การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน

หลักการสร้างความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม

การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน

1. สร้างความรับผิดชอบ

  • เจ้าของโรงงานหรือนายจ้างจะต้องรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยด้านการปฏิบัติงาน โดยการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัยทุกประเภทงานให้ครบถ้วน พอเพียง ดำเนินการรักษาความปลอดภัยตามกฎระเบียบข้อบังคับของกฎหมายอย่างเคร่งครัด
  • วิศวกรควบคุมการทำงานและวัสดุอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต ควรมีวิศวกรควบคุม ตรวจสอบ และแก้ไขการทำงานของวัสดุอุปกรณ์รวมทั้งเครื่องจักร ลูกจ้าง และการทำงานของเครื่องจักร รวมทั้งวางระเบียบกฎเกณฑ์ของการใช้วัสดุอุปกรณ์ให้ปลอดภัย ใช้วัสดุอันตรายในกระบวนการผลิตให้น้อยลงหรือน้อยที่สุด
  • หัวหน้าหรือผู้ควบคุมงาน ในแต่ละฝ่ายของการทำงานในโรงงานจะมีหัวหน้าหรือผู้ควบคุมรับผิดชอบการทำงาน ซึ่งผู้ควบคุมจะต้องชี้ให้ผู้ปฏิบัติงานตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และจะต้องควบคุมดูแลการทำงานอย่างใกล้ชิดช่วยเหลือในการปฏิบัติงานนั้นๆได้
  • ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรประมาท ศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจในงานที่ตนรับผิดชอบ หากพบหรือไม่แน่ใจในความปลอดภัยควรสอบถามหรือแจ้งแก่หัวหน้าเพื่อหาวิธีป้องกัน

2. ไม่ประมาท

ทุกฝ่ายจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การประมาทย่อมเป็นหนทางสู่ความสูญเสีย โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องมีวินัยในตนเอง และเตรียมพร้อมกับการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ เช่น

  • สุขภาพ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  • กฎระเบียบ ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ตราขึ้นเป็นกฎให้ถือปฏิบัติในโรงงานนั้น เป็นวิธีการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น

3. รักษาความสะอาดในโรงงาน

ควรรักษาความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ทำงาน โดยการจัดเก็บและวางสิ่งของต่างๆ ให้เป็นระเบียบ

4. รู้วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงาน

ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของตน สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงาน คือต้องใช้ให้ถูกประเภทเหมาะสมกับงาน การเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องยึดหลักการ 3E อันได้แก่

  • Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
  • Education (การศึกษา)
  • Enforcement (การออกกฎข้อบังคับ)

E ตัวแรกคือ Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) คือการใช้ความรู้ทางวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ ในการคำนวณและการออกแบบเครื่องจักร เครื่องมือที่มีสภาพการใช้งานที่ปลอดภัยที่สุด

E ตัวที่สอง คือ Education (การศึกษา) คือการให้การศึกษา หรือการฝึกอบรม และแนะนำคนงานหัวหน้างานตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ และการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน ให้รู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นและป้องกันได้อย่างไร และจะทำงานวิธีใดจึงจะปลอดภัยที่สุด เป็นต้น

E ตัวสุดท้าย คือ Enforcement (การออกกฎข้อบังคับ) คือ การกำหนดวิธีการทำงานอย่างปลอดภัย และมาตรการควบคุมบังคับให้คนงานปฏิบัติตาม เป็นระเบียบปฏิบัติที่ต้องการประกาศให้ทราบทั่วกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ เพื่อให้เกิดความสำนึกและหลีกเลี่ยงการทำงานที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นอันตราย

หลักการ 3E นี้จะต้องดำเนินการไปพร้อมกัน จึงจะทำให้การป้องกันอุบัติเหตุและการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานมีประสิทธิภาพสูงสุด

ความปลอดภัยในการทำงาน

ความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยที่ดีในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ
ในที่นี้
จริงๆแล้วมาจากคำภาษาอังกฤษที่ว่า "Occupational Safety and Health" ผู้ประกอบอาชีพในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร
ครู นักเรียน 
เจ้าหน้าที่ด้านต่างๆ ลูกจ้าง คนงาน ยาม เป็นต้น แต่จริงๆ แล้ว ผู้ที่ต้องมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบ
โดยตรง
ในด้านความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนักเรียนความปลอดภัยในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงาน
ต้องตระหนักและพึงระลึกถึงตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจะนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน

ความปลอดภัย หมายถึง การที่ร่างกายปราศจากอุบัติภัยหรือทรัพย์สินปราศจากความเสียหายใดๆ เป็นสิ่งที่มนุษย์หรือสัตว์
ต้องการความปลอดภัยทั้งสิ้น 
ความปลอดภัยจะเป็นประโยชน์มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหรือการกระทําของตนเอง

 ความปลอดภัยในโรงงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ อันจะเกิดแก่ร่างกายชีวิต หรือ ทรัพย์สินในขณะปฏิบัติงานในโรงงาน
ซึ่งก็คือสภาพการทํางานที่ถูกต้องโดยปราศจาก อุบัติเหตุในขณะทํางานนั่นเอง อุบัติเหตุ อาจนิยามได้ว่า คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่พึงประสงค์
ในระหว่างการทํางานและมีผลไปขัดขวางหรือก่อผลเสียหายแก่การทํางานนั้นในโรงงานต่าง ๆ นั้นย่อมจะเกิดอุบัติเหตุกับระบบต่าง ๆ ได้มาก
อาทิ เครื่องจักรเครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบขนส่งหรือขนถ่ายวัสดุ เครื่องมือกล วัตถุดิบ สารเคมี สารไวไฟ ฯลฯ อุบัติเหตุที่เกิดแก่ชีวิตร่างกาย 
จากสถิติที่ประเมินมาพบว่าอุบัติเหตุที่เกิดแก่ร่างกายของคนงานคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ความถี่บ่อย ๆ ครั้งในการเกิดดังนี้

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากการกระทําที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
•การกระทําไม่ถูกวิธีหรือไม่ถูกขั้นตอน
•ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
•การมีนิสัยชอบเสี่ยง
•การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน
•การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
•การแต่งกายไม่เหมาะสม
•การทํางานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เมาค้าง ป่วย

การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุจากสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่

•ส่วนที่เป็นอันตรายหรือส่วนที่เคลื่อนไหวไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
•การวางผังไม่ถูกต้อง วางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
•พื้นโรงงานขรุขระเป็นหลุมบ่อ
•พื้นโรงงานมีเศษวัสดุ น้ำมัน น้ำบนพื้น
•สภาพการทํางานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง อากาศร้อน ฝุ่นละออง
•เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชํารุด
•ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชํารุด

การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ คือ การป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยมีหลักการต่างๆ เช่น 

หลักการ 5 ส. สู่การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น
•สะสาง หมายถึงการแยกแยะงานดี-งานเสีย ใช้-ไม่ใช้
•สะดวก หมายถึงการจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่
•สะอาด หมายถึงการทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ สถานที่ก่อนและหลังการใช้งาน
•สุขลักษณะ หมายถึงผู้ปฎิบัติงานต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่
•สร้างนิสัย หมายถึงการสร้างนิสัยที่ดี

กฎ 5 รู้
•รู้ งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

•รู้ การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

•รู้ วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

การส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน

Visitors: 105,305