การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์

1.ตัวเครื่อง (Case)ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นด้านในเพื่อไม่ให้

ชิ้นส่วนที่สำคัญภายในได้รับความเสียหาย ที่ตัวเครื่องจะเห็นแต่ CD-ROM Driver Disk,

ปุ่ม Power ปุ่ม Restart ที่ติดตั้งอยู่ภายนอก

2.จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข ตัวอักษร

ข้อความ ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว มีลักษณะคล้ายจอโทรทัศน์

3.เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บังคับตัวชี้ (Mouse Pointer) บนจอภาพเพื่อเลือก

คำสั่งต่างๆแทนการป้อนคำสั่งทางคีย์บอร์ด ช่วยในการทำงานสะดวกและรวดเร็ว มี

รูปร่างคล้่ายหนูจังเรียนว่า เมาส์

4.แป้นพิมพ์ (Keyboard)

แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เชื่อม

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่

หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่จะ

ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆที่ถูกฉาบด้วย

หมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้าเมื่อถูกกดจนติดก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจรเมื่อผู้ใช้กดแป้น

ใดแป้นหนึ่งข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส

(Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กด เพื่อเปลี่ยนให้เป็นตัวอักษรตัวเลข

หรือสัญลักษณ์ไปแสดงบนจอภาพ

แป้นพิมพ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้าย

แป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีดโดยจะมีปุ่มตัวอักษร สัญลักษณ์ และอักขระต่างๆตาม

มาตรฐานสากลแต่มีแป้นกดที่ทำหน้าที่พิเศษเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีปุ่มต่างๆ ทั้งสิ้น 101

ปุ่มแต่ปัจจุบันอาจเพิ่มปุ่มพิเศษมากขึ้นอีกเพื่อสนับสนุนการใช้งานกับโปรแกรมที่

พัฒนาขึ้นมาใหม่ๆ

การทํางานของระบบคอมพิวเตอร์

               องค์ประกอบด้านนี้หมายถึงกระบวนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนสลับซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีคู่มือปฏิบัติงาน เช่น คู่มือผู้ใช้ ( user manual ) หรือคู่มือผู้ดูแลระบบ ( operation manual ) เป็นต้น

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

ระบบการทํางานของคอมพิวเตอร์ การทํางานของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคําสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจํา เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลที่ต้องการ  ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนําข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น  มีอยู่หลายประเภทด้วยกันสําหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี ดังต่อไปนี้
– Keyboard
– Mouse
– Disk Drive
– Hard Drive
– CD-Rom
– Magnetic Tape
– Card Reader
– Scanner
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
ทําหน้าที่ในการคํานวณและประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 หน่วยย่อย คือ
– หน่วยควบคุม  ทําหน้าที่ในการดูแล ควบคุมลําดับขั้นตอนของการประมวลผล และการทํางานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง  และช่วยประสานงานระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นําเข้าข้อมูล อุปกรณ์ในการแสดงผล และหน่วยความจําสํารอง
– หน่วยคํานวณและตรรก ทําหน้าที่ในการคํานวณและเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ที่ส่งมาจากหน่วยควบคุม และหน่วยความจํา
3. หน่วยความจำ (Memory)
ทําหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคําสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้ เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็นหน่วยความจํา เป็นหน่วยความจําที่มีอยู่ ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ในการเก็บคําสั่งหรือข้อมูล แบ่งออกเป็น
– ROM หน่วยความจําแบบถาวร
– RAM หน่วยความจําแบบชั่วคราว
– หน่วยความจําสํารอง    เป็นหน่วยความจําที่อยู่นอกเครื่อง มีหน้าที่ช่วยให้หน่วยความจําหลักสามารถเก็บ ข้อมูลได้มากขึ้น
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัทธ์ที่ได้หลังจากการคํานวณและประมวลผล สําหรับอุปกรณ์ที่ ทําหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้นั้นมีต่อไปนี้
– Monitor จอภาพ
– Printer เครื่องพิมพ์
– Plotter เครื่องพิมพ์ที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการลงกระดาษ