โรงพยาบาลเอกชน รับ บัตรทอง 2565

สปสช. กทม. กรมการแพทย์ รพ.รัฐ-เอกชน หารือจัดระบบดูแลประชาชนสิทธิบัตรทองหลังยกเลิกสัญญา 9 รพ.เอกชน หาหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่ม ประกาศ 10 ต.ค.65 ให้ประชาชนสิทธิว่างจาก 9 รพ.เอกชนเลือกหน่วยบริการปฐมภูมิแห่งใหม่ได้ พร้อมหา รพ.รับส่งต่อมาเพิ่ม หลัง รพ.แต่ละสังกัดมารับดูแลช่วง 3 เดือนนี้ 


เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร กรมการแพทย์ พร้อมทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประชุมการจัดระบบบริการสาธารณสุขเพื่อดูแลประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง 30 บาท) ที่มีโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำ และรับส่งต่อทั่วไป 

ตามที่ สปสช.ได้มีการยกเลิกสัญญาการให้บริการปฐมภูมิ ประจำ และรับส่งต่อทั่วไปกับโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่ง ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามข้อกฎหมายจากปัญหาการเบิกจ่ายค่าบริการไม่ถูกต้อง นั้น พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากการหารือร่วมกับ นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และ พญ.ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ ได้ข้อสรุปว่า ในส่วนของการหาหน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำแห่งใหม่ เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกสัญญา รพ.เอกชน 9 แห่ง ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปจะกลายเป็นสิทธิว่าง ได้ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการใหม่นั้น สปสช.และสำนักอนามัย จะร่วมจัดทำบัญชีเครือข่ายหน่วยบริการให้ประชากรสิทธิว่างเลือกหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยศูนย์บริการสาธารณสุข ยินดีเป็นหน่วยบริการประจำ โดยขอให้ สปสช.จัดหาคลินิกชุมชนอบอุ่นมาเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่มเติมเพื่อดูแลประชาชน และได้กำหนดให้ประชาชนเริ่มลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำแห่งใหม่ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป 

โรงพยาบาลเอกชน รับ บัตรทอง 2565

ทั้งนี้ สปสช.จะจัดทำบัญชีเครือข่ายหน่วยบริการให้ประชาชนได้เลือก โดยสามารถเข้าไปดูรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ สปสช. http://mscup.nhso.go.th/mastercup/ เพื่อเลือกหน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำแห่งใหม่ของตน หรือโทร.สอบถามได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 ซึ่งจะระบุหน่วยบริการใกล้บ้านให้ประชาชนเลือกลงทะเบียนได้ หรือดำเนินการผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. และไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso ได้เช่นกัน 

พญ.ลลิตยา กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดหาหน่วยบริการแห่งใหม่มาเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อนั้น การหารือในวันนี้ ได้ข้อสรุปว่าในช่วงระยะเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.มเหสักข์ เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.เลิดสินและ รพ.ตากสินแทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.กล้วยน้ำไท เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.เจริญกรุงประชารักษ์แทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.บางนา 1 เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.เดอะซีพลัสแทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.นวมินทร์ เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.นพรัตน์ราชธานีแทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.เพชรเวช เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.คลองตันและ รพ.กลางแทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.ประชาพัฒน์ เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.ไอเอ็มเอช ธนบุรี แทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.แพทย์ปัญญา เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.สิรินธร รพ.ราชวิถี รพ.กลาง และ รพ.เดอะซีพลัส แทน, ผู้มีสิทธิบัตรทองที่เคยมี รพ.บางมด เป็น รพ.รับส่งต่อ จะเปลี่ยนเป็น รพ.ราชพิพัฒน์แทน

“สำหรับ รพ.รับส่งต่อนั้น ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนต่อจาก สปสช.จะหา รพ.รับส่งต่อแห่งใหม่มาเพิ่มอีก เพื่อดูแลผู้มีสิทธิบัตรทอง และจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง” พญ.ลลิตยา กล่าวและว่า สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องรับยาและตรวจติดตามอาการต่อเนื่องนั้น สามารถไปรับยาและรับการรักษาได้ตามที่สถานพยาบาลที่ สปสช.ได้แจ้งให้ทราบแล้ว โดยดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th นอกจากนั้นผู้ป่วยที่มีนัดรักษาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปที่ รพ.กล้วยน้ำไท รพ.ประชาพัฒน์ และ รพ.บางมด ยังคงไปรับการรักษาได้เหมือนเดิมจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยทั้ง 3 รพ.ยินดีรับดูแลผู้ป่วยต่อในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านนี้ 

วันที่ 16 กันยายน 2565 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง ที่เรารู้จักกันดี เป็นสิทธิประโยชน์พื้นฐานด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการพื้นฐานด้านสุขภาพได้ที่สถานพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐ และสถานพยาบาลเอกชนที่ร่วมเป็นเครือข่ายบัตรทอง ทั้งการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและเจ็บป่วยฉุกเฉิน และการส่งเสริม ดูแลสุขภาพ

  • เปิดเงื่อนไขช้อปดีมีคืน ครม.เคาะ 20 ธ.ค.วงเงิน 40,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง
  • เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เสด็จติดตามพระอาการประชวร เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
  • แกะกล่องของขวัญปีใหม่ 2566 ครม. แจก 5 โครงการ

อัพเกรดบัตรทองพรีเมี่ยม

ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขยกระดับบัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้เป็น “บัตรทองพรีเมี่ยม” เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ เพิ่มคุณภาพ และบริการ มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยโรคร้ายแรง ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง และผู้ป่วยที่ต้องการเข้าถึงการวินิจฉัยและการดูแลสุขภาพผ่านทางออนไลน์ (Telemedicine) ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ของการเข้ารับการรักษาและดูแลสุขภาพในปัจจุบัน

ผู้ถือบัตรทองสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ในโรงพยาบาลรัฐที่เป็นโรงพยาบาลปฐมภูมิทั่วประเทศ นอนโรงพยาบาลโดยไม่ต้องมีใบส่งตัว นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงบริการอย่างปลอดภัย ไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลภายใน 72 ชั่วโมง หรือพ้นภาวะวิกฤต

เปิดตัวเลขจำนวนสิทธิบัตรทอง 2565

ข้อมูลการจำแนกสิทธิหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย ประจำเดือนสิงหาคม 2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กันยายน 2565) โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จากจำนวนประชากรในประเทศ 67,286,989 ราย แบ่งเป็น

  • สิทธิ สปสช. (สิทธิบัตรทอง) จำนวน 47,232,289 ราย
  • สิทธิประกันสังคม จำนวน 12,721,515 ราย
  • สิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 5,298,815 ราย
  • สิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น 637,991 ราย
  • สิทธิผู้ประกันตนคนพิการฯ 13,009 ราย

ขณะที่จำนวนสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพ มีถึง 15,505 แห่ง ครอบคลุมเขตพื้นที่ สปสช. ทั้ง 13 เขต

สิทธิประโยชน์บัตรทอง อัพเกรด 2565

สิทธิบัตรทอง นอกจากจะใช้กับกรณีการเจ็บป่วยทั่วไป บดเจ็บ ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน และเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (UCEP) ยังมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ครอบคุลมผู้มีสิทธิบัตรทองกว่า 47 ล้านคน คือ

  • สิทธิการรักษาโรคร้าย โดยผู้ป่วยมะเร็งสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉพาะทาง และรักษามะเร็งได้ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกที่
  • สิทธิฟอกไตฟรี สำหรับผู้ป่วยโรคไต
  • รับการรักษาโควิด-19 ฟรี ที่สถานพยาบาล หรือผ่านระบบปรึกษาแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ผ่านแอปพลิเคชั่นที่ร่วมโครงการ
  • บริการสำหรับแม่และเด็ก เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การเพิ่มวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก คัดกรองภาวะ Down Syndrome ในหญิงตั้งครรภ์ (อายุไม่เกิน 35 ปี) ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมสำหรับเด็กหูหนวก และการให้บริการแว่นตาเด็ก
  • บริการสำหรับวัยเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัว เช่น การคุมกำเนิด ด้วยยาคุมกำเนิดหรือถุงยางอนามัย
  • สำหรับผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบาง ให้การดูแลและรักษาระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ การรักษาผู้ป่วยติดบ้านหรือผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนทุกสิทธิและทุกกลุ่มอายุ และแจกผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับการขับถ่าย เพื่อดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยที่มีปัญหากลั้นขับถ่าย จำนวน 3 ชิ้น/คน/วัน
  • เพิ่มการเข้าถึงบัญชียา โรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลือง โรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การป้องกันและรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัส HIV
  • เพิ่มสิทธิด้านวัคซีน 5 ชนิด ได้แก่ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ไวรัสตับอักเสบบี และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ผู้ถือบัตรทองยังสามารถ รับการบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) และการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล
  • บริการรับยาที่ร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หืด จิตเวช และโรคเรื้อรังอื่น ๆ
  • บริการส่งยาเวชภัณฑ์ถึงบ้านทางไปรษณีย์
  • การใช้กัญชาทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน ไมเกรน

นอกจากนี้ สปสช.เปิดให้ผู้มีสิทธิบัตรทองที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา สามารถเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิใดก็ได้ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว และผู้ป่วยใน ไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัว รวมถึง สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการประจำใหม่ และใช้สิทธิบัตรทองได้ทันที ไม่ต้องรอระยะเวลาเกิดสิทธิ 15 วัน (สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ไม่เกิน 4 ครั้ง ต่อปีงบประมาณ)

งบประมาณบัตรทอง 3,385.98 บาทต่อคน

สปสช.ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 198,891.79 ล้านบาท เป็นงบฯเหมาจ่ายรายหัวประจำปีงบประมาณ 2565 ไว้ที่ 158,294.42 ล้านบาท เพื่อดูแลประชากรผู้มีสิทธิบัตรทอง 47.66 ล้านคน (เฉลี่ย 3,329.22 บาท/ต่อหัว)

สำหรับรายละเอียดของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2565 มีดังนี้

Advertisement

  • งบฯเหมาจ่ายรายหัว จำนวน 158,294.42 ล้านบาท
    (หลังหักเงินเดือนภาครัฐ 53,388.62 ล้านบาท เป็นงบฯ สปสช. นำมาบริหาร 104,905.79 ล้านบาท)
  • งบฯผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 3,768.11 ล้านบาท
  • งบฯผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง จำนวน 9,731.34 ล้านบาท
  • งบฯควบคุมป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง จำนวน 1,154.78 ล้านบาท
  • งบฯเพิ่มเติม โรงพยาบาลพื้นที่กันดาร เสี่ยงภัย และจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,490.29 ล้านบาท
  • งบฯผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จำนวน 990.11 ล้านบาท
  • งบฯเพิ่มเติมบริการปฐมภูมิ จำนวน 319.28 ล้านบาท
  • งบฯบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2,769.93 ล้านบาท
  • งบฯบริการกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 825.08 ล้านบาท
  • งบฯช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการ จำนวน 283.03 ล้านบาท
  • งบฯสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จำนวน 19,265.42 ล้านบาท

ส่วนงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566 มีวงเงิน 204,140.02 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นงบฯเหมาจ่ายรายหัว 161,602.66 ล้านบาท (เฉลี่ย 3,385.98 บาท/ต่อหัว) และที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้เห็นชอบข้อเสนอหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริการจัดการกองทุนไปแล้ว เมื่อ 29 กรกฎาคม 2565 และเริ่มใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565