้ามาบรรจุในห้องเผาไหม้ในตอนนี้ช่องพอร์ตไอเสียจะเปิดออก ด้วยเชื้อเพลิงที่เข้ามาจะช่วยขับไอเสียจากการเผาไหม้ด้วย ในการทำงานดังกล่าวเพลาข้อเหวี่ยงทำงาน1/2 รอบ (ครึ่งรอบ)

1 กลวัตร เพลาข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์ 2 จังหวะหมุนกี่รอบ

ช่วงชักที่ 2 
ระเบิด/คาย:ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นจากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบนทำ ให้ช่องพอร์ตไอดีและพอร์ตไอเสียปิดอัดเอาเชื่อเพลิงให้มีปริมาตรเล็กลงใน ห้องเผาไหม้ หัวเทียนส่งประกายไฟจุดระเบิดเชื้อเพลิงลูกสูบเคลื่อนที่ลงเพราะแรงระเบิดทำ ให้ลูกสูบอัดเชื่อเพลิงในห้องแคร้งค์แล้วถูกอัดเข้ามาเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจนพอร์ต 
        ไอดีและพอร์ตไอเสียเปิดเชื้อเพลิงจะขับไล่ไอเสียออกด้วย เพลาข้อเหวี่ยงหมุนครบ 1 รอบ พอดี

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ( 2 Cycle Engine )
             เครื่องยนต์ 2 จังหวะ  (Cycle  Engine)  เป็นเครื่องยนต์แบบง่าย  การทำงานและชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ  มีความยุ่งยากน้อยกว่าเครื่องยนต์แบบ  4 จังหวะ  การนำเอากาศดีเข้าไปในกระบอกสูบและปล่อยอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ออกจากกระบอกสูบเกิดขึ้นโดยการเปิดและปิดของลูกสูบเอง  เครื่องยนต์ชนิดนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีลิ้นและกลไกเกี่ยวกับลิ้น
             ลักษณะของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ  มีดังนี้
1.  อ่างน้ำมันเครื่องปิดสนิทแต่เครื่องยนต์บางแบบมีช่องให้อากาศหรือไอดีเข้าเพื่อผ่านขึ้นไปในกระบอกสูบ
2. ไม่มีเครื่องกลไกของลิ้น  ลูกสูบจะทำหน้าที่เป็นลิ้นเอง
3.  กระบอกสูบอยู่ในลักษณะตั้งตรง
4.  มีช่องไอดี (Inlet Port) เป็นทางให้อากาศเข้าไปภายในกระบอกสูบ  โดยอาจจะมีเครื่องเป่าอากาศช่วยเป่าเข้าไป
5.   มีช่องไอเสีย (Exhaust Port)  เป็นทางให้อากาศเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกไปจากกระบอกสูบ
การทำงานของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มีดังนี้
1.  จังหวะคายและดูด  ลูกสูบจะเคลื่อนที่จากจุดศูนย์ตายบนลงมาเรื่อยๆ จนผ่านช่องไอเสีย  ไอเสียก็จะผ่านออกไปทางช่องนี้เมื่อลูกสูบเคลื่อนต่อไปอีกเล็กน้อย  ช่องไอดีก็จะเปิดให้อากาศเข้าไปในกระบอกสูบและไล่ไอเสียออกไปจนหมดสิ้น  ลูกสูบจะเคลื่อนลงจนถึงจุดศูนย์ตายล่าง
2.  จังหวะอัดและระเบิด  ลูกสูบจะเคลื่อนจากศูนย์ตายล่างขึ้นไปเรื่อยๆ จนปิดช่องไอดีและช่องไอเสียตามลำดับ  พร้อมกับอัดอากาศไปด้วยเมื่อลูกสูบเคลื่อนเข้าใกล้จุดศูนย์ตายบน  หัวฉีดก็จะทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงให้แตกเป็นฝอยเล็กๆ เข้าไปกระทบกับอากาศที่ถูกอัดจนร้อน  ทำให้เกิดการเผาไหม้และระเบิดดันลูกสูบให้ทำงาน  ในขณะเดียวกันไอเสียก็จะมีความดันสูงด้วย  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาเปิดช่องไอดี  อากาศก็จะเข้ามาและทำการขับไล่ไอเสียออกไปทางช่องไอเสียเหลือไว้เพียงแต่ไอดีในห้องเผาไหม้
จะเห็นได้ว่า เมื่อเครื่องยนต์ทำงานครบ 2 จังหวะ  เพลาข้อเหวี่ยงจะหมุนไปได้หนึ่งรอบ
เมื่อลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์ตายล่างในจังหวะดูด  ภายในกระบอกสูบจะมีปริมาตรที่บรรจุส่วนผสมน้ำมัน และอากาศหรืออากาศเพียงอย่างเดียว  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด  ปริมาตรนี้จะถูกอัดให้ลดลงตรงส่วนของลูกสูบ  เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงจุดศูนย์ตายบนปริมาตรจะมีขนาดเล็กที่สุด  บริเวณที่มีปริมาตรเล็กนี้ถูกเรียกว่าห้องเผาไหม้        
             สัดส่วนความอัด (Compression Ratio) อัตราส่วนระหว่างปริมาตรภายในกระบอกสูบเมื่อลูกสูบอยู่ที่จุดศูนย์ตายล่างกับปริมาตรภายในกระบอกสูบ เมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบนสัดส่วนความอัดของเครื่องยนต์มีความสำคัญมากเพราะมีความสัมพันธ์กับชนิดและคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะนำไปใช้  เครื่องยนต์เบนซินจะมีสัดส่วนความอัดอยู่ระหว่าง 5.5/1 ถึง 8/1 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น  น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดเข้าไปในกระบอกสูบหลังจากที่อากาศถูกอัดแล้ว  สัดส่วนความอัดอยู่ระหว่าง 14/1 ถึง 18/1