ข้อใดคือหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือโอเอส (OS) *

ข้อใดคือหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือโอเอส (OS) *
Operating System

    OS (โอ เอส) หรือ ระบบปฏิบัติการ Operating System (โอเปอร์เรติ้ง ซิสเต็ม)เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันกับโปรแกรมประยุกต์ทั่วไป โดยมีหลักการทำงานคือผู้ใช้ส่งคำสั่งโดยการใช้งานผ่านโปรแกรมประยุกต์ แล้ว OS นำคำสั่งที่ได้รับมาควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ตามความต้องการของผู้ใช้ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

    ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน ควบคุมการทำงานของโปรแกรมประยุกต์  ทำหน้าที่โต้ตอบและเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และ Hardware (ฮาร์ดแวร์) ระบบปฏิบัติการ OS หรือ Operating System เป็นซอฟต์แวร์ระบบ System software (ซิสเต็ม ซอฟต์แวร์) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์  ควบคุมและสั่งการให้ Hardware สามารถทำงานได้   เช่น ทำหน้าที่ในการตรวจเช็คอุปกรณ์ Keyboard (คีบอร์ด) ขณะเปิดเครื่อง  ถ้าผู้ใช้ลืมเสียบสาย Keyboard ที่ port (พอร์ต) ด้านหลังของเครื่อง ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบแล้วไม่พบอุปกรณ์เชื่อมต่อดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาด  Keyboard Error (คีบอร์ด เออเร่อ) นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมการทำงานระหว่าง User (ยูสเซอร์) ในการใช้โปรแกรมประยุกต์ Application Software (แอพพลิเคชั่น ซอฟต์แวร์) ของ user กับระบบเครื่องต่างๆ อำนวยความสะดวกในการใช้งาน  และเพิ่มประสิทธิ์ภาพของระบบ

     โดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ  คอมพิวเตอร์พกพา พีดีเอ แท็บเล็ตต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ Application (แอพพลิเคชั่น) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows (วินโดว์), Linux (ลีนุกซ์), MAC OS (เม็ก โอ เอส), Solaris (โซลาริส), Ubuntu (อูบุนตู) ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile (วินโดว์ โมบาย), IOS (ไอ โอ เอส), Android (แอนดรอยด์) เป็นต้น

Reference : th.wikipedia.org/wiki/ระบบปฏิบัติการ

ภาพประกอบ : slideshare.net

ระบบปฏิบัติการ OS (Operating System)

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดแวร์ (Hardware) กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้อีกที โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล การทำงานของฮาร์ดแวร์ ให้บริการกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปในการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ และจัดสรรการใช้ทรัพยากรระบบ (Resources) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยทั่วไประบบปฏิบัติการนั้น ไม่ได้มีแต่เฉพาะในคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่มีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์หลายชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา พีดีเอ แท็บเล็ตต่างๆ โดยจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ และติดต่อกับผู้ใช้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ (Application) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Windows, Linux, Mac OS, Solaris, Ubuntu ส่วนตัวอย่างของระบบปฏิบัติการใช้มือถือได้แก่ Windows Mobile, iOS, Android เป็นต้น

โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

  • Software OS เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่อง OS โดยส่วนใหญ่จะเป็น Software OS เนื่องจากสามารถปรับปรุง แก้ไข พัฒนาได้ง่ายที่สุด
  • Firmware OS เป็นโปรแกรมส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็คือ ไมโครโปรแกรม (Microprogram) ซึ่งเกิดจากชุดคำสั่งที่ต่ำที่สุดของระบบควบคุมการทำงานของ CPU หลายๆ คำสั่งรวมกัน การแก้ไข พัฒนา ทำได้ค่อนข้างยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
  • Hardware OS เป็น OS ที่สร้างจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ ทำหน้าที่เหมือน Software OS แต่เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของฮาร์ดแวร์ ทำให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้ยาก และมีราคาแพง

ตัวอย่าง ระบบปฏิบัติการ OS

ข้อใดคือหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือโอเอส (OS) *

1.windows

Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows   ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส

ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP , Windows Vista, Windows 7 เป็นต้น

2.Linux

Linux ก็คือระบบปฎิบัติการหนึ่งที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ หรือเราอาจจะรู้จักในภาษาอังกฤษคือ Operating System เช่นเดี่ยวกับ window, dos หรือ Unix   ซึ่งลีนุกซ์ถูกสร้างขึ้นโดย Linus Tovalds นักศึกษา ภาควิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัย Helsinki โดยทำเป็นโปรเจทตอนที่เขากำลังศึกษาอยู่ที่นั้น ในปี ค.ศ. 1989  ซึ่งเขาได้ต่อยอดมาจาก ระบบปฎิบัติการ Unix.   Linus Tovalds ได้สร้าง Linux ขึ้นมาและได้เชิญชวนผู้ร่วมพัฒนาคนอื่นๆ ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งต่อมากลายเป็นทีมผู้พัฒนาที่ทำงานและติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งทุกคนต่างกันพัฒนาโดยไม่มีค่าแรงหรือผลตอบแทนประการใด พวกเขาพัฒนา Linux ขึ้นมาด้วยใจรักในสิ่งที่พวกเขากำลังทำ

3.Ubuntu

Ubuntu คือ Operating System หนึ่งที่พัฒนามาจากระบบ Unix (เช่นเดียวกับ Mac OS X)แต่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถแก้ไขดัดแปลงได้โดยเสรี

4.MS-DOS

MS-DOS ย่อมาจากคำว่า Microsoft disk operating system เป็นชื่อระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีที่บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้ผลิตขึ้น และได้พัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เรื่อย ๆ จนปัจจุบันเป็นรุ่น (version) 6.21 แล้ว รุ่นใหม่นี้สามารถป้องกันไวรัสได้ถึงกว่า 8,000 ชนิด ไมโครคอมพิว เตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม และเครื่องเทียบเคียงไอบีเอ็ม (IBM compatibles) เกือบทั้งหมดใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS นี้ (ระบบปฏิบัติการของบริษัทไอบีเอ็มเอง มีชื่อเรียกว่า IBM DOS