ขออนุญาตเข้าห้อง ภาษาญี่ปุ่น

การ ทักทายในประเทศญี่ปุ่น あいさつ(Aisatsu)
สิ่งที่คุณคงจะเห็นบ่อยในชีวิตประจำวันของญี่ปุ่น สิ่งหนึ่งก็คือการทักทายกัน คิดว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชาติที่ให้ความสำคัญต่อการทักทายกันมาก ไม่ได้หมายถึงการทักทายด้วยท่าโค้งตัว (Ojigi) แต่หมายถึงการพูดคำทักทายกัน ในภาษาญี่ปุ่นมีคำทักทายที่ใช้ในชีวิตประจำวันหลากหลายชนิด และสำหรับชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะผู้ใหญ่หรือคนต่างจังหวัด การพูดคำทักทายกันในกรณีที่ควรพูด เป็นมารยาทที่สำคัญค่ะ ในคำทักทายของญี่ปุ่นจะมีคำที่ใช้เป็นคู่กันด้วย ซึ่งเมื่อมีคนพูดคำทักทายกับเรา เราก็ต้องตอบด้วยคำทักทายที่เป็นคู่กันนะคะ แต่อันนี้ไม่ต้องกลัวมากนะคะ ระหว่างเพื่อนที่สนิทกันหรือสำหรับคนต่างชาติ คนญี่ปุ่นก็คงไม่ถือมาก คนญี่ปุ่นเองก็พูดคำแบบนี้กันอย่างติดปากเท่านั้นนะคะ เพราะพ่อแม่และครูที่โรงเรียนสอนให้พูดกันตั้งแต่เด็กๆ แต่อย่างไรเมื่อคุณมีโอกาสไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น แนะนำให้พยายามหัดพูดคำทักทายของญี่ปุ่นนะคะ เพราะเพียงแค่ได้ยินคำแบบนี้จากคนต่างชาติ ชาวญี่ปุ่นก็มักจะประทับใจมาก หมายความว่าชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อการทักทายกันมากขนาดนั้นนะคะ

คำทักทายภาษาญี่ปุ่นที่ใช้กันบ่อยก็มีดังต่อไปนี้

คำทักทายหลักๆ

おはよう。Ohayou ございます(gozaimasu)
ถ้าจะพูดสุภาพก็ต้องเติม gozaimasu นะ แปลว่าอรุณสวัสดิ์ ซึ่งใช้ได้ตั้งแต่ตอนเช้าถึงก่อนเที่ยงวัน ในภาษาญี่ปุนมีคำว่าสวัสดีสามอย่างสำหรับตอนเช้า ตอนกลางวัน และ ตอนกลางคืน เหมือนกับในภาษาอังกฤษ แต่ความจริงแล้วคำว่า Ohayou จะมีความสำคัญมากกว่าคำอื่น เพราะคำนี้จะต้องพูดทุกวันกับคนที่รู้จักกันทุกคน แม้แต่พ่อแม่พี่น้องคนที่เห็นหน้ากันทุกวันในครอบครัว หรือเพื่อนที่สนิทกันมากแค่ไหนก็ตาม เพราะคนญี่ปุ่นมีความรู้สึกพิเศษต่อคำนี้ว่าเป็นคำที่เริ่มต้นกิจกรรมของแต่ ละวันด้วยกัน บางทียังใช้คำนี้ได้อีกในกรณีที่มีคนเริ่มทำงานช่วงบ่ายเป็นประจำ ซึ่งเวลานั้นไม่ใช่เป็นตอนเช้าแล้วแต่ยังเป็นเวลาที่คนนั้นเริ่มทำงานตาม ระเบียบ เพราะฉะนั้นเขาก็จะพูดคำว่า Ohayou
こんにちは、Kon nichiwa
แปลว่าสวัสดีตอนกลางวัน ซึ่งใช้ได้ตั้งแต่ตอนสายๆถึงตอนเย็นที่ยังสว่างอยู่
こんばんは。。Konbanwa
แปลว่าสวัสดีตอนกลางคืน ซึ่งใช้ได้เมื่อมืดแล้ว แต่สำหรับคำว่าสวัสดีตอนกลางวันและตอนกลางคืนสองคำนี้ จะไม่พูดกับคนที่เจอหน้ากันทุกวัน เช่นครอบครัว คนที่ร่วมงานในออฟฟิส หรือเพื่อนเรียนด้วยกัน
おやすみなさい、、Oyasumi nasai
แปลว่าราตรีสวัสดิ์ ซึ่งเมื่อคุณไปนอนก็จะพูดกันกับครอบครัว(คนที่ยังไม่นอนก็จะตอบด้วยคำนี้ เหมือนกัน) หรือเมื่อคุณบอกลากับเพื่อนตอนดึกก็พูดได้เหมือนกัน
さようなら、、Sayounara
คำนี้ใช้เมื่อบอกลากัน แต่ควรใช้ในกรณีที่เป็นทางการหน่อย หรือกรณีที่ต้องจากกันหรือคงไม่เจอกันนาน ถ้าคุณแน่ใจว่าจะพบกันอีกเร็วๆนี้ ก็ควรใชคำว่า それでわ、、また。。Soredewa mata (สุภาพ) หรือ じゃ、、また。。 Ja, mata (สำหรับคนที่สนิทกัน) ดีกว่า เพราะแปลว่า พบกันใหม่

แต่ที่คนไทยมักใช้ผิดกันก็คือคำว่า また あいましょう!! Mata aimashou ซึ่งแปลได้เหมือนกันว่า พบกันใหม่ แต่คำนี้จะมีความหมายต่างกันนิดหนึ่งว่า คงพบกันใหม่ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะพบกันอีกเร็วๆนี้แต่หวังว่าจะพบกันใหม่ ซึ่งไม่เหมาะสำหรับคนที่จะพบกันบ่อยแน่นอนอยู่แล้ว

คำทักทายในชีวิตประจำวันที่ไม่มีในภาษาไทย
ในภาษาญี่ปุ่นมีคำทักทายที่ไม่มีหรือไม่ใช้ในภาษาไทยเยอะ มีคำบางคำที่มีความสำคัญมาก ซึ่งถ้าไม่พูดแล้วทำให้คนอื่นเกิดความรู้สึกไม่ค่อยดีก็ได้
いって きます。。Itte kimasu – いって らっしゃい !!Itte rasshai
เมื่อออกจากบ้านไปข้างนอกเพื่อไปทำงานหรือไปโรงเรียน คนที่ออกไปจะบอกว่า いって きます。。Itte kimasu (จะไปแล้วกลับมานะ) และคนที่อยู่ต่อในบ้านจะบอกว่าいって らっしゃい 。。Itte rasshai (ขอให้ไปเถอะนะ) แต่คุณไม่ต้องสนใจความหมายที่แปลตรงมา คำสองคำนี้จะใช้เป็นคู่กัน ในครอบครัวชาวญี่ปุ่นจะพูดกันทุกวัน
ただいま、、Tadaima – おかえり なさい 、、Okaeri nasai
เมื่อกลับมาที่บ้านจากข้างนอก คนที่กลับมาจะบอกว่า Tadaima (เพิ่ง(กลับมา)) และคนที่อยู่ในบ้านจะบอกว่า Okaeri nasai ((ยินดีที่)กลับมานะ) เป็นคำคู่กันเหมือนกันที่ใช้ในครอบครัวชาวญี่ปุ่น
いただきます。。Itadaki masu -ごちそうさまでした。。 Gochisou sama (deshita)
ก่อนจะเริ่มทานอาหารกัน พูดกันว่าいただきます。 Itadaki masu ซึ่งแปลตรงว่า ขอรับประทาน และเวลาทานเสร็จแล้ว ก็จะพูดว่า ごちそうさまでした。Gochisou sama (deshita) ซึ่งแปลตรงว่า เป็นอาหารมื้อวิเศษ คำสองคำนี้ค่อนข้างสำคัญ เมื่อมีโอกาสที่คนญี่ปุ่นชวนไปทานอาหารด้วยกันที่บ้าน การพูดคำนี้ถือว่าเป็นธรรมเนียมที่ต้องทำ คำนี้มีความหมายในการแจ้งจังหวะที่เริ่มทานและจบการทานอาหารด้วยกัน ซึ่งตามปกติชาวญี่ปุ่นถือว่าการเริ่มทานข้าวก่อนคนอื่นโดยไม่ได้อนุญาตจาก เจ้าภาพ เป็นสิ่งที่เสียมารยาท แต่ในงานเลี้ยงที่ร้านอาหารจะไม่พูดคำนี้ ตามปกติจะพูดเฉพาะในการทานอาหารที่บ้าน หรือในกรณีที่ทานอาหารกันหลายคนเป็นระเบียบ เช่นอาหารกลางวันของโรงเรียนการศึกษาภาคบังคับที่ทางโรงเรียนจัดให้ทุกวัน 学校 きゅうしょく (Gakkou kyuushoku)

คำทักทาย อื่น ๆ ที่ใช้กันบ่อยในการทำงาน

しつれい します。。。Shitsurei shimasu
แปลว่าขออนุญาต ซึ่งใช้ได้ค่อนข้างเหมือนกับภาษาไทย เช่นเมื่อขอเข้าไปในห้องของผู้ใหญ่
เมื่อขอตัวชั่วคราวจากการประชุม ฯลฯ

おさきに。。しつれいします。。Osakini shitsurei shimasu – おつかれさま でした。。Otsukaresama deshita
เมื่อคุณเลิกงานเร็วและกลับบ้านก่อนเพื่อน คุณก็ควรจะบอกว่าおさきに。。しつれいします。 Osakini shitsurei shimasu ซึ่งแปลว่า ขออนุญาต(กลับ)ก่อน แล้วคนที่ยังเหลืออยู่ที่ออฟฟิศถ้าเป็นรุ่นเท่ากันหรือเป็นรุ่นน้องของคุณก็ มักจะตอบว่าおつかれさま でした。 Otsukaresama deshita (คงเหนื่อยหน่อยนะ)

ごくろうさま。。Gokurousama
หรือถ้าเป็นรุ่นอาวุโสหรือเป็นหัวหน้าของคุณก็จะตอบว่า Gokurousama (คงลำบากหน่อยนะ)

いつも おせわに なって おります。。。Itsumo osewani natte orimasu
เมื่อสนทนากับลูกค้าในประชุมหรือในโทรศัพท์ ก็จะต้องบอกว่า いつも おせわに なって おります。Itsumo osewani natte orimasu เป็นคำแรก คำนี้ถ้าจะแปลตรงก็คือ พวกเราได้รับการดูแลจากท่านอยู่เสมอ ซึ่งมีความหมายคล้ายกับว่า ขอขอบคุณที่เป็นลูกค้าของพวกเราอยู่เสมอ คำนี้ยังใช้ได้กับคนข้างบ้านหรือคนที่มีความสัมพันธ์ในการทำงาน หรือในโรงเรียนของลูก ซึ่งเมื่อคุณแม่พบกับคุณครูของลูก ก็มักจะบอกเป็นคำแรกว่า Itsumo (ชื่อลูกตัวเอง) ga osewani natte orimasu สำหรับกรณีนี้คำแปลตรงมีความหมายที่เหมาะกว่า

よろしく おねがい します。。Yoroshiku onegai shimasu
คำนี้ความจริงเป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า どうぞ よろしく。。Douzo yoroshiku ที่ใช้ในเวลาแนะนำตัวกัน ซึ่งแปลตรงว่า ขอความช่วยเหลืออย่างดีจากทุกท่าน แต่เมื่อใช้ในการแนะนำตัวก็จะมีความหมายว่า ขอฝากตัวด้วย หรือ ขอเป็นมิตรของทุกท่าน อะไรทำนองนั้น แต่ในการธุรกิจจะใช้คำนี้ตอนจบการประชุมหรือการสนทนาผ่านโทรศัพท์กับลูกค้า และมีความหมายคล้ายกับว่า ขอความช่วยเหลือในการดำเนินการของเรื่องที่ได้สนทนากันมาอย่างไม่มีปัญหา ซึ่งในการสนทนากับลูกค้าของญี่ปุ่นตามปกติจะมีขั้นตอนเป็นมาตรฐานว่า ต้องเริ่มต้นด้วยคำว่า Itsumo osewa ni natte orimasu และ ต้องจบท้ายด้วยคำว่า Yoroshiku onegai moushiagemasu (moushiagemasu สุภาพมากกว่า shimasu)

คำทักทายที่คนไทยมักใช้ผิด

お元気ですか。。Ogenkidesuka / おひさしぶりですね。。Ohisashiburi desu
お元気ですか Ogenkidesuka แปลว่าสบายดีไหม ซึ่งคนไทยนิยมใช้กันในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับชาวญี่ปุ่น ตามปกติจะใช้คำนี้เฉพาะเมื่อไม่ได้พบกันนานมาก หรือในจดหมายและโทรศัพท์เท่านั้น ซึ่งเป็นกรณีที่เราไม่แน่ใจว่าเขาสบายดีหรือเปล่า เพราะไม่ได้พบกันนานหรือยังไม่เห็นหน้ากันโดยตรง คำนี้มักจะใช้ด้วยกันกับคำว่า Ohisashiburi desu ซึ่งแปลได้ว่า ไม่ได้เจอกันนานนะ ถ้าอยากจะพูดคำว่าสบายดีไหมแบบไทยก็คงจะใช้คำว่า ちょうしはどう?Choushi wa dou ですか?(desuka)

おでかけ ですか?Odekake desuka -どこ いくの? Doko ikuno
สำหรับคำทักทายของภาษาไทยว่า กินข้าวหรือยัง หรือ ไปไหนมา ที่ใช้กันบ่อยในชีวิตประจำวัน ในภาษาญี่ปุ่นไม่ค่อยจะพูดกันนะครับ แต่เมื่อเห็นคนที่รู้จักกันกำลังจะเดินทางไป ชาวญี่ปุ่นก็ถามเป็นการทักทายว่า Odekake desuka (สุภาพ) หรือ Doko ikuno (ธรรมดา) ซึ่งแปลได้ว่า จะไปไหนหรือ สำหรับคำตอบก็เป็นสถานที่กำลังจะไปก็ได้ หรือถ้าไม่อยากจะบอก ก็จะพูดว่า ちょっと、そこまで。Chotto sokomade แปลได้ว่า ไปธุระนิดหน่อย นะครับ

どうも。。Doumo
สุดท้ายนี้ คำว่า Doumo ที่คนญี่ปุ่นพูดกันบ่อยมาก เป็นคำที่คนต่างชาติมักจับความหมายยาก เพราะว่ามีความหมายหลายอย่างแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจะใช้ในการทักทาย ก็จะมีความหมายสองอย่าง อย่างหนึ่งก็คือใช้เป็นคำที่เน้นความหมายของคำทักทายที่ตาม อย่างเช่น Doumo arigatou (ขอบคุณมาก), Doumo sumimasen (ขออภัยจริงๆ) อีกอย่างหนึ่งที่จับความหมายยากก็คือใช้เป็นคำย่อของคำทักทายที่ไม่จำเป็น ต้องพูดออกมา เพราะผู้ฟังก็รู้เนื้อหาแล้ว อย่างเช่นถ้ามีคนบอกมาว่า Kinou wa doumo (สำหรับเมื่อวานนี้ doumo) แล้วหมายความว่าอะไร จริงๆ แล้วแปลตรงไม่ได้เลย แต่คุณก็จะต้องนึกถึงสิ่งที่ผ่านมาในเมื่อวานนี้ ซึ่งถ้าคุณได้ช่วยงานของเขาในเมื่อวาน คำว่า doumo นี้ก็จะมีความหมายว่าขอบคุณ แต่ถ้าคุณได้เจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในเมื่อวาน คำว่า doumo นี้ก็จะมีความหมายว่าขอแสดงความเสียใจ

เมื่อคุณมีโอกาสไปญี่ปุ่นแล้ว คำที่สำคัญๆ ก็จะยิ่งได้ยินบ่อย ซึ่งคุณก็คงจะชินกับการทักทายแบบญี่ปุ่นเองเป็นอัตโนมัติ
ขอขอบคุณข้อมูล jeducation.com
http://www.j-doramanga.com

Japanese lesson – My day ‘Boku no ichi nichi’

Learn Japanese easy lesson 1 การแนะนำตนเอง

การบอกเวลาเป็นภาษาญี่ปุ่น

ขออนุญาตเข้าห้อง ภาษาญี่ปุ่น

เรียนบทสนทนาขั้นต้น

ขออนุญาตเข้าห้อง ภาษาญี่ปุ่น

เรียนคำทักทาย

ขออนุญาตเข้าห้อง ภาษาญี่ปุ่น

เกม Hang-Man

ขออนุญาตเข้าห้อง ภาษาญี่ปุ่น

รวม Hot Link ราชสีห์

* ห้องเรียนครูทิพย์วรรณ
* บล็อกสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น
* บล็อกครูกบ ญี่ปุ่น
* บล็อกราชสีมาวิทยาลัย
* บล็อกครูโคราช
* บล็อกครูต่างประเทศ